Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 สิงหาคม 2545
TAMCขายหนี้คืนแบงก์ แรงกดดันเร่งทำผลงาน             
 


   
search resources

บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย




ทีเอเอ็มซี เข้าตาจนต้องเร่งทำผลงาน เผย นโยบายใหม่ เตรียมขายหนี้ที่ปรับโครงสร้างเสร็จแล้ว คืนเจ้าหนี้สถาบันการเงินเดิม "นครหลวงไทย" เจรจาขอซื้อคืน รายแรก "สถิตย์" แจงทีเอเอ็มซีไม่มีคนตามทวงหนี้ ระบุเป็นนโยบายทีเอเอ็มซีเดิม ขายคืนไม่เน้นกำไรขอแค่เสนอตัวก็พอใจแล้ว

นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะประธานกรรมการบริหาร บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) เปิดเผยว่า ทีเอเอ็มซี เตรียมที่จะขายสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดคุณภาพ (เอ็นพีแอล) หรือกลุ่มลูกหนี้ที่มีการปรับโครงสร้างหนี้เสร็จแล้ว ในช่วงครึ่ง ปีแรก รวมถึงหนี้ที่จะปรับเสร็จในอนาคต คืนให้กับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ เดิม เนื่องจากปัจจุบัน ทีเอเอ็มซี ไม่มี ผู้ติดตามทวงหนี้ ได้ดีเท่ากับสถาบันการเงิน ซึ่งสถาบันการเงินก็ติดตามอยู่แล้ว

"นโยบายใหม่ของทีเอเอ็มซีที่จะมอบให้เอ็มดีคนใหม่ นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ กรรมการผู้จัดการคนใหม่ ที่จะเข้ามาทำงานในวันที่ 2 กันยายน นี้ เป็นผู้รับไปดำเนินการ รวมทั้งรายละเอียดและการเจรจาในเรื่องสัญญาการซื้อขาย รับโอนลูกหนี้ต่างๆ ต้องรอให้เอ็มดีใหม่ตัดสินใจด้วย เพราะถือเป็นนโยบายสำคัญที่ต้องปฏิบัติด้วย"

นายสถิตย์กล่าวว่า ขณะนี้ธนาคารนครหลวงไทย เป็นสถาบันการเงินเจ้าหนี้รายแรกที่ต้องการรับซื้อคืนลูกหนี้จากทีเอเอเอ็มซี โดยเบื้องต้นได้มีการเจรจาในเบื้องต้นกับธนาคารนครหลวงไทยแล้ว แต่ยังไม่ได้กำหนดรายละเอียดลงไป แต่คาดว่าจะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด

นายสถิตย์ กล่าวว่า การขายคืนลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้เสร็จให้กับสถาบันการเงินเจ้าหนี้คืนนั้น เป็นนโยบาย และหน้าที่ของทีเอเอ็มซีอยู่แล้ว เพราะถือว่าทีเอเอ็มซีเป็นผู้เข้ามาปรับปรุงหนี้ต่างๆ ของอุตสาหกรรมให้สามารถเดินต่อไปได้ ดังนั้นก็ควรจะนำลูกหนี้เหล่านี้เข้าสู่ระบบการเงินเหมือนเดิม ส่วนกิจการใดที่ไม่สามารถฟื้นตัวได้ก็ปิดกิจการไป

"ทีเอเอ็มซีทำหน้าที่เหมือนหมอผ่าตัดในการดูแลคนไข้ที่อาการหนัก แต่เมื่ออาหรเริ่มดีขึ้น ซึ่งก็หมายถึงเมื่อธุรกิจเริ่มฟื้นตัวแล้ว และมีแนวโน้มจะไปได้ดีแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องดูแลต่อ เราก็จำเป็นต้องโอนให้คนอื่นที่สามารถดูแลได้ดูแลต่อไป ซึ่งถือเป็นกระบวนการและวิธีที่ถูกต้องแล้ว " นายสถิตย์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม การขายลูกหนี้คืนให้กับสถาบัน การเงินเจ้าหนี้เดิมนั้น จะไม่ทำให้ทีเอเอ็มซีขาดทุน โดยการกำหนดราคาขายนั้นจะเน้นที่ความเหมาะสม ไม่เน้นกำไรมากนัก แต่อย่างน้อยขอให้ราคาอยู่ในขั้นเสมอตัวก็ถือว่าน่าพอใจแล้ว ซึ่งทั้งนี้ในส่วนของการขายคืนลูกหนี้ให้กับสถาบันการเงินนั้น ในขั้นแรก จะขายคืนให้กับสถาบันการเงินเจ้าหนี้เดิมก่อน แต่หากรายเดิมไม่ต้องการก็จะเจรจากับเจ้าหนี้รายอื่นต่อไปได้

นอกจากการขายคืนในส่วนของลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้เสร็จแล้วนั้น จะมีการประสานงานกับทางบริษัทบริหารสินทรัพย์ของสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อหาแนวทางในทำซิเคียวริไทเซชั่นสินทรัพย์ที่มีอยู่ในทีเอเอ็มซี และอีกส่วนหนึ่งคือ นำบริษัทจดทะเบียนที่ถูกพักการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์กลับ เข้าไปจดทะเบียนอีกครั้งหนึ่ง

"นโยบายทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการในช่วงครึ่งปีหลัง และเป็นสิ่งที่กรรมการผู้จัดการคนใหม่ ของเราจะต้องเร่งดำเนินการ ตามที่คณะกรรมการกำหนดไว้ ส่วนวิธีการในการบริหารนั้นก็ขึ้นอยู่กับทาง คุณสมเจตน์เองว่าจะมีวิธีอย่างไร โดยเป้าหมายในการปรับโครงสร้างหนี้ก็จะยังคงอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท และเชื่อว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามที่ตั้งไว้" ประธานกรรมการบริหารทีเอเอ็มซี กล่าว

นายสถิตย์กล่าวว่า เป้าหมายในการปรับโครงสร้างหนี้ของทีเอเอ็มซี จะสามารถดำเนินการได้ทันภายในครึ่งปีหลังนี้ โดยยังคงเน้นให้มีการปรับโครงสร้างกิจการมากขึ้น เจาะจงในรายสาขาอุตสาหกรรมมากขึ้น นอกจากนั้นจะดึงนักลงทุนเข้ามาร่วมในกิจการของทีเอเอ็มซีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเร่งนำสินทรัพย์ที่มีอยู่มาพัฒนา รวมทั้งล่าสุดจะร่วมมือกับการเคหะแห่งชาติในการพัฒนาสินเชื่อให้มีมูลค่าเพิ่มก่อนขายออกไป

ดึงคนวงการไฟแนนซ์เข้าร่วม

นายประเสริฐ เอื้อกมลสุโข อดีตกรรมการบริษัทดิจิตอล ออนป้า อินเตอร์เนชั่นแนล (DOI) เปิดเผยว่า สาเหตุที่ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทดิจิตอล ออนป้า เนื่องจากตนได้ลาออกจากการเป็นผู้บริหารของกองทุนคิวเวสต์ เอเซียซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทดิจิตอล ออนป้า เพื่อที่จะไปร่วม งานที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ ไทย(บสท.) ภายในวันที่ 2 กันยายน 2545 นี้ โดยจะเข้าไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายปรับโครงสร้างกิจการ

ทั้งนี้สาเหตุที่ไปร่วมงานกับ บสท.เนื่องจากได้รับการชักชวนรวมถึงมองว่าเป็นงานที่ท้าทาย ซึ่งถ้าแก้ปัญหาหนี้เสียที่ บสท.ดูแลอยู่ได้ ก็จะส่งผลดีต่อประเทศ

"ยอมรับว่าการทำงานที่ บสท.มีความหนักใจเหมือนกัน เนื่องจากมีหนี้เสียที่จะต้องแก้ไขจำนวนมากแต่เชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้ และมองว่างาน ทุกแห่งก็มีปัญหาเหมือนกันหมด แต่งานของบสท. จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นอย่างดี รวมถึงเชื่อว่านายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ที่จะเข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บสท.คนใหม่ก็เป็นคนที่มีความสามารถเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป"

นายประเสริฐ เคยทำงานด้านวาณิชธนกิจในบริษัทหลักทรัพย์มาแล้วหลายแห่ง ช่วงที่ผ่านมาประกอบด้วย บล.เจ.เอฟ.ธนาคม,บล.นครหลวงเครดิต และบริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทยธนกิจซึ่งขณะนี้ เปลี่ยนเป็น บล.บีที ถือว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินเป็นอย่างมากโดยล่าสุด เข้ามาเป็นผู้บริหารให้กับกองทุนคิวเวตส์ เอเซียซึ่งเป็นกองทุนจากต่างประเทศที่นำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us