ฟิทช์ อิบ คาจัดอันดับธนาคารพาณิชย์ไทย เพิ่มอันดับความแข็งแกร่ง "ดีบีเอสไทยทนุ-เอเชีย"
ส่วนนครหลวงไทยขึ้นมาเท่าแบงก์ใหญ่ ยก 5 แบงก์เอกชนผลประกอบการดีขึ้นต่อเนื่อง
ในขณะที่แบงก์กรุงศรีอยุธยา ทหารไทยมีฐานะทางการเงินที่อ่อนแอกว่าแบงก์อื่น
อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมแบงก์พาณิชย์ทั้งระบบยังต้องใช้เวลาพัฒนาคุณภาพของสินทรัพย์อีกระยะจึงจะกลับไปสู่ความมั่งคั่งในอดีต
บริษัทจัดอันดับเครดิต ฟิทช์ อิบ คา ยังคงพิจารณาอันดับเครดิต ระดับสากลระยะยาวของธนาคารกรุงเทพ
(BBL) ธนาคารกรุงไทย (KTB) ธนาคารกสิกรไทย (TFB) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ธนาคารทหารไทย (TMB) และธนาคารเอเชีย (BOA) ไว้ที่ระดับเดิม
โดยฟิทช์ได้เพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ
(DTDB) เพิ่มเป็น C/D จาก D และธนาคารนครหลวง ไทย (SCIB) เพิ่มเป็น D/E จาก
E ขณะเดียวกันก็ได้เพิ่มอันดับเครดิต ภายในประเทศระยะสั้นของธนาคาร กสิกรไทย
เพิ่มเป็น F1+(tha) จาก F1(tha) โดยแสดงให้เห็นถึงความแข็งแรงของความคล่องตัวทางการเงินของธนาคาร
และคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคารกสิกรไทย และธนาคารเอเชียไว้ที่ระดับเดิม
ส่วนธนาคารดีบีเอสไทยทนุ กลายเป็นธนาคารที่ได้รับประโยชน์ จากการที่ใช้วิธีที่เข้มงวดและรวบรัดมากขึ้น
ทั้งในการเพิ่มทุนการ กำจัดหนี้เสีย และการปรับโครงสร้าง การดำเนินงาน การจำหน่ายหนี้เสีย
ส่วนที่เหลือและมาตรการในการลดค่าใช้จ่ายของธนาคารที่ทำใน ปี 2543 นั้น ทำให้ฐานะทางการเงิน
ของธนาคารแข็งแกร่งขึ้นรวมทั้งยังส่งผลให้ผลประกอบดีขึ้น
การเพิ่มระดับความแข็งแกร่ง ทางการเงินของธนาคารเอเชียจาก D/E เป็น D ในช่วงเดือนมิถุนายน
ที่ผ่านมา สะท้อนถึงความสำเร็จใน การเพิ่มทุนของธนาคาร ซึ่งทำให้ฐานะการเงินของธนาคารนั้นแข็งแกร่งขึ้นอย่างมีสาระสำคัญ
และทำให้มีเงินทุนเพียงพอที่จะรองรับการเติบโตในอนาคต
อันดับความแข็งแกร่งทาง การเงินที่มีการเปลี่ยนแปลง เป็น การวิเคราะห์ถึงสถานะทางการเงินของธนาคารเป็นหลัก
โดยไม่ได้นำ ปัจจัยช่วยเหลือจากรัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ ซึ่งอันดับ
ที่ฟิทช์ให้กับธนาคารไทยนั้นยังคงอยู่ในช่วงระดับที่ต่ำ เมื่อเทียบกับ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของฟิทช์ที่มีอยู่ตั้งแต่ระดับ
A จนถึง ระดับ E
แม้ว่าฟิทช์จะตระหนักถึงความคืบหน้าทางการปฏิรูปที่ดีขึ้น ที่ธนาคารไทยได้ทำในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา
แต่จำนวนหนี้เสียที่ยังอยู่เมื่อรวมกับหนี้ ที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว
ยังคงอยู่ในประมาณครึ่งหนึ่งของบัญชีงบดุลของธนาคาร ซึ่งก็หมายถึงว่าการ
ที่จะทำให้คุณภาพของสินทรัพย์นั้นกลับมาแข็งแกร่งเหมือนเดิมนั้นต้องใช้เวลาอีกหลายปี
อย่างไรก็ตาม ฟิทช์คาดว่าธนาคารดีบีเอสไทยทนุ ธนาคารเอเชีย ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นกลุ่มธนาคารเอกชนห้าแห่งที่มีความแข็งแกร่งทางการเงินสูง
เมื่อเทียบกับธนาคารอื่นๆในประเทศ จะเป็นกลุ่มธนาคารที่จะแสดงผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงสองถึงสามปีข้างหน้า แต่ผลประกอบการที่คาดว่าจะดีขึ้นนั้น ยังคงขึ้นอยู่กับการฟื้นฟูของเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรม
และความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างของระบบธนาคาร
อันดับเครดิตระดับสากลระยะยาวของธนาคารที่ใหญ่ที่สุด 4 แห่ง คือธนาคารกรุงเทพ
ธนาคาร กรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งอยู่บนความ แข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร
และความสำคัญของธนาคารต่อระบบเศรษฐกิจของไทย รวมถึงความเป็นไปได้ที่ธนาคารจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล
ตราบใดที่ความแข็งแกร่งทาง การเงินของธนาคารเหล่านี้ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
และระดับความเป็นไปได้ที่ธนาคารจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลรวมถึงอันดับเครดิตของประเทศไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งอันดับเครดิต ของธนาคารเหล่านี้มีแนวโน้มว่า จะคงอยู่ในระดับเดิม
ส่วนอันดับเครดิตของธนาคาร ทหารไทยและธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ที่ต่ำกว่าอันดับเครดิตของ
ธนาคารข้างต้น เป็นเพราะฐานะทางการเงินที่อ่อนแอกว่า รวม ถึงขนาดของธนาคารที่เล็กกว่า
ทำให้ธนาคารมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและระดับความเป็นไปได้ ที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลที่ต่ำกว่าธนาคารขนาดใหญ่ทั้ง
4 แห่ง
เช่นเดียวกับการปรับเปลี่ยนที่ดีขึ้นของธนาคารกรุงไทยในปี 2543 ที่สภาพการณ์ของธนาคาร
นครหลวงไทยได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา หลังจากที่ ธนาคารทั้งสองได้ทำการโอนหนี้เสียเกือบทั้งหมดที่มีไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่สนับสนุนโดยรัฐบาลแล้ว
แต่ธนาคารทั้ง 2 แห่ง ยังคงต้องผ่านขั้นตอนในการพัฒนาปรับโครงสร้างการบริหารองค์กร
เพื่อที่จะบรรลุความสำเร็จ ในการดำเนินงานทางธุรกิจต่อไป
การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ของธนาคารกรุงไทยในช่วงปีที่ผ่านมา ที่เน้นการให้สินเชื่อเพื่อการเติบโตอย่างก้าวกระโดดนั้น
อาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจในด้านคุณภาพของสินทรัพย์ที่อาจมีปัญหาในอนาคต
รวมถึงผลกระทบต่อผล กำไรของธนาคารเอกชนอื่นๆ
หลังจากการควบรวมกิจการของธนาคารศรีนครและธนาคารนครหลวงไทย อันดับเครดิตของ
ธนาคารศรีนครได้ถูกยกเลิกไป การควบรวมกิจการของธนาคารนครหลวงไทยและธนาคารศรีนครนั้น
เป็นก้าวที่พัฒนาไปในทางที่ดี ประกอบกับรัฐบาลไทยมีแผนที่จะลดสัดส่วนการถือหุ้นในธนาคารกรุงไทยและธนาคารนครหลวงไทย
ลงภายในปี 2546 แต่ตราบใดที่ภาค รัฐยังคงมีสัดส่วนการถือครองหุ้นที่สูงในธนาคารอยู่
ผลประกอบการ ของธนาคารก็น่าจะยังคงได้รับผลกระทบอยู่อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้แสดงเจต-จำนงว่า อาจมีการเปลี่ยนแปลงระบบรับประกันเงินฝากในขณะนี้ไปเป็นรับประกันแบบจำกัดวงเงินในปีหน้า
และอาจจะยกเลิกการ รับประกันการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้โดย กองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา
ระบบสถาบันการเงินที่ได้ทำในปี 2540 ซึ่งการยกเลิกการประกันนี้เป็นหนึ่งในแนวทางการพัฒนาไปใน
ทางที่ดี ที่จะช่วยฟื้นฟูให้ระบบการทำงานของธนาคารให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น
การประกันเงินฝากโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินนั้นเป็นเพียงมาตรการชั่วคราวที่ช่วยยับยั้งปัญหาการถอนเงินฝาก
แต่มาตรการ นี้ไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหนี้ทั้งหมดของธนาคาร ดังจะเห็นได้จากการที่เจ้าหนี้แบบด้อยสิทธิได้รับความเสียหายจากการที่ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ
ถูกปิดลง
ในความคิดเห็นของฟิทช์ ยกเว้นธนาคารบางแห่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจ
การสนับสนุนของ รัฐบาลในอนาคต แม้กระทั่งต่อ เจ้าหนี้ไม่ด้อยสิทธิก็ยังมีความ
ไม่แน่นอน เนื่องจากระดับหนี้สาธารณะที่สูงขึ้นอย่างมากหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ
การยกเลิกการประกันโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา
ระบบสถาบันการเงินนั้นไม่น่าจะมีผลกระทบต่ออันดับเครดิตของธนาคารที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ
ณ ปัจจุบัน แต่อาจมีผลกระทบต่ออันดับเครดิตของธนาคารที่มีสถานะทางการเงินที่อ่อนแอกว่า
ในขณะที่จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้โดยเฉลี่ย ได้ลดลงมา อยู่ที่ประมาณ
20% ของจำนวนหนี้ทั้งหมด มีหนี้จำนวนมากที่ได้รับ การปรับโครงสร้างหนี้แล้วได้รับการจัดชั้นใหม่ให้เป็นหนี้ปกติ
โดยวิธีการในการปรับโครง สร้างหนี้ ทำโดยการยืดเวลาการชำระหนี้ออกไป ทำให้หนี้เหล่านี้มี
ความเสี่ยงสูงต่อการกลับมาเป็นหนี้ เสียใหม่ได้ ถ้าสภาวะเศรษฐกิจมีการถดถอยหรืออัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น
หนี้เสียที่เกิดขึ้นใหม่และการกลับมาของหนี้เสียที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว
อาจส่งผล ให้ผลประกอบการของธนาคารปรับตัวดีขึ้นช้ากว่าที่ควร
ธนาคารที่มีความแข็งแกร่งกว่าซึ่งรวมถึงธนาคารดีบีเอสไทยทนุ ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารเอเชีย ได้เพิ่มสัดส่วน เงินสำรองขึ้นมากในช่วง 4
ปีที่ผ่านมา จนสัดส่วนมาอยู่ที่ระดับประมาณ 50% ของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ทั้งหมด
ซึ่งระดับเงินสำรองนี้น่าจะเพียงพอแต่ความเสี่ยงนั้นก็ยังคง มีอยู่
โดยเฉพาะเมื่อธนาคารมีสัดส่วนของทุนสามัญในระดับที่ต่ำ และมีสัดส่วนหนี้ที่ปรับโครงสร้างอยู่
ในระดับสูง ซึ่งทำให้สัดส่วนเงิน สำรองต่อหนี้ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้รวมกับหนี้ที่ได้รับการปรับโครงสร้าง
หนี้แล้ว อยู่ในระดับต่ำ ระดับเงิน สำรองที่ต่ำของธนาคารที่อ่อนแอบาง แห่ง
ซึ่งอยู่ที่ประมาณครึ่งหนึ่งของ ธนาคารอื่นๆ ในประเทศไทยนั้น ทำ ให้ธนาคารที่อ่อนแอมีความเสี่ยงใน
ส่วนของผลประกอบการ ว่าอาจ จะอยู่ในระดับที่อ่อนแอเป็นเวลานานขึ้น เนื่องจากการเติบโตของสินเชื่อยังคงอยู่ในระดับต่ำ
สิ่งที่ทำให้ผลประกอบการของ ธนาคารดีขึ้น มาจากการลดลงอย่าง มากของต้นทุนทางการเงิน
และการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารเอเชีย
และธนาคารดีบีเอสไทยทนุ เป็นกลุ่ม ธนาคารที่ผลประกอบการส่งสัญญาณการฟื้นตัว
บนพื้นฐานของ การเติบโตของสินเชื่อเพื่อลูกค้ารายย่อย แต่ระดับการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจปัจจุบันก็ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ
และอาจ เป็นปัจจัยลบที่ทำให้การฟื้นตัวของรายได้ แม้กระทั่งธนาคารที่มีความ
แข็งแรงกว่า เป็นไปอย่างไม่เร็วเท่าที่ควร
ธนาคารที่ได้รับผลจากการประกาศอันดับเครดิตครั้งนี้ ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ
อันดับเครดิตระดับสากลระยะ ยาว BB+ แนวโน้มมีเสถียรภาพ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินระดับD/E
ธนาคารกรุงไทย อันดับ เครดิตระดับสากลระยะยาว BB+ แนวโน้มมีเสถียรภาพ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินระดับ
D/E ธนาคารกสิกรไทย อันดับเครดิตระดับสากลระยะยาว BB+ แนวโน้ม มีเสถียรภาพ
อันดับความแข็งแกร่ง ทางการเงินระดับ D อันดับเครดิต ภายในประเทศ ระยะยาว
AA-(tha) ระยะสั้นเพิ่มเป็น F1+(tha)จาก F1(tha) ธนาคารไทยพาณิชย์ อันดับ
เครดิตระดับสากลระยะยาว BB+แนวโน้มมีเสถียรภาพ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินระดับ
D/E
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อันดับ เครดิตระดับสากลระยะยาว B+แนว โน้มเป็นลบ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
E ธนาคารทหารไทย อันดับเครดิตระดับสากลระยะยาว BB- แนวโน้มมีเสถียรภาพ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
D/E ธนาคารเอเชีย อันดับเครดิตระดับสากลระยะยาว BBB- แนวโน้มมีเสถียรภาพ
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน D อันดับเครดิตภาย ในประเทศ ระยะยาว AA+(tha)
หุ้นกู้ด้อยสิทธิ AA(tha) ระยะสั้น F1+(tha) ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ อันดับความแข่งแกร่งทางการเงินเพิ่มเป็น
C/D จาก D
ธนาคารนครหลวงไทย อันดับ ความแข็งแกร่งทางการเงินเพิ่มเป็น D/E จาก E ธนาคารศรีนคร
ยกเลิก อันดับเครดิตสนับสนุนระดับ 4 และยกเลิกอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินระดับ
E