Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2543
Bullseye!             
 





Bullseye! เป็นหนังสือบังคับอ่านสำหรับบริษัท ที่บริหารแบบเน้นการตรวจวัด ซึ่งหมายถึงบริษัท ที่ใช้มาตรการตรวจวัดเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ทีมผู้เขียน ซึ่งเป็นผู้ ริหารบริษัทที่ปรึกษา "เมตรัส กรุ๊ป" แห่งนิวเจอร์ซี เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นโดยอาศัยแนวคิดจากงานเขียนของโรเบิร์ต แคปแลน และเดวิด นอร์ตัน ซึ่งเสนอว่าบริษัทจะต้องมีมาตรการตรวจวัดผลประกอบการในสี่ด้าน ด้วยกันคือ ด้านการเงิน กระบวนการดำเนินงานภายใน ด้านลูกค้า และด้านการ เรียนรู้ และการเติบโต ชีแมน และ ลินเกิล ได้ขยายขอบข่ายดังกล่าวเป็นหกส่วน โดยตัดเรื่องการเรียนรู้ และการเติบโตออกไป และเพิ่มสองขอบข่ายต่อไปนี้คือ

- ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมทั้งผู้ถือหุ้น ที่จะมีผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัท เช่น หน่วยงานผู้ออกกฎระเบียบต่างๆ

- หุ้นส่วน/ซัปพลายเออร์ ซึ่งรวมทั้งซัปพลายเออร์ทางด้านวัตถุดิบ และด้านแรงงานด้วย

ทั้งนี้ บริษัทแต่ละแห่งย่อมมีจุดเน้นในแต่ละขอบข่ายแตกต่างกันไป เช่น โรงกลั่นน้ำมันย่อมมียุทธศาสตร์ ที่เน้นไป ที่มาตรการตรวจวัดด้านการดำเนินงาน และด้านสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ยุทธศาสตร์ของเชนค้าปลีกย่อมเน้นมาตรการตรวจวัดทางด้านการตลาด และบุคลากรมากกว่า อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นพื้นฐานเหมือนกัน ก็คือ มาตรการตรวจวัดนั้น เป็นกุญแจ ที่ช่วยให้บริษัทได้ ระบุถึง และบรรลุถึงเป้า หมายเชิงยุทธศาสตร์ของตนได้อย่างชนิดเล็งได้ตรงเป้า

จะตรวจวัดอย่างไร?

เนื้อหาหลักของหนังสือแบ่งเป็นกระบวนการสร้างองค์กร ที่บริหารแบบใช้มาตรการตรวจวัด ซึ่งมีสี่ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนแรกเป็นการกำหนดยุทธศาสตร์ คือ ให้มีการเจรจากันก่อนในเรื่องมาตรการตรวจวัด ซึ่งจะช่วยลบความไม่พอใจพื้นฐานในหมู่ผู้บริหาร และช่วยให้รู้ว่าจะดำเนินการตามยุทธศาสตร์ใดบ้าง จึงต้องอธิบายยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน และต้อง มั่นใจว่ามีการตกลงกันในเรื่องยุทธศาสตร์เป็นอันดับแรก เพราะเมื่อมียุทธศาสตร์แล้ว ถึงจะรู้ได้ว่าจะต้องตรวจวัดผลการดำเนินงานในด้านใดบ้าง

ขั้น ที่สอง เป็นการออกแบบมาตรการตรวจวัดให้เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนแนะนำว่าองค์กรควรเริ่มโดย "ทดลองทฤษฎีทางธุรกิจ" กับผู้ถือ

หุ้น ที่ไม่ได้อยู่ในทีมผู้บริหารระดับสูง ซึ่งจะเป็นการวางขอบข่ายพื้นฐานในการระบุ และทดสอบมาตรการในการตรวจวัดแบบต่างๆ เมื่อพบมาตรการตรวจวัด ที่เหมาะสมแล้วก็จะมีการตั้งเป้าหมายของผลการดำเนินงาน จากนั้น จึงตั้งผู้ดูแลกระบวนการดังกล่าว และให้เป็นผู้ดูแลกระบวนการตรวจวัดต่อไป

ขั้นตอน ที่สาม มาตรการตรวจวัดต้องจัดให้เป็นลำดับลดหลั่นลงมาสู่ระดับล่างขององค์กร ซึ่งหมายความว่ากลุ่มงานต่างๆ ในระดับล่างจะต้องพัฒนาเป้าหมาย ของตนเอง รวมทั้งยุทธศาสตร์ และมาตรการตรวจวัด ที่ปรับให้เป็นแนวเดียวกับยุทธศาสตร์ และมาตรการตรวจวัดของหน่วยงานในระดับ ที่สูงขึ้น

ขั้นตอนสุดท้าย เป็นการวางระบบมาตรการตรวจวัด ซึ่งจะมั่นใจได้ว่า ระบบอื่นๆ ตลอดจนกระบวนการทำงาน และโครงสร้างขององค์กรสนับสนุน มาตรการตรวจวัด เพราะพนักงานจะไม่ทำตามเป้าหมาย ที่มีการระบุชัดเจน แล้ว และมีการจัดทำมาตรการ ตรวจวัด หากระบบการจ่ายผลตอบแทนไป สนับสนุนให้พนักงานรายนั้น ทำสิ่งอื่น

Bullseye! จึงเป็นคู่มือด้านการตรวจวัดเชิงยุทธศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ อ่านเข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ต่อยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ และนักยุทธศาสตร์ ที่ ต้องการเล็งให้ตรงเป้า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us