เปิดแนวคิดว่าที่ซีอีโอ คนใหม่ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น ใช้การทำงานแบบซูเปอร์ทีมมากกว่าซูเปอร์แมน
เร่งพัฒนาบุคลากร ลดขั้นตอนบังคับบัญชาให้แบนราบ เหมือนรูประฆังโดนกดเป็นซาลาเปา
ย้ำหมดยุคโครงสร้างแบบคอขวดที่ซีอีโอ รวบอำนาจทุกอย่างไว้ในมือ พร้อมเตรียม
ปรับบอร์ดใหม่เด้งสุธรรม มลิลา พ้นเก้าอี้กรรมการ อ้างหลักบรรษัทภิบาลและความฉาวโฉ่หลายโครงการในมือ
สุธรรม
แหล่งข่าวจากบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่าในการประชุมบอร์ดบริษัท ทศท
คอร์ปอเรชั่น ในวันที่ 29 ส.ค.ที่จะถึงนี้จะมีการพิจารณา เลือกกรรมการผู้จัดการใหญ่
ภายหลังจากที่คณะกรรมการสรรหาส่งราย ชื่อให้พิจารณา 2 คนประกอบด้วยนาย สิทธิชัย
ส่งพิริยะกิจ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทศท คอร์ป และนายมัชฌิมา กุญชร ณ อยุธยา
รองกรรมการผู้จัดการสายบริหารและการเงิน บริษัท ผลิตไฟฟ้า
ในการประชุมคณะกรรมการสรรหา เป็นการสัมภาษณ์ผู้สมัคร 4 คนคือนายสิทธิชัย
นายมัชฌิมา นายอรัญ เพิ่มพิบูลย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทศท คอร์ปและดร.สมควร
บรูมินเหนทร์ ผู้ช่วยกรรม การผู้จัดการใหญ่ ทศท คอร์ป ปรากฏว่าได้คะแนนเรียงตามลำดับคือ
90,80,76และ70 คะแนน ทำให้คณะกรรมการสรรหาตกลงส่งชื่อคนที่ได้คะแนนสูงสุด
2 คนแรกให้บอร์ดทศท คอร์ป พิจารณา
สาเหตุสำคัญที่ทำให้นายสิทธิชัยเข้าตากรรม การมากที่สุดคือวิชั่นและแนวคิดในการบริหารงาน
ซึ่งปฏิเสธการทำงานแบบซูเปอร์แมนหรือประเภทเป็นพระเอกเก่งคนเดียว แต่จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรมากที่สุด
โดยแนวคิดของเขาต้องการทำงานแบบซูเปอร์ทีม เอาผู้บริหารระดับรอง กรรมการผู้จัดการใหญ่
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารระดับรอง เข้ามาทำงานร่วมกัน รับผิดชอบและตัดสินใจร่วมกัน
"แนวคิดและการให้สัมภาษณ์ของนายสิทธิชัย เรียกได้ว่ามองเห็นอนาคตและทิศทางของทศท
คอร์ป ชัดเจนมาก แต่ประเด็นสำคัญที่สุดคือการให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและนำผู้บริหารระดับรองๆ
เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน หากเปรียบเป็นโครงสร้างก็เหมือนเป็นรูประฆัง
แล้วกดลงทำให้แบนราบเหมือนซาลาเปา ให้การบริหารคล่องตัวสูงสุด ไม่กระจุกเป็นคอขวดเหมือนการบริหารรูปพีระมิด
ที่นายสุธรรม มลิลา กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทศท คอร์ปใช้การบริหารงานทุกวันนี้
ในลักษณะทุกเรื่อง ทุกงาน ต้องตัดสินใจคนเดียว กุมอำนาจทุกอย่างหมด"
ส่วนกรณีนายมัชฌิมา กรรมการเห็นว่า เมื่อพิจารณาความสำเร็จในอดีต ก็พอๆกัน
แต่แนวคิดกลับเป็นวิชันด้านเดียวคือด้านการเงินที่มีความเชี่ยวชาญมาก แต่ขาดความเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับด้านสื่อสารโทรคมนาคม
อย่างกรณี การคืนเงินประกัน 3,000 บาทซึ่งทศท คอร์ปจำเป็นต้องคืนให้ลูกค้าตามกม.ซึ่งมีผลตั้งแต่
17 พ.ย. 2544 แต่เขากลับคิดว่าทำไมต้องคืน สู้รัฐเก็บไว้ทำประโยชน์ดีกว่า
และเห็นว่ากม.ไม่มีผลย้อนหลัง
"กรรมการเห็นว่าเขาไม่รู้จริงเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นแกนสำคัญด้านโทรคมนาคม
และยังตอบกรรมการว่าการที่เป็นคนนอกต้องใช้เวลาเร็วที่สุด 1 ปีหรืออย่างช้า
2 ปีในการทำงานให้ลุล่วงในตำแหน่งกรรมการผู้จัการใหญ่ทศท คอร์ป ทำให้เห็นว่าหากได้เข้ามาทำงานคงต้องเสียเวลาเรียนรู้งานมากเกินไป
ในขณะที่ทศท คอร์ปรอไม่ได้"
ส่วนนายอรัญ เพิ่มพิบูลย์ ซึ่งถึงแม้ว่าเป็นคนใน เป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่
ทศท คอร์ป เป็นคนที่คาดหวังตำแหน่งนี้ไว้สูง ก็สอบไม่ผ่านในความเห็นของกรรมการสรรหา
ที่คิดว่ารองอรัญ ขาดภาวะการเป็นผู้นำ โดยเฉพาะเมื่อถูกถามถึงโครงการ โทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบทหรือ
TDMA ที่มีเรื่องอื้อฉาวอยู่ในขณะนี้ทั้งประเด็นการสร้างความต้องการเทียม
เพื่อกำหนดจุดติดตั้งในระบบดาวเทียม หรือการเวียนอุปกรณ์รับมอบ หรือการซื้ออะไหล่สำรองล่วงหน้าทั้งๆที่โครงการยังไม่แล้วเสร็จ
หรือยังอยู่ในกำหนดการซ่อมบำรุงของเอกชน
รองอรัญเป็นผู้บริหารคนหนึ่งที่มีส่วนเกี่ยว ข้องในโครงการนี้ แต่เขากลับตอบกรรมการสรรหาว่าไม่รู้เรื่อง
เป็นเพียงผู้ปฏิบัติ ทั้งๆที่เขามีส่วนในการ นำเสนอด้วย
"เป็นผู้บริหารระดับสูงควรรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ใช่พอเกิดปัญหากลับกระโดดหนี"
นอกจากนี้เมื่อถูกถามถึงอายุราชการที่เหลือเพียง 1 ปีเศษกับสิ่งที่ต้องการทำ
รองอรัญกลับมองภาพเล็กเลือกแค่เฉพาะโครงการที่ต้องการทำ 3 เรื่อง คือ 1.
เรื่องการนำหุ้นทศท คอร์ปเข้าตลาดหลัก ทรัพย์หรือการทำ IPO 2. เรื่องโครงการโทรศัพท์สาธารณะที่ทำรายได้ให้จำนวนมาก
สมควรมีการเร่งรัดอย่างเร่งด่วนและ 3. การทำกลุ่มธุรกิจทั้ง 9 BGในแนวคิดของรองอรัญ
สำหรับคนที่ได้คะแนนน้อยที่สุด อย่างดร. สมควร ในแง่ความสำเร็จในอดีต ที่สำเร็จมองไม่เห็นภาพชัดเจนนัก
แต่ที่ล้มเหลวทำให้เกิดปัญหาทุก วันนี้ เห็นได้ชัดอย่างโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่
1900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ติดตั้งเครือข่ายล่าช้าทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสัญญาที่ทำไว้กับเอกชน
ในประเด็นการหาสถานที่ติดตั้งสถานีฐานหรือเซลไซต์ เป็นหน้าที่ของทศท แทนที่จะให้เป็นหน้าที่ของซัปพลายเออร์
ในการสัมภาษณ์ นายสิทธิชัยเป็นคนเดียวที่ใส่ ชุดพระราชทาน ในขณะที่คนอื่นใส่สูท
ผูกเนกไท แถมบางคนยังมีการแจกเอกสารเพิ่ม ซึ่งหากเป็นงานประมูลทั่วๆไปถือว่าตกสเปกเพราะทำผิดทีโออาร์
แต่นายสิทธิชัยใช้วิธีตอบปากเปล่า ไม่แจกเอกสารเพิ่มตามแนวทางสัมภาษณ์ทั่วไป
"นายมัชฌิมาถือกระเป๋า ดร.สมควรมีถุงเอกสาร นายอรัญหนีบแฟ้ม แต่นายสิทธิชัยเดินตัวเปล่าเข้าไปสัมภาษณ์"
สหภาพฯตีปีกได้คนใน
นายมิตร เจริญวัลย์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทศท คอร์ปอเรชั่น
(สรท.) ให้ความ เห็นในมุมมองตัวแทนพนักงานกว่า 2 หมื่นคนที่เป็นสมาชิกสรท.และเป็นพนักงานว่าเป็นไปตามความคาดหมายว่าคนในควรจะเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่
จุดยืนของสรท.คือต้องการคนใน แต่การที่ทศท คอร์ป เป็นรัฐวิสาหกิจมานาน
ผู้บริหารอาจไม่มีความ เชี่ยวชาญหรือประสบการณ์บริหารในเชิงธุรกิจหรือด้านการเงินมากพอ
แต่กรณีที่นายมัชฌิมาที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการเงินมาร่วมสมัครด้วย
และเมื่อผลการสรรหาออกมา ทำให้เห็นภาพว่าผู้บริหารที่เป็นคนในอย่างนายสิทธิชัยก็มีความเป็นผู้บริหารมืออาชีพและสามารถแข่งขันกับผู้บริหารมืออาชีพจากที่อื่นได้
"เมื่อนายมัชฌิมา มาสมัครประกบรองสิทธิ ทำให้ภาพรองสิทธิดีขึ้นมาก
แสดงว่าคนในเก่งกว่า นอกจากนี้สิ่งที่รองสิทธิเห็นตรงกับสรท.คือไม่มีความ
คิดในการแปรสัญญา หากต้องมีการแปรสัญญาจริงก็ควรเป็นหลังปี 2006 ซึ่งเป็นปีเปิดเสรีโทรคมนาคม
และหลังจากที่มีคณะกรรมการกำกับกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) เกิดขึ้นแล้ว"
นายมิตรกล่าวย้ำแนวคิดของนายสิทธิชัยว่าที่กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทศท คอร์ปในส่วนที่เกี่ยวข้อง
กับพนักงานว่า "สำหรับพนักงานจะไม่มีการเลิกจ้างเด็ดขาด แต่จะให้มีโครงการสมัครใจลาหรือ
Early Retries ซึ่งรองสิทธิ พร้อมที่จะสร้างงานให้พนักงานที่ไม่พร้อมจะลงในกลุ่มธุรกิจหรือ
BG ไหน เพื่อ ให้มีงานทำ"
เขายกตัวอย่างว่าพนักงานอาจรวมกลุ่มกันตั้งสำนักงานทนายความขึ้น และหากทศท
คอร์ป มีคดี ความหรือต้องการใช้ทนาย ก็จะว่าจ้างสำนักงานทนาย ความดังกล่าวเป็นเวลา
3 หรือ 5 ปี นอกจากนี้สำนักงานก็อาจไปว่าความคดีอื่นๆก็ได้ หรือรวมตัวกันตั้งบริษัทรถเช่า
บริษัทยามรักษาความปลอดภัย บริษัททำความสะอาด หรืออาจตั้งบริษัทคอมพิวเตอร์
มาให้ทศท คอร์ปเช่า ปรับบอร์ดเด้ง "สุธรรม"
แหล่งข่าวกล่าวว่าภายหลังจากที่บอร์ดทศท คอร์ป เลือกกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่
ตามที่คณะกรรมการสรรหาเสนอมาได้แล้ว ก็จะต้องแต่งตั้งเป็นกรรมการ บอร์ด เพื่อให้กรรมการเลือกขึ้นมาดำรงตำแหน่ง
"คาดว่าจะต้องมีการเปลี่ยนบอร์ดทศท คอร์ป เร็วๆนี้ โดยเฉพาะนายสุธรรม
มลิลา กรรมการผู้จัดการใหญ่คนปัจจุบันที่จะเกษียณในเดือนก.ย.นี้ และคิดว่าจะนั่งตำแหน่งกรรมการบอร์ดต่อไป
ก็คงต้องถูกปรับออก เพราะไม่อย่างนั้น เมื่อนายสิทธิชัยมาเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่
ก็จะทำงานได้ยากเพราะนายคนเดิมยังนั่งอยู่ เหมือนเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่เงา
คอยนั่งรักษาผลประโยชน์และกลบรอยแผลต่างๆที่ทำไว้ตอนมีอำนาจ"
การปรับนายสุธรรมออกจากตำแหน่งกรรม การบอร์ด เป็นเรื่องชอบธรรม ตามแนวบริหารงานบรรษัทภิบาลของกระทรวงการคลัง
ที่บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำเป็นต้องยึดปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีในการจัดตั้งบริษัท
โดยระบุไว้ว่า
"โดยทั่วไป ผู้บิรหารสูงสุดไม่ควรดำรงตำแหน่ง กรรมการของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ
ทันทีภายหลังจากที่ผู้บริหารสูงสุดผู้นั้นพ้นตำแหน่งแล้วอย่างน้อย 1-2 ปี"
วัตถุประสงค์ดังกล่าวก็เพื่อไม่ให้เกิดการฝังรากอำนาจแบบถาวร เพราะเมื่อสมัยเป็นผู้บริหารสูง
สุด มีอำนาจมากในการอนุมัติหรือดำเนินโครงการต่างๆ หากให้เป็นกรรมการต่อ
อาจเกิดการดูแลปกป้องอำนาจ หรือการนั่งทับกลบร่องรอยที่ตัวเองทำเอาไว้
แต่ที่สำคัญ ทศท คอร์ป เคยได้รับรางวัลบรรษัทภิบาลในปีที่ผ่านมา จากคณะกรรมการตัดสินนานาชาติ
ของสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย ให้เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่มีการปฏิบัติอันเป็นเลิศตามหลักการบรรษัทภิบาลแห่งปี
2544 ("The Best practices on Corporate Governance Award Contest 2001")
และปีนี้หวังที่จะรักษาตำแหน่งไว้ให้ได้ รวมทั้งยังอยู่ในการช่วงการแปรสภาพนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
การเป็นบรรษัทภิบาลยังเป็นเครื่องมือทางอ้อมที่ช่วยเพิ่มมูลค่าขององค์กรได้ดี
ความจำเป็นที่ต้องปลดนายสุธรรมออกจากกรรมการบอร์ด หนีไม่พ้นกงกรรมกงเกวียนที่เขาก่อไว้เอง
ตอนนี้มีพนักงานทศท คอร์ป ยื่นเรื่องให้ปปช.5 เรื่องอย่างโครงการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบท
ปี 2539-2541,การเช่าโทรศัพท์ในระบบ WLL,การจัดซื้อที่ดิน,การตั้งบริษัทสามารถ
และไออีซีทำการตลาดโทรศัพท์มือถือ 1900 เมกะเฮิรตซ์และการพาดสายเคเบิลทีวี
กรณี โทรศัพท์ในระบบ WLL บริษัทที่ได้สัญญาคือบริษัท มิตซูบิชิ (ประเทศไทย)
ที่เสนอให้เช่า 12 โซนๆละ 20,000 เลขหมาย ใช้เทคโนโลยี PHS โดยเสนออุปกรณ์ของ
Kyocera ประเทศญี่ปุ่น ในอัตรา 680 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน รวมเป็นงบประมาณเกือบ
6,000 ล้านบาท
โครงการนี้ถือว่าน่าเป็นห่วงมากเพราะการเช่าในอัตรา 680 บาท ถึงแม้จะเป็นเทคโนโลยีทันสมัยเหมาะกับยุคการแข่งขันเสรี
แต่รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายที่ผู้บริหารมักอ้างว่าสูงถึง 700 บาทเพื่อให้เห็นว่าค่าเช่า
680 บาทสมเหตุสมผล ในความเป็นจริงมันไม่สูงขนาดนั้น หากต้องเสียค่าเช่าแพงในขณะที่รายได้เพียงไม่กี่ร้อยบาทก็เท่ากับทำให้ต้นทุนในการบริหารงานสูงขึ้น
"โครงการอย่างนี้เกิดในสมัยนายสุธรรมเป็นผู้อำนวยการทศท. ในขณะที่รองสิทธิชัยค้านในประเด็นค่าเช่าจะต้องไม่แพงเกินกว่ารายได้ที่ทศท.
ควรจะได้รับ ซึ่งแสดงให้เห็นชัดถึงแนวคิดที่แตกต่างกัน คนหนึ่งจะต้องประมูลให้ได้บริษัทนี้
แต่อีกคนหนึ่งมองภาพรวมองค์กรและผลประโยชน์ประเทศชาติมากกว่า"
นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่นายสุธรรม สั่งการให้บริษัทคู่สัญญาโครงการระบบสื่อสัญญาณความเร็วสูง
SDH หรือในชื่อ TNEP นำเคเบิลลงดิน 34 เส้นทาง ทำให้ทศท.เสียเงินเพิ่มอีกเกือบ
400 ล้านบาทโดยเป็น คำสั่งลงวันที่ 11 เม.ย.2544 ก่อนที่บอร์ดทศท.จะอนุมัติ
เรียกว่าในเรื่องหลักการบริหารงานก็สอบไม่ผ่าน เพราะทำก่อนเสนอบอร์ดที่หลัง
แต่ที่สำคัญทำ ให้รัฐเสียเงินเพิ่มมากขึ้นโครงการล่าช้าไม่แล้วเสร็จตามกำหนด
"หากนายสุธรรมยังนั่งเป็นกรรมการบอร์ดต่อไป ก็เป็นเรื่องยากที่กรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่จะบริหารทศท
คอร์ปให้เป็นบรรษัทภิบาลได้ เพราะนอกจากเรื่องพวกนั้นแล้ว ขนาดจะเกษียณเดือนก.ย.
บริษัทกำลังจะเข้าตลาดฯ ยังมีการประกาศเพิ่มเติมทีโออาร์โครงการขยายโทรศัพท์
5 แสนเลขหมายในทำนองไม่สนใจมติบอร์ด หากยังให้โครงการขนาดใหญ่อยู่ในมือ ก็น่าเป็นห่วงถึงอนาคตทศท
คอร์ป"