Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2543
The Greenspan Effect             
 





ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (เฟด) มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ทาง เศรษฐกิจนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 1931 แต่หน่วยงานนี้ยังไม่เคยได้ชื่นชมอำนาจของหน่วยงาน ที่มีครอบคลุมตลาดการเงินทั่วโลก

อะไรคือ เหตุผล? อลัน กรีนสแปน ประธานเฟด

กรีนสแปนเริ่มได้รับความสนใจเมื่อเขาสามารถยุติความล่มสลายของตลาดการเงินโลก ในปี 1987 ซึ่งนั่นมีส่วนผลักดันให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องได้เป็นระยะเวลานานที่สุด

คำปราศรัยของกรีนสแปนเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ปี 1996 ในงานเลี้ยงอาหารค่ำแห่งหนึ่ง ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (ช่วงนั้น ดัชนีหุ้นวอลล์สตรีทพุ่งทะยาน) เผยให้เห็นถึงอำนาจอันยิ่งใหญ่ของหน่วยงานกลางแห่งนี้ เมื่อเขาวิจารณ์เกี่ยวกับตลาดหุ้น ที่พุ่งติดจรวดว่า

"เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่มูลค่าของหุ้น ที่เติบโตรวดเร็วเช่นนี้ทำให้มูลค่าทรัพย์สิน ที่แท้จริงผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง"

คำพูดในค่ำคืนนั้น วกวนเสียจนหลายคนที่ฟังอยู่ไม่เข้าใจว่า กรีนสแปน กำลังเปรยเป็นเชิงสงสัยว่านักลงทุนในตลาดหุ้นขณะนั้น กำลัง "มีความคาดหวัง ที่เกินความเป็นจริง" ซึ่งคำพูด ที่ชวนให้ปวดหัวดังกล่าวนั้น ก็ได้รับการยอมรับเชิงความสามารถของเขาจากหลายคนอยู่ดี แต่ยังมีคนไม่เข้าใจ และมีข้อโต้แย้งโดยเฉพาะนักเศรษฐศาสตร์ คือ วิธีการลึกลับซ่อนเร้นของกรีนสแปน ที่ไม่เคยบอกว่าเฟดใช้สถิติไหนเป็น ตัวอ้างอิงในการติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ

ข้อเสียของกรีนสแปนไม่ใช่ความสามารถของขบวนการทางด้านความคิด แต่เป็นการใช้ภาษา ที่กำกวม ซึ่งคำพูดของเขาสามารถทำให้ตลาดการเงินทั่วโลกปั่นป่วนได้ ขณะที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์พยายามเหลือเกิน ที่จะทำความเข้าใจกับคำพูดของกรีนสแปน

กระนั้น ก็ตามเมื่อกรีนสแปนพูด ตลาดการเงินทั่วโลกต้องหยุดฟัง

คำวิจารณ์ของกรีนสแปนในงานเลี้ยงดังกล่าวส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลก ดำดิ่งลงทันทีถึง 5% เช้าวันต่อมาข่าวจากคำเตือนของเขาได้แพร่สะพัดถึงนักลงทุนในนิวยอร์ก ส่งผลให้หุ้นดาวโจนส์ทรุดฮวบทันที 2% หรือลดลงกว่า 140 จุด เพราะตลาดคาดการณ์ว่ากรีนสแปน จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อควบคุมความร้อนแรงของตลาดหุ้น แต่วอลล์สตรีทกลับตื่นตูมไปเสียเองเมื่ออัตราดอกเบี้ยไม่ได้ขยับเขยื้อนแม้แต่น้อย

นี่คือ สิ่งที่นักลงทุนประจักษ์ชัดในบทบาทของกรีนสแปน และผลกระทบ ที่เกิดขึ้นจากคำวิจารณ์เหล่านั้น ซึ่งเขาได้ชื่อว่าเป็น "บุรุษผู้ทรงอำนาจอันดับ สอง" รองจากประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา หนังสือ "The Greenspan Effect" เขียนโดย Dr.David B. Sicilia และ Jeffrey L. Cruikshank ได้นำคำวิจารณ์ต่างๆ ของกรีนสแปนนับตั้งแต่ ปี 1987 จนถึงปัจจุบันมารวบรวม และวิเคราะห์พร้อมทั้งดึงเหตุการณ์การเงินทั่วโลกมาบรรจุไว้อย่างครบครัน

ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นของ กรีนสแปน บทพิสูจน์คำวิจารณ์ของ กรีนสแปน ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดโลก ความสำคัญของแนวคิด และจุดยืนของ กรีนสแปนในช่วงเวลา ที่กรีนสแปนยังดำรงตำแหน่งนี้อยู่ว่ามีคำแถลงเรื่องใด บ้าง ที่คาดว่าจะได้รับ คำแถลงนี้จะมีความหมายอะไรบ้าง

มุมมองของกรีนสแปนต่อการขาดแคลนแรงงาน และผลกระทบ ที่มีต่อค่า เงิน ที่ผันผวน ความคิดของกรีนสแปนต่อข้อกำหนดของรัฐบาลในเรื่อง derivatives market ทำไมการลงทุนของต่างชาติจึงเป็นสิ่งดี และจุดใด ที่จะเป็นข้อบ่งชี้ว่าการลงทุนนั้น เกินพอดี หรือคุณค่า และอันตรายจากการแพร่หลายของเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เรื่องราวของกรีนสแปนในหนังสือล่มนี้ได้กล่าวถึงชีวิตในการทำงาน และ การพัฒนาแนวคิดในการวิเคราะห์ ซึ่งได้สร้างความมีชื่อเสียงของเขา ณ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ซึ่งการทำงานของกรีนสแปนเป็นบทพิสูจน์ว่าเขาไม่เคยยอมอะไรง่ายๆ แม้แต่ภาวะสับสนทางการเมืองหรือเรื่องส่วนตัว

จากการมุ่งประเด็นไป ที่คำแถลงของกรีนสแปนในฐานะประธานธนาคารกลางฯ หนังสือเล่มนี้จะนำเสนอความคิด ที่กระชับ แม่นยำ และได้รับการกลั่นกรองของกรีนสแปน ที่มีต่อประเด็นทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญ

กรีนสแปนเข้ารับตำแหน่งประธานเฟดในปี 1987 ในสมัยประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน หลังจากเข้ารับตำแหน่งได้ไม่กี่เดือนตลาดหุ้นดิ่งลงครั้งมโหฬาร เขาก็ได้วางแผนที่จะอัดฉีดเม็ดเงินก้อนโตให้กับระบบธนาคาร ที่จะป้องกันไม่ให้ธนาคารล้ม อีกทั้งยังเป็นเกราะคุ้มกันไม่ให้วิกฤติตลาดหุ้น ส่งผลกระเทือนต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม

อาวุธสำคัญขอบกรีนสแปน คือ อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ซึ่งใช้ได้อย่างสมบูรณ์ตลอดช่วงทศวรรษ ที่ 80 ที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เติบโต ขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอัตราการว่างงานต่ำกว่าระดับ 5% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อลดลงเกือบเท่าตัวมาอยู่ ที่ระดับ 2.2% ซึ่งการต่อสู้กับเงินเฟ้อถือเป็นหน้าที่ ที่มีประโยชน์สูงสุดขอ งเฟดในสายตากรีนสแปน

อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานเป็นอัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินระหว่าง นาคาร ซึ่งเฟดสามารถเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ผ่านการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น ในที่สุดก็จะส่งผลต่อเนื่องไปยังอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทต่างๆ

หมัดเด็ดของกรีนสแปนนี้ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกชื่นชมในตัวเขาอย่างมากในแง่นโยบายทางการเงิน ที่เปิดทางให้ "กลไกตลาด" ทำงานอย่างเต็มที่ ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ แข็งแกร่งจากผลของการเปิดตลาดการเงิน เสรี และอัตราภาษี ที่ลดต่ำลง

แนวคิดของกรีนสแปน ที่โดนใจคนสหรัฐฯ และเขาก็มีความเชื่อมั่นเห็นจะไม่พ้นเรื่อง "ระบบทุนนิยม" ที่มีการแทรกแซงน้อยที่สุด เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นระบบ ที่ทรงประสิทธิภาพแล้วยังเป็นระบบ ที่มี "คุณธรรม" อีกด้วย

การนำเสนอของผู้เขียน The Greenspan Effect ประเด็นข้อสรุปวิเคราะห์คำกล่าว และผลกระทบ ที่มีต่อตลาดหุ้นวอลล์สตรีท และตลาดเงินอื่นทั่วโลก หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเหมือนเครื่องมือให้กับนักลงทุน และนักธุรกิจทั้งหลาย ที่จะช่วยให้เข้าใจว่าคำกล่าวของบุรุษหมายเลขสองของสหรัฐฯใด มีผลกระทบหรือไม่มีผลกระทบ และสามารถแยกแยะระหว่างสิ่งที่ชวนหลงใหลกับสิ่งที่เป็นสัญญาณเตือนภัย ซึ่งผู้อ่านจะได้ทำความเข้าใจ "ศาสตร์ของกรีนสแปน" ที่จะช่วยให้เข้าใจคำกล่าวของเขาในอนาคต และผลกระทบ ที่มีต่อตลาดการเงินของโลก

จากนโยบายการเปิดทางให้กลไกตลาดทำงานอย่างเต็มที่ บางครั้งผู้กุมอำนาจ ในเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางหรือกระทรวงการคลังมัก มีโอกาสตัดสินใจ "ผิดพลาด" ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลง แต่สำหรับประธานเฟดคนนี้แล้วไม่เคยมีประโยคนี้ให้กวนใจเลย

ขอแสดงความยินดีกับประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้ "อลัน กรีนสแปน" เป็นประธานธนาคารกลาง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us