|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผู้ค้าน้ำมันออกโรงโต้ไม่ได้กำไรจาก ราคาน้ำมันแพง "ปตท." ชี้ธุรกิจน้ำมันทำรายได้ 66% แต่กำไรแค่ 4% เท่านั้น ทำเงินจากก๊าซธรรมชาติมาก กว่า ขณะที่ "บางจาก" ระบุกำไรจากสต๊อกเป็นแค่ ตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น เผยปตท. บางจาก เอสโซ่ มีค่ากลั่นเป็นตัวทำกำไร ชี้การแปรรูป รสก.ครึ่งๆ กลางๆ คือการคอร์รัปชันที่เลือดเย็น เปิดช่องให้ผู้มีโอกาสถือหุ้นไม่กี่คน ร่ำรวยบนความทุกข์ของประชาชน
ภายหลังจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เผยผลประกอบการไตรมาส 2 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 1.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% จาก ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว วานนี้ (16 ส.ค. นายชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ รองกรรม-การผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กำไรส่วนใหญ่มาจากธุรกิจก๊าซธรรมชาติ โดยในส่วนของ ธุรกิจน้ำมันนั้น แม้จะมีสัดส่วนราย ได้สูงถึง 66% แต่มีกำไรเพียง 4% ของกำไรทั้งหมดเท่านั้น
นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ธุรกิจน้ำมันยังแยกเป็นการกลั่น ค้าปลีก น้ำมันอุตสาหกรรม น้ำมันหล่อลื่น ซึ่งในส่วนของค้าปลีกน้ำมันนั้นถือเป็นส่วนที่ขาดทุน โดยล่าสุดได้ค่า การตลาดรวมทุกผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 65 สตางค์ต่อลิตร จากอัตราปกติที่ควร จะได้ที่ 1.2 บาทต่อลิตร ซึ่งกำไรจากธุรกิจน้ำมันเกิด จากการค้าน้ำมันในตลาดพาณิชย์ ตลาดอุตสาหกรรม ตลาดราชการ รัฐวิสาหกิจ และตลาดน้ำมันระหว่างประเทศที่มีฐานอยู่ในประเทศ สิงคโปร์และฟิลิปปินส์
ส่วนแนวโน้มการปรับราคาขายปลีกน้ำมัน ปตท.จะขอติดตามราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ อีก 1-2 วัน หากมีทิศทางปรับขึ้นคงจำเป็นที่ต้องปรับ ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศขึ้นอีกในวันศุกร์ที่ 19 ส.ค.และมีผลในวันที่ 20 ส.ค.นี้ เนื่องจากปตท. ต้องการปรับราคาน้ำมันในประเทศสัปดาห์ละ 1 ครั้งเท่านั้นเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน แม้ว่าภาพรวมธุรกิจค้าปลีกน้ำมันแทบไม่ได้สร้างกำไรให้ปตท.เลยก็ตาม
นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ราคาน้ำมันตลาดโลกยัง คงมีทิศทางที่สูงอยู่ในภาพรวมตลอดปีนี้ เนื่องจากกำลังการผลิตยังคงตึงตัวเมื่อเทียบกับความต้องการ และยังมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามากดดันให้ตลาดเกิดการซื้อสต๊อกเก็บไว้ เพราะไม่มั่นใจทั้งกรณีการผลิตนิวเคลียร์ของอิหร่าน พายุเฮอร์ริเคน และรวมถึงการก้าวสู่ฤดูหนาวที่จะต้องมีการเก็บสำรองดีเซล บางจากชี้ กำไรทางบัญชี
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ผู้จัดการใหญ่ บริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ธุรกิจน้ำมันจะต้องมองแยกเป็น 2 ส่วนคือ โรงกลั่น และค้าปลีก หากดูผลการดำเนินการจะพบว่าส่วนใหญ่ประสบกับภาวะการขาดทุนทั้งหมด เนื่องจากการปรับราคาขายปลีกไม่ได้สะท้อนตามต้นทุนของราคาน้ำมันตลาดโลกอย่างแท้จริง ดังนั้น ภาพรวมธุรกิจน้ำมันไม่ได้เป็นตัวสร้างกำไรเกินควรแต่อย่างใด
"โรงกลั่นจะทำกำไรได้จากการที่ราคาน้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูปต่างกันมาก แต่ก็ต้องดูว่าบางโรงกลั่นเองก็มิได้มีระบบกลั่นที่หลากหลายเพราะบางผลิตภัณฑ์ก็ราคาแย่ และจะต้องดูว่ากำไรของธุรกิจนั้นเป็นเพียงกำไรทางบัญชีด้วยหรือไม่ เช่น กำไรจากการสต๊อกสินค้าก็จะต้องดูว่าเป็นเพียงทางบัญชี แต่จะต้องดูจากกำไรจากดำเนินการจริง" นายอนุสรณ์กล่าว เผย ปตท. กำไรค่ากลั่น
แหล่งข่าวจากผู้ค้าน้ำมัน กล่าวว่า ช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับขึ้นมาตลอด โดยราคาน้ำมันเบนซินปรับขึ้น 5-6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันขายปลีกในไทย ปรับขึ้นเพียง 40 สตางค์ต่อลิตรทั้งที่ต้นทุนปรับขึ้นไปถึง 1.50 บาทต่อลิตร ขณะที่ดีเซลค่าการตลาดก็ขาดทุนเช่นกัน โดย ดีเซลล่าสุดที่ตลาดสิงคโปร์ อยู่ที่ 73.14 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ค่าการตลาดดีเซลขาด ทุน 16 สตางค์ต่อลิตร
"การปรับราคาคงดูปตท.ก่อนแต่ถ้าไม่ไหวจริง บางรายก็ยังไม่แน่จะถึงปลายสัปดาห์หรือไม่ ซึ่งผู้ค้าน้ำมันที่ไม่มีธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันอยู่ด้วย เช่น เชลล์ เจ็ทและเปโตรนาส ต่างรับภาระขาดทุน หลังปล่อยลอยตัวราคาน้ำมัน แต่ ปตท. เอสโซ่ และบางจากฯ ที่มีโรงกลั่นของตนเอง มีกำไรจากค่าการกลั่น จึงทำให้เมื่อรวมกับธุรกิจค้าปลีกน้ำมันแล้วมีกำไรบ้าง" แหล่งข่าวกล่าว แปรรูป รสก.-รูปแบบคอร์รัปชัน
นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ กล่าวในโอกาสที่ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการสัมมนาหัวข้อ "คอร์รัปชันในยุคโลกาภิวัตน์" ซึ่งจัดโดยแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา ที่โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท โดยพูดถึง การแปรรูปรัฐวิสาหกิจว่า ถือเป็นการคอร์-รัปชันอย่างหนึ่ง เขาไม่ได้ค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ อย่างหัวชนฝา แต่คัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ต้องตัดหุ้นออกเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ ให้เอกชน ถ้าจะแปรรูป ควรแปรไป 100 เปอร์เซ็นต์เลย เพื่อให้รัฐวิสาหกิจนั้นกลายเป็นบริษัทเอกชน จะได้ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล
"ไม่ใช่ไปพึ่งพิงอิงแอบอาศัยกับสิทธิพิเศษของการเป็นรัฐวิสาหกิจอีก 70 เปอร์เซ็นต์ และ 30 เปอร์เซ็นต์ ที่แปรรูปนั้น แปรให้พรรคพวกตัวเองและพวกพ้อง"
นายสนธิได้ยกตัวอย่างกรณีบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ว่า ถ้า ปตท.ไม่ได้แปรรูป โดยกระจายหุ้น 25-30 ในตลาดหลักทรัพย์ 30 เปอร์เซ็นต์ของกำไร จะเป็นเงินที่เข้ารัฐเต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่เมื่อแปรรูป บางส่วนแล้ว ต้องเอา 30 เปอร์เซ็นต์นี้ไปให้เอกชนซึ่งถือหุ้น ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นใครบ้าง เพียงเพื่อให้คนพวกนี้ร่ำรวยขึ้นมาบนความทุกข์ยากของคนใช้น้ำมัน
"การแปรรูปรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคในมุมมองของผมแล้ว ถือว่าเป็นการคอร์รัปชันที่เลือดเย็นที่สุด เป็นการคอร์รัปชันที่อำมหิต นี่คือการใส่เสื้อนอกปล้นประชาชน ต่างจากการคาดผ้าประเจียด สักยันต์ ใส่เสื้อสีแดง ถือดาบสองอัน แล้วก็บอกว่า ไอ้เสือเอาวาในอดีต" ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ระบุ ค้ากำไรเกินควร
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ นักวิชาการอิสระ กล่าวในรายการ "สภาท่าพระอาทิตย์" ระบุถึงผลประกอบการของกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจน้ำมันในช่วงไตรมาส 2 ซึ่งปรากฏว่า มีผลกำไรรวมกันถึงกว่า 23,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนว่า สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าเป็นการค้ากำไรเกินควร สร้างความ เดือดร้อนให้ประชาชน เนื่องจากปตท.ทำธุรกิจด้านพลังงานที่ประชาชนไม่มีทางเลือกจำต้องบริโภค
"เวลานี้ปรัชญาของ ปตท.ได้เปลี่ยนไปแล้ว แทนที่จะเป็นหน่วยงานที่คานอำนาจกับบริษัทค้าน้ำมันอื่นๆ เหมือนในอดีต กลับกลายเป็นว่าขณะนี้ ปตท. กลายเป็นพวกเดียวกันและมุ่งแสวงหาผลกำไรเป็นหลัก บนความเดือดร้อนของประชาชน"
นายปานเทพ ตั้งข้อสังเกตอีกว่า การดำเนินธุรกิจของบริษัท ปตท.ต่อไปนี้จะมุ่งเอาใจผู้ถือหุ้นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากบรรดาผู้ถือหุ้นเหล่านี้เป็น คนกลุ่มเดียวกับคนในรัฐบาลถือว่าอันตรายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน หรือการครอบงำธุรกิจพลังงาน
นายปานเทพ ยังระบุอีกว่า การทำธุรกิจที่ค้ากำไรในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่รัฐบาลกำลังผลักดันให้มีการแปรรูปอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวกับ ปตท.แล้ว ทำให้สังคมตั้งคำถาม ว่าสมควรจะมีการทบทวนหรือไม่ เพราะการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ผ่านมาทำเพื่อใคร และใครได้ประโยชน์ หลายปัจจัยกดดันน้ำมันพุ่ง
นายมนูญ ศิริวรรณ รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากปิโตรเลียม กล่าวว่า ทิศ ทางราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มจะปรับขึ้นไปอีก แม้ล่าสุดราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส จะลดลง 59 เซ็นต์ ปิดตลาดที่ 66.20 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล น้ำมันดิบดูไบลดลง 25 เซ็นต์ ปิดที่ 57.55 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งสาเหตุที่ราคาน้ำมันดิบลดลง เพราะมีการเทขายทำกำไรของบรรดากองทุนต่าง ๆ เพราะราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส พุ่งเฉียด 68 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ระหว่างการซื้อขาย
"กรณีอิหร่านประกาศเดินหน้านิวเคลียร์ ล่าสุดประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู.บุช ของสหรัฐฯระบุว่า อาจใช้กำลังทหารในประเทศอิหร่าน ทำให้ทิศทางน้ำมันยังคงมีปัจจัยที่จะดันราคาได้อีก ปัญหาของเวเนซุเอลาที่ระบุว่าอาจงดส่งน้ำมันไปสหรัฐฯ หากสหรัฐฯ ยังเข้าไปแทรกแซงทางการเมืองในเวเนซุเอลา ทำให้เกิดการเก็งกำไรในตลาดค่อนข้างมาก เป็นต้น" นายมนูญกล่าว
มีรายงานว่า ราคาน้ำมันดิบปิดตลาดเมื่อวันที่ 15 ส.ค.โอมาน ลดลง 0.25 เหรียญต่อบาร์เรลปิดที่ 58.3 เหรียญต่อบาร์เรล ดูไบลดลง 0.25 เหรียญต่อบาร์เรล ปิดที่ 57.55 เหรียญต่อบาร์เรล เวสต์ เทกซัส ลดลง 0.64 เหรียญต่อบาร์เรล ปิดที่ 66.22 เหรียญต่อบาร์เรล เบรนท์ลดลง 0.69 เหรียญต่อบาร์เรล ปิดที่ 65.92 เหรียญต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จ รูปตลาดสิงคโปร์เบนซิน 95 เพิ่มขึ้น 0.65 เหรียญต่อบาร์เรล ปิดที่ 73.9 เหรียญต่อบาร์เรล ดีเซลลดลง 0.28 เหรียญต่อบาร์เรล ปิดที่ 73.14 เหรียญต่อบาร์เรล
|
|
|
|
|