|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
เอ็ม ลิ้งค์ทิ้งงานประมูลโครงการขนาดใหญ่ หลังเจอปัญหาต้องไฟแนนซ์หนักแถมถูกโจมตีหาว่าล็อกสเปกตั้งแต่ต้น ปรับแผนธุรกิจใหม่ เน้นขายมือถืออย่างเดียวโดยเฉพาะโนเกีย ที่เป็น 1 ใน 3 ผู้จำหน่ายหลัก
นายอนุสรณ์ อมรฉัตร กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็ม ลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า "โครงการบิลลิ่งของบริษัท กสท โทรคมนาคมจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ของหน่วยงานรัฐโครงการสุดท้ายที่เอ็ม ลิ้งค์จะเข้าร่วมประกวดราคาในฐานะเป็น Bidder เพราะมีปัญหา 2 ด้านหลักๆ คือด้านการเงินซึ่งโครงการขนาดใหญ่จำเป็นต้องมีการลงทุนสูงและผู้เข้าร่วมประมูลรายอื่นๆ จะหาสินค้ามาแข่งกับเอ็ม ลิ้งค์ในการประมูล "
ภาพการประมูลโครงการขนาดใหญ่จะไม่เห็นอีกต่อไป งานประมูลยังไม่ได้โครงการก็ถูกตีแล้ว แค่เข้าร่วมประมูลก็มีกระแสข่าวว่าล็อกสเปก หรือเข้าไปฮั้วกับรายนั้นรายนี้ เพื่อให้เป็นผู้ชนะ แต่ความจริง เอ็ม ลิ้งค์เข้าไปอย่างโปร่งใส มีการหาเงินประกัน จัดหาอุปกรณ์ วางแผนคำนวณต้นทุนในการทำประมูลทุกครั้ง
เขายกตัวอย่างว่างานโครงการต่อไปสำหรับเอ็ม ลิ้งค์จะเป็นลักษณะเช่น สมมติเอ็ม ลิ้งค์ได้ไลเซนส์ซอฟต์แวร์บางตัวของหัวเหว่ย ที่จำเป็นต้องใช้ในการประมูลโครงการหนึ่ง เอ็ม ลิ้งค์ก็พร้อมขายซอฟต์แวร์ตัวนั้นให้ Bidder ที่สนใจ โดยบวกกำไรเข้าไป หรือการเป็นตัวแทนของทรังก์โมบาย โมโตโรล่า หากใครได้โครงการที่ไหนก็สามารถมาซื้อสินค้าหรือระบบจากเอ็ม ลิ้งค์ได้ แต่เอ็ม ลิ้งค์จะไม่เข้าประมูลเอง ซึ่งต่างจากเดิมที่เคยตั้งใจว่าจะขยายการเติบโตของธุรกิจด้วยรายได้จากงานประมูล
เอ็ม ลิ้งค์ ปรับแผนธุรกิจใหม่ ด้วยการให้ความสำคัญกับการขายโทรศัพท์มือถือมากขึ้น ซึ่งเป็นผลจากโนเกียเปลี่ยนโครงสร้างช่องทาง จำหน่ายในประเทศไทยใหม่ ด้วยการลดจำนวนดิสทริบิวเตอร์จาก 9 ราย เหลือเพียง 3 ราย คือดีพีซีในกลุ่มเอไอเอส ยูดีในกลุ่มยูคอม และเอ็ม ลิ้งค์ ทำให้เชื่อว่าการตัดราคาโทรศัพท์มือถือโนเกียจะลดลง และจะทำกำไรได้มากขึ้น และทำให้ส่วนแบ่งตลาดของเอ็ม ลิ้งค์สูงขึ้นจากการที่ผู้ค้าปลีกต้องมาซื้อผ่านเอ็ม ลิ้งค์ อย่างเจ มาร์ท แทนที่จะเป็นการซื้อโดยตรงกับโนเกียเหมือนที่ผ่านมา
"เรามียอดขายมือถือครึ่งปีแรกประมาณ 597,219 เครื่อง ซึ่งเป็นของโนเกียมากกว่า 90% คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดทั้งหมดประมาณ 18% โดยที่เอ็ม ลิ้งค์คาดว่าจะมียอดขายมือถือทั้งปีประมาณ 1-1.2 ล้านเครื่อง"
เอ็ม ลิ้งค์ยังกลับมาเป็นตัวแทนจำหน่ายหลักของโมโตโรล่าอีกครั้ง โดยมุ่งรุ่นที่เป็นไฮเอนด์ เนื่องจากเอ็ม ลิ้งค์มีความชำนาญในการทำตลาดมือถือรุ่นตั้งแต่มิดเอนด์ถึงไฮเอนด์ ซึ่งได้กำไรมากกว่า และที่ผ่านมาเอ็ม ลิ้งค์มีส่วนแบ่งตลาดรุ่นโลว์เอนด์เพียง 9% แต่มีมิดเอนด์ 37% และไฮเอนด์ 54%
เอ็ม ลิ้งค์เชื่อว่าตลาดมือถืออีก 2-3 ปีข้างหน้า ยังเติบโตต่อไปโดยเฉพาะตลาดเครื่องทดแทน ซึ่งหากมียอดเพียง 20% ของมือถือทั้งระบบก็หมายถึงจำนวน 4-5 ล้านเครื่องในแต่ละปี นอกจากนี้แนวทางพัฒนาโทรศัพท์มือถือเองที่มุ่งเน้นด้านบันเทิงอย่างกล้องความละเอียดสูงระดับ 3 ล้านพิกเซล พร้อมเอ็มพี 3 ในระดับราคาที่ลดลง 20-30% เมื่อเทียบกับคุณสมบัติการใช้งานรวมทั้งปัจจัยเทคโนโลยี 3G ที่โอเปอเรเตอร์มีแนวทางในการพัฒนาบริการ ซึ่งจำเป็นต้องมีมือถือมารองรับ เป็นปัจจัยบวกที่จะส่งผลให้ตลาดมือถือมีการเติบโตสูงขึ้น
ในส่วนของการเปิดร้านค้าปลีกในชื่อ "เอ็ม ชอป" ที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 100 แห่ง ในปีนี้จะไม่มีแผนการขยายจำนวนสาขาเพิ่มแต่อย่างใด ซึ่งธุรกิจการจำหน่ายมือถือมีการแข่งขันกันสูง หากมีการขยายตัวมากอาจจะได้รับผลกระทบและอาจส่งผลให้กับตัวแทนจำหน่ายหรือกลุ่มผู้ค้าปลีกที่ได้ซื้อเครื่องจากเอ็ม ลิ้งค์ จะแข่งขันได้ลำบากในการทำราคาจำหน่ายหน้าร้าน
สำหรับตลาดรวมโทรศัพท์มือถือของประเทศไทยในครึ่งปีแรกของปี 2548 มียอดจำหน่ายมือถือทั้งสิ้น 3.25 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 9.44% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2547 จากการที่ผู้ผลิตรายใหญ่การปรับตัวด้านราคาสินค้าลง และมีการเปิดตัวสินค้าใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบันมือถือของโนเกีย มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด กว่า 50% โดยคาดว่าในสิ้นปี 2548 ตัวเลขของ ตลาดรวมมือถือจะอยู่ที่ประมาณ 6.5 ล้านเครื่อง
สำหรับผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2548 รายได้รวมของเอ็ม ลิ้งค์และบริษัทย่อยอยู่ที่ 2,530.67 ล้านบาท กำไรสุทธิ 65.30 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบตัวเลขในไตรมาสเดียวกันของปี 2547 รายได้ รวมเพิ่มขึ้น 111.78 % และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 68.62% ทำให้รายได้รวมครึ่งปีแรกเท่ากับ 4,550.61 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิครึ่งปีแรกเท่ากับ 138.77 ล้านบาท และคาดว่ารายได้ทั้งปีไม่ต่ำกว่า 9 พันล้านบาท
|
|
 |
|
|