Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน16 สิงหาคม 2548
ธุรกิจน้ำมันรวยเละ 2 หมื่นล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ไทยออยล์, บมจ.
ปตท., บมจ.
Oil and gas




บริษัทน้ำมันกลุ่ม ปตท. รวยอื้อ ฟันกำไรไตรมาส 2 รวมกัน 23,000 ล้านบาท เฉพาะปตท. กำไร 1.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% มาจากธุรกิจน้ำมัน 65% ก๊าซธรรมชาติ 22% ส่งผลครึ่งปีแรกกำไรแล้ว 4.4 หมื่นล้านบาท "ประเสริฐ บุญสัมพันธ์" คาด ถ้าราคาน้ำมันยังสูง สิ้นปีนี้ ยอดขายถึง 8 แสนล้านบาทแน่ ไทยออยล์กำไรสุทธิ 3.5 พันล้าน คาดสิ้นปีรายได้ 2 แสนล้าน ส่วนบางจากมาแรงกำไร 1,300 ล้านบาท เพิ่ม 103% เผยกำไรจากสต๊อกน้ำมัน 967 ล้านบาท ขณะที่ราคาขายปลีกเบนซิน-ดีเซลอาจปรับขึ้นอีกลิตรละ 40 สตางค์

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) เปิดเผยผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2548 ว่า บริษัทฯ มีรายได้จากการขายรวม 2.26 แสนล้าน บาท เพิ่มขึ้น 50% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 1.50 แสนล้านบาท แบ่งเป็น รายได้จากธุรกิจน้ำมัน 66% ก๊าซธรรมชาติ 22% และปิโตรเคมี โรงกลั่น 12% โดยกำไรสุทธิ ไตรมาส 2/2548 อยู่ที่ 1.83 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นกำไรจากการดำเนินงานของกลุ่มปตท.เอง 44% ได้แก่ ธุรกิจน้ำมัน 4% และก๊าซธรรมชาติ 40% ที่เหลือมาจากปตท.สผ. 19% โรงกลั่นน้ำมันระยอง 14% และบริษัทในเครือที่ปตท.เข้าไปถือหุ้น 23% และหาก คิดกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่า ตัดจำหน่าย และค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน (EBITDA ) จะอยู่ที่ 2.83 หมื่นล้านบาท

สาเหตุที่ทำให้บริษัทฯมีรายได้และกำไรเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาจากปริมาณการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น จากการเดินเครื่องโรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 5 ตั้งแต่พ.ค.ที่ผ่านมา และมีรายได้เพิ่มจาก ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันระยองที่ปตท.ถือหุ้นอยู่ 100%

ขณะที่ผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย. 48) ปตท.และบริษัทย่อยมีรายได้ 4.17 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 45% มาจากกลุ่ม ธุรกิจน้ำมัน 65% ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ 22% และธุรกิจ ปิโตรเคมี การกลั่น 13% โดยมีEBITDA 5.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 43% และกำไรสุทธิ (รวมรายการพิเศษจากการปรับหนี้โรงกลั่นRRC) 4.43 หมื่นล้าน บาท เพิ่มขึ้น 68% จากปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่กำไรมาจากบริษัทในเครือปตท.22 % ปตท.เอง 37% ปตท.สผ. 14% RRC (รวมปรับหนี้) 27%

นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ผลการดำเนินงานของกลุ่มน้ำมันในไตรมาส 2/2548 ราคาน้ำมันได้ปรับเพิ่มขึ้น 30-50%เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปริมาณการใช้ยังเพิ่มขึ้น ทำให้ปตท. สามารถเพิ่มปริมาณการขายน้ำมันทั้งในและต่างประเทศได้มากขึ้น 31% เทียบกับปีก่อน โดย ปตท. มีส่วนแบ่งการตลาดน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็น 32% (ไม่รวมน้ำมันเตาที่ขายให้กฟผ.) ซึ่งเทรดดิ้งน้ำมันเป็นตัวสร้างกำไรให้กับกลุ่มธุรกิจน้ำมัน โดยไตรมาส 2 นี้มีการนำเข้า-ส่งออกเพิ่มขึ้น 22% ส่วนค้าปลีกน้ำมันในประเทศแทบไม่มีกำไร

"ไตรมาส 2 มีการจำหน่ายน้ำมันเพิ่มขึ้น 16% ส่วนครึ่งปีแรกนี้ มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น 10% จากราคา น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ยอดการใช้น้ำมันในประเทศเริ่มติดลบ คาดว่าทั้งปีการใช้น้ำมันในประเทศจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเติบโต 4-5% หรืออาจจะไม่โตเลย"

ทั้งนี้จากผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก บริษัทฯมีรายได้และกำไรเติบโตดีขึ้น เชื่อว่าสิ้นปีนี้ หากราคาน้ำมันยังอยู่ในอัตราที่สูงเช่นนี้ ปตท.จะมีรายได้ 8 แสนล้านบาทอย่างแน่นอน เพราะราคาน้ำมันไตรมาส 4/48 ไม่น่าจะลงมามาก ซึ่งเมื่อปตท.มีรายได้เยอะ กำไรก็ต้องเยอะเป็นเรื่องปกติ

นอกจากนี้ ปตท.จะปรับตัวเลขประมาณการเงินลงทุน 5 ปีใหม่ (2548-52) จากเดิม 2.12 แสนล้านบาท โดยในไตรมาส 3 จะทราบตัวเลขการลงทุน เพิ่มเติมในปีนี้ของปตท.อีก 2.4-3 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่ระบุไว้ 2.63 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนเข้า ไปถือหุ้นในบมจ.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย (TPI) จำนวน 30% ใช้เงินลงทุน 2 หมื่นล้านบาท และการ เข้าไปถือหุ้นในบมจ. บางจากปิโตรเลียม (BCP) เพิ่มขึ้นจากเดิม 8% เป็น 30% ใช้เงินประมาณ 4 พันล้าน บาท เพื่อให้บางจากฯสามารถขยายการลงทุนสร้างหน่วยแครกน้ำมันเตาเป็นน้ำมันใสได้ คาดว่าทุกอย่าง จะแล้วเสร็จก.ย.นี้ แม้ว่าปตท.จะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นแต่ฐานะการเงินยังแข็งแกร่งอยู่ โดยมีอัตราหนี้สินต่อทุนต่ำเพียง 0.5 เท่า ทำให้ปตท.มีศักยภาพเพียงพอที่จะขยายการลงทุนได้อีก

นายประเสริฐ กล่าวถึงความคืบหน้าในการควบ รวมโรงกลั่นน้ำมันระยอง (RRC) กับโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟนิ่ง (SPRC)ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการ เจรจาอยู่มีความคืบหน้าบางส่วน และบางอย่างติดข้อ กฎหมาย รวมทั้งแนวคิดการทำงานต่างกัน ซึ่งหากไม่สามารถหาข้อสรุปได้ภายใน 1 เดือนข้างหน้านี้ ก็คงต้องยุติการควบรวมกิจการ โดยปตท.ก็จะเดินหน้าที่จะนำRRC เข้าตลาดหุ้นต่อไป เพราะเป็นไปตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนดมาให้ตั้งแต่ได้ใบอนุญาตสร้างโรงกลั่นน้ำมันทั้ง 2 โรงแล้ว

"เราเห็นว่าถ้าควบรวม 2 โรงกลั่นเข้าด้วยกันแล้วนำเข้าตลาดหุ้นก็จะดี ซึ่งการเจรจาดังกล่าวต้องอยู่บนพื้นฐานการเจรจาที่ไม่เอาเปรียบกัน ถ้าไม่รวม กันแล้ว จะร่วมมือทำเป็นแบบอัลลายแอนซ์เหมือนเดิมก็ได้ ซึ่งในหลักการอยากให้เข้าตลาดหุ้นภายในสิ้นปีนี้ โดยภายใน 1 เดือนนี้จะรู้ว่าจะรวมหรือแยก ดังนั้นถ้าวันหนึ่งปตท.ประกาศแยกไม่ควบรวมระหว่าง RRC กับ SPRC ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่ทั้งนี้คงต้องเข้ามาดูว่าเชฟรอนฯมีเจตนาที่จะนำบริษัทเข้าตลาดหรือไม่" จ่อคิวขยับขายปลีก 40 สต./ลิตร

นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลและเบนซินขึ้นมาอยู่ที่ 73 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และน้ำมันดิบดูไบ 57 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก ทำให้ปตท. ไม่สามารถจะยืนราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จได้ เพราะราคาปรับขึ้นไม่ทันต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งค่าการตลาด น้ำมันเบนซินขณะนี้ติดลบแล้ว ส่วนน้ำมันดีเซลถึงค่าการตลาดจะไม่ติดลบ แต่ก็ขายในราคาที่ขาดทุน เพราะผู้ค้าน้ำมันต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นอีก

อย่างไรก็ตาม ปตท.ไม่ต้องการที่จะปรับขึ้นราคาน้ำมันถี่ ดังนั้นจะพิจารณาจากราคาน้ำมันที่ตลาด สิงคโปร์อีก 1-2 วันก่อน หากจะปรับขึ้นราคาน้ำมันก็จะขึ้นไปทั้งเบนซินและดีเซล โดยจะขยับขึ้นไม่มากประมาณ 40 สตางค์/ลิตร

ไทยออยล์คาดสิ้นปีรายได้ 2 แสนล้าน

นายปิติ ยิ้มประเสริฐ กรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (TOP) กล่าวถึงผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2548 ว่า บริษัทฯและบริษัทในเครือมีรายได้จากการขาย 6.33 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 45% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 3.51 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 34 % สำหรับผลการดำเนินงานครึ่งแรกปีนี้ บริษัทฯมีรายได้1.11 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 31% และกำไรสุทธิ 7.22 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 9%

ทั้งนี้เนื่องจาก กลุ่มบริษัทย่อยมีผลประกอบการที่ดีขึ้นและกำลังการกลั่นของหน่วย CDU-3 ที่เพิ่มขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นการซ่อมบำรุงในไตรมาสก่อน ทำให้เดินเครื่องได้เพิ่มเป็น 109% หรือประมาณ 2.4 แสนบาร์เรล/วัน รวมทั้งราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ค่าการกลั่นอยู่ในระดับ 6.55 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล สูงขึ้น 0.30 เหรียญต่อบาร์เรลจากไตรมาส 2/2547

ส่วนแนวโน้มราคาน้ำมันในครึ่งปีหลัง คาดว่าราคาจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตามวัฏจักรราคาที่ไตรมาส 4 จะสูงขึ้น และการใช้ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากธุรกิจการ กลั่นเกิดภาวะตึงตัว โดยโรงกลั่นในไทยได้เดินเครื่อง ผลิตร้อยละกว่า 90 หากไม่มีการขยายกำลังการผลิต เพิ่มเติมเชื่อว่า ภายใน 3-4 ปีจากนี้ไป ไทยจะประสบ ปัญหาขาดแคลนน้ำมันสำเร็จรูป ขณะที่แก๊สโซฮอล์ ก็ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้ เนื่องจากแก๊สโซฮอล์เป็นการนำน้ำมันเบนซิน 95 ผสมกับเอทานอล 10% ซึ่งเป็นตัวแทนการนำเข้าเอ็มทีบีอี ทำให้ภาพรวมโรงกลั่นยังดีอยู่ ดังนั้นบริษัทฯคาดว่าทั้งปี ไทยออยล์จะมีรายได้รวมประมาณ 2 แสนล้านบาทอย่างแน่นอน

ในไตรมาส 2 ไทยออยล์มีทั้งกำไรและขาด ทุนจากการสต๊อกน้ำมันดิบและสำเร็จรูปที่มีอยู่ 5 ล้านบาร์เรล เนื่องจากราคาน้ำมันผันผวน ดังนั้นจึงกล่าว ได้ว่าไตรมาส 2 นี้แทบไม่มีกำไรจากการสต๊อกน้ำมัน และเราก็ไม่ได้มุ่งหวังเพื่อเก็งกำไรŽ สำหรับการลงทุนตั้งโรงกลั่นน้ำมันใหม่นั้น นายปิติ กล่าวว่า มีโอกาสน้อย เพราะการลงทุนตั้งโรง กลั่นน้ำมันใหม่ ต้องใช้เงินสูงมากถึงแสนล้านบาทต่อกำลังการผลิต 1.5 แสนบาร์เรล/วัน และต้องมีค่า การกลั่นสูงถึง 6.5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เป็นเวลา 20 ปี ซึ่งเป็นไปได้ยาก ขณะที่การลงทุนอย่างอื่นให้ ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่า ดังนั้น โอกาสที่จะเห็นการสร้างโรงกลั่นใหม่จึงเป็นไปได้ยาก

"เราไม่พร้อมที่จะลงทุนสร้างโรงกลั่นใหม่ เพราะไม่พร้อมเรื่องผลตอบแทนการลงทุน ทำให้ไม่รู้ว่าจะต้องชี้แจงผู้ถือหุ้นอย่างไร หากมองว่าธุรกิจ การกลั่นได้กำไรดี ก็น่าจะมีนักลงทุนแห่เข้ามาสร้างโรงกลั่นกันแล้ว ดังนั้นบริษัทฯจึงกังวลว่าถ้าไม่มีการ ลงทุนเพิ่มเติมในอีก 3-4 ปีข้างหน้าไทยจะขาดแคลน น้ำมันสำเร็จรูป และถ้าจะลงทุนสร้างใหม่ก็ต้องใช้เวลา 4-5 ปีในการดำเนินการ สุดท้ายก็ต้องเผชิญปัญหาดังกล่าวอย่างแน่นอน" บางจากกำไรเพิ่มกว่า 100%

นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (BCP) เปิดเผยผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 2 ว่า บริษัทฯมีรายได้รวม 22,096 ล้านบาท กำไรก่อนหัก ดอกเบี้ยและค่าเสื่อมราคา 1,647 ล้านบาท ดอกเบี้ย จ่ายสุทธิ 157 ล้านบาท ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 194 ล้านบาท ส่งผลบริษัทกำไรสุทธิ 1,317 ล้านบาท เพิ่ม 103% เทียบช่วงเดียวกันปี 2547 ที่มีกำไรสุทธิ 647 ล้านบาท

ผลประกอบการดังกล่าว ประกอบด้วย บริษัทมีค่าการกลั่น (ไม่รวมกำไรจากสต๊อกน้ำมัน) 3.28 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน ที่อยู่ที่ 1.83 ดอลลาร์ เนื่องจากราคาน้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป สูงขึ้นต่อเนื่อง ตามสภาวะเศรษฐกิจ ภูมิภาคที่ฟื้นและความต้องการใช้น้ำมันเป็นวัตถุดิบภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่สูงขึ้นมาก

นายอนุสรณ์เปิดเผยว่า บริษัทยังมีกำไรจาก สต๊อกน้ำมัน 967 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน ที่อยู่ที่ 553 ล้านบาท จากการที่ราคาน้ำมันตลาดโลกสูงขึ้นต่อเนื่อง ไตรมาส 2 บริษัทมีค่าการกลั่นรวม 6.99 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ใช้กำลังผลิตอยู่ 65 พันบาร์เรลต่อวัน ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน ที่อยู่ที่ 85 พันบาร์เรล เพื่อรักษาค่าการกลั่น และลดความเสี่ยง จากขาดทุนสต๊อกน้ำมัน กรณีราคาน้ำมันลดลง การดำเนินการดังกล่าว ส่งผลธุรกิจโรงกลั่นกำไรมากกว่า เป้าหมาย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us