|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ตลาด mai เตรียมต้อนรับหุ้นน้องใหม่เข้าเทรด เพราะมีหลายบริษัทยื่นไฟลิ่งและคาดซื้อขายปลายปีนี้ ขณะที่บางตัวอาจ ล่าไปเป็นปี 49 เนื่องจากภาวะตลาดผันผวน หวั่นส่งผลกระทบต่อราคาหุ้น ที่เข้าซื้อขายวันแรก ล่าสุด สตีล อินเตอร์เทค เร่งขายหุ้นให้ได้ปีนี้ เพราะ หวังผลประโยชน์จากภาษีที่จะหมดลงสิ้นปี 48
ภาวะตลาดหลักทรัพย์ฯและภาพการลงทุนทั่วไปของนักลงทุนแล้ว จะพบว่าช่วงครึ่งปีแรกของปี 48 ค่อนข้างผันผวน ส่วนหนึ่งคงเพราะราคาน้ำมันที่พุ่งต่อเนื่อง เป็น เหตุให้บริษัทที่อยู่ในระหว่างเตรียม ความพร้อมเพื่อเข้ามาระดมทุนผ่าน ตลาดหลักทรัพย์ mai ค่อนข้างบางตา และเป้าหมายที่ผู้บริหารตลาดตั้งเป้าปีนี้คาดว่าจะมีเข้ามาเทรดถึง 40 บริษัทก็ปรับเป้าลงเหลือ เพียง 30 บริษัทเท่านั้น โดยขณะนี้มีหลายบริษัทที่อยู่ในระหว่างการแต่งตัวเพื่อเตรียมตัวเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียน เริ่มชะลอที่จะกระจายหุ้นในระยะที่ผ่านมา และที่เห็นเป็นรูปเป็นร่างแล้วก็พอจะมีให้เห็นบ้างเช่นกัน บริษัท ถิรไทย จำกัด ที่มีแผนเพิ่มทุนผ่านการระดมทุนในตลาด mai โดยจะเพิ่มทุนเป็น 200 ล้านบาท โดยจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 30 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นเงิน ประมาณ 60 ล้านบาท หรือ 30% ของทุนจดทะเบียนเดิม
ปัจจุบันบริษัทมีทุนชำระแล้ว 140 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 100 บาท ซึ่งก่อนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาด mai บริษัทจะแตกพาร์เหลือหุ้นละ 2 บาท โดยบริษัทแต่งตั้ง บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
ทั้งนี้ บริษัทจะยื่นแบบแสดง ข้อมูล(ไฟลิ่ง)ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)เดือนสิงหาคมนี้ และคาดว่าจะเข้าซื้อขาย ใน mai ประมาณเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนปีนี้ และคาดว่าจะได้รับเงินระดมทุนในครั้งนี้ประมาณ 240 ล้านบาท
โดยเงินที่ได้ บริษัทจะนำไปเพิ่มยอดขายของเป็น 1,800 ล้านบาท ในปี 2549 จากปัจจุบันนี้ที่มี 1,400 ล้านบาท อีกทั้งนำเงินบางส่วนไปปรับปรุงระบบการผลิต และนำไปชำระคืนเงินกู้ประมาณ 100 ล้านบาท จากขณะนี้ที่มี 400 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้มีหนี้สินต่อทุน (D/E)ลดลงเหลือ 1.5 เท่า จากเดิมที่มี 4.5 เท่า
สำหรับ ถิรไทย เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้ารายใหญ่ในไทย ซึ่งสามารถผลิตแรงดันฟ้าได้ถึง 250 KV และการเข้าจดทะเบียนใน mai ครั้งนี้ เพื่อเป็นการปรับโครงสร้างทางการเงิน และภาพลักษณ์ของบริษัท เพื่อที่จะยกระดับเป็นผู้นำในการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน
ขณะที่บริษัท สตาร์ซานิทารีแวร์ จำกัด ก็เตรียมขาย 36 ล้านหุ้น โดยขายให้ประชาชนทั่วไป 32.5 ล้านหุ้น ที่เหลือ 3.5 ล้านหุ้น ขายให้กรรมการและพนักงานบริษัท คาดเสนอขายหุ้น ในเดือน สิงหาคมและเข้าเทรดต้นเดือนกันยายน โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ ไซรัส จำกัด(มหาชน)เป็นที่ปรึกษาการเงิน ปัจจุบัน สตาร์ซานิทารีแวร์ มีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 136 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 136 ล้าน หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท และมีทุนจดทะเบียนเรียกชำระแล้ว 100 ล้าน และเงินที่ได้จากการระดมทุนจะนำไปไปใช้เพื่อขยายกำลังการผลิต ชำระคืนเงินกู้ยืมจาก สถาบันการเงิน และใช้เป็นเงินทุน หมุนเวียนในกิจการเพื่อรองรับการ เติบโตของยอดขายในปัจจุบัน
บริษัท วอเตอร์เน็ท จำกัด (มหาชน) ก็ได้ยื่นไฟลิ่งของบริษัท โดยแต่งตั้ง บริษัท ดีเอส พรูเดนเชียล แมเนจเมนท์ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน วอเตอร์เน็ทจะเสนอขายหุ้น 13 ล้านหุ้น คิดเป็น 28.89% ของทุนชำระแล้วหลังจากเสนอขาย หุ้นเพิ่มทุนแล้ว ขณะที่มีทุนจดทะเบียนเดิมมี 45 ล้านบาท
โดยเงินที่ได้จากการระดมทุนจะนำไปใช้สำหรับจัดตั้งศูนย์ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดย ขยายกำลังการผลิตเครื่องจำหน่าย น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ ปรับปรุงสาขาเดิมและขยายสาขาร้านจำหน่ายน้ำดื่ม Water Shopเพิ่มเติม และใช้เป็นเงินทุน หมุนเวียน
สำหรับ บริษัทวอเตอร์ เน็ท ดำเนินธุรกิจจำหน่ายน้ำดื่มผ่านเครื่องจำหน่ายหยอดเหรียญอัตโนมัติในประเทศไทย ต่อมาบริษัทได้ขยายการดำเนินธุรกิจให้ครอบคลุมครบวงจรมากขึ้น ทั้งธุรกิจผลิตและจำหน่ายเครื่องจำหน่ายน้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ และรับจ้างผลิตรวมถึงจำหน่าย อะไหล่และอุปกรณ์ให้แก่ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ บริษัทไทยฮา จำกัด(มหาชน) อยู่ในระหว่างการดำเนินการเพื่อเข้าจดทะเบียนใน mai โดยจะกระจาย 45 ล้านหุ้น ขายให้ประชาชนทั่วไป ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 198 ล้าน บาท คาดจะได้รับการอนุมัติให้เข้าเทรดได้ปลายปีนี้ เพราะผู้บริหารเองไม่ได้หวั่นต่อตลาดหุ้นที่ผันผวนหากปัจจัยพื้นฐานดี ก็น่าจะเป็นที่สนใจของนักลงทุน
โดย บริษัท ไทยฮา ดำเนินธุรกิจผู้ผลิตและจำหน่ายข้าวสาร และวุ้นเส้นตราเกษตร ซึ่งเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนจะนำไปใช้ในการขยายโรงงานส่วนผลิตวุ้นเส้น เนื่อง จากมาร์จิ้นดีกว่าข้าวสารและความ ต้องการก็เพิ่มขึ้น
บริษัท ยูบิส (เอเชีย) จำกัด(มหาชน) ก็เป็นอีกบริษัทหนึ่ง ที่อยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนใน mai และเมื่อดูภาพรวมของเศรษฐกิจและภาวะตลาดแล้วเห็นว่ายังไม่ต้องเร่งรีบ ดังนั้น ยูบิสฯ จึงเปลี่ยนเป้าหมายใหม่ โดย คาดว่าจะระดมทุนในปี 49 ส่งผล ให้การยื่นข้อมูลให้ ก.ล.ต. คาดว่า น่าจะเป็นไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ โดยบริษัทคาดว่าจะระดมทุนประมาณ 20 ล้านบาท เพื่อนำเงิน ไปใช้ในการขยายงาน ซึ่งจะลงทุน สร้างโรงงานแห่งใหม่ เป็นการเพิ่ม กำลังผลิตรองรับการส่งออก หลังจากนี้ คงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า ปีนี้จะมีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนได้มากน้อยเพียงใด และปี 49 ซึ่งเป็นปีที่มีบริษัทหลายแห่ง ต่างรอเวลาให้ถึงศักราชใหม่ จึงจะเป็นฤกษ์ดีที่จะกระจายหุ้น IPO เสียที
ล่าสุดคือ บริษัท สตีล อิน-เตอร์เทค จำกัด (มหาชน) ที่หมาย มั่นว่าจะระดมทุนผ่านการขายหุ้น IPO ให้แก่ประชาชนในปีนี้ให้ได้ เพื่อ จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่จะหมดลงสิ้นปี 48 นี้ โดยสตีล อินเตอร์เทค จะระดมทุนเพื่อนำ ไปใช้ในการขยายและปรับปรุงโรงงานเพิ่มพื้นที่ในการเก็บ สินค้าสำเร็จรูป รองรับการขยายตัว ของกำลังการผลิตและยอดขายของบริษัท รวมทั้งซื้อเครื่องรีดลอน รูปแบบใหม่และเครื่องผลิตแปเหล็กกล้ากำลังสูง
โดยมีบริษัทโกลเบล็ก แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทาง การเงิน และสตีล อินเตอร์เทคมีทุน จดทะเบียนจำนวน 50 ล้านบาท แบ่ง ออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 50 ล้านหุ้นมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาทเป็น ทุนที่ชำระแล้ว 35 ล้านบาท
สำหรับ บริษัทสตีล อินเตอร์-เทค ดำเนินธุรกิจผลิต จำหน่ายและให้บริการติดตั้งแผ่นหลังคาเหล็กเคลือบขึ้นลอน ทั้งชนิดเคลือบ สีและไม่เคลือบสี ภายใต้สินค้า ROLLFORM โดยมีบริษัทย่อยคือ บริษัทสตีล อินเตอร์คอน ซึ่งดำเนิน ธุรกิจให้บริการติดตั้งแผ่นเหล็กเคลือบขึ้นลอนที่บริษัทผลิตและจัดจำหน่าย โดยลูกค้าปลายทางของ บริษัทประมาณ 95% คือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งบริษัทขายสินค้าผ่านผู้รับเหมาตัวแทนจำหน่ายและเจ้าของโครงการ
สำหรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทสตีล อินเตอร์เทคประกอบด้วยครอบครัวอุ่นวรวงศ์ ถือหุ้น 73.14% ภายหลังการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปสัดส่วนจะลดลงเหลือ 51.20% รองลงมาได้แก่นางเกษมศรี วรรณโรจน์ ถือหุ้น 17.86% ภายหลังลดลงเหลือ 12.50% นายณัช หวังมหาพร ถือหุ้น 9% ภายหลังจะลดเหลือ 6.30% โดยบริษัทมี นโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิ
|
|
 |
|
|