Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 สิงหาคม 2548
ตัดมันเส้นไทยเจ๊งFTAจีนยับ             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงพาณิชย์

   
search resources

กระทรวงพาณิชย์
Agriculture
FTA




ตอกกลับพาณิชย์แจงไทยได้ดุลเอฟทีเอกับจีน เผยหากดึงมันเส้นที่ส่งออกกว่า 63% ออก ก็จะขาดดุลการค้าทันที เหมือนที่บอกเหตุผลขาดดุลการค้ากับออสเตรเลีย เพราะนำเข้าทองคำกับน้ำมันรวมกัน 52% ด้านผู้ส่งออกหวังผลไม้ไทยจะเข้าสู่จีนได้มากขึ้น ถ้ารัฐแก้อุปสรรคกีดกันได้หมด

การที่ประเทศไทยได้ทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับประเทศต่างๆ ทั้งในส่วนของการนำร่องเปิดเสรีสินค้าบางรายการที่ทำกับจีนและอินเดีย หรือทำแบบเต็มรูปแบบ คือ เปิดเสรีทั้งสินค้าและบริการที่ทำกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งผลจากการเปิดเสรีได้ทำให้ไทยได้ดุลการค้าบ้าง ขาดดุลการค้าบ้าง ตามที่ภาครัฐได้ออกมาชี้แจงอยู่ตลอดนั้น

รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า การทำเอฟทีเอกับจีน ได้เริ่มนำร่องเปิดเสรีมาตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2546 จนถึงเดือนมิ.ย.2548 เป็นเวลา 1 ปี 8 เดือน ไทยสามารถส่งออกสินค้า ผักและผลไม้ไปจีนได้มูลค่า 24,526 ล้านบาท และนำเข้าจากจีนในสินค้าชนิดเดียวกัน มูลค่า 10,930 ล้านบาท ซึ่งผลจากการที่ไทยส่งออกมากกว่านำเข้า ทำให้ไทยยังเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าคิดเป็นมูลค่า 13,595 ล้านบาท

ทั้งนี้ จากสถิติข้างต้นพบว่าสินค้าที่มีการส่งออก มากที่สุด ได้แก่ มันเส้น 63% รองลงมา คือ ลำไยแห้ง 8% ลำไยสด 6% ทุเรียนสด 6% ปลาแช่แข็งและกุ้งแช่แข็ง 4% ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากจีนมากที่สุด ได้แก่ แอปเปิล 38% ลูกแพร์ 12% ปลาแช่แข็ง 14%

แหล่งข่าวจากผู้ส่งออกผักและผลไม้ไทยไปจีน รายหนึ่งกล่าวว่า ต้องยอมรับว่ามันเส้นสามารถส่งออก ได้เพิ่มขึ้นจริง โดยในช่วงครึ่งปีแรก 2548 (ม.ค.-มิ.ย.) ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปจีนได้มูลค่า 7,249 ล้านบาท แยกเป็นมันสำปะหลังอัดเม็ดและมันเส้น 5,751.7 ล้านบาท แป้งมัน 1,146.6 ล้านบาท ที่เหลือเป็นผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอื่นๆ เพราะจีนมีความต้องการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น จากการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแอลกอฮอล์ และกระดาษ แต่ก็มีข้อสังเกตว่าจีนนำเข้ามันเส้นสูงอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว โดยในปี 2545 ซึ่งเป็นปีก่อนทำเอฟทีเอ จีนก็นำเข้าเป็นมูลค่า 5,894.9 ล้านบาท

"ถ้าตัดมูลค่าการส่งออกมันเส้น ซึ่งมีประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาทออกไป ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา ไทยก็จะขาดดุลกับจีนเกือบ 1 พันล้านบาท ซึ่งการระบุเช่นนี้เป็นเหตุผลเดียวกับที่กระทรวงพาณิชย์บอกว่าที่ไทยขาดดุลกับออสเตรเลียเพราะนำเข้าทองคำกับน้ำมันรวมกันกว่า 50% เลยทำให้ไทยขาดดุลการค้ากับออสเตรเลีย กับจีนถ้าคิดเหมือนกัน ไทยก็ขาดดุลการค้าเช่นกัน" แหล่งข่าวกล่าว

อย่างไรก็ตาม เอฟทีเอก็ช่วยให้สินค้าอื่นๆ มียอดการส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ลำไยส่งออกได้มูลค่า 477.5 ล้านบาท ทุเรียน 571.6 ล้านบาท ซึ่งเป็นการส่งออกเพิ่มขึ้นจากการทำเอฟทีเอจริง เพราะในช่วงปี 2545 ก่อนทำเอฟทีเอ ผลไม้ทั้ง 2 ชนิดนี้ส่งออกไปจีนได้ไม่มาก โดยปี 2545 ทุเรียนส่งออกได้เพียงมูลค่า 1.1 ล้านบาท ส่วนลำไยมูลค่า 99.3 ล้านบาท

ขณะที่นางเสาวณีย์ บุญเปี่ยม นายกสมาคมผู้ส่งออกผักและผลไม้ไทย กล่าวว่า เอฟทีเอช่วยให้ผลไม้ไทยมีโอกาสเข้าสู่ตลาดจีนได้เพิ่มขึ้น แต่เมื่อก่อนที่มีปัญหา เพราะจีนมีกฎระเบียบการนำเข้าที่เข้มงวด เช่น การกักกันสินค้า การตรวจสอบเข้มงวด ในเรื่องสารตกค้าง ทำให้ผลไม้ไทยเข้าสู่ตลาดจีนได้ยาก ซึ่งหลังจากนี้ไป หวังว่าภาครัฐจะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา และทำให้ไทยได้ประโยชน์จากเอฟทีเอจริงๆ เพราะเท่าที่ดูแนวโน้มจากนี้ไป จีนมีความต้องการผลไม้ไทยมากขึ้น เหตุผลเดิมขาดดุลออสเตรเลีย

นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวว่า ผลการทำเอฟทีเอระหว่างไทย-ออสเตรเลีย ตั้งแต่ 1 ม.ค.-มิ.ย.2548 ไทยส่งออกสินค้าทั้งสิ้น 56,203 ล้านบาท สินค้าที่ส่งออกสำคัญ ได้แก่ รถบรรทุก สัดส่วน 28% รถยนต์นั่ง 15% เครื่องคอมพิวเตอร์ 3% ปลากระป๋อง 3% และเครื่องปรับอากาศ 3%

ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าจากออสเตรเลียในช่วง เดียวกัน คิดเป็นมูลค่า 66,795 ล้านบาท โดยนำเข้าทองคำมากที่สุดจำนวน 32% มูลค่า 21,667 ล้าน บาท รองลงมาเป็นน้ำมันดิบ 20% มูลค่า 13,419 ล้านบาท ที่เหลือเป็นอะลูมิเนียมไม่เจือ 7% เหล็ก 4% อะลูมิเนียมเจือ 2.8% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าออสเตรเลีย มูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หากไม่นับทองคำและน้ำมันดิบ ซึ่งนำเข้ามากสุดเป็นสัดส่วนรวมกัน 52% แล้ว ไทยจะได้ดุลการค้าเอฟทีเอกับออสเตรเลียประมาณ 2.4 หมื่นล้านบาท

"ตัวเลขนำเข้าทองคำที่ยังสูงอยู่เป็นการสะสมมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว ซึ่งครึ่งปีแรกมีการนำเข้ามามาก เพราะออสเตรเลียเป็นแหล่งนำเข้าทองคำอันดับต้นของไทย โดยปี 2547 ไทยนำเข้าทองคำจากออสเตรเลียถึงครึ่งหนึ่งจากการนำเข้าทองคำทั้งหมด ทั่วโลก แต่หลังจากที่กระทรวงฯ ได้แก้ไขปัญหาทองคำ โดยเชิญผู้นำเข้ามาขอความร่วมมือ เชื่อว่าสถานการณ์นำเข้าทองในครึ่งปีหลังจะดีขึ้นอย่างแน่นอน แต่ในส่วนของเอฟทีเอต้องมองประโยชน์สินค้าที่ได้จากการลดภาษี เพราะปกติทองคำที่นำเข้าจากออสเตรเลียก็ไม่มีภาษีอยู่แล้ว"

นายราเชนทร์กล่าวอีกว่า ขณะที่เอฟทีเอไทย-อินเดียที่มีการลดภาษีนำร่องระหว่างกัน 82 รายการ ตั้งแต่เดือนก.ย.2547-มิ.ย.2548 ไทยส่งออกสินค้าได้ทั้งสิ้น 7,895 ล้านบาท สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ 27% พลอย 5% ส่วนประกอบยานยนต์ 5% หลอดภาพโทรทัศน์สี 5% และนำเข้าสินค้าจากอินเดียทั้งสิ้น 2,172 ล้านบาท สินค้านำเข้า สำคัญ ได้แก่ หลอดภาพโทรทัศน์สี 9% อะลูมิเนียมไม่เจือ 10% เพชรและพลอย 6% อะลูมิเนียมเจือ 8% กระปุกเกียร์ 33% ส่งผลให้ไทยได้ดุลการค้าจากอินเดียทั้งสิ้น 5,723 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us