Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 สิงหาคม 2548
ตลท.สอบปั่น ASL-W4             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Stock Exchange




ตลท.พบวอร์แรนต์ราคาร้อนหลายตัวผิดปกติ ASL-W4 นำทีมราคาพุ่งวันเดียว 70% ระบุนักลงทุน เปลี่ยนพฤติกรรม เผยการตรวจสอบต้องเทียบราคาหุ้นแม่ประกอบ ย้ำชัดตามทฤษฎีใกล้แปลงสภาพราคาต้องร่วง เพราะเมื่อครบกำหนดมีค่าเท่ากับศูนย์ เผยเบื้องหลังสอบราคาหุ้นกลุ่มโกลเบล็ก- โซลาร์ตรอน พบเครือญาติร่วมขบวน ดันราคา พิจารณาเข้าข่ายผิดกฎหมาย 1-2 เดือนก่อนก.ล.ต.เบรก GBX ออก วอร์แรนต์ เปิดปูมหลังหุ้นใหญ่อกริเพียว "ภูมิพัฒน์" ชื่อเดิม "สรรเพชร คง-ปัญญาพานิชกุล" เคยตกเป็นจำเลยคดี บัญชีเดินสะพัดแบงก์กสิกรไทยเป็นโจทก์เมื่อปี 43 ขณะที่ล่าสุด "ภูมิพัฒน์" โอนหุ้นอกริเพียวออกเหลือ 39.55%

นายสุภกิจ จิรประดิษฐ์กุล ผู้ช่วยผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมานักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรใบสำคัญ แสดงสิทธิเพื่อซื้อหุ้นสามัญ หรือ วอร์แรนต์ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะนักลงทุนมีการย้ายกลุ่มลงทุน ทำให้ขณะนี้พบว่ามีวอร์แรนต์หลายบริษัทที่มีการซื้อขายทั้งในส่วนของราคาและปริมาณการซื้อขายที่เข้าข่ายว่าพบความผิดปกติ

ทั้งนี้ คงต้องมีการตรวจสอบไปถึงหุ้นแม่ว่าราคา หุ้นมีความผันผวนมากน้อยเพียงไร โดยจะต้องพิจารณาไปถึงช่องว่างระหว่างราคาหุ้นแม่กับวอร์แรนต์ ที่ต้องเทียบกับราคาแปลงสิทธิ ว่า มีช่องห่างมากน้อย เท่าไร ซึ่งปกติการลงทุนในวอร์แรนต์ถือว่าเป็นการลงทุน ที่มีความเสี่ยงสูงอยู่แล้ว สำหรับวอร์แรนต์ที่ต้องมีการ เข้าไปตรวจสอบ เช่น วอร์แรนต์ ของบริษัท แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน) หรือ ASL-W4 เพราะราคามีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ หลังจากราคาพุ่งวันเดียว 70%

"มีวอร์แรนต์หลายบริษัทที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบความผิดปกติ แต่คงระบุไม่ได้ว่าการปรับขึ้นต้องเท่าไหร่แล้วจะมีการตรวจสอบ คงต้องดูที่ตัวหุ้นแม่ประกอบด้วย" นายสุภกิจกล่าว

ด้านทฤษฎีแล้วในช่วงที่วอร์แรนต์ใกล้ช่วงที่จะแปลงสภาพ ราคาต้องปรับตัวลดลงเพราะเมื่อครบ อายุแปลงสภาพของวอร์แรนต์แล้วราคาวอร์แรนต์ดังกล่าวจะมีค่าเป็นศูนย์

แต่อย่างไรก็ตาม การที่ความเคลื่อนไหวของวอร์แรนต์หลายบริษัทในช่วงใกล้หมดอายุมีความผันผวนค่อนข้างมากนั้น เรื่องดังกล่าวคงเกิดขึ้นเพราะ หลายเหตุผล ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเก็งกำไรเพราะราคา ต้องมีการปรับลดลง หรือนักลงทุนบางคนต้องการเข้ามาถือลงทุนเพื่อรับสิทธิในการแปลงสภาพ

ส่วนเรื่องการตรวจสอบความผิดปกติราคาหุ้นรวมถึงใบสำคัญแสดงสิทธิ ตั้งแต่ต้นปี 2548 ตลาด หลักทรัพย์ได้มีการส่งข้อมูลการซื้อขายที่พบความผิดปกติไปให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) มากกว่า 2 บริษัท ซึ่งพบว่ามีความผิดทั้งในเรื่องการปั่นราคาหุ้นและเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน คือ บริษัท อกริเพียว โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ APURE และ บริษัท บีเอ็นทีเอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ BNT

ส่วนกรณีบริษัท คอมพาสส์อีสต์ อินดัสตรี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ CEI อยู่ระหว่างที่ตลาดหลักทรัพย์กำลังตรวจสอบความผิดปกติเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายใน ตลท.ซุ่มเงียบสอบกลุ่มโกลเบล็กฯ

แหล่งข่าวจากตลาดหลักทรัพย์ เปิดเผยว่า สำหรับ บริษัท โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GBX นั้นตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการ ติดตามความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น GBX และหุ้น บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) หรือ SOLAR มาเป็นเวลานานพอสมควร เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเคลื่อนไหวร้อนแรงไม่ปกติตั้งแต่หุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เรียกว่าร้อนแรงใกล้เคียงกับหุ้นกลุ่มปิคนิคเลยทีเดียว

ทั้งนี้ ก่อนที่ตลาดหลักทรัพย์ฯจะออกมาระบุว่าพบความผิดปกติในการซื้อขายหุ้นโซลาร์ตรอน และมีการขอข้อมูลโบรกเกอร์เพื่อตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯได้พบข้อมูลเบื้องต้นว่า ผู้เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวหุ้นโซลาร์ตรอน และ GBX ล้วนเป็นกลุ่มคนที่เกี่ยวพันกับกลุ่มโกลเบล็กในลักษณะเครือญาติ นอกเหนือจากการนำพอร์ตการลงทุนของ GBX ไปเข้าลงทุน

พฤติกรรมของกลุ่มโกลเบล็ก จึงถูกฝ่ายตรวจ สอบของตลาดหลักทรัพย์ฯจับตามานาน และถึงขั้นมีการพิจารณาในแง่กฎหมายกันค่อนข้างนานในระยะ 1-2 เดือนก่อนที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จะออกมาชะลอการยื่นขอ ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ์(วอร์แรนต์)ของ GBX เมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่าการออกวอร์แรนต์ครั้ง นี้ผลประโยชน์จะตกกับกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ GBX อีกครั้ง

นอกจาก GBX ที่ถูกตลาดหลักทรัพย์จับตามองในฐานะเป็นบริษัทจดทะเบียนแล้ว บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โกลเบล็ก จำกัด ก็ยังถูกจับตามอง ในเรื่องของจรรยาบรรณเนื่องจากเกี่ยวพันกับหุ้น โซลาร์ตรอนในฐานะที่ปรึกษาและอันเดอร์ไรเตอร์ นอกจากนี้ที่ผ่านมา บล.โกลเบล็ก ยังเป็นโบรกเกอร์เล็กที่มีสไตล์การทำงานหวือหวา นอกจากเรื่องของการปล่อยมาร์จิ้น (เงินกู้เพื่อซื้อขายหลักทรัพย์) ที่ขณะนี้ถูกเพ่งเล็งแล้ว การขยายตัวของโกลเบล็กโดยมีการเปิดสาขาห้องค้าในต่างจังหวัดช่วงที่ผ่านมาเป็นระยะๆ ก็ต้องไปดึงตัวมาร์เกตติ้ง(เจ้าหน้าที่การตลาด) จากที่อื่นมาเช่นกัน

ทั้งนี้ บล.โกลเบล็ก ยังถูกจับตามองจากเพื่อน ร่วมวงการโบรกเกอร์ด้วยกัน เพราะในขณะที่โบรกเกอร์ ใหญ่ ๆ หลายค่ายไม่สามารถดึงตัวมาร์เกตติ้งได้ แต่ บล.โกลเบล็กทำได้ เนื่องจากกลุ่มโกลเบล็กมีเม็ดเงินที่ในภาษาโบรกเกอร์ด้วยกันเรียกว่าเงินนอกระบบ กล่าวคือ เป็นเงินจากธุรกิจอื่นในกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สามารถดึงมาใช้สำหรับการแย่งชิงตัวมาร์เกตติ้งและอื่นๆ ที่สนับสนุนให้มีวอลุ่มซื้อขายหุ้นสูงได้โดย ที่ตลาดหลักทรัพย์ตรวจสอบไม่พบ ในขณะที่โบรกเกอร์ใหญ่หลายแห่งไม่สามารถทำได้เพราะเงินที่มีอยู่เป็นเงินในระบบบริษัท หากนำไปทำอะไรไม่ถูกต้องตลาดหลักทรัพย์สามารถตรวจพบได้ ปูมหลังหุ้นใหญ่อกริเพียว

แหล่งข่าวกล่าวว่า ส่วนการตรวจสอบกรณีหุ้น APURE ที่ได้พบความผิดปกติและมีการส่งข้อมูลให้กับสำนักงาน ก.ล.ต.นั้น ได้มีการตรวจสอบข้อมูล นอกจากพบว่ามีความเกี่ยวพันกับกลุ่มบริษัท เจ เจ แลนด์ เดเวลลอปเมนท์ ที่กลุ่มปิคนิคมีความเกี่ยวพันด้วยแล้ว ยังพบว่า กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ กลุ่มใหม่ นายภูมิพัฒน์ ธนาวรพิทักษ์ พบว่าชื่อเดิม คือ นายสรรเพชร คงปัญญาพานิชกุล หรือ คงปัญญาพาณิชกุล เคยตกเป็นจำเลยที่ร่วมกับนางวรนารถ คงปัญญาพานิชกุล หรือ นางณัฐมนพิมพ์ ธนาวร-พิทักษ์ จำเลยที่ 2 ในคดีบัญชีเดินสะพัด ซึ่งมีธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องศาลแพ่งเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 จำนวนทุนทรัพย์ 17,097,139.64 บาท

โดยศาลแพ่งได้พิพากษาตัดสินไปเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2544 คำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่โจทก์จำนวน 8,936,259.90 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ เอ็ม อาร์ อาร์ บวกสองต่อปีตามประกาศ ของธนาคารโจทก์ของต้นเงินจำนวนดังกล่าว นับแต่วันที่ 31 มกราคม 2541 เป็น ต้นไปจนถึงวันฟ้องดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันแต่ต้อง ไม่เกินร้อยละ 14.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ตามโจทก์ขอ โดยใน การคิดคำนวณยอดหนี้ให้นำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระในแต่ละจำนวน ภายหลังวันที่ 30 มกราคม 2541 มาหักชำระดอกเบี้ยค้างชำระ ณ วันดังกล่าว ก่อน หากมีเหลือจึงนำมาหักชำระต้นเงิน

โดยให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ไม่เกินต้นเงินจำนวน 4,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ในอัตราที่กำหนดของต้นเงินจำนวนดังกล่าว นับจากวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2543 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหลักฐานจำนวน 5,263,493.03 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ เอ็ม อาร์ อาร์ บวก 3.75 ต่อปี แต่ไม่เกิน ร้อยละ 14.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าว นับถัดจากวัน ฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และชำระหนี้บัตรเครดิตจำนวน 212,430.31 บาท พร้อม ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ โจทก์ โดยให้นำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้บัตรเครดิตเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2542 จำนวน 20,000 บาท และวันที่ 5 มิถุนายน 2542 จำนวน 10,000 บาท มาหักดอกเบี้ยค้างชำระ ณ วันดังกล่าว ก่อน หากมีเหลือจึงนำมาหักชำระ ต้นเงิน

หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 76281 ตำบลคันนายาว(คลองกุ่ม)อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร และที่ดินโฉนดเลขที่ 160427 ตำบล วังทองหลาง อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พร้อม สิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์ หากไม่พอชำระหนี้ ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลย ทั้งสองบังคับชำระหนี้จนกว่าจะครบถ้วนแก่ โจทก์

ด้านรายงานข่าวจากสำนักงาน ก.ล.ต. เปิดเผย ว่า หลังจากที่นายภูมิพัฒน์ ได้เข้ามาเป็นถือหุ้นใหญ่ APURE ในสัดส่วน 50.69% ในเดือนเมษายน 2548 ต่อมานายภูมิพัฒน์ได้รายงานการขายหุ้นโดยการโอนออกไปครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 3.71% และอีก 3.71% ในวันที่ 18 กรกฎาคม ก่อนจะโอนออกอีก 3.71% ในวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา ทำให้ภายหลังนายภูมิพัฒน์ คงเหลือหุ้นที่ถือ 39.55%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us