Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2543
Internet newspaper             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 


   
search resources

News & Media
Networking and Internet




ผมเคยอภิปรายเรื่องนี้ไว้ครั้งหนึ่ง เมื่อเดือนมกราคม 2543 ณ สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ

หนังสือพิมพ์กำลังเผชิญหน้ากับการท้าทายครั้งใหญ่ จากยุคอินเทอร์เน็ต ทั้งผู้ประกอบการ และตัวทีมงานในกองบรรณาธิการ

ผู้ประกอบการมองว่า สื่ออินเทอร์เน็ต มาแรงจะเข้ามาแทน ที่ ซึ่งจะทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ตายไป ขณะที่นักข่าวมองว่าประสบการณ์ของพวกเขา และเธอในกองบรรณาธิการ จะใช้ไม่ได้ในยุคใหม่นี้

ผมเสนอในครั้งนั้น ว่า ผู้ประกอบการที่ฉลาด ไม่ควรละทิ้งธุรกิจในสื่อเก่าไปสู่สื่อใหม่ทันที หากควรสร้าง "สะพาน" เชื่อมระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์กับอินเทอร์เน็ตอย่างกลมกลืน

ส่วนนักข่าวนั้น สื่ออินเทอร์เน็ตได้เปิดทางอย่างกว้างขวางที่สุดสำหรับนักข่าวอย่างไม่เคยมีมาก่อน เพราะประสบการณ์ของนักข่าว และบรรณาธิการก็คือ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในสังคม อย่างสำคัญในการจัดการกับสาระในอินเทอร์เน็ต ที่ดูเหมือนไม่มีประสบการณ์จากอาชีพอื่น ที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างใกล้เคียง กับสื่ออินเทอร์เน็ต ที่ว่าด้วยการจัดการกับสาระ ไม่เพียงข่าวสารในอินเทอร์เน็ตเท่านั้น หากรวมไปถึง Content ลักษณะอื่นในอินเทอร์เน็ต ก็ล้วนต้องใช้ประสบการณ์ของการเป็นนักข่าว และบรรณาธิการทั้งสิ้น

เพราะสื่ออินเทอร์เน็ต เป็นสิ่งใหม่ของโลก ที่ไม่มีใครมีประสบการณ์ในด้านนี้มาก่อนเท่ากับงานของกองบรรณาธิการในสื่อสิ่งพิมพ์

ทั้งนี้ยังหมายความว่า ประสบการณ์ของกองบรรณาธิการในสื่อสิ่งพิมพ์เป็นฐานของการบริหารเนื้อหาในสื่ออื่นๆ ที่พัฒนามาทีหลังสื่อ สิ่งพิมพ์ แต่มาก่อนสื่ออินเทอร์เน็ตด้วย เช่น วิทยุ และทีวี

สิ่งที่สำคัญ ที่ควรอภิปรายก็คือ ผู้ประกอบการจะสร้างสะพานเชื่อมระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์ กับอินเทอร์เน็ตอย่างไร

สื่อสิ่งพิมพ์มีผู้อ่านมากอยู่ แนวโน้มของการอ่านหนังสือพิมพ์ จะลดลงเพิ่มขึ้นในขณะนี้ในเมืองไทย มิได้คุกคามจากสื่ออินเทอร์เน็ต ในสถานการณ์ ที่ปรับโครงสร้างทางสังคมอย่างมากในขณะนี้ การปรับตัวของผู้อ่านสำคัญมาก ผู้อ่านฉลาดมากขึ้น ขณะที่สื่อสิ่งพิมพ์ยังคงยำเนื้อหาเก่าๆ อยู่ หากเป็นปัญหาจากสมมติฐานข้างต้นของผมนี้ การสร้างสะพานเชื่อมก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ

ในทางกลับกัน หากผู้อ่านพอใจในเนื้อหา ในสื่อเก่าก็จริง แต่เมื่อเนื้อหานั้น มาปรากฏในสื่อ ที่มีมิติเพิ่มขึ้นจากการอ่าน และดูภาพถ่าย มาเป็นสื่อ ที่มีบุคลิกใหม่ในอินเทอร์เน็ต หนึ่ง-multimedia สามารถอ่าน ชมภาพนิ่ง และเคลื่อนไหว ฟังเสียง สอง-Interactive การค้นหาข้อมูล ด้วยตนเองหรือสามารถสร้างสื่อของตนเองขึ้นจากข้อมูลในสื่ออินเทอร์เน็ต ตลอดจนการสนทนา และเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลกับนักข่าว กองบรรณาธิการ แหล่งข่าว ตลอดจนผู้อ่านข่าวด้วยกัน เป็นเวทีทางปัญญาแล้วละก็ การสร้างสะพานเชื่อมจะกลายเป็นสิ่งเร่งด่วน และสำคัญที่สุด

นี่คือ บุคลิก ที่ทรงพลังของสื่อใหม่

อย่างไรก็ตาม การพลิกโฉมเช่นนี้ มิได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน ดังนี้ผู้ประกอบการที่เข้าใจ "สาระ" มากกว่า "รูปแบบ" ของอินเทอร์เน็ต จึงพยายามสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงเชิงสาระระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์กับอินเทอร์เน็ต ในลักษณะเกื้อกูลกัน เหมือนการสร้างประตู 2 แห่ง ที่เข้าถึงสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เท่ากับทำให้การเข้าถึงมีมากขึ้น

คนที่มีสื่อสิ่งพิมพ์ ที่เข้มแข็งในโลก ไม่มีใครกระโจนจากเรือลำนี้ไปสู่เรือลำใหม่ หากสื่อนั้น ยังมีคุณภาพอยู่

ที่สำคัญในเชิงสาระ ในกระบวนการผลิตเนื้อหาในสื่อเก่านั้น มีข้อมูลจำนวนมากถูกทิ้งไป หรือไม่ถูกจัดการอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร เสียง และภาพ ซึ่งล้วนมีค่าในสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมาก

ในกระบวนการทำงานของสื่อสิ่งพิมพ์ ก็คือ การสร้างระบบการไหลเวียนอย่างไม่หยุดหย่อนของ"เนื้อหา" ที่มีค่าต่อผู้อ่านมากกว่าการผลิต เพื่อสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น

มันเป็นที่เข้าใจกันมานานแล้ว แต่ภายใต้เทคโนโลยีเก่า สิ่งนั้น ก็อาจไม่มีค่า

นี่คือ สาระ ที่ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารกองบรรณาธิการควรทำความเข้าใจในเบื้องแรก

นี่คือ ความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบโดยเทคโนโลยีสารสนเทศ

นี่คือ ความสำคัญอันดับแรกในยุคจากนี้ไป ไม่ว่าสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ นั่นคือ การจัดการข้อมูล ข่าวสาร ซึ่งเป็นปรัชญา ที่แท้จริงของการพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนฮาร์ดแวร์ หรือความทันสมัย ล้วนเป็นชิ้นส่วนย่อยๆ ที่ต้องอาศัยความรู้ความ เข้าใจข้างต้นมาประกอบเป็นภาพ ที่สวยงามต่อไป

จากจุดนี้ย่อมจะเป็นการต่อเนื่องอย่าง สำคัญ ในการสร้างระบบการจัดการ "เนื้อหา" ที่มีลักษณะ Multimedia มากขึ้นต่อไป เมื่อถึงเวลาอันเหมาะตามความจำเป็นของธุรกิจ

สิ่งที่สำคัญในเชิงปรัชญาของสื่ออินเทอร์เน็ต ที่มีความหมายกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ อีกข้อหนึ่ง ที่ควรตระหนักไว้ในเบื้องแรก ก็คือ ในระบบการจัดการข้อมูลข่าวสาร จะทำให้ "เนื้อหา" ที่ไม่ได้มาตรฐานจำนวนหนึ่งหรือจำนวนมากแล้วแต่สื่อเก่าจะผลิตไว้ จะปรากฏขึ้นอย่างง่ายดาย และถูกจับได้มากขึ้น

ในกระบวนการเก็บ สะสม และนำมาใช้ใหม่ ตามวงจร ที่ซับซ้อนขึ้น มีความลึกซึ้งมากขึ้น รวมทั้งการตรวจสอบกันเองโดยธรรมชาติ ระหว่าง Text Voice Vedio และ Database จะทำให้ความไม่มีมาตรฐานปรากฏขึ้น ทั้งในแง่กองบรรณาธิการเอง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนางาน รวมทั้งผู้อ่าน ซึ่งจะตีราคาสื่อนั้น ต่อไป

ความมหัศจรรย์ และความยิ่งใหญ่ ที่ว่าด้วยการจัดการข้อมูลเป็นแก่นที่สุดของการปรับตัวกองบรรณาธิการภายใต้สถานการณ์ของข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของสังคม ที่เกิดขึ้น

ความน่ากลัวของอินเทอร์เน็ต สำหรับสื่อเก่า มิใช่เพราะมันจะมาแทน ที่สื่อเก่าในเชิงธุรกิจ หากแต่จะเป็นกระบวนการทางปัญญา ที่กระจ่างมากขึ้น ชัดเจนขึ้น และลึกซึ้งมากขึ้นด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us