|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
"ประชา" ว้าก ททท. ทำงานอืด ลั่นฟื้นฟู ป่าตอง-กมลา ต้องเสร็จในเดือน พ.ย.นี้ สั่ง ททท.ทำแผนวิธีการทำงานแบบพิเศษ ลดขั้นตอนระเบียบราชการให้เสร็จและกลับมารายงานภายใน 1 สัปดาห์ ถือเป็นการพิสูจน์ผลงาน เผยคดีเงินหาย 23 ล้านบาท ที่ลอนดอน ต้องหาผู้รับผิดชอบให้ได้ ถึงที่สุดจะตั้งคณะกรรมการสอบวินัย ด้านปัญหาหลอกลวงนักท่องเที่ยว เร่งศึกษาจัดระเบียบค่าคอมมิชชันตามหลักสากล
นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยภายหลังการรับฟังแผนการปฏิบัติงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จากนางจุฑามาศ ศิริวรรณ ผู้ว่าการ ททท. ตลอดจนหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว ที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงฯ โดยในที่ประชุม ททท.ได้รายงานถึงการดำเนินงานฟื้นฟูหาดป่าตอง และหาดกมลา ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม ปีหน้า จึงให้โจทย์ ททท.ไปเร่งจัดทำขั้นตอน วิธีการทำงานใหม่แล้วนำกลับมารายงานภายในสัปดาห์หน้า โดยให้การฟื้นฟูหาด ต้องแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายนศกนี้ เพื่อให้ทันต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในช่วงไฮซีซันปีนี้
ทั้งนี้ ททท.ได้ชี้แจงสาเหตุของความล่าช้า ในการปรับปรุงหาดป่าตองและหาดกมลาว่า เกิดจากความล่าช้าของงบประมาณ ซึ่ง ททท.ได้ทำเรื่องขอไปตั้งแต่ มี.ค.48 แต่ ได้รับอนุมัติงบมาในเดือน มิ.ย. 48 ซึ่งล่าช้าไป 3 เดือน ขณะเดียวกัน ตามระเบียบ ราชการต้องมีการว่าจ้างการออกแบบ และการออกประกาศประกวดราคาหาผู้รับเหมาก่อนเซ็นสัญญาจัดจ้าง ทั้งหมดต้องใช้ระยะเวลา จึงทำให้เวลาการแล้วเสร็จต้องยืดออกไปอีก 1 ปี เป็นแล้วเสร็จ ก.ค.49 จากกำหนดเดิมเมื่อหลังเกิดสึนามิใหม่ ได้ทำแผนและกำหนดเสร็จภายในเดือน ก.ค.48 ระบุผลงานพิสูจน์ฝีมือประเมินผลททท.
ดังนั้น จึงได้สั่งการไปว่า ตามนโยบายของรัฐบาล การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวและสถานการณ์ท่องเที่ยวใน 6 จังหวัดฝั่งอันดามันถือเป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะฉะนั้นจะดำเนินการตามขั้นตอนระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของราชการไม่ได้ แต่ต้องใช้วิธีพิเศษ ซึ่งให้ ททท.ไปคิดมาว่า ขั้นตอนใดสามารถตัดลดเวลาได้ ซึ่งตนพร้อมจะเสนอขอ ครม.ให้ยกเว้นเป็นกรณีพิเศษให้
"งบปรับปรุงหาดกมลาและหาดป่าตอง ได้รับอนุมัติมาทั้งสิ้นราว 290 ล้านบาท แบ่งเป็นใช้ปรับปรุงหาดกมลา 96 ล้านบาท และปรับปรุงหาดป่าตอง 194 ล้านบาท ซึ่งที่ให้โจทย์ ททท. ไปเร่งดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ถือเป็นการพิสูจน์ฝีมือและประเมินผลการทำงานของ ททท.ด้วย"
อย่างไรก็ตาม นายประชากล่าวว่า รู้ว่าการทำงานในระบบราชการจะต้องเป็นขั้นเป็นตอน โดยเฉพาะเรื่องการเบิกจ่ายและการใช้เงินเหมือนเป็นวัฒนธรรมที่ปฏิบัติกันมาจนฝั่งลึก ทุกคนเคยชิน ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ต้องปรับปรุงให้หมดไปจากระบบราชการไทย ซึ่งรัฐบาลชุดนี้กำลังพยายามแก้ไขและเมื่อเห็นสิ่งใดต้องทำเร่งด่วน ก็ต้องดำเนินการทันที
ตามต่อคดีเงินหาย พร้อมเตรียมสอบวินัย
นายประชา กล่าวอีกว่า ได้รับทราบรายงานจากนายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ถึงกรณี เงิน 23 ล้านบาทของ ททท.สำนักงานลอนดอน ถูกโอนออกจากบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาลอนดอนไปยังธนาคาร สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ประเทศฮ่องกง ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงฯ ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง ดังนั้นจึงได้สั่งการให้ปลัดฯในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบฯ ดำเนินการให้ถึงที่สุดและเรื่องนี้จะต้องมีผู้รับผิดชอบอย่างแน่นอนจะไม่ปล่อยให้เรื่องเงียบแน่
ส่วนในกรณีที่ปลัดตั้งข้อสังเกตถึงความล่าช้าที่ ททท. ทราบเรื่องดังกล่าว แต่ไม่ได้รายงานให้รัฐมนตรีว่าการและกระทรวงฯ ซึ่งเป็นผู้ดูแลรับทราบทันที แต่ปล่อยให้เวลาล่วงไปถึง 2 เดือนนั้น โดยระเบียบราชการถือว่ามีความผิดแน่นอน แต่ทั้งหมดก็ต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะมีการตั้งคณะกรรมการสอบวินัยเป็นลำดับต่อไป จัดระเบียบค่าคอมฯไกด์ขึ้นชั้นสากล
ในส่วนการแก้ปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญและการหลอกหลวงนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการแก้ไข จากข้อมูลที่ได้รับรายงานพบว่า ปัญหาอยู่ที่การจ่ายค่าคอมมิชชันให้กับมัคคุเทศก์ ที่ยังไม่มีมาตรฐานกำหนดเหมือนเช่นในต่างประเทศซึ่งจะกำหนดไว้ที่ราว 10% จึงเป็นช่องว่างให้ร้านค้ายินดี จ่ายค่าคอมมิชชันสูงเฉลี่ยที่ 40-50% ของราคาสินค้า เพื่อให้ไกด์พานักท่องเที่ยวมา ชอปปิ้งในร้านของตน ขณะเดียวกันก็บวกรายจ่ายส่วนนี้ไปกับราคาสินค้า
ดังนั้นจึงได้สั่งการให้ ททท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประสานงานและศึกษาถึงการจัดทำมาตรฐานค่าคอมมิชชันให้อยู่ในอัตราเดียวกับตลาดสากล พร้อมกับการยกระดับมาตรฐานมัคคุเทศก์ ไทยให้เป็นระดับมืออาชีพ (Professional) มีกฎหมายคุ้มครองเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆ พร้อมกับพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบและประสานงานกับ ททท. และกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวในเรื่องการแก้ไขปัญหานักท่องเที่ยว เนื่องจากที่ผ่านมา 2 องค์กร มักมีปัญหาเรื่องการทำงานร่วมกัน ซึ่งเกิดจากระบบงานแต่ละองค์กรที่ต่างกัน
|
|
 |
|
|