|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ทีโอทีต่อรอง กทช. ลดค่าธรรมเนียมจากที่ต้องจ่าย 5 พันล้านบาท ให้เหลือ 500 ล้านบาทแทน พ้อหากไม่ยอมลดก็ไม่ต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้านเอไอเอส ดีแทค ประสานเสียงหลักการคิดค่าธรรมเนียม กทช.ทำให้ได้รายได้สูงเกินสมควร
นายธีรวิทย์ จารุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที กล่าวว่าได้เข้าหารือพร้อมทั้งยื่นหนังสือกับพล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เมื่อวานนี้ (10 ส.ค.) เพื่อแสดงความเห็นโต้แย้งในเรื่องค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่กทช.จะเรียกเก็บภายหลังจากที่ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมให้ทีโอทีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาประกอบด้วย
1. ค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคม ซึ่งกทช.จะเก็บในอัตราเลขหมายละ 1 บาทต่อเดือนหรือ 12 บาทต่อปี โดยที่ปัจจุบันมีเลขหมายใช้งานอยู่ทั้งหมด 40 ล้านเลขหมาย หากทีโอทีต้องจ่ายตามอัตรากทช.จะอยู่ที่ประมาณปีละ 480 ล้านบาท ซึ่งเป็นอัตราที่สูงเกินไป ทีโอทีจึงเสนอที่จะจ่ายเลขหมายละ 50 สตางค์ต่อเดือน หรือปีละ 240 ล้านบาท พร้อมทั้งขอจ่ายเงินให้ กทช. 3 เดือนต่อครั้ง เนื่องจากเลขหมาย โทรคมนาคมมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ
2. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ที่กทช.จะเก็บในอัตรา 3% ของรายได้ทีโอที ซึ่งตกลงกันที่ 6.3 หมื่นล้านบาทประกอบด้วยรายได้จากส่วนแบ่งรายได้ของบริษัทร่วมการงาน ค่าแอ็กเซ็สชาร์จและการให้บริการของทีโอที คิดเป็นเงินประมาณ 1,900 ล้านบาทต่อปี โดยที่ทีโอทีพร้อมจ่ายกทช.ประมาณ 0.5% หรือคิดเป็นเงินประมาณ 320 ล้านบาท
และ 3. ค่าธรรมเนียมในการให้บริการโทรคมนาคมโดยทั่วถึง (Universal Service Obligation หรือ USO) ที่ กทช.จะเก็บในอัตรา 4% จากรายได้ 6.3 หมื่นล้านบาท หรือประมาณ 2,500 ล้านบาท ทีโอทีก็ขอที่จะไม่จ่ายค่า USO ในขณะที่ทีโอทีจะขอให้กทช.พิจารณาหากลไกในอนาคตเพื่อจะจ่ายเงินให้ทีโอทีชดเชยกับการให้บริการ USO ของทีโอที เนื่องจากที่ผ่านมาทีโอทีมีหลายโครงการที่เป็นบริการ USO โดยปีที่ผ่านมาทีโอที รับภาระขาดทุนจากบริการ USO มากถึงประมาณ 1 หมื่นล้านบาท
ส่วนเรื่องที่ 4 คือค่าธรรมเนียมการใช้คลื่นความถี่ ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปอัตราจากกทช. ทีโอทีจึงต้องรอตัวเลขก่อนที่จะแสดงความเห็นยอมรับหรือโต้แย้ง
เขากล่าวว่าหากนำอัตราที่กทช.จะเก็บใน 3 เรื่องมาคิดรวมกัน (480+1,900+2,500) ทีโอทีจะต้องมีภาระเพิ่มขึ้นประมาณ 5,000 ล้านบาททันที เมื่อเทียบจากปีที่ผ่านมาทีโอทีมีกำไร 11,523 ล้านบาท เท่ากับทีโอทีจะเหลือกำไรไม่ถึง 7 พันล้านบาท ซึ่งคาดว่าภาระที่เพิ่มนี้จะกระทบกับแผนการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ของทีโอทีแน่นอน
"ค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ กทช.กลายเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ และมีผลกับแผนการเข้าตลาดฯ ของทีโอทีไปแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ทีโอทีได้แจ้งให้ท่านรมว.ไอซีทีและสำนักรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังรับทราบแล้ว"
นายธีรวิทย์กล่าวว่า หากดูจากข้อเสนอของทีโอทีในการต่อรองลดค่าธรรมเนียม กทช.ก็จะมีรายได้จากด้านทีโอทีประมาณ 560 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับบริษัท กสท โทรคมนาคม ที่มีรายได้ประมาณ 2.4 หมื่นล้านบาท หากเสียค่าใบอนุญาตเท่าทีโอทีประมาณ 0.5% หรือ 120 ล้านบาท เมื่อรวมกับภาระค่า USO อีกจำนวนหนึ่ง โดยที่กสทไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเลขหมาย และหากปลายปีมีการออกใบอนุญาตใหม่ๆที่จะทำให้ กทช.มีรายได้เพิ่มเข้ามาอีก ทำให้เห็นว่า กทช.จะมีรายได้ที่น่าจะเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายและการกำกับดูแล
"เงิน 560 ล้านบาท สำหรับทีโอทีแล้วผมเชื่อว่ามีความเหมาะสมและทีโอทีพร้อมจ่ายโดยที่ไม่มีผลกระทบกับแผนการเข้าตลาดฯ แต่ถ้าหากต้องจ่ายเกือบ 5 พันล้านบาท ผมว่าไม่ต้องเข้าตลาดฯ แล้ว"
นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานธุรกิจสื่อสารไร้สาย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอสกล่าวว่าเอไอเอสไม่เห็นด้วยในหลักการหารายได้ของ กทช. ด้วยการคิดค่าธรรมเนียมในลักษณะเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ เพราะท้ายสุดภาระดังกล่าวจะถูกผลักไปให้ผู้บริโภค โดยเฉพาะในเรื่องค่าธรรมเนียม USO ที่เก็บถึง 4% ของรายได้ถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม กทช.ควรทำในลักษณะการตั้งเป็นงบประมาณว่าต้องการใช้ในแต่ละปีมากน้อยแค่ไหน เพื่อประโยชน์ ในเรื่องการประเมินผลความสำเร็จของโครงการด้วย เนื่องจากเอกชนเกือบทุกรายคงต้องการทำธุรกิจหลักมากกว่ามาให้ความสำคัญกับบริการ USO ซึ่งหาก กทช.กำหนดไว้ที่ 4% กทช.ก็จะได้เงินมหาศาล เพราะหากคิดขนาดตลาดของธุรกิจโทรคมนาคมในภาพรวมประมาณ 2 แสนล้านบาท กทช.จะมีรายได้จากค่า USO มากถึง 8 พันล้านบาท
"เมื่อมีเงินมากขนาดนี้ ภาพ กทช.จากการกำกับดูแลจะเปลี่ยนไปเป็นองค์กรแห่งการจัดซื้อเพื่อให้บริการ USO ซึ่งหากมองภาพใหญ่ การคิดค่าธรรมเนียมเป็นลักษณะเปอร์เซ็นต์จากรายได้ ก็ไม่แตกต่างจากสัญญาร่วมการงานเดิมที่ประชาชนก็จะไม่ได้อะไรที่ดีขึ้น"
ด้านนายพิทยาพล จันทนะสาโร รองประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการสายงานคอร์ปอเรต ดีแทค ตั้งข้อสังเกตว่านโยบายการคิดค่าธรรมเนียมในลักษณะเป็นเปอร์เซ็นต์จากรายได้ จะทำให้อุตสาหกรรมในภาพรวมเกิดความเสียหายมากกว่าเป็นผลดี และนโยบายการเงินของ กทช.มุ่งจะรับใช้สังคมหรือมุ่งที่จะสร้างรายได้มากกว่า เพราะค่าธรรมเนียมต่างๆที่เก็บในลักษณะเป็นส่วนแบ่งรายได้เมื่อรวมๆ กันแล้วประมาณ 10% ของรายได้ทั้งอุตสาหกรรม ที่ประมาณ 1.5-2 แสนล้านบาท เท่ากับกทช.จะมี รายได้ 1.5-2 หมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งถือว่าไม่สมเหตุสมผล
|
|
 |
|
|