|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
"สมคิด" ย้ำ เอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่นสร้างประโยชน์ ในระยะยาว ดันไทยเป็นศูนย์กลาง ยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในภูมิภาคนี้ ยืนยันอีกครั้งจะไม่ลงนาม เด็ดขาดหากไทยเสียเปรียบ โดยเฉพาะถ้าเจรจากฎแหล่งกำเนิดสินค้าไม่จบ "พิศาล" บินถกญี่ปุ่น 25-26 ส.ค.นี้ เผยถ้าสรุปได้สินค้า เกษตรไทยที่ปัจจุบันส่งออกได้ 4.2 หมื่นล้านบาทจะส่งออกได้มากกว่า นี้ ทางด้านภาคบริการญี่ปุ่นเปิดให้ไทยเพียบ วงในแฉรัฐจัดฉากสร้างภาพบวกเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น หลังไม่ปล่อยเอกชนขึ้นพูด
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว. พาณิชย์เปิดเผยในการเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา เรื่อง "เอฟทีเอ ไทย-ญี่ปุ่น : ไทยได้หรือเสีย" จัดโดยกระทรวงการต่างประเทศ ที่โรงแรมปาร์คนาย เลิศ วานนี้ (10 ส.ค.) ว่า ปัจจุบันนี้ ไทยต้องเปิดเสรีการค้าภายใต้กรอบ ขององค์การการค้าโลก (WTO) อยู่แล้ว และการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ถือเป็นการช่วงชิงความได้เปรียบ หากไทยปรับ ยุทธศาสตร์การค้าให้ทันกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว ก็จะมีบทบาทในเวทีการค้าโลกได้
ในส่วนเอฟทีเอที่ทำกับญี่ปุ่น หากดูแผนการลงทุนของญี่ปุ่น พบว่ามีการลงทุนในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะจีนเป็นลำดับ 1 รองลงมา คือ ไทยและกว่า 40% ของนักลงทุนญี่ปุ่นที่ลงทุนในประเทศไทย เป็นกลุ่มยานยนต์ และอีก 20% เป็นการลงทุนในกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น เอฟทีเอที่ไทยทำกับญี่ปุ่น จะทำให้ในอีก 5 ปีข้างหน้า ไทยจะเป็นศูนย์กลางรถยนต์ อะไหล่ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในภูมิภาคได้ ซึ่งจะมี เงินไหลเข้ามาในประเทศอย่างมหาศาล แต่มีเงื่อนไขว่าผู้ประกอบ-การไทยจะต้องเร่งปรับตัวให้ทัน
"ยืนยันว่าภายใต้เอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้ไทยเสียเปรียบ จะไม่มีการลงนามโดยเด็ดขาด เพราะการทำเอฟทีเอ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของทั้ง 2 ฝ่ายไม่ได้เปรียบและเสียเปรียบ แต่ในช่วงแรกอาจจะมีลดบ้างเพิ่มบ้าง ซึ่งไม่ได้เป็นปัญหาอะไร แต่ในระยะยาวเอฟทีเอที่ไทยได้ตกลง กับญี่ปุ่นจะมีส่วนช่วยผลักดันให้มูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่ผลการเจรจาจะสำเร็จได้หรือไม่ ขึ้น อยู่กับภาคเอกชน และไม่อยากให้ด่วนตัดสินใจว่าไทยจะขาดดุล การค้ากับญี่ปุ่นหลังทำเอฟทีเอ" นายสมคิดกล่าว
ทั้งนี้ เงื่อนไขที่ไทยจะไม่ลงนามในเอฟทีเอกับญี่ปุ่นนั้น ขณะนี้เหลือเงื่อนไขเดียว คือ การกำหนด กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าเกษตร ที่ขณะนี้ยัง ไม่สามารถตกลงกันในรายละเอียด ต่างๆ ได้ โดยมีสินค้าที่ยังต้องเจรจากันอีกประมาณ 229 รายการ จากทั้งหมด 727 รายการ
อย่างไรก็ตาม ตามกำหนด การเดิม นายกรัฐมนตรีของทั้ง 2 ประเทศจะมีการประกาศความร่วมมือภายใต้กรอบเอฟทีเอในเดือน ส.ค.นี้ แต่เมื่อญี่ปุ่นมีปัญหาทางการเมืองจึงเป็นรัฐบาลรักษาการ แต่แม้จะเป็นรัฐบาลรักษาการ ผลการเจรจาเอฟทีเอจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะไม่ว่ารัฐบาลชุดไหนเข้ามาก็จะต้องเดินหน้าตาม กรอบเจรจาเพื่อให้ผลเจรจามี ข้อตกลงร่วมกันอย่างสมบูรณ์ โดยกำหนดระยะเวลาที่ไทยกับญี่ปุ่นจะประกาศความร่วมมือขึ้นอยู่กับความพร้อมของญี่ปุ่น ฝ่ายไทยไม่มีปัญหา
นายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น กล่าวว่า จะเดินทางไปญี่ปุ่นในวันที่ 25-26 ส.ค.นี้ เพื่อหารือกับหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายญี่ปุ่น เพื่อตกลงในรายละเอียดของกฎแหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าเกษตรที่ยังมีปัญหา ซึ่งหากตกลงกันได้ ก็จะลงนามใน Record of Discussions แต่ถ้าตกลงไม่ได้ก็จะไม่ยอม เพราะรัฐบาลถือว่าเรื่องนี้สำคัญ ถ้าเจรจาไม่ได้สินค้าเกษตรก็เข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นไม่ได้
"ขณะนี้ไทยส่งออกสินค้าเกษตรไปขายญี่ปุ่นประมาณ 94,000 ล้านบาท ตัดรายการที่ญี่ปุ่นดึงออก เหลือ 3 ใน 4 ที่ญี่ปุ่นนำมาเปิดเสรี หรือคิดเป็นมูลค่าที่ไทยส่งออก 72,000 ล้านบาท และในจำนวนนี้มี 42,000 ล้านบาท ที่ยังติดแหล่งกำเนิดสินค้า แต่ถ้าคุยจบ ไทยจะทำยอดส่งออกได้มากกว่านี้" นายพิศาลกล่าว
นายบรรพต หงษ์ทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว ว่า การทำเอฟทีเอจะช่วยผลักดันให้สินค้าเกษตรของไทยเข้าสู่ตลาด ญี่ปุ่นได้มากขึ้น และในอีก 5 ปีข้างหน้า ไทยจะได้มากกว่านี้ เพราะญี่ปุ่นจะลดภาษีลงอีกมาก แต่ สิ่งที่ไทยจะได้ทันทีในเรื่องสินค้าเกษตร นอกเหนือจากการลดภาษี ไทยและญี่ปุ่นจะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมกันในการแก้ไขปัญหาทางด้านมาตรฐานสุขอนามัย (SPS) ซึ่งจะช่วยให้สินค้าเกษตรไทยเข้าสู่ตลาดได้ดีขึ้น
นายวีระชัย พลาศรัย รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และผู้อำนวยการสำนักงาน เจรจาเขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ในส่วนของภาคบริการ ญี่ปุ่นมีการเปิดเสรีให้ไทยเพิ่มเติมกว่า 130 สาขาย่อย โดยเปิดเพิ่มเติมจากที่ผูกพันใน WTO 65 สาขา และปรับปรุงข้อผูกพันใน WTO 65 สาขา ซึ่งทำให้ภาคบริการของไทยเกือบทั้งหมดจะเข้าไปเปิดตลาดในญี่ปุ่นได้ นอกจากนี้ ยังเปิดเสรีการลงทุนที่ไม่ใช่บริการเกือบทั้งหมดเช่นกัน ยกเว้นการผลิตยา น้ำมัน พลังงาน เหมืองแร่ ประมง และป่าไม้ เป็นต้น
ขณะที่ไทยเปิดเสรีภาคบริการ ให้ญี่ปุ่นเพิ่มเติมจากที่ผูกพันไว้ใน WTO ทั้งหมด 14 สาขาย่อย เช่น ที่ปรึกษาด้านการจัดการทั่วไป ที่ปรึกษาด้านการตลาด ที่ปรึกษาด้าน ลอจิสติกส์ บริการซ่อมบำรุงเครื่อง ใช้ไฟฟ้าในบ้าน โรงแรม ร้านอาหาร โฆษณา การศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นต้น
รายงานข่าวแจ้งว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้สร้างความแปลกใจแก่ ภาคเอกชนเป็นอย่างมาก เพราะเดิม กำหนดการ มีประธานสภาอุตสาห-กรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน มาร่วมเสวนาด้วย แต่พอวันสัมมนาจริง ได้เปลี่ยนกำหนดการกะทันหัน ผู้มาร่วมเสวนามีแต่ภาครัฐเท่านั้น โดยมีนายบรรพต นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) และนาย การุณ กิตติสถาพร ปลัดกระทรวง พาณิชย์ ที่เพิ่มเข้ามา และกระทั่งนายสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐกิจยุคสารสนเทศ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ที่ถูกเชิญให้เป็นผู้ดำเนินรายการก็ถูกเปลี่ยนตัวเช่นกัน
โดยนายบรรพตเองได้ยอมรับในวงสัมมนาว่า ไม่สามารถ พูดเนื้อหาได้มาก เพราะไม่ได้เตรียมตัวที่จะมาพูด เพราะได้รับแจ้งเมื่อเย็นวันที่ 9 ส.ค. นอกจากนี้ ทั้งนายบรรพตและนายอำพนเมื่อชี้แจงเสร็จได้ออกจากห้องประชุมทันที โดยระบุว่ามีภารกิจอื่น
ทางด้านนายสมเกียรติกล่าวว่า น่าเสียดายที่กรอบเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น ไม่ได้ครอบคลุมการเปิดเสรีโทรคมนาคม ซึ่งเป็นสาขาบริการในไทยที่ยังไม่มีการแข่งขันเต็มที่ โดยอาจเป็นไปได้ที่ผู้ประกอบการของไทยจะไปผลักดันไม่ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ซึ่งรับหน้าที่เจรจาเรื่องนี้ ไม่ให้เจรจา และในกรอบของ WTO ก็มีแค่ 4 ประเภทที่จะเปิดเสรีในปี 2549 ได้แก่ โทรศัพท์บ้าน โทรเลข โทร-สาร และโทรพิมพ์ แปลว่าบริการที่กระทบต่อผู้บริโภคมาก เช่น โทรศัพท์ หรือดาวเทียม จะไม่มีการเปิดเสรี ทั้งที่มีการผูกขาด ซึ่งน่าเสียดายที่ผู้บริโภคจะต้องถูกผูกขาดต่อไป
|
|
 |
|
|