"เนวิน ชิดชอบ" มั่นใจมาตรการของเออาร์ที หรือ บริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็ง
จำกัด จะสร้างความ แข็งแกร่งให้ร้านค้าปลีกรายย่อย ตั้งเป้า 3 ปีมีโชห่วยเข้าเป็น
สมาชิก 1 แสนราย พร้อมอัดงบสนับสนุนเชนร้านเออาร์ที ให้ เป็นร้านต้นแบบ 2,000
รายในลักษณะแฟรนไชส์ คาดเพียง ปีเดียวจะแข่งกับเซเว่นอีเลฟเว่นและดิสเคานต์สโตร์ได้
นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยในงานแถลงกลยุทธ์ของบริษัท
รวมค้าปลีกเข้มแข็ง จำกัด วานนี้ (22 ส.ค.) ว่าหลังจากการตั้งบริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็ง
จำกัด หรือเออาร์ที และจะเริ่มดำเนินการอย่าง เป็นทางการในเดือนกันยายนนี้
คาดว่ามาตรการต่างๆที่เออาร์ทีจะนำออกมาใช้เพื่อสนับสนุนร้านค้าปลีกรายย่อยจะช่วยสร้างความแข็ง
แกร่งได้อย่างแน่นอน
โดยเออาร์ที จะรวมร้านค้าปลีกเข้าเป็นสมาชิก และคัดเลือกรายที่มีศักยภาพประมาณ
2,000 ราย มาพัฒนาเป็นเชนร้านค้าปลีกภายใต้ชื่อเออาร์ที โดยร้านค้าต้น แบบทั้งหมดไม่ต้องเสียค่าแฟรนไชส์แต่อย่างใด
ซึ่งจะต่างจากเชนร้านสะดวกซื้อที่เป็นแบรนด์ของบริษัทข้ามชาติ ที่ต้อง ใช้เงินลงทุนเบื้องต้น
1-2 ล้านบาท และในแต่ ละเดือนยังต้องเสียค่าใช้จ่ายให้แก่เจ้าของแฟรนไชส์
ทั้งค่าแบรนด์รอยัลตี้ ค่าการตลาด และเปอร์เซ็นต์จากกำไรอีก ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนที่มาก
ในขณะที่แฟรนไชส์ของร้านเออาร์ที จะเสีย ให้แก่บริษัทเออาร์ที เพียง 1% ต่อเดือนเท่านั้น
ซึ่งเงินจำนวนนี้จะถูกนำไปใช้เพื่อพัฒนาร้านค้าของสมาชิกรายอื่นให้เข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ต่อไป
นอกจากนี้ ร้านค้าปลีกรายย่อยที่เข้าเป็นสมาชิกยังสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาเดียวกับดิสเคานต์สโตร์
หรือค้าปลีกรายใหญ่อื่นๆ ซึ่งจะทำให้ร้านค้าปลีกรายย่อยมีต้นทุนถูกลง และเมื่อขายสินค้าในราคาเดิมก็จะทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้แม้ว่าราคาต้นทุนของร้านค้าของสมาชิก เออาร์ทีจะถูกลง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้อง
ขายสินค้าราคาถูกเช่นดิสเคานต์สโตร์ เพราะร้าน ค้าปลีกรายย่อยเป็นร้านค้าชุมชนสะดวกซื้อที่ขาย
ความสะดวกเป็นหลัก ซึ่งในกรณีของร้านเซเว่นฯ เองก็ยังขายสินค้าเต็มราคา อย่างไรก็ตามในแต่ละเดือนทางเออาร์ที
ก็จะจัดรายการขายสินค้า ให้แก่ร้านค้า เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ลูกค้าเข้ามาซื้อ
สินค้ามากขึ้น เชื่อเออาร์ทีกระทบเซเว่นฯ
นายเนวิน กล่าวอีกว่า รูปแบบแฟรนไชส์ของเออาร์ทีที่คิดขึ้นมานี้ วัตถุประสงค์หลักก็เพื่อ
ต้องการช่วยเหลือร้านค้าปลีกรายย่อยอย่างแท้จริง โดยเออาร์ที จะขายความเป็นร้านค้าของ
คนไทย ซึ่งการบริหารงานของเออาร์ทีถูกกำหนด ให้เป็นองค์กรที่ไม่ต้องการแสวงหาผลกำไร
แต่สามารถหารายได้มาเลี้ยงตัวเองได้ ทำให้ไม่ต้องเรียกเก็บค่าแฟรนไชส์ฟี
หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อ ให้ร้านค้ารายย่อยมีผลประกอบการที่ดีขึ้นและแข็งแกร่งขึ้นในที่สุด
แต่ปรากฏการณ์นี้จะส่งผลให้ระบบแฟรนไชส์โดยภาพรวมที่จะได้รับผลกระทบอย่าง
แน่นอน อย่างน้อยที่สุดคนที่สนใจจะซื้อแฟรนไชส์ของร้านสะดวกซื้อต่างชาติก็ต้องคิดมาก
และอาจเลือกพิจารณามาเข้าระบบแฟรนไชส์ของเออาร์ที ที่แทบจะไม่ต้องเสียค่าใช้
จ่ายอะไรเลย เว้นแต่การปรับปรุงร้านให้ทันสมัยขึ้น และเชื่อว่าจะส่งผลให้การเรียกเก็บค่าแฟรนไชส์ที่แพงมาก
จะถูกปรับลดลงเพื่อให้แข่งขันกับเออาร์ทีได้
"ระบบของเออาร์ทีไม่ได้มุ่งหวังที่จะแข่งขันกับร้านสะดวกซื้ออื่นๆที่เปิดให้บริการอยู่แล้ว
เพราะเราต้องการช่วยเหลือค้าปลีกให้อยู่รอด แต่อาจเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ที่จะต้องไปกระทบกับธุรกิจของคนอื่นบ้าง"
นอกจากนี้รูปแบบของการบริหารเออาร์ที ในอนาคตจะต้องกลายเป็นบริษัทมหาชน
โดยจะกระจายหุ้นให้แก่สมาชิกของเออาร์ทีก่อน และนำเงินที่ได้คืนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม
คือ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (สสว.) ที่ถือหุ้นอยู่ 51%
และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) 49% คิดเป็นจำนวนเงิน 395 ล้านบาท
ซึ่งจะส่งผลให้เออาร์ที เป็นบริษัทเอกชนอย่างเต็มตัว ส่วนการจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่นั้น
ก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการของบริษัทจะเป็นผู้พิจารณา เออาร์ที สร้างระบบค้าปลีกให้มีประสิทธิภาพ
ทางด้านนายสมภพ อมาตยกุล ประธานกรรมการ บริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็ง จำกัด
(เออาร์ที) กล่าวถึงวัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้งเออาร์ทีว่า เพื่อให้เป็นองค์กรมหาชนทีจะทำหน้าที่รวบรวมคำสั่งซื้อจากร้านค้าปลีกรายย่อยไป
ยังผู้ผลิตสินค้า ซึ่งคำสั่งซื้อจำนวนมากจะช่วยให้ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตได้ในราคาที่ต่ำลง
นอก จากนี้ เออาร์ที จะพัฒนาร้านค้าปลีกให้มีการบริหารการจัดการที่ดี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และสามารถแข่งขันในเวทีการ ค้าระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
โดย ผ่านกระบวนการที่มีประสิทธิภาพในการจัดซื้อ การตลาด การกระจายสินค้า
ตลอดจนสร้างรูปแบบร้านให้ทันสมัย มีมาตรฐานเดียวกัน
เออาร์ที เปิดแผนงานในช่วง 3 ปี
นางเพ็ญนภา ธนสารศิลป์ รองประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร เออาร์ที
กล่างถึงแผนการปฏิบัติงานในระยะ 3 ปีแรกว่า ในปีแรกจะมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบองค์กร
เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาระบบการจัดซื้อ โดย
ใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยในการจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิก
ส่วนปีที่ 2 จะเน้นการพัฒนาระบบตลาดและสินค้าสำหรับสมาชิก รวมทั้งโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ
พัฒนานักลงทุนใหม่ๆ ในธุรกิจค้าปลีกและขยายการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
เช่น ร้านจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
ในปีที่ 3 จะพัฒนาร้านค้าแบบเดิมให้ทันสมัยและมีศักยภาพทางการแข่งขัน และส่งเสริม
สนับสนุนสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ให้กระจายสู่ช่องทางการจำหน่ายทั่วประเทศ
สำหรับงบประมาณที่ใช้ในช่วง 3 ปีนี้ มาจากงบประมาณจากภาครัฐรวม 395 ล้านบาท
เงิน จำนวนนี้จะถูกนำมาใช้ในการลงทุนด้านไอที 245 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 150
ล้านบาทจะเป็นค่าดำเนินการปีละ 50 ล้านบาท โดยในอนาคตเมื่อเปิดให้สมาชิกเข้ามาถือหุ้นแล้ว
ก็จะส่งคืนงบประมาณที่ได้รับมา 395 ล้านบาทให้แก่รัฐทั้งหมด
"ในระยะแรกเออาร์ทีเป็นองค์กรที่ไม่ได้มุ่ง หวังผลกำไร เราทำเพื่อให้เลี้ยงตัวเองได้
แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะหารายได้ไม่ได้ ซึ่งรายได้ ที่จะนำมาเลี้ยงตัวเองนั้นมาจากการคิดค่าดำเนิน
การจากซัปพลายเออร์ ในอัตราไม่เกิน 1% ของมูลค่าสินค้าที่สั่งซื้อ และอีกระยะ
3 ปี ยังจะมีรายรับจากร้านค้าต้นแบบ ที่ตั้งไว้ 2,000 รายที่จะเข้าระบบแฟรนไชส์เออาร์ที
โดยร้านค้าเหล่านี้จะจ่ายให้เออาร์ที 1% จากยอดขายต่อเดือน สำหรับเป็นค่าบริหารจัดการ
ที่เออาร์ทีจะทำให้แก่ร้านที่เป็นแฟรนไชส์ รวมทั้งการพัฒนาสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลภายใต้ตรา
เออาร์ที เพื่อจำหน่ายให้แก่ร้านค้าปลีกทั่วประเทศด้วย"
นางเพ็ญนภา กล่าวด้วยความมั่นใจว่า เออาร์ที ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจะเป็นต้นแบบของการแก้ปัญหาค้าปลีกในประเทศไทยและเป็นต้นแบบให้แก่ค้าปลีกของเอเชียด้วย
เพราะวิธีการนี้จะทำให้ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกไทยมีศักยภาพ เกิดเป็นเครือข่ายที่มีความเข้มแข็งและอยู่รอดได้
เนื่องจากเออาร์ทีได้รับการขาน รับและการสนับสนุนจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล
หอการค้าทุกจังหวัด ผู้ผลิต ซัปพลายเออร์ และลอจิสติกส์ เป็นต้น
สำหรับการดำเนินงานของเออาร์ที จะเริ่มอย่างเป็นทางการ และเปิดรับสมัครสมาชิกในเดือนกันยายน
2545 โดยคณะผู้บริการ ซึ่งอยู่ใน วงการค้าปลีก ได้ระดมกลยุทธ์เชิงรุกที่จะนำมาช่วยเหลือร้านค้าปลีก
อาทิ การให้ความรู้ทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดอบรมสัมมนาเกี่ยว กับเทคนิคการบริหารร้านค้าปลีก
โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และยังมีรูปแบบของร้านเออาร์ที ให้เลือก 5 แบบ ประกอบด้วย
แบบ A ร้านค้า 2 คูหาติดแอร์ แบบ B ร้านค้า 2 คูหาไม่ติดแอร์ แบบ C ร้านค้า
1 คูหาติดแอร์ แบบ D ร้านค้า 1 คูหาไม่ติดแอร์ และแบบ E ร้านแบบเดิมแต่จัดวางสินค้าให้เป็นระเบียบมากขึ้น
นอกจากนี้ เออาร์ที ยังได้ร่วมกับหอการค้า จังหวัดทั้ง 75 จังหวัด เพื่อให้เป็นศูนยอำนวยความสะดวกให้กับร้านค้าสมาชิกในการสั่งซื้อสินค้าและติดต่อกับเออาร์ที
ในด้านต่างๆ
ทางด้านนายอนุชัย วีรพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ เออาร์ที กล่าวว่า นอกจากความสะดวกในการสั่งซื้อสินค้าที่จะมีสินค้าขายดีจำนวน
300 รายการจำหน่ายในราคาถูกแล้ว ประโยชน์ที่ร้านค้าปลีกจะได้รับจากการสมัครเป็นสมาชิกเออาร์ที
คือ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสมัครซื้อสินค้าในราคาที่ถูกลง ได้รับบริการส่งสินค้าถึงร้าน
ได้รับการส่งเสริมทางการตลาด ได้รับการอบรมความรู้และวิทยาการใหม่ๆ และที่สำคัญหากร้านค้าไม่มีเงินทุน
ก็สามารถขอสินเชื่อเพื่อการค้าจากธนาคารกรุงไทยและธนาคารออมสินได้โดยไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน
และยังได้รับการสนับสนุนเงินลงทุนปรับปรุงกิจการ และขยายธุรกิจจากบอย.ด้วย
จากสิทธิพิเศษที่ร้านค้าสมาชิกจะได้รับนี้ เออาร์ที มั่นใจว่า จะมีร้านค้าให้ความสนใจและสมัครเป็นสมาชิกในปีแรก
ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นราย ในปีที่ 2 ไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นราย และในปีที่ 3 ไม่ต่ำกว่า
1 แสนราย ซึ่งร้านค้าที่เข้าร่วมสมัครเป็น สมาชิกนี้ทางเออาร์ที จะตัดเลือก
2,000 รายเพื่อพัฒนาเป็นร้านค้าต้นแบบ โดยเออาร์ทีจะเป็นผู้ลงทุนทั้งด้านการจัดระบบและการตกแต่งร้าน
โดยจะให้เงินสนับสนุนบางส่วนและร้านค้าลงทุนเองในส่วนที่เหลือ หลังจากนั้น
3 ปีเมื่อร้านค้าเออาร์ที มีความแข็งแกร่งแล้วก็จะจ่ายค่าดำเนินการให้แก่เออาร์ที
เดือนละ 1% จากยอดขาย
สำหรับคุณสมบัติของร้านค้าที่จะสมัครเข้า เป็นสมาชิกของเออาร์ทีนั้น จะต้องเป็นเจ้าของหรือ
ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง หรือการค้าประเภทเดียวกัน หรือได้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบการดังกล่าวให้ดำเนินการเป็นสมาชิกใน
นามของธุรกิจนั้นๆ และมีความประสงค์ที่จะพัฒนาและดำเนินธุรกิจต่อไป
ยืนยันร้านเออาร์ที ยอดขายเพิ่ม
นางเพ็ญนภา กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางเออาร์ที ได้เข้าไปปรับปรุงร้านค้ารายย่อยแล้วประมาณ
30 ราย ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยขั้นแรกได้เข้าไปทำความสะอาดร้านและจัดเรียงสินค้าใหม่
ซึ่งร้านค้าจะเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อชั้นวางสินค้าร้านละ 5,000-10,000 บาทเท่านั้น
ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด เช่น กรณีของร้านกาญจนพาณิชย์ ที่เดิมมียอดขายวันละ
10,000 บาท แต่ต่อมาได้รับผลกระทบจากค้าปลีกข้ามชาติมาเปิดบริการใกล้ๆ ทำให้ยอดขายลดลงเหลือวันละ
2,000-3,000 บาทเท่านั้น แต่หลังจากที่เออาร์ที เข้า ไปช่วยในการปรับปรุงร้านใหม่
ทำให้ยอดขายเพิ่ม ขึ้นเป็นวันละ 7,000 บาท และเพิ่มเป็น 10,000 บาท ในปัจจุบัน
"เราเชื่อว่าด้วยกลยุทธ์ของเออาร์ที จะช่วย ให้ร้านค้ารายย่อยมียอดขายเพิ่มขึ้น
แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจะเพิ่มขึ้นเท่าใด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการจัดรายการส่งเสริมการขาย
รวมทั้งการบริหารในภาพรวมด้วย"