Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 สิงหาคม 2545
"อุ๋ย"กล่อมเอกชน-นักวิชาการ"เคลิ้ม" แปร4ปัญหาศก.การเงินช่วยรัฐฯฟื้น             
 


   
search resources

ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.




อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ ของประเทศยังมีความเสี่ยง โดยเฉพาะความเสี่ยง ในระยะสั้นเกี่ยวกับต่างประเทศ คือการฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นสำคัญที่จะมีผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจโลกและของประเทศไทยเอง

จากความเสี่ยงดังกล่าว ธปท.จึงต้องดำเนิน นโยบายที่ยืดหยุ่น ไม่ประมาทมองถึงแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะ 3- 4 ปีข้างหน้าจะเติบโตอย่างไรขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในประเทศ วาง 4 กรอบปัญหา พร้อมแนวทางแก้

ขณะนี้ได้มีการแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นเดิมได้ระดับหนึ่งแล้ว ธปท.มีข้อเสนอ 4 ปัญหาที่จะเป็นตัวช่วยสนับสนุนให้ปัจจัยภายใน ประเทศเอื้อต่อการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและ ดำเนินนโยบายอย่างไม่ประมาท ประกอบด้วย 1)ระบบสถาบันการเงินต้องมีความมั่นคง 2)เรื่อง หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) 3)หนี้สาธารณะ และ 4) นโยบายการเงิน

ม.ร.ว.ปรีดิยาธรอธิบายข้อแรกเรื่องระบบสถาบันการเงิน จะต้องมีความมั่นคง ยืดหยุ่นต่อการปรับเปลี่ยนต่อสถานการณ์ว่า นโยบายการเงินจะไม่เกิดผลอะไรเลย หากสถาบันการเงินยังไม่มีความเข้มแข็ง

ขณะนี้สถาบันการเงินเริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง สังเกตได้จากผลประกอบการ ครึ่งปีแรกเริ่มมีกำไรและมีแนวโน้มที่จะทำกำไรได้ต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันปัญหาของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีการลดลงได้ระดับหนึ่ง ขณะนี้เหลืออยู่ประมาณ 10.2% ของสินเชื่อทั้งระบบ ซึ่ง สถาบันการเงินได้มีการตั้งสำรองไว้ครบตามเกณฑ์ ที่ธปท.กำหนดเรียบร้อยแล้ว

"ขณะนี้เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตราฐานบีไอเอสทั้งระบบอยู่ที่ระดับ 13.7% ซึ่งสูงกว่าระดับที่ธปท.ได้กำหนด 8.5% ดังนั้นโดยภาพรวมแล้วถือว่าฐานะของสถาบันการเงินอยู่ในเกณฑ์ที่วางใจได้ แต่ยังมีปัญหาที่เป็นรายธนาคาร ที่ต้องแก้ไขอยู่บ้าง เช่น เรื่องของธนาคาร นครหลวงไทยและธนาคารศรีนคร ที่ธปท.ได้แก้ไข โดยการควบรวมกิจการ"

โจทย์ก็คือ ในระยะต่อไปจะต้องทำให้สถาบันการเงินมีเงินกองทุนที่เพียงพอเพื่อรองรับการขยายสินเชื่อ รวมทั้งมีการแปรรูปของธนาคารพาณิชย์รัฐ ซึ่งธปท.จะต้องศึกษาของระบบการควบคุมดูแลให้อยู่ในระดับสากลต่อไป

ต่อมาเรื่องหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ขณะนี้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือมีผลกระทบกับฐะนะของสถาบันการเงิน โดยเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินมีการตั้งสำรองไว้ครบหมดแล้ว จากเอ็นพีแอลเดิมในปี 2542 อยู่ที่ระดับ 2.56 ล้านล้านบาท คิดเป็น 46.8% ขณะนี้ได้มีการ ปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว ณ มิ.ย 45 เอ็นพีแอลลดลงเหลือ 1.4 ล้านล้านบาท และได้มีเอ็นพีแอล ย้อนกลับรวมทั้งเอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นใหม่อีกประมาณ 6.3 แสนล้านบาท ทำให้ตัวเลขเอ็นพีแอล ขณะนี้อบยู่ที่ระดับ 1.78 ล้านล้านบาท

"เอ็นพีแอลที่เหลืออยู่นั้น เชื่อว่าจะไม่เกิดผลเสียหายกับสถาบันการเงิน เนื่องจากมีการโอนเอ็นพีแอลไปอยู่ที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) จำนวน 7.2 แสนล้านบาท โดยการโอนเข้าไปนั้นจะโอนตามมูลค่าหลักประกัน และจากประสบการณ์ที่ผ่านมามีการแก้ไขปัญหาหนี้แล้วจะได้รับคืนมากกว่ามูลค่าหลักประกัน จึงไม่น่าจะเกิดผลเสียหาย"

ส่วนของเอ็นพีแอลที่อยู่ในธนาคารพาณิชย์มีประมาณ 6.9 แสนล้านบาท ธนาคารพาณิชย์ได้มีการตั้งสำรองไว้ประมาณ 4.4 แสนล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ธปท.ได้กำหนดไว้เท่าตัว โดยจะต้องต้องสำรองเพียง 2.45 แสนล้านบาท

ยังเหลือส่วนที่เป็นปัญหาอยู่คือ เอ็นพีแอลของธนาคารพาณิชย์รัฐมีอยู่ประมาณ 3.7แสนล้าน บาท ซึ่งส่วนนี้จะมีความเสียหายเท่าไรนั้น ธปท. ได้มีการวางแนวทางการแก้ไขปัญหาระยะยาว โดยให้มีการออกพันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ

ประการที่ 3 หนี้สาธารณะ ผู้ว่าฯธปท.กล่าว ว่าการที่หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ถือว่าเป็นความเสี่ยงในระยะปานกลาง แต่ในทางวินัยทางการคลัง คิดว่า รัฐบาลทำถูกต้องแล้ว ที่จัดทำงบประมาณแบบขาดดุลลดลง จะทำให้งบประมาณสมดุล ได้ในอีก 4-5 ปีข้าง

"การแก้หนี้กองทุนฟื้นฟูของธปท. เป็นการส้รางความชัดเจนให้กับนักลงทุน นำไปสู่การปรับตัวของระบบการเงินที่ดีขึ้นและเมื่อปัญหากองทุนฟื้นฟูได้รับการแก้ไข การตั้งสถาบันประกันเงินฝากจะตามมา ทำให้ทุกฝ่ายตื่นตัว ระวังเงินในการลงทุน ลดภาระของภาครัฐและ ผู้เสียภาษี เพราะปัจจุบันภาระการรับค้ำประกันของรัฐสูง ยังบิดเบือนกลไกการกู้ยืมในตลาดอาร์พี" ประการที่ 4 นโยบายการเงิน มองว่า นโยบายการเงินมีความเหมาะสมแล้ว ภายใต้กรอบของเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ รวมทั้งนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นระบบลอยตัว ซึ่งมีความยืดหยุ่นได้ตามกลไกตลาด เป็นการรักษาระดับเสถียรภาพของเศรษฐกิจได้ดี ซึ่งเชื่อว่านโยบายการเงินดำเนินมาถูกทางแล้ว "ทั้งหมดนี้ยังเหลือแต่ทางด้านวิชาการที่ จะมีการสัมมนาในวันนี้เพื่อกำหนดแล้วทางของเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ"

ย้ำหนี้สาธารณะตัวถ่วง บสท.ยังมีความเสี่ยง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าช่วงที่ 2 ว่าด้วยเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจด้านการคลัง และด้านต่างประเทศ โดยเป็นการเสนองานวิชาการจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในหัวข้อเรื่อง "ความยั่งยืนทางการคลังกับเป้าหมายเงินเฟ้อ : การผสมผสานนโยบายที่เหมาะสม"

โดยนางสาวิตรี สัจจาภินันท์ อัศวานุชิต และนายวรพัฒน์ เจนสวัสดิชัย เสนอบทความ โดยสรุปว่า ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เศรษฐกิจของประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยรัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการคลัง แบบขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและยังต้องรับภาระความเสียหายของภาคการเงินจากวิกฤตดังกล่าว ส่งผลให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น เป็นจำนวนมาก จึงเป็นความเสี่ยงสำคัญของประเทศในระยะปานกลาง

นางสาวิตรี กล่าวว่า ในบทความได้วิเคราะห์ถึงหนี้สาธารณะในระยะต่อไปว่าจะเข้าขั้นวิกฤตหรือไม่ ฐานะทางการคลังจะยั่งยืนแค่ไหน รวมทั้งประเมินความเสี่ยงทางการคลัง ทั้งภาระที่อาจเพิ่มเติมจากงบประมาณและภาระผูกพันที่อาจเกิดขึ้นด้วยทั้งนี้เพื่อนำแบบจำลองทางการคลัง มาประมาณการหนี้สาธารณะในระยะต่อไป

เพื่อนำมาเชื่อมโยงกับแบบจำลองเศรษฐกิจ มหภาค ของธปท.และนำไปสู่ผลสรุปของการผสมผสานนโยบายการเงิน การคลังที่เหมาะสม ในระยะต่อไป

"การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะอย่างรวดเร็วภายหลังวิฤกตเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความกังวลผลต่อภาวะเงินเฟ้อและการเบียดบังทรัพยากรภาคเอกชน"

อย่างไรก็ดี การก่อหนี้ที่ผ่านมามิได้กู้เงินจากธนาคารกลาง โดยตรงไม่ทำให้ฐานเงินเพิ่มขึ้นมากกว่า อัตราปกติ จึงไม่ส่งแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ ประกอบกับเศรษฐกิจมีการใช้กำลัง การผลิตและแรงงานในระดับต่ำ ทำให้ GDP ที่เกิดขึ้นจริงต่ำกว่า ดังนั้น การใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาล จึงยังไม่กดดันเงินเฟ้อ และไม่เบียดบังทรัพยากรภาคเอกชน ซึ่งสอดคล้องกับการที่ระบบการเงินยังมีสภาพคล่อง ส่วนเกินเป็นจำนวนมาก

"สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2540 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ มีจำนวน 1,668.7 พันล้านบาท หรือ 35% GDP หรือเพียง 773 พันล้านบาท หากไม่นับหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ไม่ได้รวมอยู่ในหนี้สาธารณะขณะนั้น

ดังนั้น หนี้สาธารณะจึงเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่า เทียบกับ 2,869 พันล้านบาท หรือ 53.5%GDP ณ สิ้นมีนาคม 2545 เป็นหนี้ในประเทศ 71% หนี้ต่างประเทศ 29% ซึ่งการเพิ่มขึ้น เป็นผล มาจากการทำนโยบายการคลังแบบขาดดุล ประกอบกับการรับความเสียหายของภาคการเงินเป็นสำคัญ"

นางสาวิตรี กล่าวว่า ตัวเลขหนี้สาธารณะ ในระดับ 53.5% GDP เป็นตัวเลขที่ conservative พอสมควรแล้ว เนื่องจากเป็นการคำนวณจากหนี้โดยตรงของรัฐบาลและหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯและภาระผูกพัน และได้รวมการประเมินความเสี่ยงของหนี้รัฐวิสาหกิจที่มีความเสี่ยงสูง ไว้ด้วยแล้วเช่นกัน

"จากการประเมินพบว่า มีรัฐวิสาหกิจเพียง 11 แห่งที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งคิดเป็น 4% ของรัฐวิสาหกิจรวมเท่านั้น เมื่อนำรัฐวิสาหกิจทีเสี่ยง ต่ำ มาคำนวณแล้ว ตัวเลขหนี้สาธารณะที่เหลือจะคิดเป็นสัดส่วน 49% GDP เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขที่กระทรวงการคลังประเมินไว้อีก แต่อย่างไรก็ตาม ในการประมาณการธปท.ได้นำตัวเลข 53.5% มาใช้ในการคำนวณ"

ในการผสมผสานนโยบายการเงินการคลัง เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวเต็มที่ในอนาคต และเอกชนเพิ่มกำลังการผลิตจนกระทั่ง GDP เติบโตในระดับที่มีศักยภาพ ความต้องการเงินทุนจะสูงขึ้น รัฐวิสาหกิจจะหันมากู้ในประเทศแทนการกู้ต่างประเทศ อาจส่งผลให้สภาพคล่องตึงตัว สร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องหันมาดำเนินนโยบายการคลัง แบบหดตัว (Fiscal Consolidation) เพื่อให้สอดรับกับการฟื้นตัวของภาคเอกชนและรัฐบาล รวมทั้งรัฐวิสาหกิจ ที่ต้องร่วมกันทำแผนก่อหนี้ภาครัฐอย่างเป็นระบบ

ขณะเดียวกันนโยบายการเงิน ธปท.จะรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยผสมผสานนโยบายการเงินการคลัง อย่างเหมาะสม ด้วยการมีฐานะการคลังยั่งยืน และมีเสถียรภาพด้านราคา เพื่อเอื้อต่อการเติบโตของเศรษฐกิจที่ยั่งยืน แนะขึ้น VAT 10% ปรับฐานะการคลังกลับสมดุล โดยในระยะปานกลางประมาณ 10 ปีข้างหน้า ฐานะการคลังสามารถกลับสู่สมดุลได้หนี้สาธารณะและภาระหนี้ ยังอยู่ในวิสัยที่จัดการได้ แต่ควรมีการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มกลับมาเป็น 10% และมีการปฏิรูประบบข้าราชการ เพื่อควบคุมรายจ่ายประจำมิให้มีการขยายตัวมากเกินไปอันจะช่วยลดความเสี่ยงด้านการคลังให้น้อยที่สุด

"การขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มกลับเป็น 10% เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ฐานะการคลังกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลได้ หากไม่สามารถขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มได้ก็ต้องพิจารณามาตรการเพิ่มรายได้ทางอื่น ที่ได้รายได้ทัดเทียมกันในระยะยาว

อย่างไรก็ดี ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภค แต่ไม่จัดเก็บจากการลงทุนและใช้อัตราศูนย์สำหรับการส่งออก จึงเป็นภาษีที่ช่วยชะลอการบริโภค ส่งเสริมการออม ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจสมดุลในระยะยาวนอกจากนี้ยังต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บอยู่เสมอ"

อนึ่ง ยังมีความเสี่ยงจากการดำเนินงานของ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) หากอัตราการได้คืนของสินทรัพย์ (Recovery Rate) ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แม้หลายฝ่ายจะคาดว่าบสท. จะไม่มีความเสียหาย เนื่องจากรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในราคาที่ต่ำมาก การเพิ่มประสิทธิ-ภาพการจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ยังจำเป็นเพื่อช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าว

ส่วนความเสี่ยงจากการกระจายอำนาจการคลังท้องถิ่นหากไม่สามารถถ่ายโอนไปยังองค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) ได้ ในขณะที่รายจ่าย ที่รัฐบาลกลางไม่ลดลง จะทำให้ขนาดของภาครัฐใหญ่ขึ้น รัฐบาลจึงควรเร่งจัดการโอนงานและคนให้สอดคล้องกับรายได้ที่จัดสรรไปให้อปท.ด้วย

แนวนโยบายในระยะต่อไป ควรมีการปฏิรูประบบภาษีอื่นๆ ที่เพิ่มรายได้และสร้างความเป็นธรรมมากขึ้น อาทิ ทบทวนการลดหย่อน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ลดการช่วยเหลือด้าน ภาษีการส่งเสริมการลงทุนของคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน และมีการจัดสรรงบประมาณแบบพหุศก เพื่อวางกรอบการใช้จ่ายของรัฐบาลในระยะปานกลางอย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนั้น รัฐบาลควรเน้นการขยายฐานภาษี และเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดเก็บภาษีโดยรวม สำหรับการดำเนินนโยบายในระยะยาว ต้องดำเนินนโยบายการคลังอย่างระมัดระวัง ในระยะยาว 20-30 ปีข้างหน้า รัฐบาลจะสามารถทยอยชำระหนี้รัฐบาลได้จนหมด ทั้งหนี้รัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุลในช่วง 10 ปีแรก และหนี้จากการรับภาระความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯ ทั้งหมด

อย่างไรก็ดี การไม่มีหนี้สาธารณะเลย อาจจะไม่ใช่นโยบายที่เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากหนี้สาธารณะ ช่วยพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ ซึ่งจะเป็นทางเลือกในการระดมทุน ของภาคเอกชน นายนพดล บูรณะธนัง และ นายชัยพัฒน์ พูนพัฒน์พิบูลย์ นักวิชาการสายนโยบายการเงินเสนองานวิจัย เรื่อง "ฐานะหนี้ต่างประเทศและดุลบัญชีเดินสะพัดที่สอดคล้องกับเสถียรภาพระยะยาว"

นายนพดลกล่าวว่า เหตุที่ทำการวิจัยดังกล่าว เนื่องจากเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มที่จะกลับมาขาดดุล และอาจต้องอาศัยเงินทุนจากต่างประเทศเพิ่มอีกครั้ง ในระยะยาว ซึ่งทำให้ระดับการปรับตัวของหนี้ต่างประเทศ และดุลบัญชีเดินสะพัดไม่สอดคล้องกันได้ จากการศึกษาดุลบัญชีเดินสะพัด ที่สอดคล้องกับเสถียรภาพระยะยาวโดยมีปัจจัยสำคัญที่กำหนดความสามารถในการสร้างรายได้คือ การขยายตัวของ GDP การขยายตัวของผลิตภาพและการขยายตัวของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ส่วนปัจจัยสำคัญที่สะท้อนความจำเป็นในการรักษาสภาพคล่องของประเทศ คือ สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อการนำเข้าหรือสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้น พบว่าดุลบัญชีเดินสะพัดไม่ควรขาดดุลต่อเนื่องเกินร้อยละ 2.3-3.3 ต่อ GDP การประเมินความ สามารถการชำระหนี้ต่างประเทศ และความเสี่ยงด้านสภาพคล่องโดยใช้สัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อGDPและหนี้ต่างประเทศต่อการส่งออกเป็นเครื่องชี้โดยพบว่า ฐานะความมั่นคงทางการเงินและสภาพคล่องของประเทศปรับตัวดีขึ้นมากหลังวิกฤต

โดยในไตรมาสแรกหนี้ต่างประเทศต่อ GDP อยู่ในระดับ 59.7% และหนี้ต่างประเทศต่อการส่งออกอยู่ในระดับ 92.7% ส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศคิดเป็น 7.5 เดือนของการนำเข้าซึ่งตามมาตรฐานทั่วไปไม่ควรต่ำกว่า 3-4 เดือน

นายนพดล กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลง ของการส่งออกและนำเข้าจะมีผลต่อพลวัตของดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะปรับตัวไม่มากเนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาทซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

ข้อเสนอแนะการดำเนินนโยบายมีดังนี้ ควรดูแลดุลบัญชีเดินสะพัดให้สอดคล้องในระยะยาว เช่น ลดสินค้านำเข้าฟุ่มเฟือย ควรมี นโยบายส่งเสริมการออมเพิ่มประสิทธิภาพ การลงทุน รักษาวินัยการเงินการคลังเพื่อลด ช่องว่างการออมและการลงทุน การนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาการส่งออก การสร้างเครดิตไลน์ กับต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยลดการสำรองเงินระหว่างประเทศลง เพราะการมีเงินสำรองจะมีต้นทุน

ขณะเดียวกัน ควรส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศโดยตรงเพราะจะมีผลต่อรายได้ในอนาคต การพัฒนาระบบติดตามการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศซึ่งจะช่วยให้รัฐสามารถปริหารสภาพคล่องได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us