ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแข่งกันมันหยด ชนิดแก้เกมกันแบบทันควัน ทั้งมาม่า
ยำยำ และน้องใหม่ฟอร์ มี ที่ยังไม่ทันวางตลาดก็กลายเป็นที่จับตามองจากผู้ประกอบการในวงการไปเสียแล้ว
ด้านไวไวอุบไต๋เงียบเตรียม เปิดกลยุทธ์เด็ดหวังรับมือ ฟอร์ มี อย่างเต็มที่
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในวงการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปช่วงสัปดาห์นี้ เป็นที่น่าจับตามองว่าค่าย
ยักษ์ใหญ่ และน้องใหม่ มีการเคลื่อนไหวกันอย่างหนักเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดให้แก่ตัวเอง
เพราะนับตั้งแต่ที่น้องใหม่ "ฟอร์ มี" ซึ่งเป็นธุรกิจส่วนตัวของผู้บริหารและศิลปินแกรมมี่
ร่วมมือ กับกลุ่มไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ และไอซีซี. เตรียมส่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบรนด์ใหม่ลงตลาด
ในวันที่ 1 กันยายนนี้ ด้วย 3 รสชาติ คือ หมูสับ หมูสับต้มยำ และไฮไลต์เด็ด
คือ รสต้มยำกุ้งน้ำข้น ที่ถือเป็นรสชาติใหม่ที่ยังไม่มีค่ายใดทำมาก่อน
แต่ยังไม่ทันที่ฟอร์ มี จะวางตลาดสินค้าทั้ง 3 รสชาติ มาม่า ซึ่ง ถือเป็นเจ้าตลาด
ก็ชิงออกมาม่า ต้มยำกุ้งน้ำข้นออกมาตัดหน้า เพื่อไม่ให้เสียศักดิ์ศรีของการเป็นผู้นำในตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
ซึ่งแม้ว่า การเปิดตัวรสชาติใหม่ของมาม่าในครั้งนี้ อาจสร้างผลกระทบให้แก่
ฟอร์ มีบ้าง แต่คนวงการมองว่า ทาง กลุ่มมาม่า มีแต่จะเสมอตัว เพราะไม่ว่ามาม่า
หรือฟอร์ มี จะได้รับความนิยมมากเท่าใด เงินก็ยังเข้ากระเป๋ามาม่า ที่ถือหุ้นอยู่ในฟอร์
มี ด้วยอยู่ดี
ระเบิดสงครามต้มยำกุ้ง
เป็นที่น่าสังเกตว่าการแข่งขันของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในช่วงนี้ ส่วน ใหญ่จะเน้นรสชาติต้นยำกุ้งมาเป็นจุดขาย
ซึ่งแหล่งข่าวในวงการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปวิเคราะห์ว่า ความ เคลื่อนไหวของวงการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในช่วงนี้
ถือเป็นช่วงวงจรชีวิตของสินค้า ที่ก่อนหน้านี้ประมาณ 4 เดือนแต่ละค่ายต่างก็เปิดตัวรสชาติใหม่ๆกันมาแล้ว
ประกอบกับช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝน ต่อจนถึงฤดูหนาว ก็ถือเป็นช่วงการ ขายอยู่แล้ว
เพราะหน้าฝนคนไม่สะดวกที่จะออก มารับประทานอาหารนอกบ้าน และช่วงหน้าหนาว
ก็ได้น้ำซุปร้อนๆของบะหมี่มาช่วยแก้หนาวได้
ส่วนการนำรสชาติต้ำยำกุ้งมาเป็นจุดขายนั้น อาจเป็นเพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาทุกค่ายแทบไม่ได้เน้นการตลาดเลย
เนื่องจากเป็นรสชาติยอด นิยมอยู่แล้ว ด้วยสัดส่วนการขายทั้งตลาดที่มากถึง
40% ในขณะที่รสหมูสับมีสัดส่วนการขาย 20-25% และรสชาติที่มาแรงก็คือ หมูสับต้มยำ
ที่มีสัดส่วนการขายมากถึง 10-12% ซึ่งเป็นรสชาติ ใหม่ที่เข้าสู่ตลาดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น
เป็นที่น่าสังเกตว่าหลังจากที่ ฟอร์ มีประกาศเปิดตัวรสต้มยำกุ้งน้ำข้น
ทางค่ายมาม่า ซึ่งเป็นผู้ผลิตให้ฟอร์ มี ด้วยก็ชิงวางตลาดตัดหน้า ก่อน โดยวางตลาดแล้วในเดือนสิงหาคมนี้
และล่าสุดยำยำก็ถือโอกาสเปิดตัวรสต้มยำกุ้ง ซึ่งเป็น รสชาติเดิมแต่อาศัยรูปแบบของเส้นบะหมี่
ที่เป็น แบบก้อนกลม เพื่อให้ใส่ชามได้ง่ายขึ้น ถือเป็น การแก้ปัญหาในการบริโภคได้เป็นอย่างดี
"ที่ผ่านมายำยำ ใช้ความแตกต่างในการสร้างจุดขาย เช่น การออกบะหมี่เส้นแบนเมื่อ
2 ปีที่ผ่านมา และในขณะนี้ก็ใช้บะหมี่ก้อนกลมเป็น จุดขาย แต่ในครั้งนี้ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรมากนัก
ซึ่งจุดขายที่ดีน่าจะเป็นเรื่องของรสชาติมากกว่า" แหล่งข่าวคนเดียวกัน
กล่าว
ในขณะที่ความเคลื่อนไหวของกลุ่มไวไว กับการทำตลาดบะหมี่ในเดือนนี้ยังไม่มีให้เห็น
เนื่องจากเพิ่งวางตลาดรสแจ้วฮ้อนไปได้ไม่นาน แต่ไวไวหันมาทำตลาดเส้นหมี่
(เส้นขาว) ด้วยการออกรสแจ้วฮ้อน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในการออกรสชาติจัดจ้านกับเส้นหมี่
เพื่อสร้างความหลากหลายและเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค
จับตา"ฟอร์ มี" จะอยู่ได้ด้วยรสชาติ
แหล่งข่าว กล่าวว่า สำหรับฟอร์ มี ซึ่งเป็นบะหมี่น้องใหม่ที่กำลังจะเข้ามาทำตลาดในอีกไม่กี่วันนี้
คงต้องจับตาดูว่าจะมีรสชาติที่ถูกปากคน ไทยหรือไม่ เพราะการทำตลาดบะหมี่สำเร็จรูปจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นเรื่องรสชาติเป็น
สิ่งสำคัญที่สุด อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในระยะแรก ด้วยความแรงในเรื่องสีสันที่มีกลุ่มศิลปินมาช่วย
สร้างจุดขายให้แก่ฟอร์ มี และการอาศัยฐานลูกค้า จากแกรมมี่ และสื่อที่มีอยู่ในมือ
น่าจะส่งผลให้แบรนด์นี้แจ้งเกิดในตลาดได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
แต่เมื่อมาพิจารณาถึงรสชาติของฟอร์ มีที่มี 3 รสชาติ คือ ต้มยำกุ้งน้ำข้น
ก็จะชนกับมาม่า ส่วน รสหมูสับก็จะชนกับทั้งมาม่า ไวไว และยำยำ ส่วน หมูสับต้มยำ
จะชนกับมาม่า และไวไว ซึ่งการเปิด ตลาดของฟอร์ มี ในครั้งนี้ อาจกระทบกับมาม่าในด้านการชิงส่วนแบ่งการตลาดบ้าง
ซึ่งในส่วนของไวไวก็เตรียมที่จะออกแคมเปญเพื่อรับมือกับการทำตลาดของฟอร์มี
เช่นเดียวกัน จุดเปลี่ยนของแพกเกจ
แหล่งข่าวจากวงการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากการแข่งขันในเรื่องรสชาติแล้ว
เชื่อว่าแพกเกจจิ้งเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทุก ค่ายจะต้องกลับมานั่งพิจารณากันใหม่
โดยเฉพาะฟอร์ มี ที่เป็นแบรนด์น้องใหม่ และได้นำเสนอรูปแบบแพกเกจจิ้งที่ทันสมัยด้วยสีสันที่เด่น
ไม่ว่าจะเป็น แดง เหลือ หรือส้ม ซึ่งเหมาะกับกลุ่ม วัยรุ่นที่เป็นลูกค้าเป้าหมาย
ส่วนไวไว นับเป็นค่ายแรกใน 3 ค่ายหลัก ที่ได้ปรับเรื่องแพกเกจจิ้ง ตั้งแต่
2 ปีที่ผ่านมา เช่น การนำรูปผู้หญิงมาอยู่บนหน้าซองควิก และการใช้ซองเมทอลไลท์เพื่อให้สินค้ามีความโดดเด่น
เป็นต้น
เร่งการตลาดเพื่อเพิ่มมาร์เกตแชร์
สำหรับการทำตลาดของบะหมี่ทั้ง 4 แบรนด์ นั้น มาม่ายังคงยึดวิธีการแจกทอง
เป็นแคมเปญ หลักที่ใช้ตลอดทั้งปี การเข้าไปสนับสนุนรายการ เกมโชว์ กิจกรรมอื่นๆที่หลากหลาย
ในฐานะผู้นำตลาด ส่วนไวไว จะเน้นการทำกิจกรรมการตลาดในพื้นที่ขายเป็นหลัก
และการนำมิวสิค มาร์เกตติ้งมาใช้ เป็นการจัดคอนเสิร์ตลูกทุ่ง เป็นต้น ในขณะที่ยำยำ
ก่อนหน้านี้ก็เน้นมิวสิคมาร์เกตติ้ง ด้วยการนำวงบูโดกันมาเป็นพรีเซ็นเตอร์
แต่หลังจากที่ฟอร์มี แจ้งเกิดในตลาดแล้ว เชื่อว่าการใช้มิวสิค มาร์เก็ตติ้ง
ของฟอร์ มี น่าจะเป็นแบรนด์ที่มีจุดแข็งมากที่สุด เนื่องจากมีศิลปินของแกรมมี่มาร่วมถือหุ้นกว่า
100 คน และฟอร์ มียังใช้กลยุทธ์ Social Marketing มาใช้ ด้วยการปันผลกำไรเดือนละ
1 ล้านบาท ให้ศิลปินที่ถือหุ้นไปร่วมบริจาคให้แก่ผู้ด้อยโอกาสเป็นประจำทุกเดือน
การแข่งขันที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นที่น่าจับตามองว่า ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในปีนี้น่าจะเติบโตขึ้น
12% คิดเป็นมูลค่าตลาดรวมประมาณ 9,500 ล้านบาท จากปีก่อนที่มีมูลค่าตลาด
8,500 ล้านบาท ในขณะที่การเติบโตของตลาดรวมในช่วงครึ่งปีแรกปีประมาณ 10%
สำหรับส่วนแบ่งการตลาดของมาม่านั้น ปัจจุบันมี 53% ลดลงจากปีก่อนที่มีถึง
60% ส่วนไวไว ปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาด 28% เพิ่มขึ้นจากช่วงปลายปี 2544
ที่มี 25% และคาดว่าในสิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 30% สำหรับยำยำนั้น คาดว่าจะมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ
13% และหลังจากที่ฟอร์มี แจ้งเกิดในตลาดแล้ว ได้วางเป้าหมายที่จะมีส่วนแบ่งในตลาด
6% และเพิ่มเป็น 10% ในปีหน้า
"เป็นที่น่าจับตามองว่าการแจ้งเกิดของ แบรนด์ใหม่ แม้ว่าจะทำให้ตลาดขยายตัวมากขึ้น
แต่ก็น่าจะส่งผลให้สัดส่วนการตลาดของแต่จะค่ายมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน"
แหล่งข่าว กล่าว