สสว. ฟันธงสถาน การณ์ SMEs ปี 44 พบปัญหาผู้ประกอบการยังเข้าไม่ถึงเม็ดเงินช่วยเหลือ
ของรัฐ ขณะที่ภาคการค้าถูกดิสเคานต์สโตร์แย่งตลาดจนโชห่วยล้มหายไปจากตลาด
เสนอมาตรการช่วยเหลือเพิ่มขึ้นใน อนาคต พร้อมจัดเวทีระดมความคิดเห็น จากทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ สสว. เตรียมประมวลข้อมูลเป็นรายงานสถาน การณ์ SMEs
ฉบับสมบูรณ์ หวังใช้เป็น ต้นแบบ กำหนดนโยบายและมาตรการส่ง เสริมที่ตรงกับประเดินปัญหาและพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน
เมื่อวันที่ 19 ส.ค.ที่ผ่านมา สำนัก งานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด
ย่อม (สสว.) ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อ การพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จัดประชุม
รายงานสถานการณ์ SMEs ปี 2544 ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ โดยมีหน่วยงานราชการ สถาบันการเงิน และผู้ประกอบการ SMEs ในภาคอีสาน
ร่วม รับฟังและเสนอข้อคิดเห็นประมาณ 50 คน ณ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น
การจัดประชุมดังกล่าว เพื่อนำเสนอราย งานสถานการณ์ SMEs ของสสว.ที่ได้จัดทำขึ้น
เป็นครั้งแรก นำเสนอต่อหน่วยงานภาครัฐ, เอกชน, และผู้ประกอบการ ทั้งประเทศร่วมระดมความคิด
เห็น จัดเวทีนำเสนอทั้งประเทศ โดยเริ่มจากจังหวัดชลบุรี เชียงใหม่ หาดใหญ่
ขอนแก่น และสุดท้ายที่กรุงเทพฯ ก่อนที่จะนำผลสรุปจากทุกเวทีประมวลผลเป็นรายงานสถานการณ์
SMEs ฉบับสมบูรณ์
ดร.ณรงค์ ป้อมหลักทอง ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาแนวทางการส่งเสริมและช่วย เหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย
ขาดการเชื่อมโยงและประสานแผน การพัฒนาอย่างเป็นระบบ แต่ละหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
ต่างก็มีแนวทางส่งเสริมที่แตก ต่างกันตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน การแก้ปัญหา
SMEs ไม่บรรลุเป้าหมาย
ที่ผ่านมา กลไกการทำงานส่งเสริมและช่วย เหลือ SMEs ขาดเอกภาพด้านการทำงาน
ทำให้ การช่วยเหลือไม่ประสบผลสำเร็จตามนโยบายหลักที่กำหนดไว้ มาตรการช่วยเหลือด้านต่างๆไม่
สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย SMEs ได้อย่างแท้ จริง เนื่องจากกลไกการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติประสบปัญหา
ทั้งเรื่องความรู้ความเข้าใจ จำนวนบุคลากร เครื่องมือการทำงาน จนถึงรายละเอียดของกิจการและผู้ประกอบการ
ฯลฯ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส TDRI กล่าวและว่า
สสว.ในฐานะองค์กรอิสระที่มีบทบาทวางกลยุทธ์แก้ปัญหาและพัฒนา SMEs ทั้งประเทศ
จึงได้จัดทำรายงานสถานการณ์ SMEs ปี 2544 ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยอาศัยฐานข้อมูลจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการส่งเสริม SMEs ตั้งแต่อดีตจนถึงล่าสุดปี 2544
รวบรวมวิเคราะห์จัดทำเป็นรายงานฉบับเบื้องต้น ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมรับฟังและเสนอ
แนะข้อคิดเห็น
ความสำคัญของรายงานสถานการณ์ SMEs ที่สสว.กำลังจะจัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์นั้น
จะเป็นรายงานที่ให้ข้อมูลถึงประเด็นปัญหา SMEs ได้อย่างแท้จริง ตลอดจน แนวทางแก้ปัญหาและสนับสนุน
SMEs ได้อย่าง ถูกต้อง เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริม SMEs ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
สามารถกำหนดนโยบายและแผนการส่งเสริม SMEs ได้ ตรงกับประเด็นปัญหาที่แท้จริง
อีกทั้งรายงานสถานการณ์ SMEs ดังกล่าว จะนำเสนอต่อหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และสาธารณชน เพื่อให้ทราบถึงประเด็นปัญหา แต่ละหน่วยงานรู้ทิศทางและสามารถกำหนดแผน
ปฏิบัติส่งเสริม SMEs ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่ง คณะกรรมการส่งเสริม SMEs มีอำนาจเสนอกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายให้เกิดการส่งเสริมและสนับสนุน
SMEs ให้บรรลุผลตามนโยบายที่กำหนดไว้ สสว.เสนอ 3 ประเด็นหลัก
สสว.ได้ให้นิยาม SMEs ในส่วนภาคการผลิตกิจการขนาดย่อมจ้างคนงานไม่เกิน
50 คน สินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท ขนาดกลางจ้างคนงาน 51-200 คน สินทรัพย์ถาวร
51-200 ล้านบาท SMEs ในภาคการค้าปลีกขนาดย่อมจ้าง คนงานไม่เกิน 15 คน มีสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน
30 ล้านบาท ค้าปลีกขนาดกลางจ้างคนงาน 16-30 คน มีสินทรัพย์ถาวร 31-60 ล้านบาท
นิยาม SMEs ค้าส่งขนาดย่อม จ้างคนงาน ไม่เกิน 25 คน มีสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน
50 ล้านบาท ส่วนค้าส่งขนาดกลางจ้างคนงาน 26-50 คน มีสินทรัพย์ถาวร 51-100
ล้านบาท และสุดท้าย SMEs ภาคบริการขนาดย่อมจ้างคนงานไม่เกิน 50 คน มีสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน
50 ล้านบาท ขนาด กลางจ้างคนงาน 51-200 คน มีสินทรัพย์ถาวร 51-200 ล้านบาท
สำหรับรายงานสถานการณ์ SMEs ปี 2544 สสว.ได้นำเสนอใน 3 ประเด็นหลักคือ
การวิเคราะห์สถานภาพของ SMEs ทั้งการผลิต การ ค้า และบริหาร ประเด็นต่อมาวิเคราะห์การส่งเสริม
SMEs เรื่องการจ้างงาน การเงิน การตลาด การบริหารจัดการ และเทคโนโลยีและนวัตกรรม
และประเด็นสุดท้ายนำเสนอทบทวนนโยบายและมาตรการที่เหมาะสมในการสนับสนุน SMEs
ดร.ณรงค์ กล่าวว่า สำหรับข้อมูลจำนวนสถานการณ์ประกอบการ SMEs ในภาคการผลิต
ปี 2537 มีจำนวน 95,263 ราย ปี 2542 มี 101,279 ราย ขยายตัวร้อยละ 1.2 ในภาคการค้า
ปี 2537 มีจำนวน 270,915 ราย ปี 2542 มีจำนวน 329,309 ราย ขยายตัวร้อยละ
4.0 และภาคบริการปี 2537 มีจำนวน 82,449 ราย ปี 2542 มีจำนวน 96,083 ราย
ขยายตัวร้อยละ 3.1
เป็นที่น่าสังเกตว่า SMEs ภาคการผลิต หลังวิกฤติอุตสาหกรรมการผลิตลดความหลากหลาย
แต่ละธุรกิจเน้นธุรกิจที่มีศักยภาพมากขึ้น ส่วนสถานการณ์ภาคการค้า จากการรุกของผู้ประกอบการค้าปลีกข้ามชาติและร้านค้าสมัยใหม่
ส่งผลให้รูปแบบการค้าดั้งเดิมร้านโชห่วยปี 2544 ลดลงจากปี 2543 ร้อยละ 9.9
ห้างสรรพสินค้าลดลง 50.1% ซูเปอร์มาเก็ตลดลง 55.4% ขณะที่ร้านค้าสมัยใหม่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
และร้าน ค้าสะดวกซื้อทั้ง 7-eleven และตามปั๊มน้ำมัน เพิ่มขั้น 8.1%
ส่วนภาคบริการธุรกิจก่อสร้างและอสังหา-ริมทรัพย์ปี 2540 ตกต่ำถึงขีดสุด
จากผลพวงวิกฤติเศรษฐกิจและเกิดปัญหาหนี้ NPL แต่เมื่อ ย่างเข้าสู่ปี 2543
เริ่มฟื้นตัวและมีอัตราขยายตัว 17.1% ต่อปี ธุรกิจท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปี
2541 มีมูลค่ามากกว่า 275,000 ล้านบาท กิจการ ขนาดย่อมลดลง 0.3% ต่อปี ส่วนกิจการขนาดกลางกลับเพิ่มขึ้น
14.7% ต่อปี
เหตุเม็ดเงินเข้าไม่ถึง SMEs
ปัญหาหลักของ SMEs ในระยะที่ผ่านมาคือ ขาดเม็ดเงินหล่อเลี้ยงกิจการของตนเอง
จึงต้องล้มเลิกกิจการไปจำนวนมาก ทั้งที่ภาครัฐมีนโยบาย ที่ชัดเจนในการอัดฉีดเม็ดเงินผ่านสถาบันการเงิน
เฉพาะกิจของภาครัฐ แต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือกิจการ SMEs ได้ตามเป้าหมายนัก
ทั้งนี้สสว. ได้วิเคราะห์ปัญหาที่ SMEs ไม่สามารถกู้เงินได้คือ
ประการแรก SMEs เป็นกิจการเล็กมีสิน ทรัพย์ถาวรน้อย ทำให้ขาดหลักประกันเงินกู้
ประการต่อมาบัญชีไม่เป็นระบบ ไม่มีมาตรฐาน ขาดความชัดเจนไม่โปร่งใส ไม่มีแผนการดำเนิน
ธุรกิจ ไม่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี อีกทั้งผู้ประกอบการไม่ทราบข้อมูลแหล่งสินเชื่อทางเลือก
และประการสุดท้ายไม่มีความรู้ความสามารถการ ระดมเงินจากตลาดทุน
การแก้ปัญหาด้านการเงินของ SMEs ในปัจจุบัน จะหาทางออกด้วยการกู้ยืมกันเองโดย
ตรง พึ่งระบบเครดิตทางการค้า เล่นแชร์เพื่อหวังนำเงินก้อนมาหมุนเวียนในกิจการ
กู้ยืมจากแหล่งเงินกู้นอกระบบเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงมาก และสุดท้ายพยายามปรับปรุงกิจการของตนเองให้อยู่ในเงื่อนไขที่จะขอกู้ได้
ขณะเดียวกันหากพิจารณาถึงเงื่อนไขคุณสมบัติ การขอกู้ของสถาบันการเงินนั้น
เข้มงวดมาก อาทิ ผู้ประกอบการไม่เป็นลูกหนี้ NPLs โครงการที่เสนอต้องมีความเป็นไปได้
หลักทรัพย์ค้ำประกันต้อง
ครอบคลุมหนี้ ต้องมีระบบบัญชีถูกต้อง ไม่มีหนี้ในกิจการมากเกินไป เป็นธุรกิจที่มีภาพรวมอุตสาหกรรมที่ดี
และสุด ท้ายต้องมีแผนธุรกิจให้สถาบันการเงินพิจารณา
SMEs เจอศึกดิสเคานต์สโตร์
ดร.ณรงค์ กล่าวถึงการส่งเสริม SMEs ด้าน การตลาดว่า ข้อมูลการค้าภายในประเทศนั้น
ภาค การผลิต SMEs มุ่งการผลิตที่ผลิตภัณฑ์เป็นหลัก คำนึงถึงการบริการ การจำหน่าย
และการตลาดน้อยมาก จึงประสบปัญหาด้านการตลาด ขณะเดียวกันการผลิตแบบรับช่วงการผลิต
ทำให้ขาด ความสนใจด้านการพัฒนาตัวสินค้า เพื่อตอบสนองตลาด เมื่อsubcontract
ยกเลิกออเดอร์ จึงเกิดปัญหาตามไปด้วย และประการสุดท้ายSMEs ผลิตเพื่อส่งออกในสัดส่วนน้อย
ส่วน SMEs ในภาคการค้า ประสบปัญหากับการขยายตัวของดิสเคานต์สโตร์ขนาดใหญ่
แย่งส่วนแบ่งตลาดของร้านค้าปลีกเล็ก โดยส่วน แบ่งตลาดร้านค้าปลีกขนาดเล็ก
ลดลงจาก 49.8% ในปี 37 เหลือเพียง 27.7% ในปี 42 ค้าปลีกขนาด กลางลดลงจาก
9.7% ในปี 37 เหลือ 7.3% ในปี 42 ขณะที่ค้าปลีกขนาดใหญ่เพิ่มจาก 40.5% ในปี
37 เป็น 65% ในปี 42 และกำลังมีแนวโน้มเพิ่ม ขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากนี้ ร้านค้าส่งแบบดั้งเดิม มียอดขาย ลดลง 24.4% ต่อร้านในช่วงปี
2539-2544 เนื่อง จากร้านค้าปลีกเปลี่ยนไปซื้อของจากไฮเปอร์มาเก็ต และร้านสะดวกซื้อมากขึ้น
ทั้งนี้ร้านค้าสะดวกซื้อ กลับเพิ่มขึ้นจาก 3,100 ร้านในปี 2543 เป็น 3,350
ร้านในปี 2544 คิดเป็นอัตราเพิ่ม 8% ต่อปี
ดร.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ปัญหาตลาดการค้าต่างประเทศ พบว่า SMEs ขาดความรู้ในตลาดใหม่ในต่างประเทศ
ผู้ประกอบการไม่ทุ่มเทกับการ ตลาดจริงจัง กิจการขนาดย่อมขาดความรู้ มีบุคลากรจำกัด
ที่ตั้งแหล่งผลิตอยู่ห่างไกล ต้น ทุนค่าขนส่งสูง ขณะเดียวกันประเด็นการเปิดเสรี
การค้า ทำให้การแข่งขันรุนแรงและกิจการ SMEs เสียเปรียบ สุดท้ายประสบปัญหาถูกกีดกันด้านมาตรฐานสินค้า
จากมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี (NTB)
แนวทางแก้ไขข้อจำกัดตลาดต่างประเทศ SMEs ต้องเร่งพัฒนาตัวเองให้มีความสามารถเชิง
ธุรกิจเพิ่มขึ้น อาศัยองค์กรรัฐสนับสนุน ประการ ต่อมาต้องปรับตัวให้เข้ามาตรฐานโลก
รวมทั้งปรับการผลิตตามความต้องการตลาด ปรับยุทธศาสตร์เชิงรุกเน้นตลาดเฉพาะเพิ่มขึ้น
ส่วนภาครัฐต้องสนับสนุนข้อมูลด้านการตลาด สนับสนุนร้านค้าดั้งเดิมที่ต้องการปรับตัวให้ทันสมัย
และสนับสนุนส่งออกบริการ เช่น นวดแผนโบราณ ร้านอาหารไทย ฯลฯ
ส่วนปัญหาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมว่า SMEs ในภาคการผลิตยังใช้เทคโนโลยีในระดับต่ำมาก
ได้รับรองมาตรฐาน ISO,QS 9000,HACCP กิจการขนาดย่อมมีเพียง 6% ขนาดกลาง 31%
ใช้งบวิจัยและพัฒนาเพียง 13-30% ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์กิจการขนาดย่อม 24%
ขนาดกลาง 58% ส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินงานสูง
ขณะที่การบริหารจัดการ SMEs บริหารแบบครอบครัว ขาดการวางแผนธุรกิจที่เป็นระบบ
ผู้ประกอบการขาดการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจดำเนินธุรกิจ ขาดการเชื่อมโยงระหว่าง
SMEs ในกลุ่มของภาคการค้าปลีกและค้าส่งในลักษณะพึ่งพากัน ด้านทรัพยากรมนุษย์ส่วนใหญ่
จ้างแรงงาในระดับประถมและมัธยมศึกษา ซึ่งแรง งานดังกล่าวเคลื่อนย้ายเข้าออกตามฤดูการผลิตในภาคเกษตร
ขาดความชำนาญเฉพาะด้าน และ ขาดคุณสมบัติพิเศษในการเป็นผู้ประกอบการ เสนอมาตรการกู้ชีพ
ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส TDRI จากปัญหาและข้อ จำกัดด้านต่างของ SMEs ในภาคการผลิต
การค้าและบริการ สสว.ได้ประมวลถึงนโยบายการส่ง เสริมขององค์กรภาครัฐและเอกชนด้านต่างๆ
ประมวลผลและเสนอแนะมาตรการเพิ่มเติม เพื่อ ให้เกิดนโยบายและมาตรการที่เหมาะสมในการสนับสนุน
SMEs อาทิ นโยบายด้านการเงิน การ ตลาด เทคโนโลยี ฯลฯ
นโยบายช่วยเหลือด้านการเงินแก่ SMEs ที่ ผ่านมามีโครงการขยายสินเชื่อผ่านสถาบันการเงิน
เฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ ขยายการค้ำประกันสินเชื่อ ให้บริการปรึกษาทางการเงิน
สนับสนุนระดมทุนผ่านตลาดทุน ในอนาคตควร เพิ่มการให้สินเชื่อภูมิภาค ขยายการให้สินเชื่อภาค
การค้าและบริการ เพิ่มสัดส่วนการค้ำประกันสิน เชื่อและควบคุมระดับ NPLs ไม่ให้สูงเกินไป
และเร่งปรับปรุงการดำเนินงานกองทุนรัฐ
ด้านการตลาดแม้จะมีมาตรการจัดตั้งศูนย์ กระจายสินค้าเกษตร พัฒนาตราสินค้า
พัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ สนับสนุนด้านข้อมูลการผลิต การลงทุน การค้าต่างประเทศ
และการส่งเสริมตลาดอี-คอมเมิร์ซแล้ว ในอนาคตต้องผลักดันการตั้งศูนย์กระจายสินค้าทั้งระดับจังหวัด
ภูมิภาค ต่างประเทศพัฒนาระบบข้อมูลการค้า บริการ การตลาดทั้งใน/ต่างประเทศเป็นระบบ
เครือข่ายให้บริการทั่วถึงภูมิภาค และต้องส่งเสริม การเจาะตลาดเฉพาะ
นโยบายและมาตรการที่เหมาะสมด้านเทคโนโลยี ในอนาคตควรส่งเสริมให้การวิจัยสามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์
ประสานหน่วยงาน ต่างๆ จัดทำข้อมูลทางเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบ สนับสนุนสถาบันการศึกษาในภูมิภาคทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อประยุกต์ให้เข้ากับท้องถิ่น
นอกจากนี้นโยบายด้านภาษีและสิทธิประโยชน์แก่ กิจการ SMEs ในอนาคตการให้สิทธิประโยชน์
แรงจูงใจต้องไม่ต่ำกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
สำหรับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นองค์กรอิสระจัดตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
พ.ศ.2543 โดยมีคณะกรรม การส่งเสริม SMEs เป็นผู้กำกับดูแลนโยบาย มี บทบาทวางกลยุทธ์
SMEs ของประเทศ รวมทั้งกำหนดนโยบายและมาตรการการปฏิบัติ พร้อมทั้งจัดสรรทรัพยากรดำเนินการและกำกับติดตาม