มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการคนใหม่ ขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
(อ.ส.ม.ท) เจ้าของคอนเซ็ปต์ "ดัง สนุก และขาย ของได้" ควรจะต้องอ่านงานเขียนคลาสสิกขนาด
ยาว เรื่อง "อ.ส.ม.ท.แตกไม่มีชิ้นดี" โดย นพ นรนารถ ที่เขียนไว้ในนิตยสาร
"ผู้จัดการ" ฉบับ เดือนเมษายน 2532
งานเขียนชิ้นนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงกรณี ศึกษารากเหง้าการบริหาร อ.ส.ม.ท.
ที่สลัดไม่ออก จากระบบราชการ และบริบททางการเมือง ตลอด จนเจาะลึกการตัดสินใจของรัฐต่อ
อ.ส.ม.ท. จาก แรงกดดันของสถานการณ์เปลี่ยนแปลงของสังคม ข่าวสารของไทย กับการปรับตัวเพื่อเหตุผลทาง
ธุรกิจ ที่ก่อให้เกิดวัฏจักรแดนสนธยา นับตั้งแต่ จัดตั้งบริษัท ไทยโทรทัศน์
ในปี 2495 สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม และ พล.ต.อ.เผ่า ศรี ยานนท์ ที่ใช้สถานีโทรทัศน์แห่งแรกนี้
เป็น กระบอกเสียงของรัฐ และเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ปฏิวัติสำเร็จ ก็ส่งคนของตนไปคุมอำนาจที่นี่
"จากจุดเริ่มต้นที่กรมประชาสัมพันธ์ ถือหุ้นใหญ่ และหน่วยราชการอื่นถือหุ้นประกอบ
กันเป็นพรวนนี่เอง ระบบราชการจึงได้ฝังติดยึด แน่นอยู่กับบริษัทไทยโทรทัศน์
ตลอดมา แม้ว่า โดยความเป็นจริง สถาบันข้าราชการเป็นสถาบัน ที่เอื้ออำนวยในการก่อตั้งมากที่สุด
แต่โดยเจต จำนงที่จัดตั้งเป็นบริษัท ก็เพื่อให้เป็นหน่วยงาน ที่มีความคล่องตัวในการหารายได้
และดำเนิน กิจการ แต่ระบบราชการก็ได้ก่อให้เกิดรากเหง้า แห่งปัญหาที่สะสมจนปะทุในเวลาต่อมา"
นี่คือข้อสรุปเหตุแห่งการขาดทุนสะสม ของสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทย
ในข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยเผด็จ การจอมพลสฤษดิ์-จอมพลถนอม สู่ยุคประชาธิป
ไตย หลัง 14 ตุลา 2516 การแต่งตั้งผู้บริหาร ระดับสูงขององค์กรแห่งนี้ต่างอยู่ในรูปแบบ
กระบวนตัดสินใจทางการเมือง และกลายเป็น แหล่งผลประโยชน์มหาศาล แต่เต็มไปด้วย
ปัญหาหนี้สินมาก ตั้งแต่คนแรก คือ ประสงค์ หงสนันท์ ที่อยู่ยาวนานที่สุด,
กำจัด กีพานิช, รัก ศักดิ์ วัฒนพานิช จนถึงสรรพสิริ วิริยศิริ ซึ่งเป็นตัว
อย่างจริยธรรมของ นักสื่อสารมวลชน ที่ถูกมรสุมการเมือง เล่นงานรุนแรงที่สุด
"วันที่ 6 ตุลา ผมรู้แล้วว่าถึงวาระสุดท้ายของผมแน่ๆ ผมตัดสินใจเอารถประจำ
ตำแหน่ง ที่มีวิทยุสื่อสาร จอดที่อนุสาวรีย์ ทหารอาสา วางเครือข่ายระหว่างวิทยุ
ท.ท.ท. กับทีวีช่อง 9 ให้วิทยุ ท.ท.ท. คอยรายงาน เป็นระยะ พอมีการยิงกันตาย
เหตุการณ์ ลุกลาม แต่ไม่มีใครระงับเหตุการณ์ ผมตัด สินใจสั่งเปิดโทรทัศน์
ตอนนั้นผมมีอำนาจ สั่งการได้ วิ่งเข้าไปบันทึกเทปในเหตุการณ์ทำ ออกมาทุกอย่างจนออกโทรทัศน์
แล้วผมก็ กลับมานอนรอคำสั่งปลดหรือจับตัว"
ถือเป็นยุคสุดท้าย ก่อนถูกแปรรูปเป็น "องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย"
ปี 2520 ในรัฐบาลหอย ของธานินทร์ กรัย วิเชียร โดยมีประมุท สูตะบุตร เป็นผู้อำนวย
การ อ.ส.ม.ท.คนแรก นานถึง 8 ปี เป็นการ เริ่มต้นใหม่ของการบริหารแหล่งผลประโยชน์
ที่มีพลังสื่อธุรกิจในมือ
บทบาทของประมุทมีสูงมาก เขา เข้าใจหัวใจกับพลังของธุรกิจสื่อโทรทัศน์และวิทยุ
สามารถจับอากาศมาเป็นเงินได้กำไร มหาศาล ด้วยนโยบาย "ให้เช่าเวลา" และเน้นทำ
"รายการข่าว อ.ส.ม.ท." เป็นจุดแข็ง โดยเซ็นสัญญา 5 ปี ร่วมกับแปซิฟิค อินเตอร์
คอมมูนิเคชั่น ที่สามารถสร้างเรตติ้งคนดูได้ สำเร็จ และเป็นแรงส่งให้เกิดการขยายเครือข่าย
สถานีที่ใช้เงินลงทุน 700 กว่าล้านบาท แต่ที่สุด ป.ป.ป.เริ่มเข้ามาสอบสวนกรณีซื้อเครื่องบันทึก
ภาพมูลค่า 4.5 ล้านบาท ศาลตัดสินให้จำเลยคือ อ.ส.ม.ท., ประมุท และ ร.ต.ท.ชาญ
มนูธรรม แพ้ คดี ประมุทถูกย้ายเข้ากรุสำนักนายกฯ และลาออก
ดร.บุญเสริม วีสกุล เข้ารักษาการแทน นานเกือบปี ตั้งแต่ปลายปี 2529-กันยายน
2530 พอได้รับแต่งตั้งวันที่ 23 กันยายน วันรุ่งขึ้น บุญเสริมก็ยื่นใบลาออกทันที
เพราะพิษการเมือง ของคนภายใน อ.ส.ม.ท. ที่อาศัยนักการเมือง เฉลิม อยู่บำรุง
นำเอาข้อความในเทปลับเสียง บุญเสริมมาตั้งข้อหาว่า หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
มีการสอบสวนต่อมาแต่ปรากฏไม่ผิด บุญเสริม กลับไปสอนที่นิด้าและเป็นที่ปรึกษาธุรกิจแก่
บริษัทในเครือเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ซึ่งแก้แค้นให้โดยได้ส่งเรื่องให้ ป.ป.ป.สอบ
กรณีช่วยเหลือ "ลิตเติ้ล ดั๊ก" ของราชันย์ ฮูเซ็น ซึ่งเป็นคนของเฉลิม อยู่บำรุง
รมต.สำนักนายกฯ ขณะนั้นตั้งเป็นผู้อำนวยการแทน ดร.มนตรี เจนวิทย์การ
ผลที่ตามมาจากปัญหาการเมืองและผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว ตลอดจนบุคลิกภาพ ของผู้บริหาร
อ.ส.ม.ท. ทำให้การพัฒนาประสิทธิ ภาพบริหารกิจการโทรทัศน์และคุณภาพรายการ
สู่คนดูไม่อาจปรับตัวให้แข่งขันได้ในอดีต ทั้งๆ ที่มีอภิสิทธิ์แห่งรัฐอยู่มากก็ตาม