Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2545
สีซอ ตอนที่ 1             
โดย อเนกระรัว
 

   
related stories

สีซอ ตอนที่ 2
สีซอ ตอนที่4 (ตอนจบ)

   
www resources

สีซอ ตอนที่ 3




ผมเคยเขียนเรื่องการหัดเล่นดนตรี (ผู้จัดการ ก.ย. ถึง พ.ย.2544) ในคราวนั้นผมเสนอให้การหัดเล่นกีตาร์และเครื่องคีย์บอร์ด ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่เหมาะกับการเริ่มต้นและดูสามัญเป็นอย่างยิ่ง คราวนี้ ผมขอเสนอสิ่งที่ท้าทายทั้งสติปัญญา ความสามารถ ความพยายาม และความอดทน กับการหัดเล่นเครื่องดนตรีที่ไม่สามัญ....ซอฝรั่ง หรือไวโอลิน

ไวโอลิน เป็นเครื่องดนตรีที่คลาสสิก ดูเท่ และมีเสน่ห์ ทั้งรูปและเสียง และถ้าท่านมีโอกาสได้ยืนสีไวโอลินท่ามกลางผู้คน ท่านก็จะดูเท่และมีเสน่ห์น่าประทับใจยิ่ง มีข้อแม้ว่าน้ำเสียงที่เปล่งออกมาก็ต้องเข้าท่าด้วย เป็นเวลานานหลายร้อยปีมาแล้วที่เรารู้จักไวโอลิน ในนามของพระเอกแห่งวงดนตรีประเภทเพลงคลาสสิก

แต่ความจริงเครื่องดนตรีไวโอลินได้แทรกซึมอยู่กับสังคมมนุษย์หลายกลุ่มชน ตั้งแต่ราชสำนักยุโรปจนถึงยิปซีพเนจร ชาวประมงไอริช ไปจนถึงคาวบอยที่เท็กซัส เราจะได้ยินเสียงไวโอลินหมู่ในภาพยนตร์เพลงอินเดีย เพลงจีนร่วมสมัย มาจนถึง Venessa May, The Corr หรือ Bond ส่วนในบ้านเรา ไวโอลินก็เข้ากันได้อย่างยิ่งกับเพลงสุนทราภรณ์ เพลงไทยเดิม และเพลงมหาอมตะนิรันดร์กาลต่างๆ นานา

การหัดเล่นไวโอลินด้วยตนเองไม่ใช่สิ่งต้องห้ามหรือเป็นไปไม่ได้สำหรับบุคคลปกติทั่วไป แต่การจะพัฒนาให้เล่นได้ดีเล่นได้ไพเราะ ดูจะไม่ง่ายนัก (เรียกว่าโหดมหากาฬดูจะใกล้เคียงกว่า) ไวโอลิน เป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากที่สุดชิ้นหนึ่ง ตามความเห็นของผม (และใครต่อใคร)

อย่างไรก็ดี ตามประสาคนอยู่ไม่สุขอย่างผมก็ไม่วายที่จะลองของ ผมเริ่มต้นด้วยการหาซื้อไวโอลินมาหัดเล่นเอง โชคดีที่ผมมีเพื่อนของเพื่อนที่เป็นอาจารย์สอนไวโอลิน ผมจึงได้ไวโอลินเมดอินไทยแลนด์คุณภาพดีเท่าที่จะเป็นไปได้ในราคาห้าพันกว่าบาท จะหาซื้อที่ถูกกว่านี้ก็มีแต่ไม่แนะนำ เพราะจะได้ไวโอลินคุณภาพไม่ดี ราคาที่ถูกที่สุด และพอหาดีได้อยู่ที่ประมาณ 5,000 ถึง 8,000 บาท แต่มีเคล็ดลับอยู่ที่ท่านอาจต้องพึ่งผู้รู้ช่วยเลือกซื้อให้

สำหรับท่านทั้งหลาย ก่อนจะถลำตัวไปมากกว่านี้ ผมมีข้อพิจารณาเบื้องต้นก่อนการตัดสินใจหัดเล่นไวโอลิน ซึ่งได้แก่ ท่านจะต้องมีเวลาให้อย่างน้อย 1 ชั่วโมงวันเว้นวันสำหรับฝึกหัด และใช้เวลาประมาณ 3 ถึง 6 เดือน เพื่อให้รู้ดำรู้แดงกันไป ซึ่งในระหว่างเวลานี้ท่านเกิดหลงรักเสียงไวโอลินของตัวเอง ก็ถือเป็นความสำเร็จขั้นหนึ่ง (ถ้าคนรอบข้าง ก็หลงรักด้วยถือเป็นความสำเร็จที่งดงามยิ่ง) ท่านจะต้องมีที่ซ้อมเล่นเป็นสัดส่วนที่ไม่ไปรบกวนโสตประสาทใคร

ข้อสำคัญที่สุดท่านจะต้องเป็นเจ้าของหูที่มีความสามารถเรื่องระดับเสียงของดนตรี (Relative Pitch) คือสามารถรู้จักความเพี้ยน หรือไม่เพี้ยนของเสียงดนตรี ยกตัวอย่างถ้าท่านชอบร้องโอเกะหลุดคีย์เป็นนิตย์ หรือผู้ฟังบ่นแกมประชดว่า ร้องเพี้ยนขณะที่ท่านไม่รู้สึกอะไร ท่านไม่ควรหัดเล่นไวโอลิน หาคีย์บอร์ดหรือกีตาร์มาหัดจะเหมาะกว่า

ไวโอลินต้องการการควบคุมระดับเสียง (Pitch) ที่ละเอียดมาก เพราะที่ Finger Board ซึ่งเป็นที่ให้นิ้วมือซ้ายกดสายจะไม่มีเครื่องหมายหย่อง หรือ Fret ที่จะทำให้ได้ระดับเสียงที่แน่นอน ท่านจะต้องใช้นิ้วเปล่าๆ กดลงตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยมีความผิดพลาดเป็นเศษเสี้ยวของมิลลิเมตร และทุกตัวโน้ตที่เล่นท่านจะต้องใช้หูฟังและปรับนิ้วให้ได้เสียงที่ถูกต้องตลอดเวลา ยิ่งเล่นตัวโน้ตเสียงยิ่งสูง หูและนิ้วมือจะต้องมีความเที่ยงตรงสูงยิ่งตามไปด้วย

ถ้าท่านตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะหัดเล่นไวโอลิน เริ่มแรกท่านต้องหาเครื่องดนตรี ถ้าหยิบยืมใครมาได้ ก็รีบดำเนินการ ถ้าหยิบยืมไม่ได้จำเป็นต้องหาซื้อ ผมแนะนำให้ซื้อไวโอลินตัวแรกราคาประหยัดก่อน ไม่ได้ขู่แต่เพราะความหวังดี เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงที่ท่านอาจล้มเลิกความตั้งใจเล่นไวโอลินในเวลารวดเร็ว หรือไม่เช่นนั้น (มองโลกในแง่ดี) ท่านได้พัฒนาฝีมือและได้ค้นพบตัวเอง ท่านค่อยหันไปเล่นไวโอลินคุณภาพระดับ Artist หรือ Professional ได้ในราคาประมาณ 50,000 บาทขึ้นไปก็ได้

ความรู้แถมพก ในกรณีที่ท่านซื้อให้ตัวเอง ก็ต้องเลือกขนาด 4/4 หรือขนาดมาตรฐาน ในกรณีที่จะซื้อให้ลูกหลาน ไวโอลินอาจต้องมีขนาดเล็กลง เนื่องจากขนาดมือของเด็ก เช่น ขนาด 1/4 สำหรับเด็ก 6-7 ขวบ ขนาด 1/2 สำหรับเด็ก 8-9 ขวบ ขนาด 3/4 สำหรับเด็ก 10-11 ขวบ และสำหรับเด็ก 12 ขวบขึ้นไป คือ ขนาดเต็มส่วน 4/4 (ทั้งนี้อายุโดยประมาณ พิจารณาขนาดของมือเด็กเป็นสำคัญ) นอกจากตัวไวโอลิน แล้วยังมีคันสี แท่งยางสน กล่องใส่ไวโอลิน ที่รองบ่า และเพื่อให้การตั้งเสียงง่ายขึ้น สายที่ 1 และ 2 (สาย E และ A) ควรติดที่ปรับเสียงละเอียด (Tuner) ไว้ด้วย

อุปกรณ์เสริมที่สำคัญอีกอย่างคือ ที่ตั้งเสียง ถ้าท่านมีเครื่องดนตรีที่มีเสียงที่ถูกต้องอยู่แล้วเช่น คีย์บอร์ด หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี Sound Card ท่านอาจใช้เครื่องเหล่านั้นช่วยตั้งเสียง ไม่เช่นนั้นท่านอาจซื้อที่ตั้งเสียงสำหรับกีตาร์ชนิดเป่ามาใช้กับไวโอลินก็ได้ หรือถ้าท่านอยากได้ความถูกต้องเที่ยงตรง แต่ขณะเดียวกันยังขาดความมั่นใจในหูของตัวเอง ผมแนะนำให้ใช้เครื่องตั้งเสียงอิเล็กทรอนิกส์ที่ละเอียดแม่นยำและใช้ง่าย นอกจากนั้นเครื่องเคาะจังหวะหรือ Metronome ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะสำหรับการซ้อมเล่นดนตรีก็เป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ เพราะสามารถช่วยท่านพัฒนาการนับจังหวะให้ถูกต้อง

หลังจากที่จัดหาเครื่องดนตรีคู่กายได้แล้ว ก็หันมาหาแหล่งข้อมูลเพื่อการเริ่มต้น ในกรณีที่ท่านต้องการพึ่งพาตนเองอย่างเด็ดเดี่ยว แหล่งข้อมูลที่เข้าท่าและครบครันที่สุดเห็นจะหนีไม่พ้นอินเทอร์เน็ต ถึงตรงนี้หลายท่านอาจสะดุด (เล่นไวโอลินก็ยากแล้วยังต้องหัดเล่นคอมพิวเตอร์อีก) เพื่อไม่ให้ไปกันใหญ่ โลก "โลว์เทค" ก็ยังมีข้อมูลที่ใช้ได้อยู่เช่นกัน

กรณีของผม ผมอ่านหนังสือเก่าเก็บชุด Teach Yourself Books "The Violin" เขียนโดย Theodore Rowland-Entwistle ซึ่งก็ได้ข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการเริ่มต้น (หรืออาจใช้หนังสือเล่มอื่นแนวเดียวกัน) แต่ถ้าท่านใช้อินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว ตรงสู่ Web Site สอนไวโอลินได้เลย เด่นสุดที่ผมหาได้ ได้แก่ www.violinonline.com และ www.wps.pwp.blueyonder.co.uk จะพบว่าเรียนรู้ได้ง่ายกว่ากันเยอะ

ข้อมูลใน Web Site ทั้งสองมีความรู้พื้นฐานตั้งแต่เรื่องของท่าทาง การจับเครื่องดนตรี การจับคันสี วิธีการสี มีแบบฝึกหัดเบื้องต้น ข้อแนะนำและความรู้ที่เป็นประโยชน์รวมถึงความรู้พื้นฐานทางดนตรี ที่พิเศษใน Web Site ยังมีตัวอย่างเพลงและดนตรีสำหรับประกอบการซ้อม ในรูปของ Midi File สำหรับเล่นด้วยคอมพิวเตอร์ด้วย

ถึงตรงนี้ผมก็ขอฝากการบ้านไว้ให้ท่านลองหาหนังสือการเล่นไวโอลินเบื้องต้นมาอ่าน หรือท่อง Web Site ที่ระบุข้างบน ท่านอาจยังไม่ต้องลงทุนซื้อไวโอลินตั้งแต่ต้น ค้นหาข้อมูลก่อนจนรู้สึกฮึกเหิมได้ที่แล้วค่อยว่ากันก็ได้ แล้วคราวหน้าพบกันครับ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us