Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2545
นอนกลางวันกับการทำงาน             
โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
 





ครั้งที่แล้ว ผมเล่าเรื่องการนอนกับความจำให้คุณผู้อ่านได้ทราบกันว่า การนอนนอกจากจะจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์แล้ว การนอนยังมีผลต่อการเรียนรู้และการเกิดขึ้นของความจำ นั่นคือ การนอนตามปกติ จะมีการนอนแบบ rem และ nonrem sleep ซึ่งการนอนแบบ rem sleep มีความสำคัญต่อความจำ เพื่อว่าสิ่งที่ถูกเรียนรู้ในช่วงกลางวันจะถูกบันทึกและเรียบเรียง กลายเป็นความจำอย่างมีระเบียบแบบแผนในเวลาที่เรานอน

แต่นั่นเป็นเรื่องของการนอนตามปกติ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราไม่ค่อยได้พูดถึงเกี่ยวกับการนอนคือ การนอนในเวลากลางวันจำเป็นหรือไม่ และมีผลดีอย่างไร ต่อมนุษย์เรา

โดยทั่วไปทุกคนคงตอบได้ดีว่า ไม่มีบริษัทหรือห้างร้านใดที่มีกฎระเบียบให้ พนักงานพักผ่อนโดยการนอนในช่วงระหว่างเวลาทำงาน การนอนกลางวันในที่ทำงานดูจะกลายเป็น เรื่องต้องห้ามและไม่เหมาะสมทั้งๆ ที่ หากถามพนักงานทั้งหลายในที่ทำงานว่า เคยมีใครงีบตอนกลางวันหรือไม่ ผมเชื่อว่าทุกคนต้องเคยตอบว่าเคย ไม่ว่าจะเป็นเด็กนักเรียน หรือนักศึกษาในห้องเรียน อาจารย์หรือผู้บริหารในห้องส่วนตัว หรือพนักงานทั่วไปที่ฟุบหลับที่โต๊ะทำงาน แต่หากให้นอนเป็นประจำ หรือนอนเป็นเรื่อง เป็นราวคงเป็นเรื่องที่ไม่มีใครยอมรับนัก แต่ทุกคนมักจะยอมรับว่าหากได้งีบสักพักหนึ่ง การทำงานจะดีขึ้นมาก

มีการทดลองชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ในวารสาร nature neuroscience เมื่อไม่นานนี้ เป็นการทดลองของกลุ่มนักวิจัยจากฮาร์วาร์ดเพื่อหาคำตอบว่า การนอน กลางวันจะมีผลกระทบอย่างไรกับความสามารถในการเรียนรู้และทำงานของคนเรา

นักวิจัยกลุ่มนี้เริ่มการทดลองในอาสาสมัคร 30 คน โดยใน 30 คนนี้จะต้องมาทำการทดสอบหน้าจอคอมพิวเตอร์วันละ 4 ครั้งคือเวลา 9 โมงเช้า เที่ยง 4 โมงเย็น และหนึ่งทุ่ม โดยกลุ่มแรกให้ทำ การทดสอบทั้ง 4 ช่วงเวลาโดยไม่มีการงีบกลางวัน กลุ่มที่สองให้งีบได้ช่วงบ่ายสองโมงเป็นเวลา 30 นาที และกลุ่มที่สามงีบได้หนึ่งชั่วโมง

ผลการศึกษาที่ได้นั้นพอจะตอบคำถามที่ตั้งไว้ในตอนแรก นั่นคือ ในกลุ่มแรกนั้นพบว่าความสามารถในการทดสอบจะลดลงไปเรื่อยๆ โดยในช่วงเช้าจะทำคะแนนได้สูงสุด ส่วนช่วงหนึ่งทุ่มจะได้ ต่ำสุด และที่สำคัญคือความสามารถในการทดสอบ ลดลงไปถึง 50% เมื่อเทียบกับช่วงเช้า

ในกลุ่มที่สองนั้นพบว่าความสามารถในการทำการทดสอบไม่ได้ลดลง คะแนนในช่วงเช้าและบ่ายไม่แตกต่างกัน (ในทางสถิติ) ส่วนกลุ่มที่สามที่มีโอกาสงีบนานหนึ่งชั่วโมงนั้นพบว่า คะแนนในการทดสอบดีกว่า

เพื่อทดสอบว่าคะแนนที่ออกมาดีนั้นอาจจะไม่ใช่จากการได้นอนพัก แต่อาจเป็นเพียงเพราะการได้พัก นักวิจัยจึงให้อาสาสมัครอีกกลุ่มหนึ่งได้พักช่วงสั้นๆ แล้วมาทดสอบดู ผลคือคะแนนยังคงลดลงในช่วงบ่ายและค่ำ

นั่นหมายความว่าแค่การพักเพียงอย่างเดียวยังไม่พอที่จะเพิ่มประสิทธิภาพเท่ากับการนอน

หรือเป็นไปได้ไหมว่าที่คะแนนการทดสอบลดลงเป็นเพราะอาสาสมัครขาดแรงจูงใจที่จะทำ การทดสอบในช่วงบ่าย เพื่อตอบคำถามนี้ นักวิจัยจึง บอกกับอาสาสมัครกลุ่มที่ไม่ได้นอนพัก ซึ่งคะแนนในการทดสอบลงว่า เขาทำได้ไม่ดีเท่าครั้งแรก แต่หากในครั้งต่อไปถ้าเขาทำได้ดีเท่ากับช่วงเช้าเขาจะได้รับเงินรางวัล ทีมนักวิจัยกล่าวว่าหลังจากที่อาสาสมัครได้รับข้อเสนอนี้แต่ละคนตาโตด้วยความสนใจ

แต่ผลที่ออกมาคือ แม้จะมีการเสนอเงินรางวัลให้ แต่ในกลุ่มที่ไม่ได้นอนกลางวันก็ยังคงทำคะแนนการทดสอบออกมาต่ำกว่าการทดสอบในช่วงเช้า

ทั้งหมดนี้อาจจะพอให้คำตอบกับเราว่า การนอนพักช่วงกลางวันนั้น เป็นประโยชน์ต่อประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าที่เราคิดหรือเคยเข้าใจกันผิดๆ

อาจจะมีคำถามตามมาอีกว่า ทำไมเราจึงควรจะนอนกลางวัน หรือทำไมการนอนกลางวันจึงทำให้ประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ดีขึ้น ทั้งที่การนอน เพียงแค่หนึ่งชั่วโมงนั้น rem sleep ยังไม่ทันจะเกิดขึ้นด้วยซ้ำ

คำตอบในเรื่องนี้คงเป็นแค่สมมติฐานว่า มนุษย์เองก็เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ คือถิ่นกำเนิดพื้นฐานของคนเราอยู่ในบริเวณอากาศร้อน ซึ่งการปรับตัวแต่ดั้งเดิมนั้นสำหรับสัตว์เลือดอุ่น (ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตร้อน) คือการเลี่ยงที่จะหากินในช่วงกลางวันที่อากาศร้อน โดย การนอนพักอยู่ในที่ร่ม นั่นคือสัตว์เลือดอุ่นมักจะออกหากินในช่วงเช้าหรือเย็น

หากสมมติฐานนี้เป็นจริงและอธิบายผลที่ออกมา ถึงความสามารถในการทำงานที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้นอนพัก หรืองีบในช่วงกลางวัน สิ่งนี้ก็อาจจะพอเป็นเหตุผลที่บรรดาพนักงานทั้งหลายเรียกร้องให้หัวหน้า หรือนายจ้างเข้าใจว่า การนอนพักในช่วงกลางวันไม่ใช่เรื่องเสียหาย และควรสนับสนุน อย่างน้อยก็อาจจะขอเก้าอี้หรือโซฟาสำหรับเอนพักผ่อนในช่วงกลางวัน

แต่หากจะถึงขั้นขอโซฟาเบด หรือเตียง พับ ก็อาจจะได้คำตอบกลับมาว่า ไว้รอให้คุณมีห้องทำงานส่วนตัว (เหมือนผม ซึ่งเป็นหัวหน้า) ก่อนก็แล้วกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us