Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2545
การปรับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจครั้งที่ 4 ของ ธปท.             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 





การแถลงตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อสิ้นเดือนกรกฎาคมมีนัยสำคัญที่ต่างไปจากหลายครั้งที่ผ่านมา เพราะได้มีการปรับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยปรับจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 2.5%-3.5% เป็น 3%-4% ด้วยเหตุผลว่า เพื่อให้สอดคล้องกับประมาณการของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ 3.5%-4% และอัตราเงิน เฟ้อพื้นฐานที่คาดว่าจะอยู่ในระดับ 0.5%-1% ไม่เปลี่ยนแปลงจากครั้งก่อน

ธปท. มีการปรับการคาดการณ์ตัวเลข การเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 2545 มา ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 แล้ว ซึ่งน่าสังเกตว่าธปท.ไม่เคยปรับเปลี่ยนตัวเลขบ่อยๆ เช่นนี้มาก่อน

โดยในปีที่แล้ว ธปท.ประกาศตัวเลขไว้ที่อัตรา 1-3% ครั้นมาในเดือนมกราคม 45 ประกาศตัวเลขใหม่เป็น 2-3% และในเดือนพฤษภาคม 45 ก็ประกาศปรับใหม่เป็น 2.5- 3.5% ซึ่งเป็นการประกาศในช่วงต้นเดือน ก่อนหน้าที่คณะทำงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF จะเข้ามาเก็บตัวเลข แล้วประกาศปรับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปลายเดือนพฤษภาคมด้วยเช่นกัน

IMF ประกาศปรับอัตราการเติบโตฯในปี 2545 จากระดับ 2.7% เป็น 3.2% ส่วน ปี 2546 ปรับเป็น 3.5-3.6% ซึ่งถือเป็นอัตราการขยายตัวที่ยังไม่สูงมากนัก

ก่อนหน้านี้ ผู้ว่าการ ธปท.บอกว่าตัวเลข 2.5-3.5% ถือว่ามีความเหมาะสมกับการขยายตัวเศรษฐกิจในขณะนี้ที่เริ่มดีขึ้น ธปท.ยังมีความจำเป็นต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อประกอบการพิจารณานโยบายเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งจะมีการพิจารณากันอีกครั้งในการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในเดือนกรกฎาคม แต่ก็คาดว่าจะยังไม่มีการพิจารณาปรับประมาณการเศรษฐกิจใหม่แต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี กนง.ก็ประกาศปรับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไปแล้วเป็นครั้งที่ 4 และอาจจะมีการประกาศเช่นนี้ออกมาอีก ในการประชุมครั้งต่อๆ ไปที่จะมีอีก 3 ครั้งสำหรับปีนี้

การประกาศปรับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก เพราะปัจจัยเศรษฐกิจนอกประเทศมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย หากดูตัวเลขคาดหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งปีแล้ว หลายสำนักปรับเป็น 4% หรือมากกว่าแล้วด้วยซ้ำไป (ดูตาราง)

การประกาศปรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ ธปท.มีสัญญาณที่ดีมาจากการฟื้นตัวของภาคการส่งออกไทยที่ดีต่อเนื่อง มาเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดก็กลับมาเป็นบวกสูงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ด้วยเช่นกัน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ตัวเลขการส่งออกเป็นปัจจัยที่สร้างความกังวล เพราะมีการขยายตัวติดลบมาตลอดช่วง 10 เดือน

ธปท.ยังได้มีการปรับเพิ่มประมาณการตัวเลขส่งออก โดยคาดว่าจะขยายตัว 2-3% ในปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวเพียง 1-3% แต่ดังที่ทราบกันดีว่าเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังนี้จะแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ภาคเอกชนไทยฟื้นตัวดีขึ้นอย่างแท้จริงหรือยัง เพราะการอัดฉีดจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการเริ่มฝืด เนื่องจากขาดเม็ดเงินมากระตุ้น เพราะได้มีการเร่งเบิกใช้กันไปอย่างเต็มที่ในครึ่งปีแรกแล้ว

การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างแข็ง แกร่งในไตรมาส 1/45 ในระดับ 3.9% ดีกว่าประมาณการของนักวิเคราะห์ที่สำรวจโดยรอยเตอร์ที่ประเมินไว้ที่ 3% เปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนที่เศรษฐกิจขยายตัว 2.1% เนื่อง จากการส่งออกสินค้าในรูปปริมาณที่ปรับเพิ่มขึ้น 3.9% แม้ว่ามูลค่าส่งออกในรูปดอลลาร์ จะลดลงถึง 6.3% บวกกับภาวะการขยายตัวสูงของการใช้จ่ายของผู้บริโภค และการลงทุน และการผลิตที่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน

ทั้งนี้การขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน และการลงทุน นับว่าเป็นหัวใจสำคัญ ที่สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจใน ไตรมาส 1/45 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเติบโตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมในประเทศ โดยเฉพาะการผลิตในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง อันเป็นผลจากภาวะฟื้นตัวของความต้องการบ้าน, ภาวะดอกเบี้ยต่ำ, มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล รวมถึงการฟื้นตัวของตลาดหุ้นไทย ได้ช่วยกระตุ้นการบริโภคด้วย

เนื่องจากรัฐบาลยังมองว่าการส่งออกจะเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม ดังนั้นจึงมีการเน้นมาตรการต่างๆ ที่จะช่วยสนับสนุนการส่งออกอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เงินบาทมีค่าแข็งในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม และเคลื่อนไหวผันผวนมากในตอนปลายเดือน ก็จะเริ่มมีการออกมาพูดว่า ธปท.ควรดูแลค่าเงินสักหน่อย เพราะเงินบาทที่แข็งเกินไปจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออก ที่ขายสินค้าแล้วเมื่อแลกเป็นเงินบาทไทยกลับเข้าประเทศ จะได้ปริมาณน้อยลง

ทั้งนี้ ธปท.ก็เริ่มมีการเข้าไปแทรก แซง การซื้อขายเงินบาทบ้างแล้ว ด้วยเสียงสนับสนุนจากทางการและนักวิชาการบางกลุ่ม เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงิน โดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่า ธปท.ได้บอก ว่า การที่เงินบาทมีค่าแข็งขึ้นจากเมื่อต้นปีอยู่ในระดับ 44 บาทต่อดอลลาร์ มาอยู่ที่ระดับ 42 บาท สาเหตุมาจากเงินดอลลาร์ มีค่าอ่อนลงบวกกับปัจจัยที่มีเงินทุนไหลเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ต้นปีมา มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาถึง 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว

"ถ้าปล่อย free floatting แบบความฝันของไอเอ็มเอฟ มันอาจจะสวิงแรงกว่านี้เยอะ แต่เราได้ทำในลักษณะ manage float ...เราดูแลพอควร ที่ต้องดูแลพอควรเพราะไม่งั้นคนค้าขายไม่ได้..."

ผู้ว่า ธปท.ยอมรับว่าได้มีการดูแลค่าเงินบาทพอสมควร ซึ่งก็ต้องให้เครดิตแก่ตัวท่านในเรื่องนี้ เพราะคุ้นเคยกับภาคการส่งออกมาก่อน ในฐานะเป็นอดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกแห่งประเทศไทย

และคงไม่ต้องแปลกใจว่า ทำไมธปท.จึงกล้าปรับประมาณการเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นได้อีก ทั้งที่ปัจจัยความเสี่ยงในเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศยังมีอยู่อย่างเต็มที่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us