Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2545
Trade Promotion Authority Act of 2002             
โดย รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
 


   
search resources

ยอร์จ บุช จูเนียร์




ประธานาธิบดียอร์จ บุช จูเนียร์ ลงนามในกฎหมายการค้าฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2545 กฎหมายฉบับนี้มีชื่อว่า Trade Promotion Authority Act of 2002 ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2545 ด้วยคะแนนเสียง 215 ต่อ 212 และผ่านวุฒิสภา เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ด้วยคะแนนเสียง 64 ต่อ 34

ประธานาธิบดีบุชประกาศนโยบายการค้าเสรีในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และยืนยันนโยบายดังกล่าวเมื่อเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี สิ่งที่ประธานาธิบดีบุชต้องการ ก็คือ อำนาจในการเจรจาข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศอย่างค่อนข้างเบ็ดเสร็จ เพราะการทำสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา หากรัฐสภาไม่ยอมให้สัตยาบัน สัญญาและข้อตกลงดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับใช้ บางครั้งฝ่ายบริหารทำข้อตกลงกับประเทศคู่ค้าแล้ว แต่ฝ่ายนิติบัญญัติขอให้แก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดของข้อตกลง อันเป็นเหตุให้รัฐบาลขาดความน่าเชื่อถือในสายตาของประเทศคู่สัญญา ด้วยเหตุดังนี้ รัฐบาลอเมริกันจึงต้องการ 'ทางด่วน' ในการเจรจาการค้า หรือที่รู้จักกันในนาม Fast Track หลักการสำคัญของ 'ทางด่วน' ดังกล่าวนี้ ก็คือ เมื่อรัฐบาลเจรจาทำสัญญาหรือข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศแล้ว รัฐสภามีอำนาจแต่เพียงให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบ แต่ไม่มีอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาของข้อตกลงหรือสัญญานั้น

การให้อำนาจประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ อเมริกาในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศในลักษณะการเปิด 'ทางด่วน' ดังกล่าวข้างต้นนี้ มิใช่เรื่องใหม่ หากแต่มีมาแต่ปี 2517 ประธานาธิบดีอย่างน้อย 5 คน ได้ประโยชน์จากการใช้อำนาจในการเปิด 'ทางด่วน' แต่แล้วในปี 2537 อำนาจในการ เปิด 'ทางด่วน' ของฝ่ายบริหารก็สิ้นสุดลง รัฐสภาไม่ยอมให้ความเห็นชอบกฎหมาย Fast Track ของประธานาธิบดีวิลเลียม เจฟเฟอร์สัน คลินตัน แม้ คลินตันจะใช้ความพยายามสองครั้งสองครา แต่ก็ล้มเหลวทุกครั้ง

นับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา สมาชิกรัฐสภาอเมริกันมีทัศนคติเอียงไปทางด้านการปกป้องอุตสาหกรรม และกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น เพราะธุรกิจและอุตสาหกรรมจำนวนมากต้องล้มลุกคลุกคลานจากการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ สมาชิกรัฐสภาต้องกำหนดจุดยืนในการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนในเขตการเลือกตั้ง (มลรัฐ) ของตน ด้วยเหตุดังนั้นการขออำนาจในการเปิด 'ทางด่วน' ของประธานาธิบดีบุช ในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศจึงติดค้างอยู่ในรัฐสภานานนับปี เพราะรัฐสภาต้องการสงวนอำนาจในการทำสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ

แม้รัฐสภาจะยินยอมให้ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกามีอำนาจในการเปิด 'ทางด่วน' เพื่อเจรจาการค้าระหว่างประเทศ แต่รัฐสภาก็กำหนดหลักการสำคัญว่า ในการเจรจาเพื่อทำสัญญาหรือข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ จักต้องคำนึงถึงแรงงานและสิ่งแวดล้อมเป็นเป้าหมายหลักในการเจรจา (Principal Negotiating Objectives) หากมีการทำข้อตกลงใดที่มีผลกระทบต่อการจ้างงานและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนการค้าแห่งสหรัฐอเมริกา จักต้องแจ้งให้รัฐสภาอเมริกันได้รับทราบล่วงหน้า

แม้รัฐสภาจะผ่าน Trade Promotion Authority Act of 2002 ด้วยคะแนนเฉียดฉิว แต่ต้องนับเป็นชัยชนะของประธานาธิบดีบุช ชัยชนะนี้ได้มาด้วยการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับสมาชิกรัฐสภา บุชกระโดดลงไปเจรจากับสมาชิกผู้แทนราษฎรด้วยตนเอง การซื้อเสียงด้วยงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาลส่วนกลาง เป็นเรื่องปกติของกระบวนการต่อรองดังกล่าวนี้ สมาชิกรัฐสภาจำนวน ไม่น้อยยกมือให้กฎหมายผ่าน มิใช่เพราะยึดกุมปรัชญาเสรีนิยมทางเศรษฐกิจในดวงจิต หากแต่เป็นเพราะประธานาธิบดีบุชสัญญาที่จะจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลกลาง และผันโครงการลงสู่มลรัฐที่ตนเป็นผู้แทน การตรา Farm Act และการเก็บอากรขาเข้าเพื่อป้องกันการทุ่มตลาด (Antidumping Duty) จากเหล็กกล้า ล้วนแล้วแต่เป็นนโยบายที่หวังจะ 'ซื้อ' เสียงจากรัฐสภาเพื่อให้อำนาจประธานาธิบดีในการเปิด 'ทางด่วน' ทั้งสิ้น

ภายใต้ Trade Promotion Authority Act of 2002 รัฐสภาตกลงที่จะจัดสรรงบประมาณ 12,000 ล้านดอลลาร์อเมริกันตลอดทศวรรษหน้า เพื่อช่วยเหลือบุคคลและวิสาหกิจที่ได้รับความเสียหายจากการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ผู้ใช้แรงงานที่ต้องว่างงาน หรือได้รับค่าจ้างในอัตราต่ำลง อันเป็นผลจากการเปิดเสรี จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลในรูปแบบต่างๆ เกษตรกรและผู้เลี้ยง สัตว์อยู่ในข่ายที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลด้วย

ประธานาธิบดีบุชกำหนดแผนการในการใช้อำนาจการเปิด 'ทางด่วน' เพื่อทำข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับประเทศต่างๆ หลายประเทศ ครอบคลุมทั้งสิงคโปร์ ออสเตรเลีย มอร็อกโค แอฟริกาใต้ ชิลี และอเมริกากลาง บุชจูเนียร์ต้อง การสานฝันของบุชซีเนียร์ ในการจัดตั้งเขตการค้า เสรีแห่งอเมริกา (Free Trade Area of the Americas) ครอบคลุมตั้งแต่จุดเหนือสุดของอเมริกาเหนือจนจรดจุดใต้สุดของอเมริกาใต้ แต่วิกฤติการณ์การเงินที่เกิดขึ้นในอาร์เจนตินา และ ที่กำลังเกิดขึ้นในบราซิลและอุรุกวัย อาจทำให้บุชจูเนียร์ต้องฝันค้างดุจเดียวกับบุชซีเนียร์

ท้ายที่สุด รัฐบาลบุชหวังที่จะใช้อำนาจในการเปิด 'ทางด่วน' ในการเป็นผู้นำการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ขององค์การการค้าโลก แต่ใครเล่าจะต้องมนตรา 'การค้าเสรี' ของบุช ในเมื่อนโยบายของบุชดำเนินในทิศทางตรง กันข้าม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us