|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"วิศวกรรมสถานฯ" ลงพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิดูรอยร้าวรันเวย์ เผยเป็นผลทางเทคนิคอยู่บนไหล่ทางรันเวย์ ไม่เกี่ยวข้องกับการ ขึ้น-ลงอากาศยาน ยันพื้นผิวแข็งแรงได้มาตรฐาน แต่ห่วงเรื่องทรุดตัวเพราะดินอ่อน เตรียมแจงข้อเท็จจริงในวันนี้ " ศรีสุข" ยันไม่มีเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ ติดต่อเข้ามาเพื่อขอตรวจสอบ
วานนี้ตัวแทนวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท.) ซึ่งเป็นอาจารย์จาก 12 สถาบันได้เข้ารับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการก่อสร้างรันเวย์ที่ 3 ของสนามบินสุวรรณภูมิ และเข้าดูพื้นที่เพื่อดูการก่อสร้างจริง โดย รศ.ดร.นพดล เทียนเวช ที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ ว.ส.ท. และประธานคณะอนุกรรมการวิศวกรรมปฐพี กล่าวว่า จากการรับฟัง ข้อมูลของวิศวกรผู้ควบคุมงานและดูพื้นที่ พบว่าไม่มีปัญหา รอยแยกที่เกิดขึ้นเป็นขั้นตอนการทำงาน และเป็นเทคนิคการก่อสร้างปกติตามหลักวิศวกรรม แต่สิ่งที่เป็นห่วงคือการทรุดตัวของรันเวย์ทั้งหมด เพราะพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวเป็นดินอ่อน ซึ่งจะนำข้อมูลเทคนิคการทรุดตัวของดินไปประชุมร่วมกัน
โดยวันนี้จะมีการแถลง นายต่อตระกูล ยมนาค นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย จะแถลงกรณีรันเวย์ของสนามบินสุวรรณภูมิ เวลา 15.00 น. ที่ชั้น 4 อาคาร ว.ส.ท. ถนนรามคำแหง โดยมีผู้ทรงวุฒิด้านปฐพีวิศวกรรม ที่เป็นตัวแทนของคณะอนุกรรมการวิชการวิชาการสาขาวิศวกรรมปฐพี ว.ส.ท. ซึ่งจะชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่า ในทางเทคนิครอยแยกดังกล่าวอยู่บนไหล่ทางรันเวย์ ไม่เกี่ยวข้องกับการขึ้น-ลงอากาศยานและพื้นผิวรันเวย์ ในส่วนอื่นที่จะมีการนำเครื่องบินขึ้น-ลงนั้นถือว่ามีความแข็งแรงได้มาตรฐาน ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด "ศรีสุข" ยันไม่มีผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐฯติดต่อมา
นายศรีสุข จันทรางศุ ประธานคณะกรรมการ ทอท. ชี้แจงกรณีที่มีข่าวว่ามีผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐฯเข้ามาตรวจและพบว่ารันเวย์ร้าวว่าไม่มีเจ้าหน้าที่ติดต่อเข้ามาแต่อย่างไร จึงไม่ทราบว่าข่าวดังกล่าวออกมาได้อย่างไร เพราะการเข้าพื้นที่ก่อสร้างจะต้องได้รับการอนุญาต
พล.อ.ชัยนันท์ เจริญศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยนายสมชัย สวัสดิผล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) ได้นำเอกสาร แผนการก่อสร้างจุดเชื่อมต่อรันเวย์ที่ 2 และ 3 ของสนามบินสุวรรณภูมิมาชี้แจงต่อสื่อมวลชนที่ทำเนียบรัฐบาล โดยยืนยันว่า รอยแยกดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นที่บริเวณจุดขึ้น-ลง ของเครื่องบินตามที่เป็นข่าว แต่เป็นรอยแยกที่เกิดจากการสร้างทางเชื่อมต่อระหว่างรันเวย์ที่ 2 และ 3 และเมื่อเปิดใช้บริการแล้วจะห้ามการก่อสร้างในสนามบิน ดังนั้น จะต้องเริ่มทำการก่อสร้างทางเชื่อมต่อดังกล่าว ขณะที่ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้กล่าวระหว่างการประชุมว่า ไม่มีการส่งทีมผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐฯเข้าไปตรวจสอบรันเวย์ตามที่เป็นข่าว "พงษ์ศักดิ์" ฉุนสื่อ
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกรณีที่มีผู้เชี่ยวชาญจาก สหรัฐฯเข้าตรวจสอบรอยร้าวโดยนายกรัฐมนตรีได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบรันเวย์ ซึ่งพบว่าจุดที่แตก ร้าวเป็นจุดที่เครื่องบินลงถึงพื้น โดยนายกรัฐมนตรียืนยันในที่ประชุม ครม.ว่า ไม่เคยมีผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบ ดังนั้น จึงเป็นการเสนอข่าวเท็จทั้งหมด ส่วนข่าวที่เป็นเท็จนี้จะแจ้งความดำเนินคดีอย่างเป็นทางการกับหนังสือพิมพ์เลย หรือไม่นั้น นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ไม่ทราบ เพราะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของตน แต่จะให้ บทม.เข้าไปตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง ผู้ควบคุมคุณภาพดินแจงเทคนิค นายเทียน โฮเซี้ย วิศวกรธรณีเทคนิค บริษัท เอ็ม เอเอ จีโอเทคนิค จำกัด ซึ่งเป็นผู้ออกแบบและควบคุมงานปรับปรุงคุณภาพดิน ทางขับเชื่อมของรันเวย์ที่ 3 ชี้แจงว่ารอยแยกดังกล่าวมีความยาว 90 เมตรเป็นจุดที่ถูกกำหนดขึ้นมา เพื่อเร่งการทรุดตัวของดินซึ่งเป็นจุดที่จะก่อสร้างเป็นทางเชื่อมของรันเวย์ที่ 3 และรันเวย์ตะวันตกโดยมีเป้าหมายที่จะให้ทรุดตัว 1.2 เมตร ซึ่งได้เริ่มการกดทับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2548 สิ้นสุดเดือนกันยายน 2548 ซึ่งเป็นเทคนิคการทำให้ทรุดตัวภายใน 6 เดือนจากวิธีทั่วๆ ไปต้องใช้เวลา 2 ปี ซึ่งต้องใช้ทรายในการกดทับเพื่อให้ดินทรุดตัวโดยให้มีน้ำหนักกดทับ 6 ตันต่อตารางเมตร ซึ่งประมาณกลางเดือนกันยายนการทรุดตัวจะอยู่ในระดับที่ต้องการและจะมีการรื้อบริเวณไหล่ทางของรันเวย์ฝั่งตะวันตกและต้องมีการ เทพื้นผิวใหม่ให้มีระดับเดียวกันกับรันเวย์ที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว เลขาธิการสภาวิศวกรยันไม่มีปัญหา
นายประสงค์ ธาราไชย เลขาธิการสภาวิศวกร ได้เดินทางตรวจเยี่ยมพื้นที่ก่อสร้างรันเวย์ฝั่งตะวันตกของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จากการตรวจสอบพื้นที่ที่เกิดรอยร้าว เห็นว่าการก่อสร้างเป็นไปตามหลักวิศวกรรมจากการขยายพื้นที่เพื่อก่อสร้างรันเวย์ที่ 3 และยังยืนยันด้วยว่าบริเวณที่เกิดรอยร้าวทางเทคนิคดังกล่าวอยู่บนไหล่ทางรันเวย์ ไม่เกี่ยวข้องกับการขึ้น-ลงอากาศยาน และพื้นผิวรันเวย์ในส่วนอื่นที่จะมีการนำเครื่องบินขึ้น-ลงนั้นถือว่ามีความแข็งแรงได้มาตรฐาน ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ทอท.ยันรอยร้าวจงใจเทคนิค
นายสมชัยกล่าวว่า บทม.อยากให้ความเข้าใจผิดที่เกี่ยวกับรอยร้าวดังกล่าวยุติลง เนื่องจากที่ผ่านมาทั้งวิศวกรที่ออกแบบและวิศวกรอิสระอื่นๆ ได้ยืนยันแล้วว่ารอยร้าวดังกล่าวเกิดขึ้นจากความจงใจทางด้านเทคนิคเพื่อขยายการก่อสร้างรันเวย์ที่ 3 ในอนาคต เพราะกระแสข่าวดังกล่าวได้ส่งผลเสียต่อ ความเชื่อมั่นต่อมาตรฐานการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเปรียบเสมือนสมบัติของคนไทยทั้งชาติ และเป็นหน้าเป็นตาของประเทศในอนาคต "คำรบลักขิ์" ออกโรงแจงค่าโง่
นายคำรบลักขิ์ สุรัสวดี ผู้อำนวยการสำนักงาน นโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ในส่วนของการยกเลิกการก่อสร้างโครงการแหลมผักเบี้ยนั้น เป็นนโยบายของรัฐบาล ซึ่งในส่วนของ สนข.เป็นเพียงหน่วยงานที่เป็นผู้เสนอขั้นตอนในการดำเนินการตั้งแต่การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ศึกษาในเรื่องเศรษฐกิจเป็นต้น ส่วนที่จะมีการก่อสร้างหรือไม่นั้น ต้องขึ้นกับทางรัฐบาล
"โครงการแหลมผักเบี้ยเป็นหนึ่งในโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่จะมีการเชื่อมโครงการ ข่ายทางหลวงทั่วประเทศระยะทางประมาณ 4,000 ก.ม. ซึ่ง สนข.มีหน้าที่ในการศึกษาแนวเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง โดยในเส้นทางที่จะเชื่อมไปทางภาคใต้นั้นมีข้อจำกัดมาก เพราะพื้นที่บริเวณช่วงประจวบฯไปชุมพรเป็นพื้นที่แคบอีกทั้งติดพื้นที่ภูเขาและชายแดนประเทศพม่า แต่หากมาก่อสร้างในทะเล ก็พบกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือต้นทุนในการก่อสร้าง ที่ขณะนี้ราคาน้ำมันได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ก็ส่งผลกระทบต่อต้นทุน ในการก่อสร้างด้วยเช่นกัน"
นายคำรบลักขิ์กล่าวถึงกรณีที่มีการกล่าวหาว่า ตนดำเนินการในโครงการดังกล่าวแบบลุกลี้ลุกลนและงบประมาณในการออกแบบ 300 ล้านจะเป็นค่าโง่ว่า งบประมาณในการจ้างสถาบันการศึกษามาศึกษา วงเงินประมาณ 47 ล้านบาทนั้น เป็นการดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการทั้งหมด ซึ่งจะได้นำ มาสู่ข้อมูลในการตัดสินใจของรัฐบาลจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ซึ่งได้มีการทำเอกสารประกอบการศึกษาออกมาอย่างชัดเจน และในส่วนของการออกแบบโครงการนั้น เป็นหน้าที่ของกรมทางหลวง ซึ่งก็ได้มีการออกแบบออกมา ซึ่งทุกอย่างเป็นการทำงานตามขั้นตอน ยืนยันว่าไม่ได้มีการข้ามขั้นตอนแต่อย่างใด
"โครงการนี้ ได้มีการดำเนินการทุกอย่างตามขั้นตอน ผมเป็นข้าราชการ การทำงานทุกอย่างก็มีขั้นมีตอน ไม่ใช่ว่าจะอนุมัติอะไรโดยพลการ ซึ่งงบประมาณที่ใช้ไปก็มีงานออกมา ไม่ใช่เอาเงินไปแล้วหาย อย่างที่มีการใช้เงินออกแบบ ก็มีแบบออกมา แต่เมื่อรัฐบาลสั่งให้ชะลอโครงการ สนข.ที่เป็นหน่วยปฏิบัติก็ต้องดำเนินการตาม"
|
|
|
|
|