Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2545
ทำตัวให้เป็นข่าว (ดี) ยุทธวิธีใช้สื่อเชิงกลยุทธ์ของ Sony Ericsson             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

โซนี่อีริคสัน "เราไม่ได้เป็นแค่โทรศัพท์มือถือ"
มณฑล จำนงค์ จากอีริคสันสู่โซนี่อีริคสัน
โลโกใหม่ Sony Ericsson
ระเบียบการใช้โลโก




"10 บรรทัดในบทบรรณาธิการได้ผลดีกว่าลงโฆษณา 10 หน้าเต็ม" Nina Eldh หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กร (head of corporate communications) ของ Sony Ericcsson กล่าว ดังนั้น Eldh จึงขอให้พนักงานบางกลุ่มที่โดยหน้าที่แล้วต้องเผชิญหน้าและมี ปฏิสัมพันธ์กับสื่อ เข้ารับการฝึกอบรมเรื่องการจัดการสื่อ เพื่อที่พวกเขาจะได้สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่สื่อ ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง

ในโลกที่สื่อกลายเป็นแหล่งข้อมูล ที่สำคัญในลำดับต้นๆ ในสายตาของสาธารณชน การสามารถทำตัวให้เป็นข่าวในทางบวก ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่บริษัทต้องทำให้ได้ หากต้องการที่จะรักษาที่ยืนอยู่แถวหน้า เพราะทุกวันนี้ แค่การลงโฆษณาในสื่อนั้น ไม่เพียงพอเสียแล้ว

"คนไม่ได้ซื้อหนังสือพิมพ์เพราะ ต้องการจะอ่านโฆษณา แต่ซื้อเพราะต้อง การจะอ่านบทความ แต่เราซื้อเนื้อที่บทความไม่ได้ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่เรา มีโอกาสพบสื่อเราจะต้องฉวยโอกาสนี้สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัท" Eldh กล่าว เธอรับหน้าที่เป็นผู้ฝึกอบรมคนหนึ่งในคอร์สการจัดการสื่อที่สร้าง สรรค์ขึ้นมา เพื่อพนักงาน Sony Ericsson โดยเฉพาะ ผู้จัดการระดับสูง เลขานุการของพวกเขา และพนักงาน ที่ประจำบูธของบริษัทในงานแสดงสินค้าต่างๆ ที่บริษัทไปร่วมออกบูธ คือพนักงานเป้าหมายในการฝึกอบรม นี้ เพราะโดยหน้าที่ พวกเขาจะต้องพบปะสื่อมวลชน ดังนั้น พวกเขาจะต้องรู้ว่าจะมีวิธีจัดการสื่ออย่างไร

"สิ่งที่คนชอบทำผิดมากที่สุดเมื่อต้องข้องเกี่ยวกับสื่อคือให้สัมภาษณ์ โดยมีทัศนคติที่ผิดๆ อยู่ในใจ กล่าวคือ คิดว่าสื่อคอยจ้องจับผิด และจะต้องให้สัมภาษณ์อย่างระมัดระวังและปกป้องตัวเอง แทนที่จะคิดว่านี่คือโอกาสอันงามที่จะได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมแก่สื่อ"

Philip Vanhoutte หัวหน้าฝ่ายการตลาดทั่วโลก (head of global marketing) ของ Sony Ericsson เป็นหนึ่งใน "นักเรียน" รุ่นบุกเบิกจำนวน 8 คนของคอร์สดังกล่าวที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปลายปีก่อน เพียงก้าวแรกที่ก้าวเข้าห้องฝึก อบรมในวันแรก Vanhoutte ก็ต้องเจอแบบฝึกหัดสุดหิน เขาและเพื่อนร่วมชะตากรรมคนอื่นๆ ถูกยิงคำถาม สัมภาษณ์เข้าใส่อย่างไม่ยั้งต่อหน้ากล้องและสปอตไลต์ จนตั้งตัวไม่ติดและสูญเสียความมั่นใจไปเล็กน้อย แต่ ในที่สุด Vanhoutte ก็ค้นพบว่า การ สร้างสถานการณ์จำลองที่เหมือนจริง มากแบบนี้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

"ตอนแรกๆ ทุกคนรู้สึกแย่เอา มากๆ แต่พอเราเอาเทปที่บันทึกภาพ สถานการณ์จำลองมาเปิดดูหลายๆ ครั้ง เราก็เริ่มเห็นอย่างชัดเจนว่า ยิ่งเรารู้ในเรื่องที่เราให้สัมภาษณ์มากเท่าไร เราก็จะยิ่งมีความมั่นใจในการ ให้สัมภาษณ์สื่อมากเท่านั้น แบบฝึกหัดนี้ยังทำให้เราได้รู้ว่ามีอะไรที่เรายังไม่รู้ อีกบ้าง และควรจะต้องรีบขวนขวายหา ความรู้ในเรื่องนั้นๆ ให้พร้อมไว้ นอกจากนี้ ยังทำให้เรารู้ว่า เมื่อไรที่เราควรจะปิดปาก และบอกให้สื่อไปถามคนที่รู้ดีกว่าเรา"

Eldh ชี้ว่า การใช้สื่อในเชิงกลยุทธ์นี้เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่จะสนับสนุนให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมาย เพราะการได้ปรากฏเป็นข่าวเชิงบวกในสื่อสามารถสร้าง ความน่าเชื่อถือให้แก่บริษัทอย่างได้ผลมากกว่า

กุญแจสำคัญที่จะทำให้สามารถให้สัมภาษณ์สื่อได้ดีคือ เข้าใจตรรกะของสื่อ กล่าวคือรู้ว่านักข่าวที่มาสัมภาษณ์นั้นเขาต้องการอะไรจากเรา นี่คือสาเหตุที่ทำให้คอร์สฝึกอบรมนี้ต้องเชิญวิทยากรที่เป็นสื่อมวลชนตัวจริงมาเป็นผู้ฝึกอบรมด้วย และเป็นสิ่งที่ทำให้ Vanhoutte พอใจมาก

"เป็นการดีมากที่เรามีโอกาสทำความรู้จักกับสื่อมวลชนที่มีประสบ การณ์และยังคงทำงานอยู่ในฟิลด์จริงๆ และได้รู้ว่า อะไรคือสิ่งที่พวกเขาแสวงหาจากเรา ซึ่งในที่สุด เราก็เข้าใจว่าแท้จริงแล้ว สิ่งที่นักข่าวทำก็เป็นแค่ความพยายามที่จะทำหน้าที่ ของเขาให้ดีที่สุดเท่านั้นเอง และเมื่อเรารู้จุดประสงค์ของพวกเขาแล้ว ทั้งเราและนักข่าวต่างก็จะสามารถทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดได้"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us