Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2545
โลโกใหม่ Sony Ericsson             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

โซนี่อีริคสัน "เราไม่ได้เป็นแค่โทรศัพท์มือถือ"
มณฑล จำนงค์ จากอีริคสันสู่โซนี่อีริคสัน
ทำตัวให้เป็นข่าว (ดี) ยุทธวิธีใช้สื่อเชิงกลยุทธ์ของ Sony Ericsson
ระเบียบการใช้โลโก




Takuya Kawagoi ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกเริ่มแล้วว่า ในการออกแบบโลโกใหม่ ของ Sony Ericsson นั้น เขาจะนำตัว E จาก Ericsson กับตัว S จาก Sony มารวมกัน ในลักษณะที่กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกันให้มากที่สุดจนแยกไม่ออก แต่จะทำอย่างที่คิดได้ยังไง Kawagoi ลองนำตัวอักษรทั้งสองมาร่างเป็นโลโกรูปแล้วรูปเล่า ระหว่างที่แต่งโน่นนิดเติมนี่หน่อยอยู่นั้นเอง จู่ๆ เขาก็เกิดปิ๊งขึ้นมาได้ว่า โลโกใหม่ควรจะมีลักษณะเคลื่อนไหวกลิ้งกลอกไปมาได้เหมือนหยดน้ำและโค้งมนยืดหยุ่น อันจะทำให้สัญลักษณ์ใหม่ของ Sony Ericsson โดดเด่นและแปลกแตกต่างไปจาก การออกแบบโลโกทั่วๆ ไปที่มักจะมีลักษณะเป็นเส้นแข็งๆ

ตลอดเวลาที่ทำงานกับ Sony ในตำแหน่ง graphic designer ตั้งแต่จบจากมหาวิทยาลัยมาหมาดๆ Kawagoi รู้สึกเสมอถึงความรู้สึกอบอุ่นมั่นคงเหมือน ได้รับการปกป้องคุ้มครอง จากเส้นสายลายเส้นอันแข็งตรงของโลโกเดิมของ Sony ทว่า ในขณะเดียวกัน เขาก็รู้สึกได้ถึงความถูกจำกัดอิสระด้วย

ความรู้สึกดังกล่าวนี้เอง เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ Kawagoi มุ่งมาดปรารถนา ที่จะออกแบบโลโกใหม่ให้แตกต่างไปจากโลโกที่ Sony ใช้อยู่เดิม นอกจากนี้ยังเป็นเพราะการที่ Sony Ericsson (SEMC) มีฐานะเป็นบริษัทใหม่ เขาจึงตั้งใจที่จะออกแบบสัญลักษณ์ใหม่ของบริษัทที่ให้ความรู้สึกของความมีชีวิตชีวา และไม่ถูกจำกัดหรือควบคุมด้วยกฎเกณฑ์ใดๆ กล่าวโดยสรุปแล้ว แนวคิดในการออกแบบโลโกใหม่ของ Kawagoi ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการคือ ลักษณะ ของโลโกที่เคลื่อนไหวได้เหมือนน้ำ และ "อีกส่วนหนึ่งของตัวเรา"

โลโกที่เคลื่อนไหวได้เหมือนน้ำ

แนวโน้มของการออกแบบโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันคือ การออกแบบให้หน้าจอซึ่งเป็นผลึกเหลว (LCD) มีขนาดใหญ่ขึ้น ในขณะที่ตัวเครื่องยังนิยมออกแบบให้คงความเล็กกะทัดรัดไว้เหมือนเดิม ผลก็คือ พื้นผิวที่ว่างบนตัวเครื่องสำหรับที่จะบรรจุโลโกมีพื้นที่ลดลงไปโดยปริยาย

เพราะตระหนักในความจริงข้อนี้ Kawagoi จึงตัดสินใจที่จะใส่โลโกไว้ในหน้าจอแทนที่จะไว้บนตัวเครื่องอย่างที่นิยม ทำกันมา แต่จะทำอย่างไรให้โลโกใหม่มีลักษณะเหมาะสม ที่จะปรากฏบนหน้าจอที่เป็นผลึกเหลวของโทรศัพท์มือถือ บทสรุปความคิดของ Kawagoi ก็คือ โลโกใหม่ต้อง มีลักษณะเคลื่อนไหวกลิ้งกลอกไปมาได้เหมือนกับหยดน้ำนั่นเอง

อีกส่วนหนึ่งของตัวเรา

"เพราะโทรศัพท์มือถือเดี๋ยวนี้นับวันจะฉลาดขึ้นทุกวัน และสามารถทำงานต่างๆ ให้เราได้มากขึ้นทุกที ผมจึงเชื่อเหลือ เกินว่ามันกำลังจะกลายเป็น 'อีกส่วนหนึ่งของตัวเรา' ไปแล้ว" Kawagoi กล่าว "มัน เหมือนเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอิสระในตัวของมันเอง" ถ้าพิจารณาจากการที่โทรศัพท์มือถือยังคงจะมีวิวัฒนาการต่อไปได้อีกอย่างไม่รู้จบ และด้วยความคิดเช่นนี้เอง Kawagoi จึงต้องการโลโกที่สามารถก้าวทันอนาคตของโทรศัพท์มือถือและเติบโตไปพร้อมๆ กับ Sony Ericsson ได้

ขณะนี้ Kawagoi เตรียมจะทำงาน ร่วมกับผองเพื่อนจากส่วนต่างๆ ของ SEMC เพื่อทำให้ SEMC และผลิตภัณฑ์ของบริษัท มีความโดดเด่นเหนือใคร "ทุกคนรู้ว่า brand เป็นสิ่งสำคัญ แต่อาจไม่รู้ว่า ทำไมมันจึงสำคัญ อาจเป็นเพราะ brand เป็นรูปธรรม ของความคาดหวังของลูกค้าที่มีต่อบริษัท อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่แน่นอนก็คือ brand จะไร้ความหมายโดยสิ้นเชิงหากปราศจากผลิตภัณฑ์, บริการและ brand จะเติบโตไปพร้อมๆ กับบริษัท และผลิตภัณฑ์ของบริษัท" Kawagoi สรุปอย่างน่าคิด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us