Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2545
เมื่อค่าเงินบาทแข็งตัวสูงสุดในรอบ 3 ปี             
 





การแข็งตัวขึ้นอย่างผิดปกติของค่าเงินบาท ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเดือนที่ครบรอบ 5 ปีเต็มของวิกฤติการเงินในประเทศไทย เป็นสิ่งที่สร้างความตระหนกตกใจให้กับคนหลายส่วนของประเทศ

ค่าเงินบาทในเดือนนี้แข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 41 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เปรียบเทียบกับในเดือนก่อนหน้า ที่เคลื่อน ไหวอยู่ในระดับ 43-44 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ และถือเป็นอัตราที่ค่าเงินบาทแข็งตัวที่สุดในรอบเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา

ผู้ส่งออกสินค้า เริ่มกดดันรัฐบาลให้เข้ามาจัดการกับการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อยอดการส่งออกที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

หากวิเคราะห์การแข็งตัวของค่าเงินบาทในครั้งนี้ นับว่าเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ซึ่งมีทั้งจากปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยทาง จิตวิทยา

ทางด้านปัจจัยพื้นฐาน เหตุผลสำคัญเกิดขึ้นจากการอ่อนตัวลงของค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งมีที่มาจากหลายสาเหตุเช่นกัน

ในเดือนกรกฎาคม ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจสำคัญๆ ล้วนบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา กำลังประสบกับภาวะถดถอย ลงมาอีกครั้ง หลังจากมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในช่วงต้นปี ประกอบกับปัญหาความโปร่งใสในการดำเนินงานกับบริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่มีผลทำให้เกิดการเทขายหุ้นขนานใหญ่ ตลอดจนวิกฤติเศรษฐกิจ ที่ยังคงความรุนแรงอยู่ในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา

การอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์ ส่งผลให้เงินสกุลในย่านเอเชียแข็งค่าขึ้นรวมทั้งค่าเงินบาท

ผนวกกับปัจจัยทางจิตวิทยา จากคำพูดที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่กล่าวในการประชุมพรรคไทยรักไทยช่วงต้นเดือนว่า ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นมาอยู่ในระดับ 30 บาท ได้ก่อให้เกิดแรงเก็งกำไรเงินบาท จนทำให้มีค่าแข็งขึ้นอย่างผิดปกติ

รวมถึงปัจจัยทางเทคนิคที่เกิดขึ้นในช่วงวันหยุดเทศกาลเข้าพรรษา ซึ่งแบงก์ชาติปิดทำการ ทำให้ไม่สามารถเข้าไปแทรก แซงความผันผวนของค่าเงินบาทได้ มีผลให้ความเคลื่อนไหวของ ค่าเงินบาทในวันที่ 25 กรกฎาคม แกว่งตัวในช่วงกว้างถึง 80 สตางค์ ต่อ 1 ดอลลาร์ และเป็นที่มาให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องเอ่ยปากตำหนิการดำเนินงานของแบงก์ชาติอย่างเป็นทางการผ่านทางสื่อมวลชน

อย่างไรก็ตาม แม้ปรากฏการณ์ผันผวนของค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นในเดือนนี้ จะไม่ยืดเยื้อ และค่าเงินเริ่มกลับมาเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นคงอีกครั้งในเดือนสิงหาคม

แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็ได้ช่วยจุดประกายความตื่นตัวของนักธุรกิจไทย ให้เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการทำธุรกรรม ที่ต้องอิงกับความเคลื่อนไหวของค่าเงินมากขึ้น

เพราะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกขณะนี้ ทำให้ทุกคนไม่สามารถวางใจได้ว่า ค่าเงินที่นิ่งอยู่มาเป็นเวลาปีกว่า จะเริ่ม กลับมาผันผวนได้อีกเมื่อไร

กระแสเงินที่ไหลเข้าออกในแต่ละวัน มันไวเสียจนต้อง เตรียมตัวตั้งรับให้ทัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us