Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 สิงหาคม 2548
สพท.ดันไทยศูนย์กลางถ่ายหนังครบวงจร เผย7เดือนแรกปีนี้กองทัพอินเตอร์ขนเงินเข้าไทย730ล.             
 


   
search resources

Tourism
Films




สพท.คุย อานิสงส์ร่วมงาน AFCI Locations Trade Show 2005 ส่งตัวเลขรายได้ถ่ายทำภาพยนตร์ 7 เดือนปีนี้พุ่ง 730 ล้านบาท โตกว่าปีก่อน 30% สิ้นปีมั่นใจรายได้อยู่ที่ 1,500 ล้านบาท ทะลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ขณะที่รอง ผอ.สพท. เผยเร่งหารือเอกชนเตรียมโปรโมตความพร้อมบริการด้านพรีโปรดักชันและโพสต์โปรดักชัน หวังเป็นอีกหนึ่งธุรกิจสร้างรายได้เข้าประเทศ เชื่อปรับโครงสร้างกระทรวงครั้งใหม่ สพท.ใหญ่กว่าเดิม

นางธนิฏฐา มณีโชติ รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ค.48) ประเทศไทยมีรายได้จากการ ถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศประมาณ 730 ล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ 30% โดยในที่นี้แบ่งเป็นรายได้ที่มาจากการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องยาวจำนวน 15 เรื่อง คิดเป็นเม็ดเงินมากกว่า 440 ล้านบาท ส่วนรายได้อีกกว่า 260 ล้านบาท มาจากการถ่ายทำหนังโฆษณา ละครมินิซีรีส์ และสารคดี โดยเฉพาะหนังโฆษณา และสารคดีมีการเติบโตที่สูงมาก โดยกลุ่มนี้จะ มีวันพักที่ประมาณ 1 สัปดาห์ มีค่าใช้จ่ายรวม 4-5 ล้านบาท

ทั้งนี้ สาเหตุที่ครึ่งปีแรกธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์เติบโตสูง ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากผลของการเข้าร่วมงาน AFCI Locations Trade Show 2005 ที่เมือง Santamonica มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยประเทศไทยได้เป็นสมาชิกอยู่ใน AFCI (Association off Film Commissioners International) ด้วย ดังนั้นจึงได้ขอร้องสมาชิกในที่ประชุม ซึ่งมาจากกว่า 200 เมืองทั่วโลกว่า ต้องการให้เขาเลือกใช้สถานที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะชายหาดทะเลฝั่งอันดามันในการถ่ายทำหนังโฆษณา เป็นการช่วยให้ชาวบ้านในแถบนี้ได้มีรายได้ เนื่องจากหลังเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยว ทำให้ชาวบ้านเหล่านี้ต้องขาดรายได้และตกงาน ซึ่งสมาชิกก็ยินดีช่วยเหลือ ประกอบกับทะเลอันดามันมีความสวยงามมากขึ้นจึงเป็นโลเกชันที่ดี จะเห็นได้ว่าในหนังโฆษณาที่มายื่นขออนุญาต ใน 10 เรื่องจะมี 4-5 เรื่องที่ระบุเลือกโลเกชันที่ กระบี่ พังงา และภูเก็ต

"ช่วง 2 เดือนแรก หลังเกิดสึนามิ ตัวเลขการขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ลดลงมาก โดยในเดือนกุมภาพันธ์ ติดลบจากปีก่อนประมาณ 11% แต่เมื่อได้เข้าประชุมกับสมาชิก AFCI เมื่อเดือนเมษายนก็พบว่าเขาช่วยเหลือดี ส่งผลให้การถ่ายทำภาพยนตร์ต่างชาติ มีการเติบโตขึ้น"

ทั้งนี้ ได้ประมาณการเติบโตของรายได้ที่ได้จากการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างชาติ ในปีนี้ไว้ที่ 20% จากปีก่อนที่ประเทศไทยมีรายได้จากส่วนนี้ประมาณ 1,128 ล้านบาท แต่เมื่อครึ่งปีแรกเติบโตได้ถึง 30% เชื่อว่าถึงสิ้นปีจะมีรายได้ไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านบาท และมีการเติบโตมากกว่าที่ประมาณการไว้แน่นอน โดยตัวเลขรายได้จริง ที่จะมาจากการจับจ่ายและการใช้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกช่วงเวลาที่อยู่ในประเทศไทยน่าจะมากถึง 3,000 ล้านบาท

นางธนิฏฐากล่าวว่า มีแนวคิดที่จะหารือกับ ภาคเอกชนในเรื่องของความพร้อมการให้บริการพรีโปรดักชัน หรือบริการก่อนถ่ายทำภาพยนตร์ เช่น การเตรียมสถานที่ การเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ถ่ายทำ เป็นต้น และระบบโพสต์โปรดักชัน หรือการให้บริการภายหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ ได้แก่ การใส่ซาวนด์ การตัดต่อ เป็นต้น เพราะหากประเทศไทยมีเทคโนโลยีที่ดี มีความพร้อมและศักยภาพสูง ทำให้บริษัทผู้ถ่ายทำภาพยนตร์เลือกเข้ามาใช้บริการจะเป็นตัวดึงเม็ดเงินเข้าประเทศได้อีกจำนวนมาก โดยปี 2547 เฉพาะธุรกิจพรีโปรดักต์สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 400 ล้านบาท ส่วนธุรกิจโพสต์โปรดักชันสร้างรายได้เข้าประเทศได้กว่า 4,000 ล้านบาท "

โพสต์โปรดักชันไม่จำเป็นเฉพาะจะรับงานจากกองถ่ายที่เข้ามาถ่ายทำหนังในบ้านเราเท่านั้น ถ้าเรามีระบบที่ดี มีบริการที่ดี และรัฐบาลเอื้อประโยชน์ในหลายๆ ด้าน จะทำให้ผู้ทำหนังต่างชาติเข้ามาใช้บริการเหล่านี้ของเรามากขึ้น"

โดยนางธนิฏฐากล่าวว่า เมื่อรัฐบาลมีการปรับโครงสร้างกระทรวงใหม่ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับธุรกิจท่องเที่ยว และถ่ายทำภาพยนตร์เพื่อเป็นองค์กรชักนำรายได้เข้าประเทศ เชื่อว่า ในบทบาทความรับผิดชอบของกระทรวงการท่องเที่ยวฯ สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว (สพท.) และกลุ่มประสานกิจการภาพยนตร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดของ สพท. จะเติบโตขึ้น ซึ่งตรงนี้จะช่วยรองรับที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการธุรกิจบริการด้านนี้ได้รับความสะดวก พร้อมกับช่วยแก้ไขปัญหาติดขัดที่ผู้ประกอบการต้องการ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us