การขยายตัวอย่างรวดเร็วของธุรกิจดำน้ำในภูเก็ต ระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ขณะที่การท่องเที่ยวบนบก
เริ่มมีข้อจำกัดหลายๆ ด้าน สะท้อนว่าการท่องเที่ยวของภูเก็ต หรือเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ
ของไทยมาถึงจุดเปลี่ยน ที่สำคัญแล้ว
ชายฝั่งทะเล หาดทรายละเอียดสีขาว น้ำทะเลสีคราม พร้อมเกาะแก่งบริวารจำนวนมาก
เป็นจุดขายของภูเก็ต ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ใช้ประกาศเชิญชวนนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก
มาเป็นเวลา 20 กว่าปี
การใช้จุดขายดังกล่าวอาจจะถือวาประสบความสำเร็จ เมื่อสามารถเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจากไม่กี่หมื่นคน
ในปี 2520 ให้เป็น 2.66 ล้านคน ในปี 2542 ที่ผ่านมา
แต่มองอีกด้านหนึ่ง ภูเก็ตเริ่มมาถึงขีดจำกัด เสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงภาพลบของภูเก็ตดังขึ้นเรื่อยๆ
การเติบ โตของเมือง ที่ขาดการวางแผน ป่าคอนกรีตผุดระเกะระกะตามริมหาดแทนทิวสนดงมะพร้าว
ถนนคับแคบ น้ำเสียขยะมูลฝอยถูกทิ้งตามชายหาด
ขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นในตัวเองของผู้ประกอบการโรงแรมในภูเก็ต ที่ปรับราคาหองพักสูงขึ้นทุกปี
นับจากการหลั่งไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวยุโรป ช่วงหลังค่าเงินบาทลอยตัวเมื่อกลางปี
2540 กำลังจะมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของภูเก็ต เพราะเมื่อเทียบกับเมืองท่องเที่ยวคู่แข่ง
ได้แก่ เกาะบาหลีของอินโดนีเซีย และเกาะลังกาวีของมาเลเซีย ค่าใช้จ่ายในการมาท่องเที่ยว
ที่ภูเก็ตจะสูงกว่าประมาณ 20-30%
วินัย เรืองจารุวัฒนา กรรมการผู้จัดการบริษัทซันไชน์ทัวร์ จำกัด เคยกล่าวอย่างน่าสนใจว่า
การท่องเที่ยวของภูเก็ต ที่ยังคึกคักอยู่เป็นจากผลของการดำเนินกิจกรรมในปีอะเมซิ่งไทยแลนด์
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทของไทย ที่อ่อนลงถึงระดับต่ำสุด
55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หลังจากปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว เมื่อปี 2540 รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวคู่แข่ง
คือ หมู่เกาะบาหลีของอินโดนีเซีย ได้รับผลกระทบจากความวุ่นวายทางการเมือง
การท่องเที่ยวของภูเก็ตจึงบูมมาจนถึงขณะนี้
แต่สถานการณ์ขณะนี้เปลี่ยนแปลงไป ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้น ปัญหาการเมืองบนเกาะบาหลีคลี่คลายลง
หลังจากปี 2000 การท่องเที่ยวของภูเก็ต อาจมีปัญหาแม้ว่าหลายคนจะยืนยันถึงเรื่องศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยวของภูเก็ตดีกว่าบาหลี
แต่วินัยกล่าวว่า เป็นเรื่อง ที่คิดกันเอาเอง เพราะจริงๆ แล้ว บาหลีมีชายหาด
เกาะแก่ง เหมือนภูเก็ต และมีบางอย่างที่ภูเก็ตไม่มี เช่น วัฒนธรรมเก่าแก่
การแกะสลักหิน การแกะสลักไม้ เป็นต้น
สิ่งแวดล้อม ที่เริ่มเสียหายพร้อมกับแหล่งท่องเที่ยวคู่แข่งเริ่มฟื้นตัว
เป็นลางบอกเหตุว่า การประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวมาชมความงามของเกาะภูเก็ตเฉพาะเปลือกนอกนั้น
จะใช้ได้ต่อไปอีกไม่นานนัก หากไม่สรรหาสิ่งใหม่ ที่มีความลึกซึ้งยิ่งขึ้นมาเป็นจุดขาย
กิจกรรมดำน้ำเป็นการท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่ง ที่จะทำให้นักท่องเที่ยวได้อะไรมากไปกว่ามาดูหาดทราย
สายลม และแสงแดด การท่องเที่ยวรูปแบบดำน้ำจึงเริ่มเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว
ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้นำเอากิจกรรมดำน้ำมาเป็นจุดขายใหม่ของภูเก็ตด้วย
อานุภาพ ธีรรัฐ ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. ภาคใต้เขต 4 (ภูเก็ต กระบี่ พังงา)
บอกว่า ธุรกิจดำน้ำในภูเก็ต เริ่มมาตั้งแต่ 10 กว่าปีแล้ว จากนักท่องเที่ยวฝรั่งกลุ่มหนึ่ง
ที่เดินทางมาภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียงหลายรอบ จนพบว่าท้องทะเลในภูเก็ต
และทะเลอันดามัน มีสิ่งที่น ่าดึงดูดใจพอ ที่จะประกอบธุรกิจดำน้ำ เพื่อชมธรรมชาติใต้ท่องทะเลได้
ในช่วงแรก กิจกรรมดำน้ำยังเป็นที่นิยมอยู่เฉพาะในกลุ่มของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรป เยอรมัน และแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย อาทิ สวีเดน นอร์เวย์
เดนมาร์ก ซึ่งมีชายฝั่งติดเขตทะเลเหนือ และนิยมกิจกรรม ดำน้ำในประเทศของตนมานาน
ความนิยมกิจกรรมดำน้ำเริ่มเผย แพร่เข้ามาในกลุ่มนักท่องเที่ยวไทยในช่วง
3 ปีที่ผ่านมานี้ ส่วนหนึ่งมาจากกระแสการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และ ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งมาตามแฟชั่นเพราะมีดาราหันมาสนใจดำน้ำกันมากขึ้น
กระนั้น ก็ตาม กิจกรรมดำน้ำทำให้รูปแบบการมาเที่ยวภูเก็ตต้องเปลี่ยนไปจากเดิม
การเดินทางมาภูเก็ตไม่เพียงแต่เตรียมกระเป๋า ชุดเดินชายหาด แว่น กันแดด แต
่ใครจะมาดำน้ำ จะต้องทำอะไรมากขึ้น หากไม่เคยดำน้ำมาก่อน ต้องผ่านการฝึกหัด
อย่างน้อยต้องได้ความรู้พื้นฐานการดำน้ำ พอดำน้ำระดับตื้นๆ ได้
หรือจะเอาบัตรว่ายน้ำของสมาคมดำน้ำสากล จะต้องเรียน "คอร์ส เปิดน้ำ"
(Open Water Diver) 3 วัน ซึ่งจะมีทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติจนสามารถใช้อุปกรณ์เป็น
เคลื่อนไหวทรงตัวในน้ำได้เอง และช่วยเหลือ เพื่อนดำน้ำได้หรือหากต้องการเรียนการดำน้ำลึก
ก็สามารถ ที่จะเรียนเพิ่มเติมใน "คอร์สดำน้ำลึก" (Advanced Open
Water) เพิ่มอีก 2 วัน สามารถดำน้ำลึกในเวลากลางคืน หรือดำสำรวจซากใต ้ทะเลได้
ผู้จะลงดำน้ำต้องมีความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับสัตว์น้ำประเภทต่างๆ ซึ่งบริษัท
ที่ให้บริการจะให้ข้อมูลก่อนลงดำน้ำ รวมทั้งบอกกฎกติกา ให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์
เพื่อไม่ให้การดำน้ำส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมดำน้ำทำให้เกาะแก่ง ต่างๆ เปลี่ยนหน้าที่จาก ที่เคยเป็นจุดเดินชายหาด
ชมวิว ถ่ายรูป กลายเป็นจุดดำน้ำ ที่สำคัญ อาทิ หมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน
เกาะพีพี และเกาะราชา เป็นต้น
สิ่งมีชีวิตใต้น้ำ ที่เคยอยู่กันตามธรรมชาติ กลายเป็นเป้าหมาย ที่นักท่องเที่ยวจะเข้าไปสัมผัส
อาทิ ปะการัง ฝูงปลาสวยงาม
ทรัพยากรใต้น้ำตามเกาะต่างๆ เป็นจุดหมายปลายทาง ที่นักท่องเที่ยวจะดำดิ่งลงไปศึกษา
จุดสำคัญๆ มีอาทิ บริเวณอ่าวป่าตอง (West Coast) มีปะการังดอกไม้ สาหร่ายทะเล
บริเวณเกาะราชาใหญ่ และเกาะราชาน้อย มีปะการังเขากวาง และปะการังสกุลแข็งชนิดต่างๆ
ปลาไหลทะเล ปลากระเบน ปลาปักเป้า ปลา หมึกยักษ์
บริเวณรอบเกาะพีพี มีปะการังแข็ง บริเวณอ่าวต้นไทรฝั่งตะวันตก ปะการังอ่อนสีสันหลากหลาย
ที่อ่าวบิดะ อ่าวนุ้ย และหินหมูสัง มีฝูงปลาโนรี ปลาในตระกูลผีเสื้อ และปลาสินสมุทร
ปลาฉลามกบ (Leopard Shark) "ม้าน้ำ" (Sea horse) ปลาจิ้มฟันจระเข้
ปีศาจ (Harliquin ghost pipefish) ปลาไหลทะเล ปลาหมึกกระดอง ปลาดาวขนนก ปะการังอ่อนสีม่วง
สีแดง สีเหลือง
รวมทั้งเรือคิงส์ ครุยเซอร์ (King Cruiser) ที่จมใกล้เกาะดอกไม้ เมื่อวันที่
4 พ.ค.2540 กลายเป็นทรัพยากร ท่องเที่ยวใต้ทะเลอีกจุดหนึ่ง
บริเวณหมู่เกาะสิมิลัน ทั้ง 9 เกาะ มีปะการังแข็งชนิดต่างๆ ปะปน อยู่กับปะการังอ่อน
และกัลปังหารูปพัด และมีฝูงปลาเล็กอาศัยหลบอยู่ เต่าทะเล ปลาหมึกยักษ์ ปลาหูช้าง
ปลาไหล รอบบิ้น กุ้งตัวตลก ปลาไหลจุด ปลากบ ปลากระเบนยักษ์ กุ้งมังกร กั้งตั๊กแตน
ปลาทูน่าฟันหมา ปลากระมงพร้าว ปลาโรนิน ที่เคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากน่านน้ำไทย
หมู่เกาะสุรินทร์ บริเวณเกาะเต่า มีปะการัง หอยมือเสือ ปลาสวยงามหลากชนิด
เต่ากระ และสัตว์น้ำขนาดใหญ่ เช่น ปลากระเบนราหู
สัตว์น้ำเหล่านี้ ก่อนลงดำน้ำ นักท่องเที่ยวต้องมีพื้นฐานอย่างน้อยต้องรู้
สัตว์ตัวไหนมีพิษ ตัวไหนไม่มีพิษ พร้อมมีกฎกติกาห้ามแตะต้องสัตวน้ำเหล่านี้
เพื่อเน้นย้ำถึงการอนุรักษ์ ซึ่งต้องมีมากเป็นพิเศษ เพราะทรัพยากรใต้น้ำมีความเปราะบางต
่อการถูกทำลายได้ง่ายกว่าบนบก
ต่างชาติคุมดำน้ำภูเก็ต
จากจำนวนผู้ประกอบการดำน้ำทั้งหมดปัจจุบันประมาณ 80 บริษัท ข้อเท็จจริง
ที่น ่าสนใจประการหนึ่ง คือ ประมาณ 95% ของจำนวนดังกล่าวเป็น บริษัท ที่ชาวต่างชาติถือหุ้น
ส่วนใหญ่มาจากยุโรป เช่น เยอรมนี สวีเดน แถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งเป็นประเทศต้นทางของกลุ่มนักท่องเที่ยว
ที่นิยมดำน้ำ
แม ้ว ่าตามกฎหมายจะกำหนดให้ต่างชาติถือหุ้นได้เพียง 49% แต่ชาวต่างชาติก็ใช
้วิธีแต ่งงานจดทะเบียนสมรส กับหญิงไทย แล้วใช้หญิงไทยเป็นคนดำเนินการเรื่องการขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
รวมทั้งการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว จากสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยว
และมัคคุเทศก์ กิจการที่เกี่ยวข ้องกับการดำน้ำจึงตกอยู่ภายใต้การครอบครองของคนต่างชาติเกือบทั้งหมด
ธุรกิจดำน้ำ ที่มาจากการริเริ่มของชาวต่างชาติ อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้กิจการดำน้ำในภูเก็ตขณะนี้
ตกเป็นของชาวต่างชาติเรื่อยมา อย่างไรก็ตามเมื่อมองในประเด็นว่าธุรกิจนี้เริ่มมีมาเป็น
10 ปี จนปัจจุบันก็ยังเป็นของต่างชาติอยู่เช่นเดิม ทั้ง ที่การประกอบกิจการของต่างชาติมีข้อจำกัดเรื่องกฎหมายควบคุมอยู่
จึงมีคำถามว่า ขีดความสามารถในการจัดการของไทยมีมากพอ ที่จะเข้ามาทำธุรกิจดำน้ำได้หรือไม่
การดำน้ำเป็นกิจกรรม ที่ต้องใช้การจัดการค่อนข้างมาก นักท่องเที่ยวจะต้องได้รับการฝึกสอนการดำน้ำขั้นพื้นฐาน
มีเทคนิคการใช้อุปกรณ์ต่างๆ มีเรื่องของการกำหนดจุดช่วงเวลา ที่จะลงดำน้ำ
การเตรียมการรับเหตุฉุกเฉิน เทคนิค และมาตรฐานเหล่านี้ คนไทยยังไม่มีความชำนาญมากพอ
จึงต้องปล่อยให้เป็นของต่างชาติไป
ที่สำคัญกลุ่มลูกค้าส่วนใหญเป็นชาวต่างชาติ พนักงานผู้ให้บริการแต่ละ ส่วนจะต
้องสื่อสารกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี และความเชื่อมั่น ที่จะใช้บริการจากบริษัท
ที่มีคนเชื้อชาติเดียวกันเป็นเจ้าของ เพื่อความมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัย
และเทคนิคต่างๆ รวมทั้งการสื่อภาษากันสะดวกกว่าคนไทย
ปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นในธุรกิจดำน้ำ น่าจะเป็นบทเรียนหนึ่งของคนไทย ในการทำธุรกิจ
ที่ต้องพัฒนาโนว์ฮาวการจัดการอยู่ตลอดเวลา ไม่เพียงแต่ซื้อมาขายไป หรือเปิดห้องรอรับแขก
แล้วเข็นกระเป๋าไปส่ง
บทเรียนซ้ำๆ ซากๆ ที่ว่านี้ก็คือ การค้าขายกับต่างชาติของเราก็ยังย่ำอยู่กับ
ที่ ขายสินค้าพื้นๆ ต่อไป จึงเกิดเรื่องราวของจิม ทอมป์สัน ในยุค 50 ปีที่แล้ว
จนถึงชายหาดภูเก็ตในวันนี้ต่อไป