Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 สิงหาคม 2548
สรรพสามิตหวั่นเหล้านอกตีตลาดค้านเก็บภาษีอิงปริมาณแอลกอฮอล์             
 


   
www resources

โฮมเพจ กรมสรรพสามิต

   
search resources

กรมสรรพสามิต
อุทิศ ธรรมวาทิน
Alcohol




"อธิบดีสรรพสามิต" ยันไม่เก็บภาษีสุราตามปริมาณแอลกอฮอล์อย่างเดียวแน่ เพราะทำให้ราคาเหล้าต่างประเทศต่ำลงมหาศาล ขณะที่ราคาเหล้าไทยระดับล่างขึ้นสูงมาก ส่งผลเหล้านอกแย่งมาร์เกตแชร์เพิ่ม ระบุ 10 ปีที่ผ่านมาไทยสูญเสียเม็ดเงินรายได้เป็นล้านล้านบาท พร้อมเผยผลแล็บพิสูจน์คุณภาพเหล้าไทยไม่แพ้เหล้านอก ระบุสารอันตราย 20 ประเภท มีเพียงประเภทเดียวที่เหล้าไทยมีส่วนผสมมากกว่า

นายอุทิศ ธรรมวาทิน อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยถึงความ คืบหน้าการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตสุราใหม่ว่า ขณะนี้กรม สรรพสามิตกำลังศึกษาโครงสร้างภาษีสุราใหม่ ก่อนที่จะนำเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเป็นขั้น ต่อไป โดยเบื้องต้นได้ทำการตรวจ-สอบคุณภาพสุราไทยเปรียบเทียบ กับสุราต่างประเทศ ซึ่งพบว่าเหล้า ไทยไม่ได้มีคุณภาพต่ำกว่าเหล้าจาก ต่างประเทศแต่อย่างใด

ขณะเดียวกัน จากผลการตรวจสอบสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายจำนวน 20 ประเภทซึ่งเป็น ส่วนผสมในสุราไทยนั้น ปรากฏว่า เหล้าต่างประเทศมีส่วนผสมของสารอันตรายสูงกว่าสุราไทยถึง 19 ประเภท เช่น สารที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ สารที่ทำให้ท้องร่วง สารที่มีผลทำให้ตาบอด หรือสารที่มีผลต่อลำไส้ เป็นต้น ขณะที่มีสาร เพียงประเภทเดียวเท่านั้นที่สุราไทย มีส่วนผสมสูงกว่า คือ สารที่มีผลทำให้มึนศีรษะและคันคอ แต่ยังอยู่ในระบบมาตรฐานสากล

"การที่ชาวต่างประเทศออกมา ระบุว่าเหล้าไทยไม่มีคุณภาพ ทำให้ กระแสข่าวในระยะที่ผ่านมาเป็นไป ในทำนองว่า โครงสร้างการจัดเก็บภาษีของไทยไม่ถูกต้อง เพราะควรจัดเก็บเพื่อให้ผู้บริโภคได้ดื่มสุราที่มีคุณภาพ โดยเก็บตามปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ แต่ผลจากการตรวจสอบจากห้องทดลองแสดงให้ เห็นว่า เหล้าไทยไม่ได้มีคุณภาพต่ำกว่า รวมทั้งยังมีมาตรฐานระดับสากล ดังนั้น ปรัชญาที่ว่าใครบริโภค เหล้าราคาแพงก็ควรเสียภาษีสูงจึง เป็นปรัชญาที่ถูกต้อง" นายอุทิศกล่าว

นายอุทิศกล่าวอีกว่า หากประเทศไทยปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตสุราใหม่ โดยเก็บจากปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์เพียงอย่างเดียว จะทำให้สุราระดับพรีเมียม จากต่างประเทศราคาลดลงอย่างมหาศาล ขณะที่สุราระดับรองลงมา ราคาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และสุราไทยระดับล่างจะมีราคาเพิ่มขึ้นสูงมาก ซึ่งจะทำให้คนที่ดื่มสุราอยู่แล้ว หันมาดื่มสุราต่างประเทศมากขึ้น ส่งผลให้ประเทศต้องสูญเสียเม็ดเงินให้กับต่างประเทศมากขึ้น

ทั้งนี้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยต้องสูญเสียเม็ดเงินเป็นล้านล้านบาทในการนำเข้าสุราต่างประเทศ และหากย้อนดูสถิติสัดส่วนทางการตลาดของสุราไทย และสุราต่างประเทศ จะเห็นว่า สุราต่างประเทศได้เข้ามารุกตลาดไทยมากขึ้น โดยเพิ่มจาก 2% ในปี 2538 มาอยู่ที่ 19-20% ในปี 2547 ขณะที่สัดส่วนของเหล้าไทยลดลงจาก 98% ในปี 2538 มาอยู่ที่ประมาณ 80% ในปี 2548 แสดงให้เห็นว่า สุราต่างประเทศมีแนวโน้ม เข้ามามีส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น


สรรพสามิตหวั่นเหล้านอกตีตลาดค้านเก็บภาษีอิงปริมาณแอลกอฮอล์ "อธิบดีสรรพสามิต" ยันไม่เก็บภาษีสุราตามปริมาณแอลกอฮอล์อย่างเดียวแน่ เพราะทำให้ราคาเหล้าต่างประเทศต่ำลงมหาศาล ขณะที่ราคาเหล้าไทยระดับล่างขึ้นสูงมาก ส่งผลเหล้านอกแย่งมาร์เกตแชร์เพิ่ม ระบุ 10 ปีที่ผ่านมาไทยสูญเสียเม็ดเงินรายได้เป็นล้านล้านบาท พร้อมเผยผลแล็บพิสูจน์คุณภาพเหล้าไทยไม่แพ้เหล้านอก ระบุสารอันตราย 20 ประเภท มีเพียงประเภทเดียวที่เหล้าไทยมีส่วนผสมมากกว่า
นายอุทิศ ธรรมวาทิน อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยถึงความ คืบหน้าการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตสุราใหม่ว่า ขณะนี้กรม สรรพสามิตกำลังศึกษาโครงสร้างภาษีสุราใหม่ ก่อนที่จะนำเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเป็นขั้น ต่อไป โดยเบื้องต้นได้ทำการตรวจ-สอบคุณภาพสุราไทยเปรียบเทียบ กับสุราต่างประเทศ ซึ่งพบว่าเหล้า ไทยไม่ได้มีคุณภาพต่ำกว่าเหล้าจาก ต่างประเทศแต่อย่างใด

ขณะเดียวกัน จากผลการตรวจสอบสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายจำนวน 20 ประเภทซึ่งเป็น ส่วนผสมในสุราไทยนั้น ปรากฏว่า เหล้าต่างประเทศมีส่วนผสมของสารอันตรายสูงกว่าสุราไทยถึง 19 ประเภท เช่น สารที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ สารที่ทำให้ท้องร่วง สารที่มีผลทำให้ตาบอด หรือสารที่มีผลต่อลำไส้ เป็นต้น ขณะที่มีสาร เพียงประเภทเดียวเท่านั้นที่สุราไทย มีส่วนผสมสูงกว่า คือ สารที่มีผลทำให้มึนศีรษะและคันคอ แต่ยังอยู่ในระบบมาตรฐานสากล

"การที่ชาวต่างประเทศออกมา ระบุว่าเหล้าไทยไม่มีคุณภาพ ทำให้ กระแสข่าวในระยะที่ผ่านมาเป็นไป ในทำนองว่า โครงสร้างการจัดเก็บภาษีของไทยไม่ถูกต้อง เพราะควรจัดเก็บเพื่อให้ผู้บริโภคได้ดื่มสุราที่มีคุณภาพ โดยเก็บตามปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ แต่ผลจากการตรวจสอบจากห้องทดลองแสดงให้ เห็นว่า เหล้าไทยไม่ได้มีคุณภาพต่ำกว่า รวมทั้งยังมีมาตรฐานระดับสากล ดังนั้น ปรัชญาที่ว่าใครบริโภค เหล้าราคาแพงก็ควรเสียภาษีสูงจึง เป็นปรัชญาที่ถูกต้อง" นายอุทิศกล่าว

นายอุทิศกล่าวอีกว่า หากประเทศไทยปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตสุราใหม่ โดยเก็บจากปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์เพียงอย่างเดียว จะทำให้สุราระดับพรีเมียม จากต่างประเทศราคาลดลงอย่างมหาศาล ขณะที่สุราระดับรองลงมา ราคาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และสุราไทยระดับล่างจะมีราคาเพิ่มขึ้นสูงมาก ซึ่งจะทำให้คนที่ดื่มสุราอยู่แล้ว หันมาดื่มสุราต่างประเทศมากขึ้น ส่งผลให้ประเทศต้องสูญเสียเม็ดเงินให้กับต่างประเทศมากขึ้น

ทั้งนี้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยต้องสูญเสียเม็ดเงินเป็นล้านล้านบาทในการนำเข้าสุราต่างประเทศ และหากย้อนดูสถิติสัดส่วนทางการตลาดของสุราไทย และสุราต่างประเทศ จะเห็นว่า สุราต่างประเทศได้เข้ามารุกตลาดไทยมากขึ้น โดยเพิ่มจาก 2% ในปี 2538 มาอยู่ที่ 19-20% ในปี 2547 ขณะที่สัดส่วนของเหล้าไทยลดลงจาก 98% ในปี 2538 มาอยู่ที่ประมาณ 80% ในปี 2548 แสดงให้เห็นว่า สุราต่างประเทศมีแนวโน้ม เข้ามามีส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us