|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กทช.ปรับเงื่อนไขใบอนุญาตไอเอสพีใหม่ 2 ประเด็นคือหลักเกณฑ์การขอใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตหลังถูกยูคอมทักท้วงว่าใบอนุญาตประเภท 2 และ 3 เหมือนการเก็บส่วนแบ่งรายได้ในลักษณะ สัญญาร่วมการงานเดิม ด้านประ-ธานกทช.ย้ำพร้อมปรับปรุงเงื่อน ไขและค่าธรรมเนียมให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการแข่งขันของอุตสาหกรรม
พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่า กทช.อยู่ระหว่างการปรับปรุงเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต ไอเอสพีใหม่ หลังจากมีการทัก ท้วงจากเอกชนหลายรายถึงความไม่เหมาะสม ทั้งนี้ กทช.ได้ออกใบอนุญาตไอเอสพีใบแรกให้เคเอสซี โดยเป็นใบอนุญาตประเภทที่ 1 คือไม่มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง เพื่อให้ทันเวลาที่สัญญาร่วมทุนเดิมที่ทำไว้กับบริษัท กสท โทรคมนาคมจะสิ้นสุดลง ซึ่งในขณะนี้มีเอกชนประมาณ 8 ราย ยื่นขอใบอนุญาต ไอเอสพีประเภท 1 ซึ่งกทช.อยู่ในระหว่างการพิจารณา
อย่างไรก็ตาม กทช.ได้ออกเงื่อนไขการเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตไอเอสพีประเภทที่ 2 (มีและไม่มีโครงข่าย) ในอัตรา ปีละ 3% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย และใบอนุญาตไอเอสพีประ-เภทที่ 3 (มีโครงข่าย) ในอัตราปีละ 5% ของรายได้ ซึ่งภายหลังจากที่เอกชนทักท้วงมา กทช.ก็เห็นด้วยและพร้อมที่จะปรับปรุงเงื่อนไขดังกล่าวเพื่อให้เหมาะสมกับภาพรวมอุตสาหกรรม
แหล่งข่าวในกทช.กล่าวว่า บริษัท ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อิน-ดัสตรี หรือยูคอมเป็นเอกชนรายหนึ่งที่ทำหนังสือเข้ามาสอบถามถึงหลักเกณฑ์ในการออกใบอนุญาตไอเอสพีประกอบด้วย 1.หลักเกณฑ์วิธีการขอรับใบอนุญาตและ 2.อัตราค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตประเภทที่ 2 และ 3 ที่ดูเหมือนเป็นการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ในลักษณะสัญญาร่วมการงานเหมือนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ กทช.ได้ทำหนังสือตอบกลับไปยูคอมเมื่อวันที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมาว่าค่าธรรม-เนียมใบอนุญาตที่ออกมา กทช.วางบนพื้นฐานของการเปรียบเทียบภาระค่าใช้จ่ายต่างๆที่ไอเอสพีดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เคยจ่ายให้บริษัท กสท โทรคมนาคมเพื่อให้ได้รับสิทธิก่อนที่จะมี กทช.โดยที่ผ่านมาไอเอสพีเคยจ่ายเป็นค่าหุ้นลมที่จ่ายแทนกสท.และพนักงานกสท, ค่าหลักประกันสัญญา, ค่าหลักประกันผู้ถือหุ้น, ค่าส่งมอบเครื่องอุปกรณ์ รวมแล้วเกิน 6 ล้านบาท ทั้งนี้ไม่รวมค่าเช่าโครงข่าย ค่าบริการอื่นที่จ่ายแบบรายปี และเงินปันผลโดยไม่มีหลักประกันเรื่องการแข่งขันเสรีแต่อย่างใด
ดังนั้น การที่กทช.คิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากรายได้ก็เป็นแนวทาง เดียวกับของหลายประเทศ และใบ อนุญาตของไอเอสพี ก็จะไม่เหมือน กับเป็นสัญญาร่วมการงานหรือสัญญาสัมปทานแน่นอน เพราะการร่วมการงานหรือสัมปทานเป็น การตกลงของคู่กรณี 2 ฝ่าย ผูกพันไปจนสิ้นสุดสัญญา และเงื่อนไขจำนวนส่วนแบ่งรายได้อาจแตกต่างกัน แต่ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ที่ออกมานี้เรียกเก็บอัตราเท่ากันทุกราย
แหล่งข่าวกล่าวว่า สิ่งที่กทช. อยู่ระหว่างทบทวนเรื่องการออกใบ อนุญาตไอเอสพีคือ 1.หลักเกณฑ์การขอใบอนุญาต และ 2.ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตซึ่งจะนำความเห็นจากเอกชนมาร่วมพิจารณาด้วย
ด้านพล.อ.ชูชาติกล่าวว่า กทช.พร้อมปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ เพื่อความเหมาะสมทั้งกับอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง รวดเร็ว เหมือนกับใบอนุญาตที่จะออกให้บริษัท ทีโอทีและบริษัท กสท โทรคมนาคมในวันที่ 4 ส.ค.ที่จะถึงนี้ ทั้ง 2 บริษัทจะได้รับใบอนุญาต ครบทั้ง 3 ประเภท โดยจะครอบ คลุมบริการต่างๆที่มีก่อนพ.ร.บ. ประกอบกิจการโทรคมนาคมจะบังคับใช้ ส่วนบริการหลังจากนั้นจะต้องมีการขอใบอนุญาตใหม่ สำหรับภาระต่างๆที่ทั้ง 2 บริษัทจะต้องรับผิดชอบตามลักษณะผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบด้วยบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมหรือ USO ซึ่งในเบื้องต้นตอนประชา-พิจารณ์เมื่อวันที่ 28 ก.ค.ที่ผ่านมาจะคิดค่าธรรมเนียม 4% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย, ค่าธรรมเนียม เลขหมายโทรคมนาคมในอัตราเลขหมายละ 12 บาทต่อปีและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตระหว่าง 3-5% นอกจากนี้ยังมีค่าธรรมเนียมเรื่องความถี่ ซึ่งกทช.จะใช้อัตราที่กรรม-การบริหารคลื่นความถี่ (กบถ.)เคยคิดก่อนหน้านี้
ค่าธรรมเนียมเราถือเป็นอัตราชั่วคราว ที่พร้อมปรับเปลี่ยนได้ หากไม่เหมาะสมกับภาพรวมอุตสาหกรรม ซึ่งภายในวันที่ 2 ส.ค.เราจะสรุปตัวเลขที่ชัดเจนครั้งสุดท้ายก่อนให้ใบอนุญาตในวันที่ 4 ส.ค.
|
|
|
|
|