Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2545








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2545
Assumption University ต้นแบบ Business School ของไทย             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

ภราดาประทีป ม.โกมลมาศ นักการศึกษาผู้บริหาร "เหมืองทองคำ"
100 ปีแห่งพันธกิจศักดิ์สิทธิ์ คณะเซนต์คาเบรียลประเทศไทย
ต่างสถาบัน "ตราสัญลักษณ์" เดียว

   
www resources

Australia Graduate School of Management
Hong Kong University of Science and Technology
Melbourne Business School
National University of Singapore
University of Otago
Crisholm Institute of Technology
The University of Wollongong
Sogang University
Queensland University of Technology
Curtin University of Technology
The University of Melbourne
De La Salle University
The University of Waikato
University of Santo Tomas
Victoria University of Technology

   
search resources

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
Education




กว่า 24 ปีบนตำแหน่งอธิการบดี ภราดาประทีป ม.โกมลมาศ ได้แสดงความเป็นนักการศึกษา และนักบริหาร ที่มีความสามารถในการเชื่อมโยงผสมผสาน และมีพลังมากที่สุดคนหนึ่งในคณะเซนต์คาเบรียล ซึ่งรูปธรรมความสำเร็จที่ชัดเจนในเรื่องนี้กำลังตั้งเด่นตระหง่าน อยู่ภายในวิทยาเขตบางนา ของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (AU) ที่มีพื้นที่กว่า 360 ไร่

แม้ว่าความโดดเด่นของสถานศึกษาแต่ละแห่งในสังคมไทยจะได้รับการกำหนดนิยาม โดยพิจารณาจากความเก่าแก่ในการก่อตั้งหรือสถาปนา จนเป็นเหตุให้ผู้คนจำนวนไม่น้อย เชื่อถือในค่านิยมที่จะส่งบุตรหลานให้เข้าเป็นสมาชิกของสถาบันอุดมศึกษา อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหา วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยเหตุที่สถาบันอุดมศึกษาของรัฐทั้งสี่แห่งต่างมีความเป็นมา และอุดมไปด้วย เกียรติประวัติที่เนิ่นนาน ซึ่งเกิดขึ้นควบคู่กับความพยายามในการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย และมีระบบที่ดำเนินต่อเนื่องตลอดช่วง 100 ปีที่ผ่านมา

แต่ภายใต้บริบทดังกล่าว หากพิจารณาจากปรัชญาพื้นฐานในการก่อตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงในห้วงเวลานั้น ก็จะพบว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพียงความพยายาม ส่วนหนึ่งของรัฐไทย ที่จะรักษาสถานภาพและความมั่นคงที่มีอยู่เดิมเอาไว้ โดยหวังว่าสถานศึกษาเหล่านี้จะเป็นกลไกในการผลิตบุคลากรเพื่อมาสนองงานราชการด้านต่างๆ ในอนาคต และเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับกับเทคนิควิทยาการ ที่พรั่งพรูหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทยภายหลังการเปิดประเทศ อันสืบเนื่องมาจากการลงนามในสนธิสัญญาบาวริ่ง ตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ.1855 ด้วย

กระนั้นก็ดี กระบวนการทำให้ทันสมัย Modernization ที่รัฐไทยดำเนินการในห้วงขณะนั้น ก็เป็นไปอย่างเชื่องช้ายิ่ง

การเกิดขึ้นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี ค.ศ.1917 โดยมีเข็มมุ่งอยู่ ที่การผลิตบุคลากรมารับใช้งานของรัฐจากรากฐานของโรงเรียนฝึกหัดข้าราชการ พลเรือนที่มีมาตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ.1899 อาจเป็นภาพที่ขัดกันกับการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ในปี ค.ศ.1934 ที่มีเป้าหมายเพื่อเป็นตลาดวิชารองรับกับระบอบการปกครองใหม่ที่เปิดกว้างสู่ประชาชนรากหญ้ามากขึ้น แต่สถาบันทั้งสองแห่งนี้ต่างมีเป้าประสงค์เบื้องปลายไม่แตกต่างกันมากนัก โดยยังยึดอยู่กับการได้มาซึ่งบุคลากรเพื่อสนองกลไกอำนาจการปกครอง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะนั้นด้วย

ขณะที่ในปี ค.ศ.1943 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมุ่งหมายจะนำวิชาการสมัยใหม่มารับใช้พื้นฐานสังคมเกษตรกรรมของชาติ ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการ แม้ว่าความพยายามในการจัดการศึกษาด้านการเกษตรอย่างเป็นระบบจะเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ.1904 แล้วก็ตาม และในทำนองเดียวกับมหาวิทยาลัยมหิดล ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1969 จากการรวบรวมสถาบันการศึกษาทางการแพทย์ชั้นสูงหลายแห่งเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเป็นแหล่งผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ทั้งที่โรงเรียนการแพทย์แห่งแรกของไทยใน โรงพยาบาลศิริราช มีประวัติการก่อเกิดมา ตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ.1890 ล้วนเป็นประจักษ์พยานในกรณีดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

ห้วงเวลาของการเปิดประเทศเพื่อรับเอาวิทยาการจากโลกตะวันตกที่ดำเนินมาตลอดเวลานั้น ได้เปิดช่องทางใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้น พร้อมๆ กับการเดินทางเข้ามาประกอบธุรกิจการค้าของบริษัทข้ามชาติ และตัวแทนการค้าโพ้นทะเล ซึ่งล้วนแต่เป็นชาวต่างประเทศเกิดขึ้นและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่กระนั้นก็ดี business school ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการรองรับพัฒนาการดังกล่าว กลับมิได้ถูกสร้างขึ้นหรือบางทีกรณีดังกล่าวอาจจะอยู่ไกลออกไปจากความคิดคำนึงของรัฐไทย

การเกิดขึ้นของแผนกพาณิชยการ ในโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก ที่เริ่มต้นจากวิชาพิมพ์ดีด ในปี ค.ศ.1912 หรือเมื่อ 90 ปี ที่แล้ว โดยผลจากการริเริ่มของภราดา Hubert ก่อนที่จะขยายตัวแยกออกมาเป็นโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ (Assumption Commercial College : ACC) ในปี ค.ศ.1930 และได้รับการรับรองฐานะอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1938 โดยมีภราดา Rogatien Marie (1886-1965) ภราดาชาวฝรั่งเศสในคณะเซนต์คาเบรียล เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มและดำเนินการอย่างแข็งขัน จน ACC กลายเป็นต้นแบบของวิทยาลัยธุรกิจและพาณิชยการในชั้นต่อมา

ภราดา Rogatien เดินทางมายังประเทศไทยตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ.1910 ได้ริเริ่มที่จะเปิดสอนวิชาชวเลข (shorthand) และสานงานต่อจากภราดา Hubert Cousin (1890-1974) ในการสอนวิชาพิมพ์ดีดให้กับนักเรียนในโรงเรียนอัสสัมชัญในฐานะที่เป็นวิชาพิเศษ พร้อมกับแนวความคิดที่จะฝึกนักเรียนเหล่านี้ ให้มีทักษะสำหรับการเข้าร่วมงานในบริษัทตัวแทนการค้าจากยุโรป สอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงานและธุรกิจการค้าที่ขยายตัวอย่างมาก และมิได้มีเพียงกลุ่มอำนาจและคนชั้นสูงยึดกุมไว้เท่านั้น

สิ่งที่ภราดา Hubert และภราดา Rogatien ดำเนินการในห้วงขณะนั้น เกิดขึ้นควบคู่กับสถานการณ์สำคัญในระดับโลกไม่ว่าจะเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเริ่มขึ้นและต่อเนื่องระหว่างปี ค.ศ.1914-1918 การเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัสเซียสู่ระบอบคอมมิว นิสต์ ในปี ค.ศ.1917 รวมถึงวิกฤติเศรษฐกิจโลกในช่วงปี ค.ศ.1930 (Great Depression) และสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ.1939-1945 ซึ่งล้วนแต่เป็นภาพสะท้อนของความ พยายามในการช่วงชิงทรัพยากรในพื้นที่ต่างๆ ของโลก จากผลของความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการผลิต และความจำเริญของวิศวกรรมด้านการขนส่ง ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อครั้ง มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษเมื่อปี ค.ศ.1760 ซึ่งเป็นผลให้เกิดชนชั้นใหม่ๆ ในสังคมยุโรปอย่างกว้างขวางด้วย

ขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทย เมื่อปี ค.ศ.1932 ก็เป็น repercussion จากผลของสถานการณ์ระดับโลก และเป็นจุดเริ่มของชนชั้นใหม่ๆ ในสังคมไทย ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยที่กลไกรัฐดูเหมือนจะไม่สามารถปรับตัวรับและสนองตอบต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ดีพอ

ความสำเร็จของอัสสัมชัญพาณิชยการ (ACC) ในฐานะ business school ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมดังกล่าว สามารถประเมินได้จากจำนวนของผู้สำเร็จการศึกษาจาก ACC ที่เข้าทำงานในบริษัทการค้าจากต่างประเทศอย่างหลากหลาย และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน กระทั่งมีการจองตัวก่อนจะสำเร็จการศึกษาด้วยซ้ำ

ภายใต้ข้อกำหนดของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษาของไทย ในขณะนั้น หลักสูตรพาณิชยการ 3 ปีของ ACC ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างมาก เป็นเพียงหลักสูตรที่ได้รับการอนุญาตให้เปิดการเรียนการสอน แต่วุฒิการศึกษาที่ได้รับไม่สามารถนำไปต่อยอด เพื่อศึกษาในระดับอุดมศึกษาภายใต้ระบบมหาวิทยาลัยได้ และนั่นอาจเป็นเหตุให้ ACC ต้องแสวงหาหนทางใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมในการจัดการศึกษาของไทยเรื่อยมา

ความพยายามของ ACC ในการไปให้ไกลกว่ากรอบกำหนดของภาค รัฐ เริ่มตั้งแต่เมื่อครั้งที่ภราดา Rogatien ติดต่อขอใช้สถานที่ภายในสถานทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย เพื่อทำการสอบข้อเขียนก่อนที่หอการค้าลอนดอน (London Chamber of Commerce) ในอังกฤษ จะเป็นผู้ตรวจให้คะแนนเพื่อ รับรองผลการศึกษานักเรียน ACC ในปี ค.ศ.1939

แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ ACC น่าจะอยู่ที่ความพยายามในการ สอนหลักสูตรอุดมศึกษา 4 ปีภายใต้ชื่อ Assumption School of Business : ASB เพื่อรองรับกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ในช่วงปี ค.ศ.1969 โดยหลักสูตรปริญญาตรี บริหารธุรกิจ (Bachelor of Business Administration : BBA) ที่ ASB เปิดสอนนั้น เป็นหลักสูตรที่ได้รับความร่วมมือทางวิชาการจาก University of Santa Clara ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

เป็นการริเริ่มที่จะเปิดวิทยาลัยธุรกิจในลักษณะของสถาบันอุดมศึกษา ที่ไม่สามารถผ่านเงื่อนไขตามข้อกำหนดของกฎหมายไทยได้อีกครั้ง และทำให้นักศึกษา ASB สองรุ่นแรกไม่สามารถรับปริญญาบัตรในฐานะผู้สำเร็จการศึกษาชั้นอุดมศึกษาได้ หากเป็นเพียงประกาศนียบัตรรับรองว่าผ่านหลักสูตรเท่านั้น

ภายใต้เงื่อนเวลาดังกล่าว สถาบันอุดมศึกษาเอกชนของไทยในระยะบุกเบิกก็อยู่ในช่วงของการลงหลักปักฐานเป็นทางเลือกใหม่ๆ ให้กับสังคมการศึกษาไทยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวิทยาลัยกรุงเทพ (1965) วิทยาลัยการพาณิชย์ (1965) ธุรกิจบัณฑิตย์ (1968) ศรีปทุม (1970) และโดยกฎหมายที่อนุญาตให้เอกชนสามารถเปิดสถานศึกษาในหลักสูตรอุดมศึกษาได้ในช่วงปี ค.ศ.1970-1971 นี้เอง ที่ทำให้สถานศึกษาเอกชนในรูปของวิทยาลัยเกิดขึ้นอย่างมากมายต่อมา

วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ (Assumption Business Administration College : ABAC) ซึ่งก็คือหน่ออ่อนที่งอกเงยขึ้นมาจาก ACC และ ASB ที่ได้รับการยอมรับในมิติของความแข็งแกร่งทางวิชาการโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ และเปลี่ยนผ่านประสบการณ์ ความร่วมมือกับสถาบันต่างประเทศมาก่อนหน้านี้ จึงได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในช่วงปี ค.ศ.1972 นี้ และเป็นปฐมบทของปรากฏการณ์ใหม่ๆ ในสังคมไทย รวมถึงการเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติแห่งแรกของไทยด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us