Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 กรกฎาคม 2548
เอกชนรุมค้านค่าธรรมเนียมกทช.             
 


   
www resources

โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
โฮมเพจ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

   
search resources

องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย-TOT
สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
Telecommunications




เอกชนเดินหน้าสับค่าธรรมเนียมกทช.โดยเฉพาะหลักการคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากรายได้ อาจมากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อภาพรวมอุตสาหกรรม ด้านทีโอทีชี้จุดอ่อน 3 เรื่อง ค่า USO ค่าเลขหมาย และค่าใบอนุญาต ส่วนดีแทคชี้หลักการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจะทำให้กทช. มีรายได้ปีละ 2 หมื่นล้านบาทที่มากเกินหลักการพอเพียง

เมื่อวานนี้ (28 ก.ค.) คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จัดให้มีประชาพิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประ-กอบกิจการโทรคมนาคม ค่าธรรม-เนียมเลขหมายโทรคมนาคม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการ จัดให้มีการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม โดยมีเอกชนที่มีส่วนได้เสียเข้าร่วมงานจำนวนมาก ทั้งเอไอเอส ดีแทค ทรู ทีทีแอนด์ที บริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม

นายธีรวิทย์ จารุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที กล่าวว่าจุดยืนของทีโอทีมี 3 ประเด็นคือเรื่องบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมนั้น (USO) ทีโอทีควรเป็นผู้ได้รับการชดเชยมากกว่าต้องจ่ายเงินจำนวน 4% ของรายได้ โดยปัจจุบันทีโอทีมีภาระ USO ประ-มาณปีละ 8.2 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่อง ที่กทช.จะต้องหาทางออกว่าจะจัดการอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อทีโอทีอยู่ในขั้น ตอนการเข้าระดมทุนในตลาดหลัก-ทรัพย์ฯ เพราะ USO เป็นเรื่องที่ทีโอทีเลิกไม่ได้ ต้องทำต่อไป ซึ่งก็อาจจะเกิดปัญหาขึ้นสำหรับนักลงทุนต่างชาติ ทำให้ทีโอทีต้องการความชัดเจนในเรื่องนี้

กรณีมีนักลงทุนต่างชาติมาซื้อหุ้นทีโอที แล้วทีโอทีจะเลิกการให้บริการ USO ได้หรือไม่ หรือจะทำแค่ ของใหม่ เป็นโจทย์ที่กทช.ต้องตอบ

สำหรับเรื่องค่าเลขหมายนั้น ตามแผนของกทช.จะเก็บเลขหมายละ 1 บาทต่อเดือนเป็นตัวเลขที่ทีโอทีเห็น ว่าสูงเกินไป เพราะปัจจุบันมีเลขหมาย ที่ใช้ทั้งหมดประมาณ 70 กว่าล้านเลขหมายหรือเท่ากับทีโอทีต้องจ่ายเดือนละกว่า 70 ล้านบาท หรือปีละเกือบ 1 พันล้านบาท

หลักการของกทช.ผมว่าไม่เมกเซนส์เท่าไหร่ คิดค่าบริหารระบบและคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากรายได้ ผมว่ามันสูงเกินไป คิดเลขหมายละ 3 สตางค์หรือ 7 สตางค์จะเหมาะสมกว่า

ส่วนเรื่องค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่จัดเก็บระหว่าง 1-3% ซึ่งแบ่ง เป็น 3 ส่วน คือ ค่าใบอนุญาต ค่าแรก เข้า และคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากรายได้ เป็นอัตราที่สูงเกินไปและไม่เหมาะสม ควรคิดค่าแรกเข้า หรือคิดเป็นจุดของ เปอร์เซ็นต์จากอุตสาหกรรมทั้งระบบจะเหมาะสมกว่าแค่ 3 เรื่องก็ยากแล้ว ไม่ต้องพูดถึงเรื่องคลื่นความถี่หรือเรื่องอินเตอร์คอน


นอกจากนี้ในวันที่ 1 ส.ค.ที่จะถึงนี้ทีโอทีจะมีการหารือกับกสท ในฐานะที่จะเป็น 2 หน่วยงานที่ได้รับใบอนุญาต ในประเด็นเรื่องค่าแอ็กเซสชาร์จว่าบริการซีดีเอ็มเอของกสทจะต้องเสียค่าแอ็กเซสชาร์จให้ทีโอทีด้วย หรือไม่ รวมทั้งอัตราที่ไม่ตรงกันในเรื่องอินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จหรือค่าเชื่อมโครงข่ายในบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ 001 ที่ทีโอทีเก็บอยู่ปัจจุบันนาทีละ 3 บาท แต่ กสท ต้อง การจ่ายเพียง 73 สตางค์ และบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศในระบบวอยซ์โอเวอร์ไอพี ที่ทีโอทีเก็บนาทีละ 1.50 บาทแต่กสทต้องการจ่ายเพียง 73 สตางค์ รวมทั้งต้องมีการชี้แจงในประเด็นเรื่องค่าแอ็กเซสชาร์จที่ทีโอทีเก็บเลขหมายละ 200 บาทว่าเป็นค่าธรรมเนียมรวมในส่วนของเลขหมาย ความถี่ ใบอนุญาต และบริการ USO ที่ทีโอทีรับภาระแทนคู่สัญญาร่วมการงานเอกชน

นายพิทยาพล จันทนะสาโร รองประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการสายงานคอร์ปอเรต กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับหลักการกทช. ใน 3 ประเด็น คือ

1.นโยบายการคิดค่าธรรมเนียม ในลักษณะเป็นเปอร์เซ็นต์จากรายได้ อย่างกรณีดีแทคในการทำธุรกิจจะเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ภาษีสรรพสามิต 11% (10+1 เป็นภาษีเทศบาล) ส่วนแบ่งรายได้ให้กสท 9% ค่าแอ็กเซสชาร์จ 18% หากรวมค่า USOของกทช.อีก 4% ค่าใบอนุญาตอีก 5% รวมๆแล้ว ดีแทคจะมีภาระประมาณกว่า 50% จากรายได้ ซึ่งทำให้มองว่าหลักการของ กทช.จะทำให้อุตสาหกรรมในภาพรวม เกิดความเสียหายมากกว่าเป็นผลดี


2.สิทธิและหน้าที่ของบริษัทคู่สัญญากับทีโอทีหรือกสท เพราะในทาง ปฏิบัติเอกชนภายใต้คู่สัญญาไม่ทราบ สถานะแท้จริงในมุมมองของกทช. ซึ่งจะสะท้อนถึงภาระต่างๆของผู้ให้บริการทั้ง 2 กลุ่มยังไม่เท่าเทียมกัน และ3.นโยบายการเงินของกทช.มุ่งจะรับใช้สังคมหรือมุ่งที่จะสร้างรายได้มากกว่า เพราะค่าธรรมเนียมต่างๆที่เก็บในลักษณะเป็นส่วนแบ่งรายได้เมื่อรวมๆกันแล้วประมาณ 10% ของรายได้ทั้งอุตสาหกรรม ที่ประมาณ 1.5-2 แสนล้านบาท เท่ากับกทช.จะมีรายได้ 1.5-2 หมื่นล้านบาทต่อปี

"กทช.จะเอาเงินไปทำไมเกือบ 2 หมื่นล้านบาทต่อปี สมมติกทช.มีค่าใช้จ่ายปีละ 1 พันล้านบาท หากทำตัวเลขคาดเคลื่อนเผื่อไว้สัก 1.2 พันล้าน บาทก็ยังพอรับได้ แต่จากตัวเลขจะมี รายได้หลักหมื่นล้านบาท ซึ่งมองว่าไม่สมเหตุสมผล"

นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยูไนเต็ดคอม-มูนิเกชั่น อินดัสตรี หรือยูคอมกล่าวว่า กทช.ควรจะออกใบอนุญาตประเภทที่ 2 (มีและไม่มีโครงข่าย) ให้แก่ผู้ประ-กอบการที่อยู่ภายใต้สัญญาร่วมการงานก่อนหากไม่สามารถออกใบอนุญาตประเภทที่ 3 ให้ได้เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกรายมีสิทธิเท่าเทียมกัน ซึ่งทำให้การเจรจาเรื่องต่างๆง่ายขึ้นด้วยสิทธิที่เท่าเทียมกัน นอกจากนี้ในเงื่อนไขสัญญาร่วมการงานที่ผ่านมา ทำให้มีผู้ประกอบการบางรายมีสิทธิประโยชน์เหนือผู้ประกอบการในตลาด และยังมีสิทธิทางการเมืองเหนือกว่าอีกด้วย ซึ่งการไม่มีการแปรสัญญาร่วม การงานก็เท่ากับเกื้อหนุนผู้ได้ประโยชน์ ต่อไป

อย่างไรก็ตาม การเกื้อหนุนดังกล่าวนั้นจะส่งผลให้เกิดผลเสียต่อหน่วยงานของรัฐทั้ง 2 แห่ง เพราะจะมีกรณีฟ้องร้องตามมา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯนอกจากนี้ กทช.บางคนยังพูดว่าในโลกนี้ไม่มีความเท่าเทียมกันขนาดนิ้วมือของคนยังไม่เท่ากัน ดังนั้นจะมาเรียกร้องหาความยุติธรรมไปทำไม

นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวย การอาวุโสสายงานวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ทีทีแอนด์ที กล่าวว่า ใบอนุญาต ที่กทช.กำหนดไว้ในขณะนี้ยังไม่ครอบ คลุมกิจการโทรคมนาคมทั้งหมดใน ประเทศไทย ส่งผลให้ผู้ประกอบการ ทั้งรายใหม่และรายเก่าไม่สามารถแยกได้ว่าจะขอใบอนุญาตประเภทใด เช่นบริการวอยซ์โอเวอร์ไอพี

ด้านนายสุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการกทช.กล่าวถึงค่าธรรมเนียมต่างๆในการประชาพิจารณ์วานนี้ (28 ก.ค.) ว่า ผ่านการทำงานมาหลายขั้นตอน แล้วและคาดว่าไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไร

ที่ผ่านมานโยบายด้านโทรคม-นาคมถูกกำหนดโดยไม่เคยขอความเห็น ดังนั้น มาตรการต่างๆที่กทช.ออก มาคงทำให้ถูกใจทุกคนไม่ได้ แต่ทุกอย่างต้องมีการเริ่มต้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us