|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ใบอนุญาตใหม่กทช.ที่จะออกให้ทีโอทีและกสท ห้ามผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือดัมป์ค่าบริการต่ำกว่าทุน พร้อมห้ามเลือกปฏิบัติคิดค่าบริการลูกค้าแต่ละกลุ่มไม่เท่าเทียมกัน โทษปรับวันละ 2 หมื่นหรือถอนใบอนุญาต อ้างช่วงที่ผ่านมาแข่งกันจนอ่อนแอเกรงจะถูกต่างชาติฮุบ ดีแทคชี้มาตรการส่งผลดีกับเอไอเอส เพราะถ้าค่าบริการไม่ต่างกันมาก ลูกค้าแห่ไปใช้เอไอเอสเพราะแบรนด์และเครือข่ายที่แข็งแกร่ง "บุญชัย" ชี้สถานภาพผู้ให้บริการไม่เท่าเทียมกัน
พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กล่าวว่าภายหลังจากที่กทช.ออกใบอนุญาตให้บริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม ในวันที่ 4 ส.ค.นี้แล้ว ผู้ที่สนใจ จะให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานสามารถมายื่นขอใบอนุญาตได้ทันที หลังจากนั้นภายในวันที่ 1 ธ.ค.ที่จะถึงนี้จะเปิดให้ขอใบอนุญาต ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ซึ่งรวมถึงโทรศัพท์มือถือ 3G, บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (เกตเวย์) บริการด้านดาวเทียมสื่อสาร
กทช.กำลังพิจารณาว่าจะออกใบอนุญาตประเภทไหนให้ทั้ง 2 หน่วยงานนอก เหนือจากประเภท 3 ที่มีโครงข่าย ซึ่งใบอนุญาตจะครอบคลุมบริการทุกอย่างที่ทั้ง 2 หน่วยงานให้บริการก่อนพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมปี 2544 บังคับใช้ ส่วนบริการหลังจากนั้นจะต้องขอใบอนุญาตใหม่
ใบอนุญาตที่ทั้ง 2 หน่วยงานได้รับจะ มีผลบังคับใช้ทันทีซึ่งรวมถึงบริษัทภายใต้สัญญาร่วม การงานอย่างเอไอเอส ดีแทค ออเร้นจ์ โดยเฉพาะตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม ในหมวดสิทธิของผู้ใช้บริการ มาตรา 47 ที่ระบุว่าหากผู้ใช้บริการพบว่าผู้ให้บริการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการสูงกว่าที่ กทช. กำหนด หรือผู้ให้บริการรายอื่น หรือเรียกเก็บค่าบริการโดยไม่ถูกต้อง ผู้ใช้บริการสามารถขอดูข้อมูลจากผู้ให้บริการได้ นอกจากนี้มาตรา 66 ยังระบุอีกว่าผู้ให้บริการจะต้องแจ้งค่าบริการที่จะประกาศใช้ก่อนจะใช้จริงภายในระยะเวลา ที่กำหนดรวมทั้งเสนอต่อ กทช. เมื่อมีการเรียกขอด้วย หากผู้ให้บริการรายใดไม่ปฏิบัติตาม จะถูกปรับวันละ 2 หมื่นบาท หรือในกรณีร้ายแรงจะเพิกถอนใบอนุญาตทันที
ตามกฎหมายดังกล่าวจะทำให้แนวการตลาดของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องเปลี่ยนแปลงไป ไม่สามารถดัมป์ราคาจนต่ำกว่าต้นทุนได้ ค่าบริการประเภทนาทีละ 25 สต. 50 สต.หรือ 1 บาทจะไม่มีอีกต่อไป
นายสุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการกทช.กล่าวว่า การเล่นสงครามราคาในช่วงที่ผ่านมาทำให้รายได้ต่อเลขหมายของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือลดลง ซึ่งภาพรวมของอุตสาหกรรมเกิดความอ่อนแอขึ้น กทช.ไม่อยากให้เกิดการแข่งขันกันรุนแรงจนกระทั่งผู้ประกอบการในประเทศอยู่ไม่ได้ เพราะอัตราค่าบริการบางประเภทต่ำกว่าต้นทุน ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงกับสินทรัพย์หรือการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการรุกเข้ามาของต่างชาติ
"สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือหากมีการดัมป์ราคารวมทั้งการกำหนดราคาที่สูงเกินเพดานที่กทช.กำหนดหรือต่ำ กว่าต้นทุนของธุรกิจจะเป็นสิ่งที่ผิด มีบทลงโทษในหลักการหมายความว่า บริการประเภทเดียวกันในบริษัทหนึ่งจะต้องให้ความเสมอภาคต่อลูกค้าของตัวเอง ไม่สามารถให้อัตราค่าบริการกลุ่มหนึ่งที่แตกต่างจากกลุ่มอื่น"
ตัวอย่างคือ บริษัทผู้ให้บริการมือถือรายหนึ่งสามารถมีค่าบริการที่แตกต่างกันระหว่างระบบโพสต์เพดกับพรีเพดได้ แต่ลูกค้าทุกรายในระบบโพสต์เพดหรือระบบพรีเพด ต้องเสียค่าบริการเท่ากัน ส่วนผู้ให้บริการมือถือแต่ละรายก็สามารถมีค่าบริการ ที่แตกต่างกันได้ แล้วแต่ต้นทุนในการให้บริการ แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงเกินกว่าเพดานที่กำหนดไว้ นาทีละ 3 บาทและต้องไม่ดัมป์จนต่ำกว่าต้นทุน
นายสุธรรมกล่าวว่า หลักการดังกล่าวไม่จำเป็น ว่าบริษัทที่มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่จะได้ประโยชน์เสมอไป แต่อยู่ที่ใครมีการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากกว่ากันต่างหาก อย่างไรก็ตามหากเอกชนรายใด อ้างว่าต้นทุนธุรกิจไม่เท่าเทียมเพราะมา จากสัญญาสัมปทาน เช่นมีค่าแอ็กเซสชาร์จก็ให้เอกชน ไปฟ้องศาล และได้ผลอย่างไร กทช.ก็จะดำเนินการตามคำตัดสินของศาล
"เราไม่อยากเห็นต่างชาติเข้ามาฮุบกิจการ เพราะการดัมป์ราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน เพราะบางแพก-เกจค่าบริการต่ำกว่าต้นทุนอย่าง 25 หรือ 50 สตางค์ ซึ่งต่อไปหากมีผู้ใช้บริการร้องเรียนไม่ได้รับค่าบริการ ที่เท่าเทียมกัน กทช.จะเป็นพิจารณาลงโทษตามกฎหมายระบุไว้"
ทั้งนี้ ภายหลังจากใช้มาตรการดังกล่าวค่าบริการจะเป็นระบบมากขึ้น ไม่ใช่ในลักษณะปัจจุบันที่มีการนำค่าบริการจากลูกค้ากลุ่มหนึ่งไปอุดหนุนลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่ง
ด้านนายธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านพาณิชย์ ดีแทคกล่าวว่า มาตรการดังกล่าวจะส่งผลดีกับเอไอเอส เพราะหากค่าบริการ ไม่มีความแตกต่างกันมาก ลูกค้าจะหันไปใช้บริการของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่เชื่อว่าเครือข่ายมีคุณภาพดีที่สุด รวมทั้งมีแบรนด์ที่แข็งแรง ส่วนผู้ให้ บริการรายเล็กที่อาศัยการใช้กลยุทธ์ราคาในการสร้าง ฐานลูกค้า จะได้รับผลกระทบพอสมควร "ปัญหาอีก อย่างคือต้นทุนที่แท้จริงในการให้บริการ จะคำนวณอย่างไร"
นายอธึก อัศวานนท์ รองประธานกรรมการและหัวหน้าคณะฝ่ายกฎหมาย บริษัท ทรูคอร์ปอเร-ชั่นกล่าวว่า ในเรื่องค่าบริการที่ไม่เลือกปฏิบัติ กทช. รวมถึงการทำเซกเมนเตชันอย่างการคิดค่าบริการในแต่ละช่วงเวลาไม่เท่ากันนั้นกทช.อาจคิดผิด และอาจ แม้เมื่อมีการฟ้องร้องในขั้นศาล
นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี (UCOM) เปิดเผยว่า ปัญหาที่ยังเป็นห่วงสำหรับการ เปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมในขณะนี้ คือ เรื่องความ ไม่เท่าเทียมกันของสถานภาพของแต่ละบริษัทเอกชน ที่เป็นผู้ให้บริการ
ตราบใดที่ กทช. ยังไม่ดำเนินการแปรสัญญาสัมปทานให้บริษัทเอกชนที่ยังมีสัญญาเดิมผูกพันอยู่ก่อน ซึ่งจะทำให้การแข่งขันระหว่างเอกชน ด้วยกันเองเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบและเลื่อมล้ำซึ่งกันและกัน
|
|
 |
|
|