Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน19 สิงหาคม 2545
กรุงไทยจับมือพันธมิตร             
 

   
related stories

สมคิด-สุริยะตั้งกท.วันนี้ เท4หมื่นลบ.อุ้มSMEsติดNPL-ผู้ประกอบการใหม่

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย

   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
SMEs




แบงก์กรุงไทยสวมบทบาทผู้นำฟื้นเศรษฐกิจ จับมือสสว.และธนาคารพาณิชย์เทสินเชื่ออุตสาหกรรมเอสเอ็มอีรวมกันเกิน 100,000 ล้านบาท เป็นการเดิมพันประเทศตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้เอสเอ็มอีเข้าตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) นำไปสู่การฟื้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้า ด้านสินเชื่อโครงการรัฐของแบงก์กรุงไทยปล่อยแล้ว 1.1 แสนล้านบาท

การช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)รัฐบาลได้บรรจุนโยบายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนบริหารประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายระดับชาติที่มุ่งหวังผลักดันให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีศักยภาพมากขึ้นและสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาผลพวงจากวิกฤตเศรษฐกิจ ได้สร้างผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างมาก และลามไปถึงผู้ประ กอบการเอสเอ็มอีที่เป็นฐานซัพพอร์ตสินค้าให้กับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

“ต้องยอมรับว่าการพัฒาประเทศในช่วงที่ผ่านมา ละเลยธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างมาก แต่มุ่งเพียงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่จะสร้างความเป็นเศรษฐกิจใหม่ในภูมิภาคเอเชียขึ้นมาก แต่ก็ผิดหวัง เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจยังไม่มีความพร้อม ในต่างประเทศธุรกิจเอสเอ็มอีจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการรองรับประเทศในระยะยาว ต้องเข้าใจว่ารัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมาก็มีนโยบาบช่วยเหลือเอสเอ็มอีแต่น้ำหนักของนโยบายไม่รุนแรงเหมือนปัจจุบัน ”แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับแผนการช่วยเหลือเอสเอ็มอีในขณะนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการหลากหลายรูปแบบ เช่น การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับธุรกิจเอสเอ็มอีโดยขยับฐานภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านบาท การจัดตั้งบรรษัทสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.)ที่เตรียมยกระดับสู่ธนาคารเอสเอ็มอี การจัดตั้งบรรษัทค้ำประกันสินเชื่อ อุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อเข้าไปเพิ่มเครดิตการปล่อยสินเชื่อให้กับธนาคารพาณิชย์มากขึ้น

นอกจากนี้ การผลักดันให้ธนาคารของรัฐที่มีอยู่ เข้าไปสนับสนุนสินเชื่อให้กับเอสเอ็มอี โดยมีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB เป็นแกนหลัก ขณะเดียวกันรัฐบาลยังมีแผนให้ธุรกิจเอสเอ็มอีเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) ในเบื้องต้นจะต้องเป็นธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 40 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท

ชำแหละตัวเลขแสนล้าน

กองทุน-แบงก์แห่ปล่อยกู้

ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ว่าขณะนี้ธนาคารมีแผนที่จะขยายความช่วยเหลือทางด้านสินเชื่อให้กับอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี เพื่อให้เอสเอ็มอีสามารถรับได้ความช่วยเหลือทางด้านเงินทุน โดยธนาคารคาดว่าจะปล่อยกู้สินเชื่อให้กับอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีได้ประมาณ 106,500 ล้านบาท

แบ่งเป็นโครงการแรกร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ปล่อยกู้ 7 โครงการ โดยธนาคารเป็นผู้สนับสนุนเงินกู้ในวงเงินประมาณ 78,500ล้านบาท และอีกโครง การคือธนาคารร่วมกับสถาบันการเงินของรัฐจำนวน 10แห่ง จัดตั้งกองทุนสนับสนุนเอสเอ็มอี 3 กองทุน วงเงิน 60,000 ล้านบาท โดยเป็นส่วนของธนาคารกรุงไทยร่วมลงเงินใน 3กองทุนจำนวน

28,000 ล้านบาท

สำหรับรายละเอียดของโครงการที่ร่วมกับสสว.ปล่อยกู้ 7 โครง การ ประกอบด้วย

โครงการสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการใหม่, โครงการเพื่อผู้ประกอบการส่งออก,โครงการจัดสินเชื่อเพื่อพัฒนาเอสเอ็มอีสำหรับผู้ประกอบการทั่วไป, โครงการจัดสินเชื่อเพื่อพัฒนาเอสเอ็มอีสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก (สินเชื่อห้องแถว)

โครงการจัดสินเชื่อเพื่อพัฒนาเอสเอ็มอีสำหรับผู้ประกอบการขนาดจิ๋ว,โครงการสนับสนุนเงินทุนดำเนินงาน (แมทชิ่งฟันด์) และโครงการซัพพลายเออร์ เครดิต

ในเบื้องต้นทางสสว.เตรียมรายชื่อลูกค้าเอสเอ็มอีให้กับธนาคาร ของรัฐประมาณที่เข้าร่วมประมาณ5,000 รายทั้งนี้ในบางโครงการทางบสย.จะเข้ามาค้ำประกันสินเชื่อ

สำหรับโครงการจัดตั้งกองทุน 3 กองทุน ประกอบด้วย โครง การกองทุนเพื่อสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีชุมชน

,โครงการร่วมทุนเพื่อสนับสนุนเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ แต่ติดเงื่อนไขบางอย่างของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)และโครงการจัดตั้งกองทุนร่วมทุน

ทั้งนี้การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวจะมีจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด คือคณะทำงานเพื่อการติดตามผลการดำเนินงานแผนยุทธศาสตร์ธนา คารพาณิชย์ของรัฐเพื่อสนับสนุนเอสเอ็มอีตามนโยบายของรัฐบาล

และโครงการปล่อยกู้เอสเอ็มอีของธนาคารกรุงไทยในครั้งนี้เป็นโครง การระยะเวลา2 ปี

ปัจจุบันธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้ให้กับเอสเอ็มอีไปแล้วเกิน 10,000 ล้านบาท จากเป้าสินเชื่อที่ปล่อยกู้เอสเอ็มอีในปีนี้15,000 ล้านบาท และเพื่อให้ธนาคารสามารถปล่อยกู้เอสเอ็มอีได้มากขึ้น จึงได้มีการจัดอบรมสัมมนาผู้จัดสาขาทั่วประเทศเกี่ยวกับนโยบายการปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีอีกด้วย

ก่อนหน้านี้สสว.ได้ประเมินว่าหากภาวะเศรษฐกิจของประเทศเติบโต 4% นั้นหมายความว่าจะส่งผลให้เอสเอ็มอีโตได้ 4% ในขณะที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังไม่ฟื้นตัว นอกจากนี้ตามข้อมูลของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (TDRI)ระบุว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจของเอสเอ็มอีจะคิดเป็น 45% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีการจ้างงานลดลง 4% สวนทางกับการจ้างงานของเอสเอ็มอีที่เพิ่มขึ้นปีละ 4.7%

ปล่อยกู้ภาครัฐฉลุย1.1แสนล.

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ยอดการปล่อยสินเชื่อในส่วนของการปล่อยกู้ให้กับภาครัฐและรัฐวิสาหกิจของธนาคารกรุงไทยตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ได้ปล่อยกู้ไปแล้วถึง 112,200 ล้านบาทโดยการปล่อยกู้เกือบทั้งหมดกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ทำให้ธนาคารไม่มีความเสี่ยงในการปล่อยกู้

สำหรับโครงการที่ปล่อยกู้ไปแล้วอาทิเช่นปล่อยกู้ให้กับกระทรวงการคลัง เพื่อนำเงินไปรีไฟแนนซ์พันธบัตรรัฐบาล ประมาณ 45,000 ล้านบาท นอกจากธนาคารกรุงไทยยังได้ปล่อยกู้ให้กับโครงการถไฟรางคู่เพิ่มเติมอีก 2,000 ล้านบาท จากเงินกู้ที่ปล่อยไว้เดิม 2,700 ล้านบาทและยังมีโครงการปล่อยกู้ให้กับองค์การขนส่งมวลชนกรุง เทพ (ขสมก.) เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ค่าน้ำมันให้บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) และชำระค่าอะไหล่รถ ในวงเงิน 2,000ล้านบาท โดยการปล่อยกู้ทั้งโครงการรถไฟรางคู่และขสมก.ในครั้งนี้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้

อย่างไรก็ตามการปล่อยสินเชื่อให้กับภาครัฐถือว่าทะลุเป้าที่ตั้งไว้จากเดิมธนาคารตั้งเป้าจะปล่อยกู้ 100,000 ล้านบาทขณะนี้สามารถปล่อยได้ถึง 112,200 ล้านบาทอย่างไรก็ตามเชื่อว่าเป้าสินเชื่อรวมในปีนี้ที่ตั้งไว้170,000 ล้านบาท จะสามารถทำได้ตามเป้าอย่างแน่นอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us