ศูนย์วิจัยกสิกรไทย หนุนแบงก์ชาติลดดอกเบี้ยอาร์/พี กระตุ้นเศรษฐกิจ ลดภาระให้แก่ภาคธุรกิจหวั่นปัญหา
NPL ในระบบสถาบันการเงินลากยาว ฉุดเศรษฐกิจไทยซ้ำรอยญี่ปุ่น ระบุรัฐเผชิญทางสองแพร่งที่ต้อง
เลือกดำเนินนโยบายระหว่างการใช้นโยบายแบบประคับประคองศก. ที่ต้องใช้เวลานานกับการดำเนินนโยบายที่เด็ดขาดที่อาจจะต้องรับผลกระทบในระยะแรกมากกว่า
แต่โอกาส ของการฟื้นตัวที่เร็วกว่า
ศูนย์วิจัยรายงาน ดอกเบี้ยไทยจะลดหรือไม่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา
แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟด จะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น fed funds
rate ไว้ที่ 1.75% ในการประชุมในวันที่ 13 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่นักวิเคราะห์ในตลาดเงินและตลาดทุน
ส่วนใหญ่ก็ยังคงคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ย
fed funds ในช่วงที่เหลือของปี เพื่อที่จะช่วยประคับประคองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ที่กำลังเผชิญ กับความไม่แน่นอน โดยเป็นไป ได้ว่า อาจจะมีการปรับลดในการประชุมของเฟดในวันที่24
กันยายน นี้
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ยังมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องของระดับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
โดยได้คาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยไว้ตั้งแต่ 0.25% ถึง 0.75% ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ย
fed funds ณ สิ้นปีนี้อยู่ระหว่าง 1% ถึง 1.5% ทั้งนี้ตัวแปรหลักที่จะกำหนดระดับของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว
ก็คงจะได้แก่ตัวเลขเศรษฐกิจ สหรัฐฯ โดยเฉพาะความเชื่อมั่นของ ผู้บริโภค ตัวเลขการว่างงาน
และอัตราเงินเฟ้อ
ระบบการเงินไทย สภาพคล่องยังล้น
สำหรับภาวะตลาดเงินไทยนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า การดำเนินนโยบายผ่อนปรนเพิ่มเติมจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) น่าจะยังคงมีความเป็นไปได้ ดังจะพิจารณาได้จากตัวแปรต่างๆ ต่อไปนี้
ระดับสภาพคล่องส่วนเกิน ที่ขณะนี้มีถึงประมาณ 1.17 ล้านล้านบาท ซึ่งแม้ว่าจะหักตราสารที่ออกโดยบริษัทบริหารสินทรัพย์ในการซื้อหนี้
NPL จากธนาคารพาณิชย์และพันธบัตรรัฐบาล ตามโครงการ 14 สิงหา รวมกันประมาณ
6.4 แสนล้านบาทแล้วก็ตาม ปริมาณ สินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกินในระบบที่เหลืออยู่ก็ยังคงสูงถึง
5.3 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับปลายปี 2539 ก่อนวิกฤต ที่มีเพียง 5 หมื่น ล้านบาท
นอกจากนี้ ปริมาณสภาพ คล่องส่วนเกินดังกล่าว ยังไม่นับรวมเงินฝากในต่างประเทศของบรรดาธนาคารพาณิชย์ไทย
อีกถึงประมาณ 5 แสนล้านบาท ซึ่งธนาคารสามารถนำเงินดังกล่าวกลับเข้าสู่ระบบได้ทุกเมื่อ
การขยายสินเชื่อยังคงเป็นไป อย่างจำกัด โดยดูจากสินเชื่อของธปท.ที่ได้ปรับรายการตัดหนี้สูญและการโอนหนี้ไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์แล้ว
พบว่า ในช่วง 6 เดือน แรกของปี สินเชื่อสุทธิในระบบเพิ่ม ขึ้นเพียง 4 หมื่นล้านบาท
ขณะที่เงินฝากเพิ่มถึง 1.9 แสนล้านบาท ความไม่สมดุลระหว่างการเปลี่ยน แปลงของสินเชื่อ
และเงินฝาก สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเศรษฐกิจ การเงินของประเทศ และภาวะสภาพคล่องส่วนเกินที่มีอยู่ในระบบ
ธนาคาร
การปรับเพิ่มของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง การปรับลดอย่างต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อ
ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย หลังหักอัตราเงินเฟ้อ หรืออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง
ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยอัตราดอกเบี้ย MLR ที่แท้จริง ได้ปรับเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน
ปีก่อนหน้าแล้ว และขณะนี้ก็อยู่ในระดับที่สูงสุดในรอบเกือบ 30 เดือน ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ
3 เดือนที่แท้จริง ก็อยู่ในระดับสูงสุด นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2543
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังพบว่า การบริโภคภาคเอกชน กับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง
มีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งหมายความว่า การปรับเพิ่มของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง
ดังกล่าว อาจจะส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของการใช้จ่ายเพื่อบริโภค ขณะที่ภาระดอกเบี้ยที่แท้จริงของภาคธุรกิจก็ได้เพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งล้วนมิใช่สิ่งที่ส่งผลดีต่อภาวะเศรษฐกิจแต่ประการใด หนุนธปท.ลดดอกเบี้ยนโยบายลดภาระธุรกิจ
จากปัจจัยพื้นฐานในข้างต้น ประกอบกับแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ย fed
funds ของ สหรัฐฯ ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ยังคงมีช่องว่างให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย
สามารถพิจารณา ผ่อนปรนนโยบายอัตราดอกเบี้ยใน ประเทศลงได้อีก โดยศูนย์วิจัย
เห็นว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศ น่าจะเป็นผลดีต่อภาคธุรกิจ รวมทั้งน่าจะช่วยกระตุ้นการ
ใช้จ่ายในประเทศ โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ย จะช่วยบรรเทาผลจากการปรับเพิ่มของอัตราดอกเบี้ย
ที่แท้จริง
นอกจากนี้ ในกรณีที่สหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย fed funds ลง การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศลงตาม
ก็น่าจะเป็นการดำเนินการที่มีเหตุผล เพราะจะช่วย มิให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
(จากผลต่าง ระหว่างอัตราดอกเบี้ยที่จะกว้างขึ้น หากสหรัฐฯลดอัตราดอกเบี้ย)
จนอาจจะกระทบต่อความสามารถในการส่งออกของประเทศ ซึ่งแท้ที่จริง แล้ว ตลาดเงินและตลาดทุนในประเทศเอง
ก็ได้เริ่มคาดการณ์ การ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดและของธปท.แล้วตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา
ดังจะเห็นได้จากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 5 ปี ที่ปรับลดลงไป
0.2% ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
แต่การปรับลดอัตราดอกเบี้ย ก็ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้าย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศ อาจจะส่งผลดีต่อภาวะเศรษฐกิจ
แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ก็ยังเห็นว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยโดยลำพัง นั้น
มิใช่ทางออกทั้งหมดของปัญหา เศรษฐกิจที่เผชิญอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้ หากพิจารณาปัญหาหนี้เสียในระบบ
การเงินไทย จะพบว่า หนี้ NPL ที่อยู่กับสถาบันการเงิน มีอยู่รวมทั้งหมด เกือบ
5 แสนล้านบาท ซึ่งแม้ว่าจะลดลงจากที่เคยสูงถึง 2.7 ล้านล้านบาท ในปี 2542
แต่ในระบบ ก็ยังคงมีหนี้ NPL ที่กระจายอยู่ใน สถาบันการเงินและบัญชีอื่นๆ
อีก
เช่น NPL ที่อยู่กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ต่างๆ ซึ่งรวมกันมีประมาณ 1 ล้านล้านบาท
และหนี้ NPL ที่ผ่านการปรับโครงสร้าง โดย สุทธิแล้ว ทั้งระบบมีประมาณ 6.3
แสนล้านบาท ในขณะที่หนี้ปรับโครงสร้างดังกล่าว ก็ยังคงมีความไม่แน่นอนว่าจะอาจจะย้อนกลับมา
เป็นหนี้ NPL อีกหรือไม่ เนื่องจาก ปัญหาคุณภาพการปรับโครงสร้างหนี้
โดยมีการประมาณการกันว่า สัดส่วนการไหลย้อนกลับมาเป็น NPL อีกอาจสูงถึง
30% ของหนี้ที่ปรับโครงสร้าง ดังนั้น หากรวมหนี้ NPL ที่อยู่กับสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์
ตลอดจนอีกประมาณ 30% ของหนี้ที่ปรับโครงสร้างแล้ว ก็จะได้ยอดรวมของ หนี้ที่มีปัญหาในระบบ
ประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท โดยประมาณ 1 ล้าน ล้านบาท เป็นหนี้ที่อยู่กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ต่างๆ
ในขณะที่อีก ประมาณ 7 แสนล้านบาท ยังคงอยู่ที่สถาบันการเงินในระบบ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ปัญหาความชะงักงันในระบบเศรษฐกิจ การเงินของประเทศในขณะนี้
โดยเฉพาะการขยายสินเชื่อของสถาบันการเงินนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่สถาบันการเงินทราบถึงความเป็นไปได้
ที่อาจจะต้องรับรู้ความสูญเสียทั้งจาก NPL ที่มีอยู่ในบัญชีขณะนี้ และจากหนี้ที่ได้ปรับโครงสร้างไปแล้ว
ซึ่งทำให้ช่วงที่ผ่านมาสถาบันการเงิน พยายามทำสำรอง โดยขณะนี้ยอดสำรองหนี้สูญที่ระบบธนาคารได้ทำไปแล้ว
มีสูงกว่าเกณฑ์ที่ธปท. กำหนดถึงประมาณ 50% ซึ่งสะท้อน ถึงความกังวลต่อปัญหานี้ของธนาคารพาณิชย์
ทั้งนี้ หากดูหนี้ที่เข้าข่ายว่ามีปัญหาที่อยู่กับสถาบันการเงินประมาณ
7 แสนล้านบาท (โดย 5 แสนล้านบาทบันทึกเป็น NPL ขณะ ที่อีกประมาณ 2 แสนล้านบาท
คิด จากสัดส่วน 30% ของหนี้ที่ปรับโครงสร้าง) จะพบว่าสถาบันการเงิน สามารถรองรับหนี้ที่มีปัญหาดังกล่าว
ด้วยการสำรองที่มีอยู่ได้ประมาณ 4.2 แสนล้านบาท ในขณะที่ส่วนที่เหลือจะต้องรองรับโดยหลักประกัน
อย่างไรก็ตาม การไม่มีการตีราคาหลักทรัพย์ ค้ำประกันที่จะสามารถสะท้อนถึงราคาตลาด
ได้อย่างชัดเจนนั้น ทำให้ยังคงมีความ เป็นไปได้ว่า เมื่อการดำเนินการในเรื่อ
NPL มาถึงขั้นสิ้นสุดในชั้นศาล โดยมีการประมูลขายทรัพย์ที่เป็นหลักประกันของลูกหนี้ออกสู่ท้องตลาด
สถาบันการเงินอาจจะต้องรับรู้ความสูญเสียเพิ่มมากกว่าที่ทำเก็บไว้ก็ได้
เนื่องจากราคาทรัพย์ที่ขายได้จริง อาจจะต่ำกว่าราคาที่เคยประเมินไว้ ในบัญชีของสถาบันการเงิน
ดังนั้น จากความเป็นไปได้ดังกล่าว จึงทำให้สถาบันการเงิน ยังคงต้องระมัดระวังการขยายสินเชื่อใหม่ของตน
และยังคงทำสำรอง เพิ่มเติมอยู่ แม้ว่าจะเกินเกณฑ์ของ ธปท.มาแล้วก็ตาม เพราะทราบดีว่าความสูญเสียยังอาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้
หวั่นปัญหา NPL ลากยาว ฉุดไทย ซ้ำรอยวิกฤตญี่ปุ่น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงเห็นว่า ยิ่งปัญหาในระบบสถาบันการเงินไทย ลากยาวนานออกไปเท่าใด
ความเสี่ยงที่ประเทศไทย อาจจะเผชิญปัญหาเหมือนญี่ปุ่นก็อาจจะมีมากขึ้น เพราะความชะงักงันในการขยายสินเชื่อของระบบสถาบันการเงินจะกดดันให้ทางการต้อง
หันมากกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการดำเนินนโยบายการคลังและนโยบาย การเงินแบบขยายตัว
ซึ่งหมายความ ว่า รัฐบาลอาจจะต้องขาดดุลงบประมาณต่อเนื่องไปอีก ในขณะที่ก็จะมีแรงกดดันให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระบบลงอีก
เพื่อจะกระตุ้นเศรษฐกิจ
ดังนั้น หากจะเปรียบเทียบว่าเศรษฐกิจไทยเหมือนญี่ปุ่น ศูนย์ วิจัยเห็นว่า
ความเหมือนในเรื่องแรง กดดันให้รัฐบาลและธนาคารกลาง ต้องดำเนินนโยบายการคลังและการเงินที่ผ่อนคลายนั้น
เป็นเพียงความเหมือนในรูปแบบของนโยบาย ที่เป็นผลของปัญหา ในขณะที่สิ่งที่น่ากังวลมากกว่า
คือ ความเหมือน ในเรื่องปัญหาความชะงักงันของสถาบันการเงินในระบบ ที่ยังคงมีหนี้เสียอยู่เป็นจำนวนมาก
ในขณะที่สถาบันการเงิน ก็ยังคงมีทุน จำกัด ในการที่จะรองรับความสูญเสียได้ทั้งหมด
หากหนี้ดังกล่าวรวมทั้งหลักทรัพย์ค้ำประกัน จะต้องถูกกำหนดราคาตามราคาตลาด
(Mark to Market) อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ หากพิจารณาปัญหาเศรษฐกิจ การเงินไทย ในมุมมองดังกล่าว ก็คงจะเห็นแล้วว่า
การปรับลดอัตราดอกเบี้ย แม้ว่าอาจจะส่งผลดีต่อภาคธุรกิจและการใช้จ่ายในประเทศ
แต่ก็ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ที่เพียงพอที่จะครอบคลุมต่อการแก้ปัญหาทั้งหมดในระบบสถาบันการเงินไทย
ที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้
ศูนย์วิจัยเห็นว่า ทางการไทย กำลังเผชิญทางเลือกที่สำคัญ ระหว่าง การดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้
เสียแบบประคับประคอง ให้เกิดผล กระทบหรือ การขาดทุนน้อยที่สุด (ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานมาก)
กับทางเลือกที่อาจจะต้องรับผลกระทบ ในระยะแรกมากกว่า (เช่น การให้สถาบันการเงินบันทึกราคาสินทรัพย์
ทั้งหมด ตามราคาตลาด รวมทั้งการตัดขายสินทรัพย์ที่มีปัญหา ไปแก่นักลงทุนที่สนใจเข้ามาทำธุรกิจแทน)แต่อาจนำมาสู่การเปลี่ยนแปลง
และโอกาสของการฟื้นตัวที่เร็วกว่า
นอกจากนั้นแล้ว สิ่งที่ทางการ ยังต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
การสร้างระบบธรรมาภิบาลและวัฒนธรรมองค์กรที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ รวมถึงกระบวนการทางกฎหมาย
และการยุติธรรม ที่จะสนับสนุนระบบธรรมาภิบาลดังกล่าว