อิออนระดมทุน 5 พันล้านเยน กู้เงินสถาบันการเงินญี่ปุ่น 6 แห่ง รองรับการขยายตัวทางธุรกิจ ระยะยาวเตรียมระดมทุนด้วยการ ซีเคียวรีไทเซชัน และแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ด้าน อีซี่ บาย ชะลอแผนเข้าตลาดหุ้นเป็นปี 49 หลัง ธปท.คุมเข้มดอกเบี้ย 28% มั่นใจสินเชื่อรายย่อยของ บริษัทโตต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจจะชะลอตัว คาดสิ้นปี ขยายตัวได้ 15-20%
นายมาซาโอะ มิซูโน กรรมการผู้จัดการบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (AEONTS) เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ระดมเงินทุนโดยได้รับอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงินของประเทศญี่ปุ่น 6 แห่ง ซึ่งเป็นการปล่อย กู้ร่วมกัน (ซินดิเคตโลน) ภายใต้วงเงินประมาณ 1,800 ล้านบาท หรือ 5,000 ล้านเยน อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับอยู่ที่ระดับ 4.86% และจะใช้คืนภายในเวลา 3 ปี เป็นการปล่อยเงินกู้แบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยการได้รับอนุมัติครั้งนี้จะทำให้บริษัทฯแข็งแกร่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม การที่บริษัทฯดำเนินการระดมทุนในครั้งนี้ เนื่องจากต้องการ นำมาใช้ในการหมุนเวียนธุรกิจ เช่น ขยายธุรกิจบัตรเครดิต ขยายเครือข่าย และวางระบบเทคโนโลยีเพื่อให้บริการที่รวดเร็วแก่ลูกค้า รวมทั้งขยายสาขาเพิ่ม ขึ้นเป็น 70 แห่ง จากปัจจุบันที่มีอยู่ 62 แห่ง
"บริษัทอิออนพยายามหาช่องทางของแหล่งเงินทุนใหม่ จะยึดแหล่งเงินทุน จากธนาคารพาณิชย์ของไทยอย่างเดียวไม่ได้ การระดมเงินทุนที่ได้รับจากการ ปล่อยกู้ร่วมของ 6 บริษัทครั้งนี้ ประกอบด้วย 1.SHINSEI BANK, LIMITED 2.Mitsui Sumitomo Insurance Co.,Ltd. 3.Resona Bank Ltd. 4.The Michinoku Bank,Ltd. 5.Tokio & Nichido Fire Insurance Co.,Ltd. 6.The Chugoku Bank, Ltd. ซึ่งถือว่าเป็นการปล่อยสินเชื่อที่มีขนาดใหญ่มาก และเป็นครั้งแรกของไทยและเอเชีย"
ทั้งนี้ หลังจากที่บริษัทได้ระดมทุนแล้วจะทำให้ มีสัดส่วนหนี้ต่อทุน (D/E) ของบริษัทไม่เกิน 7 เท่า โดยบริษัทมีเป้าหมายไม่เกิน 10 เท่า ซึ่งในระยะต่อ ไปทางบริษัทมีแผนที่จะแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ซึ่งเป็น ทางหนึ่งในการระดมเงินทุนเพื่อนำไปขยายธุรกิจ แต่ จะดำเนินกรเมื่อได้นั้นขึ้นอยู่กับสภาพของตลาด จาก ปัจจุบันมีต้นทุนเงินกู้เฉลี่ยอยู่ที่ 4.5% และมีหนี้ทั้งสิ้นประมาณ 17,000 ล้านบาท
นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนที่จะระดมเงินทุนโดยการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ซีเคียวรีไทเซชั่น) ในวงเงิน 2,000-3,000 ล้านบาท หลังจาก เดือนสิงหาคม 2548 เป็นต้นไป โดยเงินที่ระดมทุนจะนำไปขยายธุรกิจและให้บริการสินเชื่อกับลูกค้า และเป็นการระดมเงินทุนในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยมีทิศทางที่จะปรับเพิ่มขึ้น โดยในช่วงต้นปีที่ผ่านมาบริษัทได้ออกพันธบัตรไปแล้วจำนวน 1,320 ล้านบาท
นายมาซาโอะ มิซูโนกล่าวต่อว่า บริษัทยังมีวงเงินสินเชื่อในส่วนของธนาคารพาณิชย์ภายในประเทศด้วย เช่น ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ธนาคาร กรุงไทย ( KTB) ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และธนาคารกรุงศรี-อยุธยา (BAY) นอกจากนี้ธนาคารยังมีวงเงินสินเชื่อ กับธนาคารสัญชาติญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศไทยทุกแห่ง ด้วย ซึ่งได้รับความไว้วางใจในฐานะของบริษัทเองเป็น อย่างดี
สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทนั้น ในช่วง ไตรมาส 1/2548 (21 กุมภาพันธ์-20 พฤษภาคม 2548) บริษัทมีอัตราการขยายตัวของสินเชื่อทุกประเภทอยู่ที่ระดับ 27% หรือประมาณ 11,700 ล้านบาท สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) 2.43% และมียอดสินเชื่อคงค้างในไตรมาส 2/2548 มีสัดส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคล 23% บัตรเครดิต 36% และสินเชื่อเช่าซื้อสินค้าอีก 41%
นางกัณณิกา เกื้อศิริกุล กรรมการบริหาร กล่าวว่า เงินทุนที่ได้รับจะนำมารองรับการดำเนินงาน ด้านผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตเป็นสำคัญ ซึ่งการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลในส่วนของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) โดยกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวมกันไม่เกิน 24% นั้น ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้บริษัทหันมามุ่งเน้นกลุ่มธุรกิจบัตรเครดิต แต่เห็นว่าสินเชื่อบัตรเครดิตในระยะต่อไปจะขยายตัวได้มากกว่าสินเชื่อประเภทอื่น
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯมองว่าการที่ ธปท.ออกมาตรการดังกล่าวออกมานับว่าเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากช่วยให้การปล่อยสินเชื่อของผู้ประกอบการมีมาตรฐาน และเป็นการจัดระเบียบที่เหมาะสม ซึ่งบริษัทฯสามารถปรับตัวตามเกณฑ์ที่ ธปท.กำหนดได้ และแม้ว่าจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยรวมกับค่าธรรมเนียมให้ต่ำลง แต่ก็ไม่ได้กระทบต่อผลกำไรของบริษัทเพราะมียอดการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น อีซี่ บาย ชะลอแผนเข้าตลาดฯ
นายคัทซูฮิโกะ มาโดโนะ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงแผนการเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ขณะนี้บริษัทมีความพร้อมที่จะเข้าซื้อขายในตลาดหลัก- ทรัพย์ฯแล้ว แต่หลังจากที่มีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการคุมดอกเบี้ย 28% จึงทำให้ความเชื่อมั่นของผู้ที่สนใจจะร่วมลงทุนกับบริษัทลดน้อยลง จึงจะชะลอแผนดังกล่าวถึงปี 2548 และคาดว่าจะเข้าตลาดหุ้นในปี 2549
ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการร่วมลงทุนต้องการรอดูผลประกอบการทั้งก่อนและหลังที่มีการใช้มาตรการ ดังกล่าว ซึ่งหากผลประกอบการยังทรงตัวก็อาจจะเป็นช่วงเวลาที่ดี ซึ่งการชะลอการเข้าตลาดฯ ไม่เกี่ยว กับภาวะของตลาดหุ้นโดยรวม และสภาพเศรษฐกิจ แต่มองว่าเป็นผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ เพียงอย่างเดียว
นายคัทซูฮิโกะ กล่าวว่า การกู้เงินเพื่อนำมาปล่อยสินเชื่อนั้นที่ผ่านมายังไม่เคยนำเงินจากบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นมาใช้ เนื่องจากมองว่าการกู้ยืมธนาคารในประเทศจะถูกกว่าเงินเยน และการหาเงิน มาปล่อยกู้ มองว่ามีแนวทางอื่น เช่น การออกหุ้นกู้จะดีกว่า ซึ่งที่ผ่านมาบริษัท เคยออกหุ้นกู้ 3,000 ล้าน บาท แต่สำหรับแนวโน้มในปี 48 นั้นมองว่าจะยังไม่ออกหุ้นกู้เพิ่ม
ด้านนายสุรสิทธิ์ ยศยิ่งธรรมกุล รองกรรมการ บริหาร บริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ใน ปีนี้บริษัทตั้งเป้าอัตราการเติบโตประมาณ 15-20% ซึ่ง ลดลงจากเดิมที่เคยตั้งเป้า 30% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมา จากธปท.ออกมาตรการคุมเข้มดอกเบี้ย ซึ่งสิ้นปีคาดว่ายอดสินเชื่อสุทธิจะอยู่ที่ 15,000-16,000 ล้านบาท โดยครึ่งปีแรกมียอดสินเชื่อ 12,000 ล้านบาท ขณะที่ยอดรวมการปล่อยสินเชื่อจะอยู่ที่ 24,000-25,000 ล้านบาท
โดยประชาชนมีการใช้บริการอีซี่ บาย เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับราคาน้ำมันแพง ซึ่ง การที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดีทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมประหยัดทางด้านอื่นและหันมาใช้สินเชื่อเงินผ่อนมากขึ้น ส่วนหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มีแนวโน้มลดลง โดยขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 3-4% อย่างไรก็ตาม บริษัทจะต้องพยายามปรับบทบาท ให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น พัฒนาการบริการให้มีความหลากหลายขึ้น
ธุรกิจเงินด่วนสุดฮอตอิออนระดมทุน-อีซี่ บายมั่นใจครึ่งหลังสินเชื่อโตต่อ อิออนระดมทุน 5 พันล้านเยน กู้เงินสถาบันการเงินญี่ปุ่น 6 แห่ง รองรับการขยายตัวทางธุรกิจ ระยะยาวเตรียมระดมทุนด้วยการ ซีเคียวรีไทเซชัน และแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ด้าน อีซี่ บาย ชะลอแผนเข้าตลาดหุ้นเป็นปี 49 หลัง ธปท.คุมเข้มดอกเบี้ย 28% มั่นใจสินเชื่อรายย่อยของ บริษัทโตต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจจะชะลอตัว คาดสิ้นปี ขยายตัวได้ 15-20%
นายมาซาโอะ มิซูโน กรรมการผู้จัดการบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (AEONTS) เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ระดมเงินทุนโดยได้รับอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงินของประเทศญี่ปุ่น 6 แห่ง ซึ่งเป็นการปล่อย กู้ร่วมกัน (ซินดิเคตโลน) ภายใต้วงเงินประมาณ 1,800 ล้านบาท หรือ 5,000 ล้านเยน อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับอยู่ที่ระดับ 4.86% และจะใช้คืนภายในเวลา 3 ปี เป็นการปล่อยเงินกู้แบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยการได้รับอนุมัติครั้งนี้จะทำให้บริษัทฯแข็งแกร่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม การที่บริษัทฯดำเนินการระดมทุนในครั้งนี้ เนื่องจากต้องการ นำมาใช้ในการหมุนเวียนธุรกิจ เช่น ขยายธุรกิจบัตรเครดิต ขยายเครือข่าย และวางระบบเทคโนโลยีเพื่อให้บริการที่รวดเร็วแก่ลูกค้า รวมทั้งขยายสาขาเพิ่ม ขึ้นเป็น 70 แห่ง จากปัจจุบันที่มีอยู่ 62 แห่ง
"บริษัทอิออนพยายามหาช่องทางของแหล่งเงินทุนใหม่ จะยึดแหล่งเงินทุน จากธนาคารพาณิชย์ของไทยอย่างเดียวไม่ได้ การระดมเงินทุนที่ได้รับจากการ ปล่อยกู้ร่วมของ 6 บริษัทครั้งนี้ ประกอบด้วย 1.SHINSEI BANK, LIMITED 2.Mitsui Sumitomo Insurance Co.,Ltd. 3.Resona Bank Ltd. 4.The Michinoku Bank,Ltd. 5.Tokio & Nichido Fire Insurance Co.,Ltd. 6.The Chugoku Bank, Ltd. ซึ่งถือว่าเป็นการปล่อยสินเชื่อที่มีขนาดใหญ่มาก และเป็นครั้งแรกของไทยและเอเชีย "
ทั้งนี้ หลังจากที่บริษัทได้ระดมทุนแล้วจะทำให้ มีสัดส่วนหนี้ต่อทุน (D/E) ของบริษัทไม่เกิน 7 เท่า โดยบริษัทมีเป้าหมายไม่เกิน 10 เท่า ซึ่งในระยะต่อ ไปทางบริษัทมีแผนที่จะแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ซึ่งเป็น ทางหนึ่งในการระดมเงินทุนเพื่อนำไปขยายธุรกิจ แต่ จะดำเนินกรเมื่อได้นั้นขึ้นอยู่กับสภาพของตลาด จาก ปัจจุบันมีต้นทุนเงินกู้เฉลี่ยอยู่ที่ 4.5% และมีหนี้ทั้งสิ้นประมาณ 17,000 ล้านบาท
นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนที่จะระดมเงินทุนโดยการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (ซีเคียวรีไทเซชั่น) ในวงเงิน 2,000-3,000 ล้านบาท หลังจาก เดือนสิงหาคม 2548 เป็นต้นไป โดยเงินที่ระดมทุนจะนำไปขยายธุรกิจและให้บริการสินเชื่อกับลูกค้า และเป็นการระดมเงินทุนในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยมีทิศทางที่จะปรับเพิ่มขึ้น โดยในช่วงต้นปีที่ผ่านมาบริษัทได้ออกพันธบัตรไปแล้วจำนวน 1,320 ล้านบาท
นายมาซาโอะ มิซูโนกล่าวต่อว่า บริษัทยังมีวงเงินสินเชื่อในส่วนของธนาคารพาณิชย์ภายในประเทศด้วย เช่น ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ธนาคาร กรุงไทย ( KTB) ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และธนาคารกรุงศรี-อยุธยา (BAY) นอกจากนี้ธนาคารยังมีวงเงินสินเชื่อ กับธนาคารสัญชาติญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศไทยทุกแห่ง ด้วย ซึ่งได้รับความไว้วางใจในฐานะของบริษัทเองเป็น อย่างดี
สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทนั้น ในช่วง ไตรมาส 1/2548 (21 กุมภาพันธ์-20 พฤษภาคม 2548) บริษัทมีอัตราการขยายตัวของสินเชื่อทุกประเภทอยู่ที่ระดับ 27% หรือประมาณ 11,700 ล้านบาท สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) 2.43% และมียอดสินเชื่อคงค้างในไตรมาส 2/2548 มีสัดส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคล 23% บัตรเครดิต 36% และสินเชื่อเช่าซื้อสินค้าอีก 41%
นางกัณณิกา เกื้อศิริกุล กรรมการบริหาร กล่าวว่า เงินทุนที่ได้รับจะนำมารองรับการดำเนินงาน ด้านผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตเป็นสำคัญ ซึ่งการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลในส่วนของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) โดยกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวมกันไม่เกิน 24% นั้น ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้บริษัทหันมามุ่งเน้นกลุ่มธุรกิจบัตรเครดิต แต่เห็นว่าสินเชื่อบัตรเครดิตในระยะต่อไปจะขยายตัวได้มากกว่าสินเชื่อประเภทอื่น
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯมองว่าการที่ ธปท.ออกมาตรการดังกล่าวออกมานับว่าเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากช่วยให้การปล่อยสินเชื่อของผู้ประกอบการมีมาตรฐาน และเป็นการจัดระเบียบที่เหมาะสม ซึ่งบริษัทฯสามารถปรับตัวตามเกณฑ์ที่ ธปท.กำหนดได้ และแม้ว่าจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยรวมกับค่าธรรมเนียมให้ต่ำลง แต่ก็ไม่ได้กระทบต่อผลกำไรของบริษัทเพราะมียอดการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น อีซี่ บาย ชะลอแผนเข้าตลาดฯ
นายคัทซูฮิโกะ มาโดโนะ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงแผนการเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ขณะนี้บริษัทมีความพร้อมที่จะเข้าซื้อขายในตลาดหลัก- ทรัพย์ฯแล้ว แต่หลังจากที่มีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการคุมดอกเบี้ย 28% จึงทำให้ความเชื่อมั่นของผู้ที่สนใจจะร่วมลงทุนกับบริษัทลดน้อยลง จึงจะชะลอแผนดังกล่าวถึงปี 2548 และคาดว่าจะเข้าตลาดหุ้นในปี 2549
ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการร่วมลงทุนต้องการรอดูผลประกอบการทั้งก่อนและหลังที่มีการใช้มาตรการ ดังกล่าว ซึ่งหากผลประกอบการยังทรงตัวก็อาจจะเป็นช่วงเวลาที่ดี ซึ่งการชะลอการเข้าตลาดฯ ไม่เกี่ยว กับภาวะของตลาดหุ้นโดยรวม และสภาพเศรษฐกิจ แต่มองว่าเป็นผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ เพียงอย่างเดียว
นายคัทซูฮิโกะ กล่าวว่า การกู้เงินเพื่อนำมาปล่อยสินเชื่อนั้นที่ผ่านมายังไม่เคยนำเงินจากบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นมาใช้ เนื่องจากมองว่าการกู้ยืมธนาคารในประเทศจะถูกกว่าเงินเยน และการหาเงิน มาปล่อยกู้ มองว่ามีแนวทางอื่น เช่น การออกหุ้นกู้จะดีกว่า ซึ่งที่ผ่านมาบริษัท เคยออกหุ้นกู้ 3,000 ล้าน บาท แต่สำหรับแนวโน้มในปี 48 นั้นมองว่าจะยังไม่ออกหุ้นกู้เพิ่ม
ด้านนายสุรสิทธิ์ ยศยิ่งธรรมกุล รองกรรมการ บริหาร บริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ใน ปีนี้บริษัทตั้งเป้าอัตราการเติบโตประมาณ 15-20% ซึ่ง ลดลงจากเดิมที่เคยตั้งเป้า 30% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมา จากธปท.ออกมาตรการคุมเข้มดอกเบี้ย ซึ่งสิ้นปีคาดว่ายอดสินเชื่อสุทธิจะอยู่ที่ 15,000-16,000 ล้านบาท โดยครึ่งปีแรกมียอดสินเชื่อ 12,000 ล้านบาท ขณะที่ยอดรวมการปล่อยสินเชื่อจะอยู่ที่ 24,000-25,000 ล้านบาท
โดยประชาชนมีการใช้บริการอีซี่ บาย เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับราคาน้ำมันแพง ซึ่ง การที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดีทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมประหยัดทางด้านอื่นและหันมาใช้สินเชื่อเงินผ่อนมากขึ้น ส่วนหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) มีแนวโน้มลดลง โดยขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 3-4% อย่างไรก็ตาม บริษัทจะต้องพยายามปรับบทบาท ให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น พัฒนาการบริการให้มีความหลากหลายขึ้น
|