Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน27 กรกฎาคม 2548
"ยูคอม" เข็ดลงทุนในเทคโนโลยีใหม่             
 


   
www resources

โฮมเพจ ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรีส์

   
search resources

ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรีส์, บมจ.
Broadband




ยูคอมขยาดลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ เลิกเป็นผู้กล้าท้าความเสี่ยง มุ่งเน้นการเป็นผู้ให้บริการและโฟกัสที่บรอดแบรนด์ ส่วนการขอใบอนุญาตประกอบกิจการใหม่ ต้องรอดูประเภทก่อน ด้านรายได้ยูไอเอชยังเป็นตัวนำ และยูดีเป็นตัวรอง ล่าสุดเปิดตัวบริการดาวน์โหลดเอ็มพี 3 ภายใต้ชื่อมิวสิกกิ๊ก บาย ยู-นี่ ดอทคอม

นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยูไนเต็ด คอมมูนิเคชั่น อินดัสตรี (ยูคอม) กล่าวถึงแผนการดำเนินธุรกิจว่า จะมุ่งเน้นในเรื่องของบรอดแบรนด์ และการขายบริการเป็นหลัก เลิกลงทุนแบบเสี่ยงกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เนื่องจากมีบทเรียนมาแล้วหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นโฟนพอยต์ที่สูญเงินไปเป็น 1,000 ล้านบาท ธุรกิจสื่อสารผ่านดาวเทียมอีริเดียม ที่สูญไปหลายพันล้านบาท บริการไดเร็กทูโฮม บรอดคลาสที่หมดไปเป็นหมื่นล้านบาท หรือดาวเทียมลาวสตาร์ เป็นต้น

เหตุผลที่ยูคอมมุ่งเน้นในเรื่องของบรอดแบนด์ เพราะเชื่อว่าไม่ค่อยมีความเสี่ยง เนื่องจากมีผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมหลายรายมีโครงข่ายอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มยูคอม กลุ่มทรู ทีโอที กลุ่มจัสมิน หรือเอดีซีในเครือชิน คอร์ปอเรชั่น ซึ่งหากผู้ให้บริการแต่ละรายเปิดในเรื่องของการเชื่อมต่อโครงข่ายจะทำให้บริการประเภทบรอดแบนด์ดำเนินไปด้วยดี

"เราเสียหายจากการเป็นผู้กล้า มาแล้วจากหลายๆ โครงการเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ จึงต้องหันมาทำในเรื่องราวประจำวันก่อน"

จากนโยบายดังกล่าวล่าสุดกลุ่มยูคอมได้เปิดตัว "มิวสิกกิ๊ก บาย ยู-นี่ ดอทคอม" ซึ่งเป็นบริการดาวน์โหลดเอ็มพี 3 ผ่านอินเทอร์เน็ตและคีออส ด้วยการจับมือกับพันธมิตร โดยให้บริการภายใต้คอนเนควัน ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างยูคอมกับอินเตอร์เนต โซลูชั่น โพรวายเดอร์ (ไอเอสเอสพี) ผู้ผลิตและจำหน่ายอี-โก อินเทอร์เน็ต, อินเทอร์เน็ตชั่วโมงละบาทในชื่อนิลมังกร

บริการที่เปิดตัวในครั้งนี้ ได้มีการติดตั้งตู้ที่จะให้บริการแล้วที่ร้าน Xenn Shop ที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม, ร้านทีจี เซลลูล่าร์ ชั้น 4 มาบุญครอง และดีแทค เซอร์วิสฮอลล์ เซ็นทรัลเวิลด์ พลาซา ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต และมีแผนจะเปิดให้บริการตามจุดอื่นๆ อีกรวมประมาณ 10 จุด และมีแผนจะขยายเป็น 100-150 จุดภายในสิ้นปีนี้ ส่วนงบในการลงทุนตกประมาณตู้ละ 1 แสนบาท

ส่วนการคิดค่าบริการจะเก็บตั้งแต่ 15-20 บาท ขึ้นอยู่กับเพลงเป็นหลัก สำหรับการจ่ายค่าบริการ ลูกค้าสามารถชำระผ่านระบบ mPay บัตรเครดิต และผ่านเว็บไซต์ U-Nee.com ได้

ด้านรายได้สิ้นปีนี้ คอนเนค วันตั้งเป้าไว้ที่ 300 ล้านบาท คาดว่าจะมาจากยู-นี่ ดอทคอม 30% ริงฟอร์ยู *119 ประมาณ 50-60% และคอนเทนต์อื่นๆ อีก 10-20% ส่วนรายได้รวมของกลุ่มยูคอมนั้น ขณะนี้มาจากยูไอเอชที่ให้บริการสื่อสัญญาณความเร็วสูงเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นยอดขายจะมาจากยูดีที่ขายเครื่องลูกข่ายมือถือแต่มีกำไรน้อย

"การดำเนินธุรกิจเราจะมุ่งเน้นบริการ อย่างที่เราเปิดตัวครั้งนี้ ตู้คีออสจะเชื่อมโดยใครก็ได้ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายหรือรายไหน ผมไม่แคร์ คนเช่าไปทำธุรกรรมก็จ่ายค่าคอนเทนต์เราก็เท่านั้น" ขอใบอนุญาตใหม่ต้องดูประเภท

นายบุญชัยกล่าวถึงการให้ใบอนุญาตหรือไลเซนส์ใหม่ในการประกอบกิจการโทรคมนาคมจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ว่า การมีกทช. กิจการโทรคมนาคมต้องนับหนึ่งกันใหม่ ยกเว้นมือถือ เพราะยังติดสัญญาเดิม และก็ต้องดำเนินการไปจนกว่าจะหมดสัญญา ส่วนการสื่อสารยุคที่ 3 หรือ 3 จี เป็นเรื่องของมัลติมีเดีย ซึ่งตลาดขณะนี้แคบมาก อย่างผู้ให้บริการในเกาหลี ญี่ปุ่น หรือยุโรป ยังไปไม่รอด เพราะยังเป็นบริการเฉพาะกลุ่ม และต้องลงทุนสูงมาก ที่สำคัญคนส่วนใหญ่ยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ถึงระดับนั้น ส่วนจะมีการขอไลเซนส์ใหม่หรือไม่มีต้องดูประเภทของใบอนุญาตก่อน แต่จะไม่ขอในส่วนที่เป็นไอเอสพี เนื่องจากมีพาร์ตเนอร์ดำเนินกิจการอยู่แล้ว

ค่าเชื่อมโครงข่ายยังทำหนังสือโต้ตอบ

สำหรับเรื่องของค่าเชื่อมโครงข่ายหรืออินเตอร์คอนเนกชัน ชาร์จ นายบุญชัยกล่าวว่า ขณะนี้ยังมีการทำหนังสือโต้ตอบกับกสท โทรคมนาคม อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวผู้บริการยุคนี้ไม่กล้าตัดสินใจ จึงต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการทำงาน ซึ่งอาจจะต้องถึงอนุญาโตตุลาการ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us