"ตฤณ ตัณฑเศรษฐ" ชี้เปรี้ยงอี-มาร์เก็ตเพลสใกล้ถึงจุดเปลี่ยน
หลังแนวโน้มเว็บเซอร์วิสมาแรง ย้ำหากแจ้งเกิด ในไทย ตลาดกลางเตรียมม้วนเสื่อ
กลับบ้าน ยันการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่จำเป็นต้อง Exchange
เพียงใช้เว็บเซอร์ วิสผ่านโปรแกรมเอาต์ลุก หรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมา สามารถไดเร็กต์กับตลาดทั่วโลกได้
นายตฤณ ตัณฑเศรษฐี กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด
(มหาชน) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการดำเนินธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตภายใต้ชื่อไอเน็ต
เปิดเผยถึงการทำธุรกิจ บนเครือข่ายผ่านตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-มาร์เก็ตเพลสว่า
อี-มาร์เก็ตเพลสที่ให้บริการในไทยอยู่ขณะนี้กำลังจะเข้าสู่จุดของการเปลี่ยนแปลง
หากเว็บเซอร์ซิสแจ้งเกิดอย่างเต็มตัว แต่ที่สำคัญต้องเร่งให้ความรู้กับตลาด
และผู้ประ กอบการ
"หากเว็บเซอร์วิสเป็นที่รู้จักกันดีในไทยแล้ว การทำธุรกรรมต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่จำเป็นต้องผ่านตลาดกลาง
ไม่จำเป็นต้อง Exchange เพียงใช้เว็บเซอร์วิสผ่านเอาต์ลุกก็สามารถ ไดเร็กต์กับตลาดทั่วโลกได้แล้ว
ซึ่งขณะนี้บูมมากในต่างประเทศอย่างอเมริการหรือยุโรป และขณะนี้มาเลเซียให้ความสำคัญมาก
นอก จากนี้ยังมีสิงคโปร์ที่กำลังตามๆ มา"
สำหรับเว็บเซอร์วิส (Web Services) ถ้าจะมองในเชิงเทคนิค คือรูปแบบของการให้บริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เนื่องจากเป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารที่ตรงกับการทำงานของเว็บเซอร์วิสที่สุด
แต่เว็บเซอร์วิสในความหมาย ที่หลายๆ คนเข้าใจ ซึ่งคิดว่าเป็นการ บริการผ่านทางเว็บไซต์เท่านั้น
ส่วนรูปแบบการติดต่อสื่อสารของเว็บเซอร์วิสคือ การติดต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ซึ่งอินเทอร์เน็ตนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การใช้เว็บ เบราว์เซอร์ที่ใช้ๆ กันอยู่
อาทิ IE, Netscape หรือ Mozilla ติดต่อเข้าไปในเว็บไวต์ที่ให้บริการเท่านั้น
แต่หมายถึงการติดต่อผ่านทางอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ด้วย เช่น โทรศัพท์มือถือ
PDA และ Pocket PC แม้แต่การใช้โทรศัพท์โทร.เข้า ไปก็สามารถเป็นการเชื่อมต่อกับบริการเว็บเซอร์วิสได้
โดยการติดต่อกับเว็บเซอร์วิสขึ้นอยู่กับว่าทางผู้ให้บริการจะเขียนโปรแกรมให้ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อผ่านทางช่องทางใดได้บ้าง
สิ่งที่ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่มีความคิดเกี่ยวกับเว็บเซอร์วิสแบบผิดๆ ว่าการให้บริการของเว็บเซอร์
วิสเป็นการให้บริการผ่านทางอิน- เทอร์เน็ต โดยใช้การเรียกเข้าจากทางเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการ
สาเหตุมาจากการที่เว็บเซอร์วิสเป็นรูปแบบ การให้บริการที่ค่อนข้างใหม่ สามารถให้บริการได้หลายวิธีและหลายช่องทาง
แต่รูปธรรมการให้บริการที่เห็นชัดที่สุดของเว็บเซอร์วิสคือการให้บริการผ่านทางเว็บไซต์
เช่น www.hotmail.com, www. yahoo.com และ www.altavista. com เป็นต้น
การให้บริการจะเป็นอะไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจที่ผู้ให้บริการทำอยู่
ซึ่งส่วนใหญ่การ บริการเว็บเซอร์วิสตอนนี้จะเป็น การให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสินค้าและบริการ การตรวจสอบข้อมูล หรือข้อมูลลูกค้า แต่ก็ใช่ว่าเว็บเซอร์วิสจะเป็นการให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
การเขียนโปรแกรมให้เป็นการบริการแบบ One Stop Services ก็สามารถ ทำได้ ซึ่งมีแนวโน้มว่าในอนาคตการบริการเว็บเซอร์วิสจะมีรูปแบบการให้บริการในลักษณะนี้
รูปแบบการทำงานเว็บเซอร์ วิสจะเป็นในลักษณาการที่ผู้ให้บริการเขียนโปรแกรมเว็บเซอร์วิสขึ้นมา
จากนั้นจะเชื่อมต่อโปรแกรม ที่เขียนขึ้นมาไปยังฐานข้อมูลต่างๆ สำหรับการให้บริการที่มีอยู่ทั้งหมด
แล้วลิ้งค์เชื่อมต่อกันทั้งหมด และก่อนที่จะให้บริการก็กำหนดช่องทาง การติดต่อระหว่างลูกค้า
ซึ่งสามารถ ทำได้ตั้งแต่ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม เมื่อลิ้งค์เรียบร้อยก็เปิดให้บริการ
การทำงานจะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เมื่อลูกค้าติดต่อเข้ามาผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ก็จะเป็นการเรียกไปยังแอปพลิเคชั่นที่เขียนขึ้นมา
จากนั้นระบบจะเชื่อม ต่อไปยังฐานข้อมูลต่างๆ ตามที่ลูก ค้าร้องขอมาในระบบ
แล้วดึงเอาข้อมูลตามที่ร้องขอออกมาแสดงให้ลูกค้าเห็น
ประโยชน์ของเว็บเซอร์วิสมีค่อนข้างมาก แต่ลักษณะที่เป็นประโยชน์อย่างเห็นได้ชัดคือ
ลูกค้าสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผู้ให้บริการได้โดยตรงและถูกต้อง ยิ่งถ้าลักษณะการทำเว็บเซอร์วิสแบบ
One Stop Services เกิดขึ้นลูก ค้าสามารถตัดสินใจในการเลือกซื้อ ได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านคนกลางอย่างการทำอี-มาร์เก็ตเพลส
ขณะนี้แนวโน้มของเว็บเซอร์วิสกำลังมาแรง บริษัทใหญ่ล้วนให้ความสนใจในการทำหรือกำลังพัฒนาเว็บเซอร์วิสของตัวเองขึ้นมา
นักพัฒนาเองต่างก็กำลังพัฒนาแอปพลิเคชั่นให้สามารถเขียนหรือรองรับการทำงานของเว็บเซอร์วิสได้เช่นกัน