|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กระทรวงไอซีที เตรียมเรียกกสท และทีโอทีหารือเกี่ยวกับค่าเชื่อมโครงข่ายอีกครั้งในสัปดาห์หน้า หลังหาข้อสรุปยังไม่ได้ เพราะการเสนอตัวเลขที่ต่างกัน ขณะเดียวกัน ก็จะเรียกกทช.แจงเรื่องของยูเอสโอ ส่วนการเชื่อมต่อวงจรมือถือให้โอเปอเรเตอร์ต่อตรงกันได้ แต่ต้อง อยู่ใต้กรอบสัญญาสัมปทาน
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ขณะนี้บริษัท ทีโอที และกสท โทรคมนาคม ยังไม่สามารถหาข้อสรุปเรื่องค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (อินเตอร์คอนเนกชันชาร์จ) ได้ลงตัวเพราะมีการเสนอตัว เลขที่แตกต่างกัน โดยทีโอทีเสนอ 3 รูปแบบ คือ อัตราค่าบริการที่เรียกเก็บ จากต้นทาง(ออริจิเนต) 3 บาท อัตราค่าบริการที่เรียกเก็บจากปลายทาง (เทอร์มิเนต) 1.50 บาท และอัตราค่า บริการที่เรียกเก็บจากการเชื่อมต่อโครงข่าย(ทรานสิต) 1.10 บาท ขณะที่กสท เสนอเป็นอัตราเดียว (แฟลตเรต) นาทีละ 75 สตางค์
กระทรวงไอซีทีจึงได้ให้ทั้ง 2 บริษัทไปสรุป หาอัตราที่เหมาะสม ที่สะท้อนต้นทุนการดำเนินการที่แท้จริงและไม่กระทบต่อ ผู้ใช้บริการ และนำมาเสนอในสัปดาห์หน้า
ส่วนเรื่องบริการโทรคมนาคม สาธารณะ (ยูเอสโอ) ซึ่งในตอนแรกทางคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จะเรียกเก็บจากผู้ให้บริการแต่ละราย ในอัตรา 7% ของส่วนแบ่งรายได้ ซึ่งทีโอทีกับ กสท จะต้องแบกรับแทนคู่สัญญา หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แต่ทีโอทีได้ดำเนินการเรื่องยูเอสโออยู่แล้ว ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ซึ่งกทช.ไม่สามารถเรียกเก็บในส่วนนี้ได้ และไอซีทีจะเรียก กทช. เข้าหารืออีกครั้ง
ส่วนปัญหาเรื่องโทรศัพท์มือถือที่ไม่สามารถโทร.ข้ามเครือข่ายได้ โดยเฉพาะในเวลาเร่งด่วนนั้น กระทรวงไอซีทีได้สั่งให้ทางผู้ให้บริการต่อตรงกันเองได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้สัญญาสัมปทาน หรือในความยินยอมของ ทีโอที ซึ่งทำให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส ไม่สามารถต่อตรงกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทคได้อย่างที่ผ่านมา แต่ดีแทค สามารถต่อตรงกับ บริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ได้ เนื่องจากเป็นคู่สัญญา กับ กสท ซึ่งไม่ได้ระบุว่าห้ามต่อตรงกับผู้ให้บริการรายอื่น
ด้านทีโอทีมั่นใจว่า ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา หลังจากได้ขยายวงจรเชื่อมโยงระหว่างทีโอที และดีแทคจำนวน 760 วงจรเสร็จไปเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถโทร.ข้ามเครือ ข่ายได้มากขึ้น ส่วนที่เหลืออีก 1,380 วงจร แบ่งเป็นเอไอเอส 960 วงจร และทีเอ ออเร้นจ์ อีก 420 วงจร จะสามารถ ดำเนินการเสร็จได้ภายในเดือนหน้า
|
|
|
|
|