การเน้นคอนเซ็ปต์รับชำระเงินด้วยเงินสด และบริการตนเอง การขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง
พร้อมกลยุทธ์ราคาต่ำที่สุด เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของแม็คโคร แต่ใช้ได้ดีจนถึงปัจจุบัน
ยุคเศรษฐกิจกำลังฟื้น และสังคมไทยกำลังเดินเข้าสู่สังคมแห่งการบริโภคอีกครั้งหลังจากสะดุดเมื่อ
3-4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ธุรกิจค้าส่ง และค้าปลีกต่างล้วนแต่ได้รับผลประโยชน์
อย่างถ้วนหน้า โดยเฉพาะบมจ.สยามแม็คโคร (makro) อันเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างกลุ่มบริษัทเจริญโภคภัณฑ์
หรือซีพี กับกลุ่มบริษัท SHV Holdings N.V. ของเนเธอร์แลนด์ ผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งชื่อดังของยุโรปเจ้าของชื่อ
"แม็คโคร" (ปัจจุบันสยามแม็คโครถือหุ้นโดย SHV Holdings 43.5% กลุ่ม ซีพี และผู้ถือหุ้นอื่นๆ
24.3% และประชาชนทั่วไป 32.2%)
แม็คโครจัดว่าเป็นผู้นำตลาดค้าส่งในประเทศไทย เข้ามาครั้งแรกเมื่อปลายปี
2532 จุดเด่น ได้แก่ SHV Holdings และกลุ่มซีพีโดยใช้ชื่อ "แม็คโคร" เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทในเครือ
SHV ที่ทำธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย
สยามแม็คโครจึงได้รับการถ่ายทอด know how ด้าน การบริหารระบบ ที่ผ่านการทดลองมาแล้วในหลายประเทศ
ทั่วโลก รวมถึงอายุของการดำเนินธุรกิจ 103 ปี ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน ที่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้
นับตั้งแต่แม็คโครเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยได้เติบใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยยอดขายเฉลี่ยแล้วเติบโตขึ้นถึง 79.78% ขณะที่กำไรสุทธิเฉลี่ยมีการเติบโต
56.05% ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา
ตัวเลข ที่สวยหรูนี้ส่วนใหญ่แม็คโครได้รับจากผลพวงของภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่อยู่ในขาขึ้น
โดยเฉพาะช่วงปี 2533-2539 ส่งให้ผลประกอบการของบริษัทขยายตัว เป็นเลข 2 หลักทุกปี
จากอดีต ที่ชื่นมื่นของแม็คโครได้สะดุดลงหลังจากย่างก้าวเข้าสู่วิกฤติเศรษฐกิจ
เมื่อได้รับผลกระทบด้วยยอดขายลดฮวบฮาบเหลือสัดส่วนการเติบโตเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์
โดยเฉพาะปี 2541 มียอดขายน้อยกว่าปี 2540 ถึง 3.36% ส่วน กำไรสุทธิก็เริ่มไม่เติบโตแบบพุ่งทะยานเหมือนอดีตอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม็คโครยังได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา
ซึ่งจากความสำเร็จดังกล่าวได้ ดึงดูดให้ผู้ประกอบการค้าส่งรายใหม่ก้าวเข้ามาขอมีส่วนแบ่ง
ในตลาดค้าส่งอย่าง บุกเกอร์ และเซฟโก้
ขณะเดียวกันการพยายามเข้ามาแข่งขันทางด้านราคาของบรรดาร้านค้าปลีกขนาดใหญ่
(hypermarket) อย่างโลตัส บิ๊กซี และคาร์ฟูร์ ทำให้การแข่งขันทวีความรุนแรงมากขึ้น
จากผลพวงวิกฤติเศรษฐกิจส่งผลให้ทั้งบุกเกอร์ และเซฟโก้ ปิดตัวลงเมื่อปีที่ผ่านมาหลังจากขาดทุนอย่างต่อเนื่องมาตลอดในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ
"แม็คโครสามารถผ่านวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจได้อย่างราบรื่น ด้วยประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และความดึงดูดของรูปแบบการจำหน่ายสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแม็คโคร"
อาร์โนลด์ โทบัค กรรมการผู้จัดการสยามแม็คโคร กล่าว
เอกลักษณ์ ที่ว่า คือ เน้นการจำหน่ายสินค้าราคาถูกที่สุดโดยอาศัยความ ที่บริษัทเป็นผู้ประกอบการที่มุ่งเน้นต้นทุนต่ำที่สุด
"หลังจากบุกเกอร์ และเซฟโก้ ปิดตัวไป แม็คโคร จึงกลายเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าส่งรับชำระด้วยเงินสด และลูกค้าบริการตนเอง
(cash & carry) เพียงรายเดียวในประเทศไทย ซึ่งสถานการณ์เช่นปัจจุบันผู้ประกอบการที่
แข็งแกร่งเท่านั้น จึงจะอยู่รอดได้ภายใต้การแข่งขัน ที่ดุเดือด" โทบัคกล่าว
ยุทธวิธี ที่แม็คโครนำมาใช้ เพื่อรองรับการแข่งขัน คือ ราคา "ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน
ซึ่งผู้บริโภคมีความละเอียดอ่อนกับเรื่องราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ธุรกิจค้าส่งแบบบริการตนเองได้รับการคาดหมายว่ายังคงดำเนินอยู่ได้อย่างมั่นคง
เนื่องจากเน้นจำหน่ายสินค้าในราคาถูก" ประกอบกับการลงทุนอย่างหนักของธุรกิจค้าปลีกในกลุ่ม
hypermarket โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่ 3 รายทั้งโลตัส บิ๊กซี และคาร์ฟูร์ ซึ่งกำลังส่งผลกระทบต่อแม็คโครเมื่อยอดขายลดลงเรื่อยๆ
เนื่องจากมีลูกค้าใกล้เคียงกัน แม็คโครจึงหันมาจับลูกค้ากลุ่มขนาด เล็ก และขนาดกลาง
(SMEs)
"เราเห็นว่าธุรกิจเหล่านี้มีศักยภาพสูง ที่จะเป็นลูกค้าหลักกลุ่มใหม่ของแม็คโคร และเป็นลูกค้ารายใหญ่ในอนาคต"
โทบัคกล่าว
กลุ่มธุรกิจดังกล่าวโทบัค เรียกว่า ผู้แปรรูป (transformers) แบ่งออกเป็นผู้แปรรูปสินค้าบริโภค
(food transformers) และผู้แปรรูปสินค้าอุปโภค (non-food transformers)
"ผู้แปรรูปสินค้าบริโภค คือ เป็นคนที่ซื้อสินค้าจากเรา เพื่อนำไปเพิ่มมูลค่าแล้วขายต่อ
ส่วนผู้แปรรูปสินค้าอุปโภค เป็นผู้ที่ซื้อสินค้าจากเราแล้วไปใช้ในธุรกิจของตน"
การกำหนดลูกค้าเช่นนี้เกิดจากการมองในประเทศอื่นๆ ที่ธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลางถือว่าเป็นฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่ของแม็คโคร
และจากประสบการณ์ในตลาดต่างประเทศพบว่า จำนวนธุรกิจดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นในช่วง ที่เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต
"เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว กลุ่มผู้แปรรูปจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ แม้ปัจจุบันยังมีสัดส่วนประมาณ
40% ของฐานลูกค้าทั้งหมดของแม็คโครก็ตาม" โทบัคกล่าว
จากธรรมชาติของธุรกิจของแม็คโคร ที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะกับธุรกิจค้าปลีก
ในกลุ่ม hypermarket ทำให้แม็คโครต้องตัดราคาสินค้าลงมาบ้าง แต่ก็ไม่กระทบต่อแม็คโครมากนัก
และถึงแม้จะทำให้มาร์จินต่ำลงแต่ในระยะยาวแล้วแม็คโครจะสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดเอาไว้ได
้เพราะมี ที่ตั้งดีกว่า และต้นทุนการลงทุน ที่ต่ำกว่า
นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจค้าปลีกมีเป้าหมายเป็นการขายปลีก ต่างจากแม็คโคร ที่เน้นขายส่ง
และถึงแม้จะมีการมาแย่งลูกค้าแม็คโครไปบางส่วน แต่รายได้ส่วน ที่หายไปนั้น จะสามารถทดแทนได้จากรายได้ของสาขาแห่งใหม่
แม็คโครวางแผนขยายสาขาเพิ่มขึ้นปีละ 2-3 สาขาอย่างต่อเนื่องกระจายไปทั่วประเทศ
ทำให้สามารถเพิ่มยอดจำหน่ายได้จำนวนมาก ในขณะที่ยังเป็นการลดความเสี่ยงจากการแย่งส่วนแบ่งตลาดอีกด้วย
"เราลงทุนเปิดสาขาใหม่ได้รับแรงกระตุ้นมาจากสัญญาณฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และฐานะการเงิน ที่แข็งแกร่งของแม็คโคร"
โทบัคกล่าว
การขยายสาขาจะช่วยให้บริษัทสามารถประหยัดต้นทุน เนื่องจากขนาดได้ (economies
of scale) ทั้งนี้เพราะการสั่งสินค้าในปริมาณมากจะทำให้สามารถต่อรองราคากับ
suppliers ได้มากขึ้น ทั้งด้าน credit term รวมทั้งได้ต้นทุนสินค้าในราคา ที่ต่ำกว่าคู่แข่ง
ทำให้มาร์จินของบริษัทค่อนข้างดี โดยเฉพาะการเพิ่มสัดส่วนยอดขายสินค้าอุปโภคมากขึ้นเพราะมีมาร์จินสูงกว่าการขายสินค้าบริโภค
อีกทั้งการดำเนินธุรกิจขายส่งแบบเงินสดทำให้ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาหนี้เสีย
และยังส่งผลให้บริษัทมีระดับของกระแสเงินสด ที่หมุนเวียน (cash flow) อยู่ในกิจการอัตราสูง
ทำให้ แม็คโครมีความแข็งแกร่งด้าน cash flow เมื่อเงินสดเพิ่มขึ้นทำให้สามารถขยายสาขาได้ง่าย
โดยไม่ต้องมีปัญหาในส่วนของดอกเบี้ยจ่าย
นอกจากนี้แม็คโครยังรุกธุรกิจย่อยเสริมรายได้ เพื่อเป็นการสร้างเสริมรายได้
จึงเข้าไปลงทุนในธุรกิจ ที่มีมาร์จิน สูง ซึ่งต่างจากธุรกิจค้าส่ง ที่มีมาร์จินต่ำแต่เน้นปริมาณขายมากกว่า
โดยเข้าไปลงทุนในธุรกิจ ที่เน้นบริการที่รวดเร็วราคาถูก คือ ร้านแม็คโคร ออโต้แคร์
เป็นธุรกิจบริการดูแล และรักษารถยนต์ และธุรกิจประเภท category killer คือ
ร้าน ที่ขายสินค้าเฉพาะอย่าง คือ แม็คโคร ออฟฟิศ เซ็นเตอร์ ธุรกิจจำหน่ายเครื่องใช้สำนักงาน
ธุรกิจทั้งสองอย่างเพิ่งดำเนินการเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้ม ที่จะขยายตลาดได้อีกมาก
ปัจจุบันทำยอดขายให้แม็คโครได้จำนวนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับธุรกิจค้าส่ง ดังนั้น บริษัทจึงได้เน้น ที่จะทำการขยายสาขาให้ได้จำนวนมากๆ
เข้าไว้ ยุทธศาสตร์ของแม็คโครไม่ว่าในอดีตหรือปัจจุบันจะเน้นเติบโตภายใต้นโยบายสินค้าราคาถูก
บริการดี มีสาขามาก จากอดีตจนถึงปัจจุบันแม็คโครในประเทศไทยมีผู้นำ 3 ราย
ซึ่งเป็นนโยบายของ SHV Holdings ที่มีนโยบายปรับเปลี่ยนตำแหน่งของผู้บริหารตลอดเวลา เพื่อความคล่องตัวในการสร้างสรรค์ความคิดใหม่ และพัฒนาประสบการณ์ของผู้บริหาร
เริ่มจากเอียน แฮมิลตัน เข้ามาบริหารแม็คโครตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการจนถึงกลางปี
2539 กลยุทธ์การดำเนินงาน ที่สำคัญ คือ ด้านราคา โดยมีการปรับราคาสินค้าอุปโภค และบริโภคทุกประเภท ที่มีราคาสูงกว่าราคาสินค้าปลีกกลุ่ม
hypermarket ห้างสรรพสินค้า และโฮลเซลส์อื่นๆ ให้ลดลง ซึ่งสินค้าตัวใดของแม็คโครมีราคาแพงกว่าผู้ประกอบการรายอื่น
บริษัทจะปรับให้ต่ำลง โดยจะเน้นขยายสินค้าในราคา ที่ต่ำที่สุดในประเทศไทย
เมื่อแอนโทนี ลีโอแนล สตีล เข้ามาบริหารงานแทนแฮมิลตัน ก็ได้วางนโยบายบริหารหลักๆ
ไว้ 3 อย่าง กลยุทธ์ด้านราคา ที่ต้องถูก การบริหารลูกค้าต้องดี และตรงจุดมากขึ้น
และต้องสามารถขยายสาขาให้ได้ 2-3 สาขาต่อปี
แนวความคิดดังกล่าวพัฒนาขึ้นในประเทศอังกฤษ เรียกว่า micro marketing โดยจะเป็นการศึกษาข้อมูลจากลูกค้าอย่างเจาะลึกเฉพาะกลุ่ม ซึ่งเป็นการทำตลาดเฉพาะทาง
โดยทำการวิจัย และศึกษาถึงพฤติกรรมในการซื้อสินค้าของลูกค้าอย่างละเอียด
แม้กระทั่งรสนิยมในการซื้อสินค้าของลูกค้า เพื่อให้ได้ข้อมูลทางการตลาด และนำมาปรับเปลี่ยนสินค้า ที่จำหน่ายในแม็คโครให้ตรง
และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี
ล่าสุดโทบัค เข้ามาบริหารงานต่อจากสตีล ตั้งแต่ปี 2540 เขาก็ยังสานต่อนโยบายเก่า ที่ดำเนินการไปแล้ว
ซึ่งเขาก็ยอมรับว่าจากในอดีต ที่เปิดศูนย์ค้าส่งแม็คโครเฉลี่ยปีละ 2 แห่งในช่วงทศวรรษ
ที่ผ่านมา จากนี้ไปก็จะเป็นเช่นนั้น ต่อไปรวมทั้งนโยบายอื่นๆ อีก และยังใช้ได้ผลเหมือนเดิม
แต่ปัญหาหลักของสยามแม็คโคร ก็คือ การที่ต้องเผชิญ กับการแข่งขันจากยักษ์ใหญ่ด้านค้าปลีกจากยุโรป
ซึ่งอาศัยความได้เปรียบในช่วง ที่ภาวะเศรษฐกิจเอเชียวิกฤติ เข้ามา สร้างฐานในไทยไว้
การพลิกฟื้นกิจการของห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เป็นกรณีหนึ่งในประเด็นนี้
กล่าวคือ เมื่อ "คาสิโน กรุ๊ป" แห่งฝรั่งเศส เข้าซื้อกิจการ "บิ๊กซี" ใน
ช่วงไตรมาส ที่สองของปีที่แล้ว ก็ดำเนินการเพิ่มทุนถึงกว่าสองเท่าตัว อีกทั้งตัดยอดหนี้สินจาก
เดิมประมาณ 7,000 ล้านบาท จะลดลงเหลือเพียงประมาณ 1,000 ล้านบาทภายในสิ้นปีนี้
อีกทั้งยังขายทิ้งกิจการสิ่งทอ ที่ขาดทุน จนกระทั่งมีผลประกอบ การเพิ่มขึ้น
11% เป็น 22,300 ล้านบาทจากการขายปลีก นักวิเคราะห์คาดว่ายอดขาดทุนสุทธิปีที่แล้วอยู่ ที่
244 ล้านบาท อาจคืนกลับมาเป็นกำไรสุทธิถึง กว่า 500 ล้านบาทในสิ้นปีนี้
ยอดขายของบิ๊กซียังคงเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งในช่วงสองเดือนแรกของปี 2543
โดยมีอัตราเพิ่ม 17% เมื่อเทียบปีต่อปี ด้วยเหตุนี้บิ๊กซีจึงกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
อีกทั้งมีแผนที่จะเพิ่ม สาขาอีก 5-6 แห่งในปีนี้ และอีก 15 แห่งในอีกสามปีข้างหน้า
นอกจากนี้เทสโก้-โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ซึ่งมีผู้ค้าปลีก รายใหญ่ที่สุดของอังกฤษอย่างเทสโก้ซื้อกิจการไว้
ก็เป็นกิจการ อีกแห่งหนึ่ง ที่มีแนวทางเชิงรุกเข้มข้น คือ มีแผนที่จะลงทุน
22,700 ล้านบาท เพื่อเพิ่มเชนสาขาให้ครบ 40 แห่งจาก 17 แห่งให้ได้ภายในปี
2003
"การแข่งขันจะรุนแรงถึงขนาดมีห้างอยู่ทั่วทุกมุมถนนทีเดียว" ฮิวจ์ ยัง
แห่งอาเบอร์ดีน แอสเซ็ท แมเนจเมนท์ เอเชีย (Aberdeen Asset Management Asia)
ในสิงคโปร์กล่าว
เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ความทะเยอทะยานของสยาม แม็คโครจึงดูเหมือนจะน้อยที่สุด
โดยแม็คโครมีแผนที่จะลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาทในปีนี้ โดยเปิดสาขาใหม่อีกสามแห่งจาก ที่มีอยู่เดิม
17 แห่ง และการเพิ่มบริการเกี่ยวกับรถยนต์ และศูนย์ธุรกิจ
"คาดว่ารายได้สุทธิจะเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยบริษัทจะมีการขยายตัวราว
4-5% ในปีนี้ จากยอดรายได้ 35,400 ล้านบาท ในปีที่แล้ว" โทบัคกล่าว
นักวิเคราะห์เห็นว่าตัวเลขดังกล่าวทำให้แม็คโครอยู่ในภาวะ ที่อ่อนแอ หากได้รับผลกระทบจากคู่แข่ง ที่มีแนวทางเชิงรุกมากกว่า
เนื่องจากคู่แข่งจะสามารถดึงกลุ่มลูกค้า ที่เป็นพ่อค้าแม่ค้าตามร้านค้าย่อย ที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลักของแม็คโครไป
หุ้นของกิจการแมคโครจึงเป็น "หุ้นแบบประหยัด" ที่กำลังสู้กับสภาพ การแข่งขัน ที่เข้มข้นขึ้นจากคู่แข่งรายใหม่จากยุโรป
กระนั้น ผู้บริหารของแม็คโครก็ยังมั่นใจเต็มที่ ซึ่งอาจเป็นเพราะแรงหนุนจากความสำเร็จ ที่มองเห็นได้ของสาขาใหม่ ที่เปิดในกรุงเทพฯ
และเป็นสาขา ที่ใหญ่ที่สุดในไทย แม็คโครระบุว่า สาขาใหม่มีผลกำไรตั้งแต่วันแรกที่เปิดบริการ
เนล เซมเพิล (Nell Semple) นักวิเคราะห์แห่งเอบีเอ็น อัมโร เอเชีย ซีเคียวริตี้ส์
ได้ไปเยี่ยมชมบรรยากาศ และพบว่า แถวลูกค้า ที่รอชำระเงิน ที่เคาน์เตอร์แคชเชียร์ยังคงยาวเหยียดแม้จะเป็นเวลา
23.00 น. แล้วก็ตาม เขาจึงคาดว่ารายได้จากยอดขายของแม็คโครจะเพิ่ม 21.5%
ในปีหน้า
แต่โทบัคบอกว่าคู่แข่งหลักของแม็คโครไม่ใช่ซูเปอร์เซ็นเตอร์แบบใหม่ แต่เป็นห้างค้าส่งแบบดั้งเดิม
เขากล่าวว่าตลาดที่ใหญ่ที่สุดของแม็คโครไม่ใช่ผู้บริโภคทั่วไป แต่เป็นผู้ค้าปลีก และกลุ่ม ที่ซื้อมาขายไปตั้งแต่ร้านค้าแผงลอยไปจนถึงโรงแรมระดับห้าดาว
ส่วนในธุรกิจ ที่ไม่ใช่อาหาร ธุรกิจขนาดย่อม และพ่อค้าแม่ค้าเป็นกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ของแม็คโคร
"เมื่อปีที่แล้วจำนวนลูกค้าของแม็คโครเพิ่มขึ้นถึง 17% เป็น 1.3 ล้านคน โทบัคคาดด้วยว่าตัวเลขเพิ่มขึ้นอีก
10% ในปีนี้"
ยิ่งกว่านั้น แม็คโครยังมีข้อได้เปรียบในธุรกิจ ที่มีกำไรต่อหน่วยต่ำ และยอดขายสูง
จึงต่างกับบิ๊กซี และโลตัสตรง ที่มีงบดุลแข็งแกร่งปลอดหนี้ ทำให้กิจการสามารถขยายต่อไปโดยใช้เงินสด
นอกจากนี้แม็คโครยังบริหารคลังสินค้าในระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับซัปพลายเออร์รายใหญ่
และคาดว่าจะใช้ระบบอี-คอมเมิร์ซได้ในปีนี้ก่อนหน้าห้างใหญ่ๆ ห้างอื่น
ระบบดังกล่าวจะช่วยให้ซัปพลายเออร์ได้ข้อมูลสต็อกสินค้าแบบเรียลไทม์ และมีการชำระเงินอัตโนมัติ
ประสิทธิภาพ ดังกล่าวจะทำให้สามารถประหยัดต้นทุนธุรกรรมได้อย่างมาก จนถึงขั้น ที่
"อาจเปลี่ยนแปลงผลประกอบการของบริษัทได้"
จากเหตุผลทั้งหลายดังกล่าวส่งผลให้หุ้นสยามแม็คโคร ได้รับการเหลียวมองมากขึ้น
ในตลาดหุ้นไทย ซึ่งมีความผันผวน โดยที่ดัชนีราคาหุ้นอยู่ ที่ราว 400 จุด
นักลงทุนส่วนใหญ่จึงมักเลือกซื้อหุ้นในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ และมีสภาพคล่อง
และธุรกิจโทร คมนาคม ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต จนหุ้นกิจการเหล่านี้เกือบจะเป็นหุ้นเพียงกลุ่มเดียว ที่กองทุนต่างชาติเข้าซื้อ
แต่ในประเทศ ที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคยังเป็นแรงผลักดันสำคัญในการฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจ
บริษัทธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลางก็มีข้อได้เปรียบ ที่เป็นต่อเช่นกัน และหนึ่งในจำนวนนั้น ก็คือ
สยามแม็คโคร (makro) ห้างค้าปลีกสินค้าแบบมีส่วนลด ซึ่งมีพ่อค้าแม่ค้า ที่มีอยู่มากมายตามท้องถนนเป็นลูกค้าหลัก
กองทุนในเอเชียหลายแห่งกำลังจับตาดูสยามแม็คโครอย่างใกล้ชิด "เราเข้าไปซื้อหุ้นบริษัทนี้เมื่อสองสามสัปดาห์ก่อน"
ยังกล่าว "เราคิดว่าราคาหุ้นตัวนี้จะขึ้นไปอีกมาก"
นักลงทุนของสยามแม็คโครก็เห็นด้วยเช่นกัน แม้ว่าราคาหุ้นของแม็คโคร ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแผนการที่กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์จะขายหุ้น
40 ล้านหุ้นของสยามแม็คโครออกไป อย่างไรก็ตาม นักวิจัยของแคปิตอล โนมูระ
ซีเคียวริตี้ส์ เชื่อว่าราคาหุ้นของแม็คโครอาจพุ่งขึ้นไปถึง 70 บาทในไตรมาส ที่
4 ปีนี้
ทางด้านเอสจี ซีเคียวริตี้ส์ ก็เชื่อมั่นในหุ้นของแม็คโคร มากถึงขนาดจัดให้อยู่ในกลุ่ม
"หุ้น ที่ควรซื้ออย่างยิ่ง" (strong buy) โดยมาเรีย ลาปิซ (Maria Lapiz) นักวิเคราะห์ของเอสจี
ซีเคียวริตี้ส์บอกว่ากิจการแม็คโคร มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงมาก
"ถ้าหากดูพื้นฐานแล้วคิดว่าราคา 90 บาทก็มีทางเป็นไปได้"