อินนิทิเอทิฟว์ เอเยนซี่ ซื้อสื่อรายใหญ่ ชี้ช่อง 3 ขึ้นราคาโฆษณา ลูกค้าตัดงบสื่ออื่นทั้ง
วิทยุ หนังสือพิมพ์ ป้ายโฆษณา เผยภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวแบบยั่งยืน
เติบโตเป็นบางกลุ่ม จากดอกเบี้ยต่ำ เช่นอสังหาฯ รถยนต์ ส่วนกลุ่มคอนซูเมอร์ยังไม่ฟื้นตัวจริง
จากค่ายยักษ์อัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย
นางวรรณี รัตนพล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินนิทิเอทิฟว์ มีเดีย จำกัด
บริษัทซื้อสื่อโฆษณารายใหญ่ของประเทศไทย เปิดเผยว่า "ผู้จัดการรายวัน" ว่า
การปรับเตรียมขึ้นราคาค่าโฆษณา ของช่อง 3 ในเดือนต.ค.นี้ ถือเป็นการทำ ลายบรรยากาศการใช้เม็ดเงินในอุตสาหกรรมโฆษณาผ่านสื่อทีวี
เพราะการปรับขึ้น ราคาในแต่ละครั้งลูกค้าขนาดกลาง และลูกค้าท้องถิ่นในประเทศไทย
ที่มีงบประมาณโฆษณาจำกัด จะชะลอการใช้เงิน ไว้ก่อน ส่วนลูกค้ารายใหญ่ที่เป็นบริษัทข้ามชาติ
อาจจะลดปริมาณโฆษณาในทีวีลง
ทั้งนี้ เชื่อว่าช่อง 3 คงปรับราคาโฆษณาขึ้นแน่นอน เพราะได้ชะลอการปรับมาตั้งแต่ต.ค.
ปีก่อนหลังเกิดเหตุการณ์ วินาศกรรมประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเอเยนซี่ได้รวมตัวกันและขอร้องไม่ให้ช่อง
3 ปรับราคาในช่วงนั้น แต่ในปีนี้สถานการณ์แตกต่างกัน และไม่มีเหตุผลใดที่จะอ้างกับช่อง3
ไม่ให้ปรับราคาขึ้นได้ และเอเยนซี่ก็ไม่ได้รวมตัวกันเหมือน ปีก่อน ที่ทุกคนเห็นว่าหากทีวีปรับราคา
ก็จะส่งกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมแน่นอน
การปรับราคาของช่อง 3 ในเดือนต.ค.นี้ เชื่อ ว่าจะกระทบกับลูกค้าและสื่ออื่นๆ
คือเมื่อลูกค้ามีงบโฆษณาจำกัด และจำเป็นต้องลงสื่อทีวีจากจุด เด่นที่ครอบคลุมพื้นที่ได้ทั่วประเทศ
ลูกค้าคงต้อง ไปตัดงบประมาณในสื่อเสริมที่จะลงคู่กับสื่อทีวี ดังนั้นสื่อที่จะได้รับผลกระทบกับการขึ้นค่าโฆษณา
คือ สื่อวิทยุ หนังสือพิมพ์ และป้ายโฆษณา เพราะส่วนใหญ่เป็นสื่อที่ใช้ควบคู่กับสื่อทีวี
นางวรรณีกล่าวต่อว่า ปัจจัยหลักที่ช่อง 3 นำมาพิจารณาขึ้นราคาโฆษณา คือเห็นว่าช่วงเวลา
ขายโฆษณาหลัก คือ ช่วง ละคร และข่าว สามารถ ขายโฆษณาได้เต็มตั้งแต่เดือน
ก.พ. เป็นต้นมา จึง ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจว่าน่าจะฟื้นตัวขึ้นแล้ว แต่ที่จริงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น
และต้องใช้ระยะเวลาอีกพักหนึ่ง
ทั้งนี้การฟื้นตัวของอสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ ไม่สามารถนำมาเป็นปัจจัยวัดการฟื้นตัวของภาพ
รวมเศรษฐกิจได้ เพราะเป็นกำลังซื้อของคนกลุ่ม บนที่มีเงินเก็บ แต่ไม่อยากเก็บเงินไว้
เพราะได้ผล ตอบแทนด้านอัตราดอกเบี้ยต่ำ จึงมาจับจ่ายใช้สอยในอสังหาฯ และรถยนต์
ที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยต่ำแทน
ส่วนภาคการจับจ่ายใช้สอยหลักของประเทศ คือในกลุ่มคนชั้นกลางถึงล่าง กำลังซื้อยังไม่ถือว่าฟื้นตัวเต็มที่
จะเห็นได้จากการออกมาจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของกลุ่มสินค้าอุปโภค บริโภค
เป็นสัญญานที่บอกให้ทราบว่า กำลังซื้อของประชาชนโดยรวมยังไม่ได้ฟื้นตัวอย่างมั่นคง
ไม่เช่นนั้นคงไม่เห็นกิจกรรมการตลาดของสินค้าคอนซูเมอร์
"ปัจจัยสำคัญของการจัดโปรโมชั่น คือ การ ตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภค เพื่อเพิ่มยอดขายให้สินค้า
ดังนั้นการออกมาโฆษณาสินค้า การจัดโปรโมชั่น ของค่ายคอนซูเมอร์ยักษ์ใหญ่ในขณะนี้ผ่านสื่อต่างๆ
ย่อมแสดงให้เห็นแล้วว่าค่ายคอนซูเมอร์ยังไม่บรรลุเป้าหมายยอดขายที่ตั้งไว้
ซึ่งก็น่าจะมา จากปัญหาภาพรวมเศรษฐกิจไทยว่าสามารถฟื้นตัวได้จริงหรือไม่"
นางวรรณีกล่าว
ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาการใช้จ่ายเม็ดเงิน โฆษณาในกลุ่มคอนซูเมอร์ บางตัวยังลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เช่น กลุ่มแฮร์แคร์ ลดลง 25% จาก1,215 ล้านบาท เหลือ 912 ล้านบาท กลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ลดลง 12% จาก 1,279 ล้านบาท เหลือ 1,064 ล้านบาท ส่วนกลุ่มที่ใช้เงินเพิ่มขึ้น
คือ มือถือ เพิ่มขึ้น 34% จาก 2,103 ล้านบาท เป็น 2,811 ล้านบาท รถยนต์ เพิ่มขึ้น
16% จาก 1,300 ล้านบาท เป็น 1,500 ล้านบาท และอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มขึ้น
11% จาก 730 ล้านบาท เป็น 808 ล้านบาท