Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2548
SET Webboard ขุดเจาะหุ้นน้ำมัน ประกันความเสี่ยงพอร์ต             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 


   
search resources

Stock Exchange
Oil and gas




ในภาวะที่ราคาน้ำมันทุกชนิดแพงขึ้นต่อเนื่อง รัฐงดอุดหนุนและยังออกมาตรการมากมาย ทำให้น้ำมันกลายเป็นประเด็น talk of the town โดยเฉพาะในตลาดหุ้น กระทู้เด่นช่วงเดือนนี้เป็นความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ของผู้ที่ใช้ชื่อ Invisible Hand ซึ่งเป็นผู้ควมคุมเว็บบอร์ด "กระทิงคุณค่า" ที่พูดคุยเรื่องการลงทุนหุ้นแบบเน้นมูลค่าของกิจการใน greenbull.net แต่กระทู้ของเขากลับถูกนำมาถกเถียงพูดคุยกันอย่างคึกคักในเว็บบอร์ด thaivi.com ซึ่งแน่นอนว่าผู้อ่านจะต้องเข้าอินเทอร์เน็ตไปอ่านด้วย นอกจากที่อ่านเนื้อหาย่อในนิตยสารผู้จัดการนี้

แถมท้ายด้วยลิงค์ไปยังหน้าเว็บ "ร้อยคนร้อยหุ้น" เกี่ยวกับหุ้นพลังงานที่ชาวเว็บ thaivi.com ให้ความสนใจสูงสุด 4 ตัว เรียงตามจำนวนความคิดเห็นที่มาพูดคุยในกระทู้

ภาวะน้ำมันแพง
thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=11486

ราคาน้ำมันคงจะอยู่ในระดับค่อนข้างสูงไปอีก ด้วยเหตุผลหลายประการ

1. Supply ของน้ำมันทั่วโลกไม่สามารถเพิ่มได้ในระยะเวลาสั้น เนื่องจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำๆ มานานตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 ทำให้ไม่ค่อยมีการลงทุนใหญ่ๆ ในการขุดเจาะน้ำมัน ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อทดแทนของเดิมมากกว่า การสำรวจแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเริ่มผลิตได้ ดังนั้นแม้ว่าราคาน้ำมันจะขึ้นมาในช่วงนี้มากกว่าแหล่งใหม่ๆ ที่เริ่มมีการสำรวจจะผลิตได้ก็คงใช้เวลาอีกหลายปี อย่างช่วงปี 73-74 ที่น้ำมันแพง ก็เริ่มมีการสำรวจแหล่งทะเลเหนือ ซึ่งกว่าจะเริ่มผลิตและจำหน่ายได้ก็ช่วงปี 78-79 และราคาน้ำมันก็เริ่มลดลงมาในปี 81 สำหรับปัจจุบันก็ยังมีความเสี่ยงว่าการสำรวจใหม่ๆ จะเจอแหล่งน้ำมันที่มีขนาดใหญ่อย่างทะเลเหนือได้หรือไม่ หรือหากมีการสำรวจใหม่ ต้นทุนการสำรวจก็คงไม่ต่ำเหมือนเมื่อก่อนแล้วโดยเฉพาะหากเป็นการสำรวจบนแผ่นดิน

จากผลของข้อจำกัดด้าน supply ราคาน้ำมันจะลงได้ก็คงต้องอย่าหวังว่าจะลงเพราะ supply จะเพิ่มมากได้ แต่ต้องหวังว่า demand จะลง นำไปสู่ข้อ 2

2. ราคาน้ำมันที่ระดับ 60 เหรียญฯ ไม่เพียงพอที่จะทำให้ demand ทั่วโลกลงมามากพอ เนื่องจากเหตุผลหลักๆ 2 อย่างคือ

- Inflation adjusted หาก adjust เงินเฟ้อเข้าไปราคาน้ำมัน 60 เหรียญฯ ยังต่ำกว่าระดับ inflation adjusted ในช่วงปี 80 ที่ราคาน้ำมันปรับเงินเฟ้อแล้วเท่ากับ 90 เหรียญอยู่ ดังนั้นราคาน้ำมันยังไม่ทำ new high ในรูปของราคาที่แท้จริง (real term)

- Oil consumption to GDP ของประเทศพัฒนาแล้วลดลงมาตลอด ตัวเลข Oil consumption to GDP เป็นตัวเลขบ่งบอกถึงการพึ่งพาน้ำมันของเศรษฐกิจแต่ละประเทศ ในปี 1980 สหรัฐฯ มีสัดส่วน Oil consumption to GDP 22% แต่ปัจจุบันลดลงเหลือ 7% หรือลดลง 3 เท่า ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีต่างๆ และการเติบโตของเศรษฐกิจในอัตราที่สูงในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นหมายความว่าแม้ว่าราคาน้ำมันในปัจจุบันจะขึ้นไปที่ inflation adjusted ที่ 90 เหรียญฯ แต่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็จะน้อยกว่าช่วงปี 1980 ถึง 3 เท่า เป็นสาเหตุที่สหรัฐฯ ไม่ออกมาโวยวายนักในเรื่องน้ำมันแพง

แต่เหตุการณ์นี้ตรงกันข้ามกับประเทศในเอเชีย ซึ่งมีการเติบโตของเศรษฐกิจสูงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการเพิ่มของจำนวนรถยนต์และการตัดถนนจำนวนมาก และการใช้พลังงานยังขาดประสิทธิภาพและการวางแผนที่ดี เช่น ประเทศไทยยังใช้สิบล้อในการขนส่งสินค้าแทนที่จะใช้รถไฟที่ยังถูกกว่า ยังมีโรงไฟฟ้าน้ำมันเตาให้เห็นอยู่ไม่น้อย โรงงานหลายแห่งก็ยังใช้น้ำมันเตา ซึ่งทำให้ Oil consumption ต่อ GDP ลดลงน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว ยกตัวอย่าง จีน ลดลงจาก 21% เหลือ 15%

ดังนั้นการที่ราคาน้ำมันมีราคาสูงขึ้น ผลจึงมาตกกับประเทศเอเชียและประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศที่ไม่มีแหล่งน้ำมัน ซึ่งจะได้รับผลกระทบมากกว่า แม้เมืองไทยจะไม่มีตัวเลข Oil consumption to GDP ให้ศึกษา แต่มีตัวเลข Oil import/GDP ซึ่งน่าจะใกล้เคียงกัน พบว่า สัดส่วนดังกล่าวได้เพิ่มจาก 1.44% ในปี 1993 มาเป็น 8-9% ในปี 2004 และน่าจะเพิ่มเป็น 13-15% ในปี 2005 หากใช้ตัวเลขการนำเข้าน้ำมันดิบในเดือนพ.ค. คือ 2 US bn มาทำเป็น 12 เดือนก็จะได้ 15%

จากตัวเลข Oil consumption to GDP ของประเทศพัฒนาแล้วจะเห็นได้ว่าแม้ราคาน้ำมันจะขึ้นไป 60 เหรียญฯ ก็จะไม่กระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจนัก และจะไม่ทำให้การใช้น้ำมันลดลงมากเท่าที่ควร

มองกลับมาที่ประเทศไทย ราคาน้ำมันเบนซินที่ 25 บาท ก็ไม่แน่ว่าจะทำให้การใช้น้ำมันลดลง ยอมจอดรถแล้วมาใช้ระบบขนส่งมวลชนมากแค่ไหน

ดังนั้นราคาน้ำมันในระดับ 55-60 เหรียญฯ ไม่น่าจะทำให้ demand ของโลกลดลงได้มากนัก ระดับน้ำมันที่จะทำให้ demand ของโลกลดลงคือประมาณ 80 เหรียญฯ บวกลบ ซึ่งคงจะทำให้เกิดภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการลดลงของราคาน้ำมันในอนาคตได้ 2 แนวทาง

1. ราคาน้ำมันผ่านระดับ 60 เหรียญฯ แล้วขึ้นอย่างรวดเร็ว คือ อาจจะขึ้นไป 80-100 เหรียญฯ ในระยะเวลาอันสั้น จนภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด กรณีนี้อาจจะทำให้ราคาน้ำมันลดลงได้เร็ว

2. ราคาน้ำมันผ่าน 60 เหรียญฯ แล้วไต่ระดับไปเรื่อยๆ อย่างช้าๆ กรณีนี้ราคาน้ำมันจะขึ้นได้นาน เพราะเศรษฐกิจโลกจะค่อยๆ ปรับตัวจึงทำให้ demand ไม่ลดลงนัก กรณีนี้จะไม่สามารถทำนายได้ว่าราคาน้ำมันจะไปถึงเท่าไรและถึงเมื่อไร แต่ราคาน้ำมันจะเริ่มลดลงก็ต่อเมื่อราคาขึ้นไปอยู่ในระดับสูงที่นานพอจนทำให้ประชากรส่วนใหญ่เริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมและมีการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น หรือมี supply ใหม่ๆ เข้ามา ดังนั้นก็อาจจะประมาณได้ว่าราคาน้ำมันอาจจะแพงไปอีก 5-6 ปี

มีปัจจัยบางอย่างที่อาจจะอยู่นอกเหนือการคาดการณ์ได้ เช่น การเข้ามาเก็งกำไรของ hedge fund ซึ่งหลายคนใช้เป็นคำอธิบายของราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แต่หากดูราคาน้ำมัน future ที่จะส่งมอบไปอีก 4-5 ปีข้างหน้า ล้วนอยู่ในระดับที่สูงกว่า 60 เหรียญฯ และสูงกว่าราคา spot เสียอีก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ควรจะเกิดเพราะหากราคาน้ำมันสูงขึ้นจากการเก็งกำไร ตลาดน่าจะคาดว่าอนาคตราคาจะลงมา ดังนั้นราคา future ยาวๆ ก็ควรจะต่ำกว่า spot แต่ก็เป็นไปได้เช่นกันที่อาจจะมีการเก็งกำไรใน future อายุยาวๆ

สำหรับกลยุทธ์การลงทุน การลงทุนในหุ้นพลังงานบางตัว เช่น PTTEP PTT UMS น่าจะเป็นการประกันความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน แม้ PTTEP อาจจะไม่มี valuation ที่ถูกมากอะไรแต่ราคาหุ้นยังไม่แพงเกินไปนักและเน้นเรื่องการประกันความเสี่ยงของพอร์ต คือหากราคาน้ำมันลงมาแรง ราคาหุ้นพลังงานตก แต่หุ้นตัวอื่นๆ ในพอร์ตของเราก็ควรจะขึ้นมาได้

PTTEP ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม
thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=1485

TOP ไทยออยล์
thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=6473

UMS : Unique Mining Services
thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=10773

PTT ปตท.
thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=5820   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us