Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2548
เครดิตกลับมาแล้ว             
โดย ณัฐวัฒน์ หอมจิตต์
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ไทยออยล์, บมจ.
Oil and gas




หลายปีก่อนไทยออยล์เคยได้ชื่อว่าเป็นบริษัทที่มีเครดิตดีที่สุดในประเทศไทย แต่หลังวิกฤติปี 2540 สถานะดังกล่าวได้เปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ การได้กลับมาออกหุ้นกู้ขายในต่างประเทศอีกครั้งเมื่อปลายเดือนก่อน จึงมีความหมายกับไทยออยล์อย่างยิ่ง

เมื่อ 8 ปีก่อน ไทยออยล์ (TOP) เป็นกิจการโรงกลั่นน้ำมันของรัฐ ที่มีอันต้องระส่ำระสายอย่างหนักจากการอ่อนตัวลงของค่าเงิน หลังคำประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 จนต้องประกาศพักชำระหนี้ เข้าสู่กระบวนการล้มละลายเพื่อขอ hair cut และปรับโครงสร้างหนี้กันใหม่

ในเวลานั้นไทยออยล์มีทุนจดทะเบียนเพียง 20 ล้านบาท แต่มีภาระหนี้อยู่ในสถาบันการเงินไทยและเทศ 124 ราย สูงถึง 2,170 ล้านดอลลาร์ โดยสถาบันการเงินของญี่ปุ่นเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ในสัดส่วน 41% สถาบันการเงินไทยและยุโรป 19% และ 11% ตามลำดับ

ช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2542 คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติแผนปรับโครงสร้างหนี้ไทยออยล์และบริษัทลูก รวมถึงโครงสร้างผู้ถือหุ้น เพื่อสนับสนุนให้ไทยออยล์มีเงินทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นเป็น 700 ล้านดอลลาร์ ช่วยลดสัดส่วนหนี้สินต่อทุน ก่อนจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ช่วงปลายปี 2547

นับแต่กระจายหุ้นในตลาดฯ เครดิตทางการเงินของบริษัทเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา ไทยออยล์ได้จัดแถลงข่าวความสำเร็จในการขายหุ้นกู้ในตลาดต่างประเทศจำนวน 350 ล้านดอลลาร์หรือราว 14,000 บาท

แม้ราคาหุ้นที่ซื้อขายในประเทศในวันเดียวกันนี้จะปรับตัวลดลง 1 บาทที่ 63.50 บาท ตามสภาพการซื้อขายของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ตาม แต่ความสำเร็จในการระดมทุนในต่างประเทศนั้น อาจถือเป็นภาพสะท้อนที่บอกได้ถึงความรู้สึกของนักลงทุน ที่มีต่อความเชื่อถือในความมั่นคงด้านการเงินของไทยออยล์ว่าเริ่มดีขึ้นมากแล้ว

"การออกหุ้นกู้ครั้งนี้ นับเป็นการออกหุ้นกู้ครั้งแรกของไทยออยล์ และเป็นบริษัทเอกชนรายแรกของปี 2548 ที่เสนอขายในต่างประเทศ โดยนักลงทุนสถาบันจากเอเชียและยุโรปให้การตอบรับเป็นอย่างดี ด้วยยอดจองที่เกินกว่า 6 เท่าของมูลค่าหุ้นกู้ที่ไทยออยล์เสนอขาย" ปิติ ยิ้มประเสริฐ กรรมการผู้อำนวยการ ไทยออยล์ กล่าวในระหว่างการแถลงข่าว

หุ้นกู้ต่างประเทศ 350 ล้านดอลลาร์นี้ ไทยออยล์ได้ไปโรดโชว์เพื่อเสนอขายที่ประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง และกรุงลอนดอน เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยหุ้นกู้นี้มีอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ย 5.115% และชำระทุก 6 เดือน เงินที่ได้จากการขายหุ้นกู้ดังกล่าว ไทยออยล์จะนำมาชำระหนี้เงินกู้เดิมก่อนกำหนดทั้งจำนวนคือ 25,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามแผนจัดหาเงินทุนใหม่ เพื่อลดต้นทุนและดอกเบี้ย ได้ราวปีละ 7 ล้านดอลลาร์

สำหรับอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ไทยออยล์นั้น สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ จัดอันดับความน่าเชื่อถือไว้ที่ระดับ BBB ขณะที่มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ให้ที่ Baa1 หรือเทียบเท่าระดับความน่าเชื่อถือที่จัดให้แก่ประเทศไทยที่ระดับ BBB+ และเป็นอันดับที่ดีกว่าโรงกลั่นชั้นนำในภูมิภาค

ในงานเดียวกันนี้ ไทยออยล์ยังได้ลงนามรับมอบสัญญาจัดหาเงินกู้ 2 ฉบับ ร่วมกับ 5 สถาบันการเงินไทยและ 2 สถาบันการเงินต่างชาติ วงเงินรวม 680 ล้านเหรียญดอลลาร์ด้วย

ฉบับแรกเป็นการลงนามกับธนาคารเอบีเอ็นแอมโร ในฐานะผู้จัดหาเงินกู้ 200 ล้านดอลลาร์ รวมถึงหุ้นกู้ 350 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้หุ้นกู้ดังกล่าวเป็นหุ้นกู้ที่ไทยออยล์ได้ออกขายแล้วในต่างประเทศ โดยมีเอบีเอ็น แอมโร และยูบีเอส อินเวสเมนต์แบงก์ เป็นผู้จัดจำหน่าย

ส่วนสัญญาอีกฉบับ เป็นการลงนามกับธนาคารกรุงเทพในฐานะตัวแทนผู้ให้กู้ และกลุ่มสถาบันการเงินในประเทศ 5 รายซึ่งมีฐานะเป็นผู้ให้กู้ ได้แก่ ธนาคารทหารไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นเงินกู้ 65 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนที่ 2 เป็นเงินกู้ 2,600 ล้านบาท

โดยเงินที่ได้รับจากการเบิกจ่ายนั้น ไทยออยล์จะนำมาชำระหนี้เงินกู้เดิมที่มีอยู่กับสถาบันการเงินทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงใช้ในกิจการของบริษัท

"ไม่ใช่ว่าตอนวิกฤติ เราจะไม่ให้เขากู้ เพียงแต่ว่าพวกเจ้าหนี้ไม่ค่อยสบายใจเท่าไร เพราะโรงกลั่นน้ำมันก็มีอยู่มาก พอมาตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนไป ราคาน้ำมันก็เพิ่มขึ้น ก็น่าจะเป็นผลดีกับไทยออยล์" คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ร่วมเซ็นสัญญาจัดหาเงินทุนครั้งนี้ วงเงิน 9.7 ล้านเหรียญสหรัฐ และอีก 403 ล้านบาท กล่าวด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม

ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือนมีนาคม ไทยออยล์ได้ชำระหนี้ทั้งในและนอกประเทศก่อนกำหนดแล้ว 100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3,900 ล้านบาท ซึ่งนอกจากจะทำให้ทั้งภาระเงินกู้ของไทยออยล์ลดลง 630 ล้านบาทแล้ว ยังทำให้ภาระดอกเบี้ยลดลง 150-200 ล้านบาทต่อปี (จากสมมติฐานดอกเบี้ย 5%)

ปิติยืนยันว่าไม่กระทบต่อสภาพคล่องเนื่องจากบริษัทไม่ต้องชำระคืนเงินต้นอีกจนกว่าจะถึงเดือนกันยายน 2550

สถานะการเงินที่ดีวันดีคืนของไทยออยล์นั้น ส่วนหนึ่งมาจากได้รับอานิสงส์จากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันเมื่อปลายปี 2547 (ดูการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมัน) โดยในปี 2547 ไทยออยล์มีกำไรจากการกลั่นน้ำมันขั้นต้น 7.49 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มจาก 3.38 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในช่วงก่อนหน้า โดยมีรายได้จากการขายของไทยออยล์และบริษัทในเครือที่มีรวมกัน 184,801 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 15,073 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 123%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us