Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2548








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2548
The Politician Role Model             
โดย สุจินดา มหสุภาชัย
 

   
related stories

When the time approached
Family Reunion Day
50 "ผู้จัดการ" 2548 The Real Model
การเปลี่ยนแปลงของอันดับ 1
ตัน ภาสกรนที เป็นอย่างเขาไม่ยาก?
รางวัลของชีวิต
สไปเดอร์มาร์เก็ตติ้ง
CRM แบบ ตัน ภาสกรนที

   
search resources

กรณ์ จาติกวณิช




หากไม่นับ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และพจมาน ชินวัตรแล้ว กรณ์ จาติกวณิช ดูจะเป็นนักการเมืองโดยอาชีพเพียงคนเดียวที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น Role Model ปีนี้

การเลือกตั้งครั้งใหญ่เมื่อต้นปีนี้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของกรณ์ จาติกวณิช จากหน้ามือเป็นหลังมือ

จากบทบาทอดีตวาณิชธนากรมาสู่การเป็นผู้บริหารสถาบันการเงินข้ามชาติ ซึ่งเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ กรณ์ จาติกวณิช ก้าวเข้าสู่เวทีการเมืองของประเทศไทย ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจคือในบทบาทของวาณิชธนากร หรือผู้บริหารสถาบันการเงิน ความเป็น Role Model ของกรณ์ ในการรับรู้ ของสังคมธุรกิจไทย กลับมีน้อยกว่าบทบาท ในฐานะนักการเมืองมืออาชีพ

กรณ์ได้รับการโหวตจากผู้อ่าน "ผู้จัดการ" ให้เป็น Role Model ครั้งแรกในปี 2545 โดยอยู่ในอันดับที่ 40 สถานะขณะนั้นเขาเป็นผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร JP Morgan Chase ที่เพิ่งไปควบรวมกิจการกับ บริษัทเจ.เอฟ.ธนาคม ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ ที่กรณ์เป็นผู้ปลุกปั้นมาตั้งแต่ต้น

แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา ชื่อของกรณ์ ก็หลุดออกจากตาราง 50 "ผู้จัดการ" Role Model

เขาเพิ่งได้รับการโหวตกลับเข้ามาเป็น Role Model อีกครั้งในปีนี้ โดยอยู่ในอันดับที่ 22 ซึ่งถือว่าเป็นอันดับที่ไม่ขี้เหร่

ที่สำคัญเขาได้รับการโหวตกลับมาใน ฐานะนักการเมืองและเป็นนักการเมืองอาชีพเพียงคนเดียว ในตาราง 50"ผู้จัดการ" Role Model (ไม่นับรวม ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ซึ่งมีบทบาทในฐานะผู้บริหาร และพจมาน ชินวัตร ในฐานะผู้อยู่เบื้องหลัง)

ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของสังคม ที่มีต่อตัวเขาอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด

"ผมเพิ่งจะอายุ 40 และไม่เคยคิดว่าใครก็ตามแม้กระทั่งตัวผมเอง ควรจะเล่นการ เมืองเกินกว่าอายุ 55" กรณ์บอกกับ "ผู้จัดการ" ระหว่างการให้สัมภาษณ์ในห้องผู้นำฝ่ายค้าน บนชั้น 2 ของอาคารรัฐสภา วันเดียวกับการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549

แม้จะยังไม่รู้ว่า เมื่อใดผู้คนจะเสื่อมสิ้นศรัทธาในตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มากพอที่จะเปิดทางให้พรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสเข้ามาจัดตั้งรัฐบาลแทน แต่กรณ์บอกว่า "ผมพร้อมที่จะรอ"

บุคลิกภายนอกของกรณ์ แม้ไม่ได้ดูเคร่งขรึมจนน่าเกรงขาม แต่สีหน้าและแววตา ก็ฉายให้เห็นความมุ่งมั่นไม่น้อยที่จะอดทนรอคอยให้ถึงวันที่มีโอกาสผลักดันนโยบายที่ตัวเขาเองต้องการจะเห็น

เขา limit ตัวเองไว้แล้วว่าจะเดินในเส้นทางนี้อีกไม่เกิน 15 ปี ซึ่งในช่วงเวลานี้ มีหลายอย่างที่เขาอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

สิ่งหนึ่งที่สามารถทำได้แม้ขณะที่เป็น ฝ่ายค้าน คือการคิดหาตัวชี้วัดผลการพัฒนา หลังจากรัฐบาลได้ใช้จ่ายเงินในแต่ละปี รวมทั้งหาวิธีที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นกับตัวชี้วัดที่จะมีขึ้น

"ผมคิดว่าเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องบอกว่านี่เป็นแนวคิด นโยบายอาจต้องใช้เวลา แต่ต้องใจเย็นหน่อย เราจะพยายามหาตัวชี้วัดเป็น ช่วงๆ เพื่อตรวจสอบว่าเรากำลังเดินไปถูกทางหรือไม่ ซึ่งตรงนี้ผมถือว่าเป็นความท้าทายที่แท้จริง"

ยังมีเรื่องสำคัญหลายเรื่องที่กรณ์อาจต้องรอเวลาสำหรับการผลักดันผ่านนโยบายในฐานะผู้บริหาร โดยในภาคอุตสาหกรรมนั้น เขาต้องการที่จะจัดวางนโยบายอันจะนำประเทศไปสู่การพึ่งพาตนเอง เพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาวให้ได้มากที่สุด ควบคู่กับความจำเป็นที่ต้องเปิดประเทศเพื่อทำการค้า ซึ่งอาจต้องทบทวนผลลัพธ์จากนโยบาย การส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI ที่ต้องมุ่งเน้นถึงความเหมาะสมที่จะพาอุตสาหกรรมของประเทศ ไปสู่การปรับโครงสร้างได้อย่างแท้จริงในอนาคต

นโยบายกระจายอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไปยังแหล่งต่างๆ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อที่ครอบคลุมทั้งประเทศ ถือเป็นอีกหนึ่งที่อยู่ในใจกรณ์ เขามองว่าจะเป็นการจัดทำนโยบายที่มองในเชิงเศรษฐศาสตร์ซึ่งสะท้อนความเป็นจริงของชีวิตที่ว่า แต่ละคนสามารถเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ได้ในเวลาเดียวกัน เพราะการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมที่มากเกินไปในแหล่งหนึ่งแหล่งใด อาจก่อให้เกิดปัญหาการสร้างรายได้ที่แท้จริงให้แก่คนในแหล่งอื่น

เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมการเกษตรที่ต้องได้รับการเน้นย้ำความสำคัญให้มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สอดคล้องอย่างที่สุด ด้วยการกระตุ้นให้คนในภาคการเกษตรมีความใกล้ชิดกับขั้นตอนการผลิต รับผิดชอบกระบวนการผลิตของตัวให้มากขึ้น แทนการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตให้กลายไปเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตจำนวนมาก ซึ่งไม่แตกต่างจากการขนคนจากไร่นาเข้าไปอยู่ในโรงงานการเกษตร ที่นอกจากไม่ใช่วีธีการสร้างความรู้สึกที่ดีแล้ว ยังเป็นการไม่รักษาความผูกพันที่คนในภาคการเกษตรมีต่อการทำงาน วิถีความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมแบบไทย

แนวทางที่เหมาะสมต่อการเพิ่มความสำคัญในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร โดยยังคงไว้ซึ่งการพัฒนาประเทศนั้น ก็ยังเป็นโจทย์ที่แก้ได้ยากสำหรับกรณ์ โดยเขาเองยอมรับว่าไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร แต่เป็นการมองจากมุมของนักเศรษฐศาสตร์ ที่ไม่คิดว่าการอพยพ เข้าเมืองไม่ใช่หนทางเดียวในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

แต่ทางหนึ่งที่น่าจะทำได้ เมื่อพิจารณา ถึงแนวโน้มผู้บริโภคสินค้าเกษตรทั่วโลก ซึ่งกำลังต่อต้านสินค้า GMO อย่างหนัก ไทยน่า จะจับขึ้นมาเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าเกษตรแนวใหม่ เพื่อสร้างให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลาง eco friendly agriculture ได้ แม้ราคาสินค้ากลุ่มนี้อาจจะสูงกว่าสินค้าเกษตรโดยทั่วไปอยู่ราว 30-40% แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาสำหรับรัฐบาลที่จะช่วยหาตลาดให้

ด้านการท่องเที่ยวควรต้องมีนโยบาย มุ่งเน้นการคุ้มครองทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการเข้ามาของนักท่องเที่ยวที่มากเกิน ไปนั้น จะทำให้เกิดปัญหาการบริโภคทรัพยากร ที่มากเกินควร ขณะที่สภาพแวดล้อมของประเทศในเวลานี้กำลังทรุดโทรมลงทุกที

แนวทางที่ควรจะเป็นคือ การกำหนดนโยบายที่แน่ชัดในการมุ่งเน้นเจาะตลาดนักท่องเที่ยวกระเป๋าหนัก ซึ่งอาจมีไม่มากแต่เป็นกลุ่มที่พร้อมจ่ายเพื่อแลกกับการเข้าชม landscape อันงดงามในไทย ที่ต้องมีสภาพไม่ต่างจากสิ่งที่โชว์อยู่ในแผ่นพับการท่องเที่ยว อย่างเช่นที่นักท่องเที่ยวได้เห็นในกรณีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ บางแห่งในต่างประเทศ

แต่หากไทยยังจำเป็นต้องเปิดให้นักท่องเที่ยวกลุ่ม Mass หรือกลุ่มเฉพาะอย่างพัทยาเข้าประเทศอยู่ การมีนโยบายแบ่งโซนการท่องเที่ยวออกเป็นระดับเพื่อรองรับตลาดนี้ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่กระนั้นก็ตาม ยังต้องจัดวางวิธีป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรด้วย

ส่วนนโยบายการสร้างประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของธุรกิจอันหลากหลาย เช่นธุรกิจการบินนั้นไม่เพียงแต่ต้องมองแบบเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์โดยรวมในการพัฒนาประเทศ แต่ยังต้องมองหาถึงวิธีกระจายผลประโยชน์ระหว่างผู้ได้รับประโยชน์จากการทำธุรกิจการบิน และผู้ต้องรับผลจากมลพิษทางเสียงและทางอากาศที่เป็นผลเสียข้างเคียง จากการที่ไทยต้องเป็น air hub อย่างไร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us