|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ สิงหาคม 2548
|
|
สิ่งบ่งชี้สาเหตุการเปลี่ยนแปลงอันดับ Role Model ของ เจริญ สิริวัฒนภักดี กับ ธนินท์ เจียรวนนท์ ในปีนี้ ต้องย้อนกลับไปดูเรื่องราวเกิดขึ้นกับอาณาจักรธุรกิจของทั้งคู่อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 ปี
เจริญ สิริวัฒนภักดี และธนินท์ เจียรวนนท์ ถือเป็น Role Model ที่ได้รับความ นิยมจากสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว ซึ่ง "ผู้จัดการ" เริ่มให้ผู้อ่านเป็นผู้โหวตคัดเลือก 50 "ผู้จัดการ" Role Model เมื่อปี 2545 เป็นต้นมา ชื่อของ ทั้งคู่ต่างได้รับการคัดเลือกให้เป็น Role Model ของผู้อ่านในอันดับต้น
ตลอด 3 ปีแรก อันดับของทั้งเจริญ และธนินท์ แทบไม่เคยเปลี่ยน ธนินท์ได้รับ การคัดเลือกให้เป็น Role Model อันดับที่ 1 ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2545 เช่นเดียวกับเจริญ ที่ใน 2 ปีแรกเขาได้รับการคัดเลือกอยู่ในอันดับที่ 2 แต่ตกไปอยู่ในอันดับที่ 3 เมื่อปีที่แล้ว
ปีนี้ถือได้ว่าเป็นปีแรกที่ตารางส่วนบน 1-3 อันดับแรกของ Role Model เกิดการเปลี่ยนแปลง
นอกจากคะแนนนิยมของตัน ภาสกรนที ที่พุ่งพรวดจนได้ขึ้นมาอยู่อันดับที่ 2 ทำให้เกิดการผันแปรของอันดับรองจากเขาตลอดทั้งตาราง
คะแนนความนิยมระหว่างธนินท์ เจียรวนนท์ กับเจริญ สิริวัฒนภักดี ก็มีลักษณะ ของการสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัด
เป็นปีแรกที่คะแนนนิยมของเจริญพุ่งขึ้นเป็นอันดับที่ 1 ขณะที่ธนินท์คะแนนนิยม กลับถูกลดลงไปอยู่อันดับที่ 3
ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือว่ามีนัยสำคัญไม่น้อยเลยทีเดียว
นัยสำคัญดังกล่าว เป็นผลมาจากเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มธุรกิจที่ทั้งเจริญ และธนินท์ดูแลอยู่ และไม่ใช่แค่ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา แต่คงต้องย้อนกลับไปไม่ต่ำกว่า 2 ปี
ทั้งเจริญ และธนินท์ ถือว่าเป็น Role Model ในอุดมคติ เพราะแม้ว่าแบบอย่าง ความสำเร็จในชีวิตของบุคคลทั้ง 2 จะได้รับการยอมรับในวงกว้าง แต่ก็ยากที่คนส่วนใหญ่จะทำได้อย่างเขาในสภาพการณ์เช่นปัจจุบัน
ภาพของทั้งคู่ถูกมองจากสังคมว่าเป็นมหาเศรษฐี แม้สินค้าที่คนทั้ง 2 ขายอยู่ จะเป็นสินค้าที่ใกล้ตัวผู้บริโภค แต่สำหรับตัวตนของเขาแล้วไม่ใช่เรื่องง่ายที่คนธรรมดาจะสามารถเข้าถึง เป็นรูปแบบชีวิตที่ไกลเกินกว่าคนส่วนใหญ่จะสามารถจับต้องได้
แต่เจริญทำให้คนเริ่มรู้สึกว่า สามารถเข้ามาใกล้ตัวตนของเขาได้ง่ายขึ้น หลังจากที่บริษัททศภาค ที่เขาถือหุ้นใหญ่ได้เป็นผู้ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2002 และสร้างปรากฏการณ์ใหม่ในการถ่ายทอดสดกีฬาด้วยการถ่ายทอดแบบไม่มีโฆษณาคั่น
ปรากฏการณ์นี้ถือเป็น talk of the town ในยุคนั้น
หลังจากนั้นบริษัททศภาคเริ่มรุก โดยใช้ sport marketing เป็นกลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งถือว่าได้เข้าถึงพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งโดยตรงที่สุด
(โปรดสังเกตกลุ่มคนที่โหวตเลือกเจริญให้เป็น Role Model ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอายุระหว่าง 25-34 ปี สูงถึง 43.39%)
นอกจากธุรกิจหลักแล้ว ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ภาพลักษณ์ของเจริญ กลายเป็นนักธุรกิจที่ go inter มากขึ้น ดีลสำคัญของเขาคือการที่บริษัท TCC Land ได้เซ็นสัญญา ร่วมทุนกับ CapitaLand บริษัทในเครือ Temasek Holdings ซึ่งเป็นองค์กรลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์
ในธุรกิจประกันชีวิต ก็ได้มีการร่วมทุนกับ Millea Group กลุ่มธุรกิจประกันที่ใหญ่ระดับต้นๆ จากญี่ปุ่น
ขณะที่ธุรกิจในเครือของเจริญ มีกิจกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจของธนินท์เองกลับต้องเผชิญกับปัจจัยลบรอบด้าน
ต้นปีที่แล้ว ขณะที่เบียร์ช้างได้จัดงานเซ็นสัญญาเข้าเป็นผู้สนับสนุนหลักของ Everton ทีมฟุตบอลชื่อดังในพรีเมียร์ลีกของอังกฤษ เป็นเวลาเดียวกับที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) เพิ่งกู้ภาพลักษณ์ของสินค้ากลับคืนมาได้ หลังจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ขาดความเชื่อมั่นไปชั่วขณะ เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ที่เริ่ม มาตั้งแต่ปลายปี 2546
การระบาดของไข้หวัดนก แม้ว่าจะไม่ส่งผลโดยตรงกับสินค้าอาหารที่ผลิตจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ แต่ก็มีผลต่อภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นในตัวสินค้าไม่น้อย
มาในปีนี้ กิจการในเครือ ซี.พี. ยังถูก โจมตีว่าเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของการเมือง โดยเฉพาะเรื่องของต้นกล้ายาง
หุ้นของบริษัทที่มีภาพของ ซี.พี. อยู่ข้างหลัง ไม่ว่าจะเป็นเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น (CP7-11) และยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง (UBC) ในช่วงที่ผ่าน มามีความเคลื่อนไหวไม่มากนัก มีเพียงทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) ที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุน ซึ่งเพิ่งเปลี่ยนมุมมองว่าเป็นบริษัท ที่กำลังจะ turn around
แต่ภาพของ TRUE ก็ถูกศุภชัย เจียรวนนท์ ลูกชายของธนินท์ทับซ้อนไว้ระดับหนึ่ง ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นกับ TRUE จึงไม่มีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงอันดับของธนินท์มากนัก
(อันดับ Role Model ของศุภชัยปีนี้ ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญเช่นกัน โดยขึ้นจากอันดับที่ 17 เมื่อปีที่แล้ว มาอยู่ในอันดับ 6)
ผิดกับเจริญที่ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ได้เริ่มเปิดตัวทายาทที่ถูกวางตัวให้เป็นผู้สืบ ทอดกิจการ ทั้งฐาปน ลูกชายที่จะเข้าไปดูแล เบียร์ช้าง และวัลลภา ลูกสาวที่ได้เข้าไปดูแล กิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ที่สำคัญ เขากำลังจะนำเบียร์ช้างกิจการที่เคยถูกมองว่าผูกขาดมากที่สุดกิจการหนึ่ง เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น
ซึ่งความเคลื่อนไหวล่าสุด น่าจะมีผล โดยตรงต่อการตัดสินใจคัดเลือก Role Model ปีนี้ ไม่มากก็น้อย
|
|
|
|
|