แฉกสท.เป็นตัวฉุดราคาหุ้นทศท คอร์ปไม่สูงถึง 7 เท่าของราคาพาร์ ตามการวิเคราะห์ที่ปรึกษาการเงิน
เหตุจากความไม่ชัดเจน 4 ประเด็นหลักโดยเฉพาะโครงการมือถือ 1900 ที่กสท.หักดิบนโยบายนายกฯ
ไม่สนซูเปอร์บอร์ด แต่ดันทุรังร่างบันทึกข้อตกลง ผูกมัดทศท คอร์ป ให้บริหาร
โครงการมือถือ 1900 ยุ่งยากกว่าเดิม
แหล่งข่าวจากบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่นกล่าวถึงราคาหุ้นว่าที่ปรึกษาการเงินของทศท
คอร์ป ประเมินว่าราคาหุ้นของทศท คอร์ปจะสูงประมาณ 7 เท่าจากราคาพาร์ แต่ต้องมีความชัดเจนใน
4 เรื่องคือการแปรสัญญาสัมปทานกับเอกชน, คณะกรรมการกำกับกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(กทช.),การให้บริการสาธารณะอย่างโทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบทและการดำเนินโครงการโทรศัพท์มือถือในระบบ
1900 เมกะเฮิรตซ์
"หากทั้ง 4 เรื่องชัดเจน ราคาหุ้นน่าจะสูงกว่าพาร์ 7 เท่า แต่หาก
4 เรื่องดังกล่าวมีเรื่องใดไม่ชัดเจน ราคาหุ้นก็จะลดหลั่นลงไปตามลำดับ"
อนาคตของหุ้นทศท คอร์ปคงไม่สูงถึง 7 เท่า เพราะอย่างน้อย โครงการโทรศัพท์มือถือ
1900 เมกะเฮิรตซ์ ก็ยังไปไม่ถึงไหน มีปัญหาในการทำธุรกิจอย่างมากจาก ความไม่ชัดเจนและไม่ลงรอยระ
หว่างทศท คอร์ป กับการสื่อสารแห่งประเทศไทย(กสท.)
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (สรท.) เคยเข้าพบพ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกลางเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาเพื่อขอความชัดเจนในเรื่องโทรศัพท์มือถือ
1900 เมกะเฮิรตซ์เนื่องจากการทำงานไม่สะดวกราบรื่น ขาดอำนาจตัดสินใจในเชิงที่มีศักยภาพเพื่อแข่งขันกับเอกชน
เนื่องจากการตัดสินใจทุกอย่างต้องผ่านคณะกรรมการ 3-4 ชุดทั้งบอร์ดทศท คอร์ป
บอร์ดกสท.บอร์ดคณะกรรมการร่วมค้า ทำให้นายกฯ ให้นโยบายว่าให้เหลือ เพียงซูเปอร์บอร์ดเพียงชุดเดียว
ที่ประกอบด้วยนายศรีสุข จันทรางศุ ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประ ธานกรรมการมี
4 คนคือนาย สุธรรม มลิลา กรรมการผู้จัดการใหญ่ทศทคอร์ป นายศุภชัย พิศิษฐวานิช
ประธานบอร์ด นายธีระพงศ์ สุทธินนท์ ผู้ว่าการกสท. และนายไกรสร พรสุธี ประธานบอร์ดกสท.
ปรากฏว่าซูเปอร์บอร์ดยังไม่ได้มีการประชุมใดๆเลย เพื่อเดินหน้าโครงการมือถือ1900
เมกะ- เฮิรตซ์ แต่กสท.กลับฉกฉวย โอกาส ทำบันทึกข้อตกลงร่วมลง ทุน โครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ
1900 เมกะเฮิรตซ์ หวังให้ทศท คอร์ป เซ็นผูกมัด พร้อมทั้งส่งร่างบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้อัยการสูงสุดพิจารณาด้วย
"ท่านนายกฯเห็นปัญหาของโครงการมือถือ 1900 ทำให้สลายอำนาจบอร์ดต่างๆเหลือเพียงซูเปอร์บอร์ดเดียวเพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน
แต่กสท.กลับทำบันทึกข้อตกลงร่วมลงทุนมาผูกมัดทศท คอร์ป อีกเหมือนกับไม่เห็นนโยบายนายกฯในสายตา
เพราะรายละเอียดในข้อตกลง ยิ่งทำให้การบริหารงานยุ่งยากมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ"
รายละเอียดที่ไม่เข้าท่าของข้อตกลง จะเห็น ได้จากข้อ 3 เรื่องการร่วมลงทุนและสัดส่วนการลงทุน
ในข้อย่อย 3.4 ระบุว่าค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกิจการร่วมค้าตามบันทึกข้อตกลงนี้
รวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใดๆ ที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้จ่ายไปในการนี้
ก่อนการลงนามในบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ ให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายเป็นผู้รับผิดชอบออกเองทั้งสิ้น
ส่วนค่าธรรม เนียมและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังจากการลงนามในบันทึกข้อตกลงนี้ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการร่วมค้า
"ที่ผ่านมามีแต่ทศท คอร์ปออกเงินไปก่อน เรียกว่างานนี้ชักดาบเอาเปรียบกันตั้งแต่แรกเลย"
นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีก เช่นข้อ3.5การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการลงทุนของคู่สัญญาภายในกิจการร่วมค้าจะต้องได้รับการอนุมัติจากคู่สัญญาทั้ง
2 ฝ่าย 3.6 ห้ามมิให้คู่สัญญาโอนสิทธิในกิจการร่วมค้าให้แก่บุคคลอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากคู่สัญญาอีกฝ่าย
และคู่สัญญาฝ่ายโอนสิทธิจะต้องจัดการให้ผู้รับโอนเข้าผูกพันตามบันทึกข้อตกลงนี้ทุกประการเหมือนเป็นคู่สัญญาเดิม
3.7 การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการลงทุนและ/หรือการโอนสิทธิในกิจการร่วมค้าตามข้อ
3.5 และ 3.6 ที่ให้ใช้บังคับในกรณีที่การดำเนินการนั้นเป็นไปตามมติครม.หรือตามกฎหมาย
แต่ต้องแจ้งให้คู่สัญญาทุกฝ่ายรับทราบ
3.8 การเพิ่มหรือลดการลงทุนหรือวงเงินลงทุนในแต่ละคราว ให้มีการถือสัดส่วนการลง
ทุนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามสัดส่วนของคู่สัญญาที่ถืออยู่นั้น 3.9 ในกรณีที่ต้องมีการลงทุนเพิ่มเติม
โดยการอนุมัติร่วมกันของคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะเกิดจากการขาดทุนจากการประกอบการ
หรือ การขยายธุรกิจอันต้องการการลงทุนเพิ่ม ให้ คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายต่างรับผิดชอบการลงทุนเพิ่ม
เติมตามสัดส่วนการลงทุนที่ระบุไว้ในข้อ 3.1 (ทศท คอร์ป ถือหุ้น 57.89% กสท.ถือหุ้น
42.11%) ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการร่วมเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขและวิธีการในการลงทุนเพิ่มเติม
"เห็นได้ชัดว่า การเพิ่มทุนจะทำได้ลำบากมาก ซึ่งทำให้ไม่คล่องตัวในการทำงาน
แต่สิ่งที่สะท้อนให้เห็นภาพชัดเจนคือความพยายามของกสท.ที่จะให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ่วมกันระหว่างทศท
คอร์ปกับกสท."
ในบันทึกข้อตกลง ข้อ 5 เรื่องการบริหารจัดการของกิจการร่วมค้า ข้อย่อย
5.1 คณะกรรม การร่วม ระบุว่าคู่สัญญาตกลงให้กิจการร่วมค้าที่จะจัดตั้งขึ้นมีคณะกรรมการร่วมกันระหว่างทศท.
และกสท.มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการและควบคุมดูแลการดำเนินกิจการของกิจการร่วมค้าให้เป็นไปตามเป้าหมาย
ประกอบด้วยกรรมการ9 คนเป็นของทศท คอร์ป 5 คนเป็นของกสท. 4 คน
แต่ประเด็นที่ชัดเจนที่สุดคือเรื่องการลงมติของคณะกรรมการ ในข้อ 5.2.3
ระบุว่าการลงมติทั้งปวงของคณะกรรมการร่วมต้องได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบข้างมากจากกรรมการที่เข้า
ร่วมประชุมด้วยตนเอง หรือโดยผู้รับมอบฉันทะ และจะต้องมีกรรมการจากทศท คอร์ปและกสท.
ฝ่ายละหนึ่งคนเป็นอย่างน้อยเห็นชอบตามมตินั้น ในกรณีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการ
ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
"ลองคิดดูง่ายๆ ในเรื่องการลงมติ หากตัวแทนกสท.ไม่เห็นด้วย ไม่ว่าจะมีเหตุผลซ่อนเร้นอะไรอยู่เบื้องหลังก็ตาม
ทุกเรื่องที่ต้องดำเนิน การก็ไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการร่วม ไม่สามารถดำเนินการได"
ข้อสังเกตดังกล่าวไม่ใช่เรื่องกล่าวหากสท. เลื่อนลอย แต่มีประสบการณ์เห็นได้ชัดเจนกรณี
การแต่งตั้งบริษัทสามารถ อี-เทรดดิ้ง และไออีซี ให้เป็นตัวแทนขายและบริการ
ทั้งๆที่คัดเลือกได้หลายเดือนแล้ว แต่ไม่สามารถเซ็นสัญญาได้ เพราะกสท.เตะถ่วงต้องการลงนามในสัญญาด้วยทำแม้กระทั่งส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดพิจารณา
หรือแม้กระทั่งมีการเซ็นสัญญาแล้วเมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมาโดยนายธรรมนูญ
จุลมณีโชติ รองผู้ว่าการกสท.เป็นพยานก็ตาม แต่นายไกรสร พรสุธี ประธานบอร์ดกสท.ก็ออกอาการกราดเกรี้ยว
ถึงกับพูดอย่างมีอารมณ์ว่าจะปลดนายธรรมนูญ เพราะดอดไปเซ็นเป็นพยานแทนที่จะเป็นคู่สัญญาร่วม
ความพยายามลากให้โครงการล่าช้าออกไป อีกยืนยันได้จากหนังสือที่นายไกรสร
ทำถึงประ ธานบอร์ดทศท คอร์ป เมื่อวันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมา แสดงความไม่พอใจในการเซ็นสัญญาสามารถ
ไออีซี โดยข้อความช่วงหนึ่งระบุว่าในฐานะประธานกรรมการกสท. ขอยืนยันว่าบอร์ดกสท.
มีเจตนารมณ์ต้องการให้โครงการโทรศัพท์เคลื่อน ที่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ก้าวไปสู่ความสำเร็จในทุกด้าน
ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพเครือข่าย จำนวนผู้ใช้บริการ แต่ทุกอย่างต้องดำเนินการด้วยความถูก
ต้อง โปร่งใสสามารถอธิบายต่อสาธารณชนได้
หนึ่ง. สำหรับความถี่ก็ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุ(กบถ.)
ให้ทั้ง 2 หน่วยงาน (ไม่ใช่หน่วยงานใดหน่วยงาน หนึ่ง) มาดำเนินโครงการนี้ร่วมกันโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะก้าวไปสู่เทคโนโลยี
3G ในอนาคต
สอง. ดังนั้นในรูปแบบของการบริหารงานของกิจการร่วมค้า จะต้องมีการหารือกันอย่างใกล้ชิด
และเห็นชอบร่วมกันก่อนที่จะได้มีการดำเนินการ อย่างไรต่อไป เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ขอให้เป็นครั้งสุดท้ายที่เกิดความผิดพลาดขึ้นและคง
จะไม่มีเหตุการณ์ ที่สร้างความไม่สบายใจให้แก่ทั้ง 2 ฝ่ายในอนาคตอีกต่อไป
"เห็นได้ชัดว่าถึงแม้ท่านนายกฯ จะปลดล็อกเรื่องอำนาจตัดสินใจให้เหลือบอร์ดเดียว
แต่กสท.ก็ยังไม่พยายามทำให้ทุกอย่างยุ่งมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ แม้กระทั่งการเซ็นสัญญาสามารถ
ไออีซี ก็ยังไม่พอใจทั้งๆที่รองผู้ว่าการกสท. ธรรมนูญเซ็นเป็นพยาน ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่
ไม่มองภาพรวมว่าโครงการ 1900 จะเป็นอย่างไร"