Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2543
อะไร คือ MBA             
 

   
related stories

การปรับตัวครั้งใหญ่ MBA ไทย

   
search resources

Education




หลักสูตร MBA หรือปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต (บธ.ม. : Master of Business Adminis-tration) ถือได้ว่าเป็นหลักสูตรปริญญาโท ที่มีผู้กล่าวขวัญถึง และมีผู้สนใจใคร่เรียนมากที่สุดหลักสูตรหนึ่งของโลก ในฐานะ ที่เป็นหลักสูตรสายวิชาชีพระดับสูง เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรให้สอดคล้องกับตำแหน่งการบริหารในอนาคต ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวถูกจัดให้มีขึ้นในแทบทุกหนแห่งของโลก ภายใต้ความเชื่อถือ ที่ว่าหลักสูตร MBA เป็นหลักสูตร ที่ตรงกับความต้องการของระบบธุรกิจ ที่ต้องบ่มเพาะบุคคลากรในตำแหน่งบริหาร โดยไม่จำกัดว่าอุตสาหกรรมเหล่านั้น เป็นอย่างไรหรืออยู่ในภาคธุรกิจประเภทใด อีกทั้งยังไม่จำกัดว่าบริบทของเศรษฐกิจจะเป็นเช่นใด

อย่างไรก็ดี การใช้ชื่อหลักสูตรบริหารธุรกิจ หรือ MBA ดูจะเป็นการให้คำจำกัดความ ที่ไม่ค่อยเหมาะสมนัก เพราะแม้ว่าจะเป็นหลักสูตร ที่เน้นการบริหารจัดการในภาคธุรกิจเป็นหลัก แต่คุณค่า ที่มีต่อการบริหารจัดการในภาครัฐก็ดูจะมีอยู่ในระดับ ที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันมากนัก ทั้งนี้ ปริญญา ที่มีชื่อว่า MBA เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นประเทศแรก ที่พัฒนาหลักสูตรดังกล่าวขึ้นมา นับตั้งแต่ช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 ขณะที่ในหลายประเทศ เช่น ในอังกฤษ และประเทศในภาคพื้นยุโรป หลักสูตรการศึกษาขั้นเกินกว่าปริญญาตรี (Post Graduate degree level) ในด้านการบริหาร เพิ่งจะเริ่มพัฒนาในช่วงต้นของทศวรรษ ที่ 1960 เท่านั้น โดยปริญญาดังกล่าวก็มิได้มีชื่อเรียกว่า MBA แต่อย่างใด หากแต่สถาบันการศึกษาเหล่านั้น ยังนิยม ที่จะประสาทปริญญาโทด้านการบริหารไว้ภายใต้ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (MSc : Master of Science) หรือปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (MA : Master of Art) มากกว่า

ทั้งนี้นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ ที่ 1980 เป็นต้นมา มหาวิทยาลัย ที่เปิดสอนหลักสูตร ปริญญาโทด้านการบริหาร ได้ให้การยอมรับ และปรับเปลี่ยน ที่จะเรียกปริญญาโทด้านการบริหารของสถาบันเป็น MBA มากขึ้น กระนั้น ก็ดี ยังมีหลักสูตร ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันบางหลักสูตรพึงใจ ที่จะประสาทปริญญาบัตรภายใต้ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น MBL (Master of Business Leader-ship) ซึ่งแพร่หลายมากในแอฟริกาใต้ MBS (Master of Business Studies) รวมทั้ง Msc และ MA ที่มีวงเล็บวิชาเอกพ่วงท้าย เพื่อให้เห็นถึงความชำนาญการพิเศษแต่ละด้าน หรือแยกให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น ปริญญาโทด้านการเงิน (Master of Finance) ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงก็เพียง เพื่อให้เกิดความแตกต่างหลากหลาย และบ่งชี้ถึงความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับหลักสูตรของสถาบันอื่นๆ

หลังจาก ที่ MBA ได้รับการพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อช่วงต้นของศตวรรษ ที่ 20 แล้ว หลักสูตรดังกล่าวก็อยู่ในภาวะ ที่พัฒนา และเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหลักสูตร MBA ขยายบทบาท และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในแทบทุกภูมิภาคของโลก ในระยะเริ่มแรกหลักสูตร MBA จะเป็นการเรียนการสอนแบบเต็มเวลา โดยมีระยะเวลาตลอดหลักสูตรประมาณ 2 ปี ภายใต้ความเชื่อ ที่ว่า ระยะเวลาดังกล่าวเหมาะสมที่สุดสำหรับการศึกษาเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับการบริหาร แต่ความคิดดังกล่าวก็มีผู้โต้แย้งว่าระยะเวลา 2 ปี เนิ่นนานเกินความจำเป็นเพราะผู้ที่เข้ามาเล่าเรียนในหลักสูตร MBA ส่วนใหญ่เป็นผู้มีตำแหน่งด้านการบริหารหรือมีประสบการณ์ด้านการบริหารมาแล้วทั้งสิ้น อีกทั้งการศึกษาในระดับปริญญาตรีก็มีการสอนเรื่องราวบางส่วนเกี่ยวกับการบริหารไว้แล้ว ทำให้สถาบันการศึกษาในหลายประเทศปรับหลักสูตร MBA ให้มีช่วงเวลา ที่สั้นลงเหลือเพียง 1 ปี เช่น ในอังกฤษ ซึ่งหลักสูตร 1 ปี ถือเป็นหลักสูตรมาตรฐาน แต่หลักสูตร 2 ปี ก็ยังมีการเรียนการสอนอยู่สำหรับนักศึกษาบางประเภท ที่อาจไม่มีพื้นความรู้เกี่ยวกับ ระบบธุรกิจ และการบริหารจัดการมาก่อน

สำหรับในประเทศไทย หลักสูตร ที่เรียกว่า MBA นั้น แต่เดิมแฝงอยู่ในคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี ในฐานะ ที่เป็นสาขาวิชาแขนงหนึ่งของคณะ ภายใต้ปริญญา ที่เรียกว่า พศ.ม. (พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต) กระทั่งในปี พ.ศ.2509 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจ (MBA) ซึ่งนับเป็นสถาบันแห่งแรกในประเทศไทย ที่เปิดสอนหลักสูตรดังกล่าว ก่อน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งมหาวิทยาลัยแห่งอื่นๆ ในประเทศไทยจะเปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตอย่างเป็นเอกเทศในเวลาต่อมา

"ก่อนหน้านี้ จะมีก็แต่ พศ.ม. หรือ พบ.ม. เท่านั้น ปริญญา บธ.ม. เพิ่งเกิดขึ้น และได้รับความนิยม ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ได้กลายเป็นกระแสหลัก ที่มีผู้คน ทั้งในแวดวงวิชาการ และธุรกิจให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง" ดร.ผ่องใส ศุภจรรยารักษ์ แห่งมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เล่าย้อนอดีตของ MBA ไทยให้ฟัง

ความนิยมในหลักสูตร MBA ซึ่งเริ่มมีมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะในช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความสามารถทางเทคนิค หรือความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพเฉพาะทาง ที่ส่งให้บุคคลได้รับตำแหน่ง หรือความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ในอดีตนั้น มีความสำคัญลดลง ขณะที่ความรู้ในการจัดระบบงาน ให้องค์กรสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องมีความสำคัญมากขึ้น พฤติกรรมขององค์กร ที่เปลี่ยนไป ประกอบกับสภาพทางเศรษฐกิจ การเมือง การแข่งขัน ที่มีความสลับซับซ้อนเพิ่มขึ้น ทำให้องค์กรต่างๆ พยายามคัดสรรบุคลากร ที่มีทักษะในการจัดการเข้าสู่องค์กรมากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้คนจำนวนมากหันมาให้ความสนใจในหลักสูตร MBA ด้วยหวังว่าจะทำให้มีโอกาสในอาชีพการงานเพิ่มขึ้น

หลักสูตร MBA ที่มีการเปิดสอนในประเทศไทยนั้น แม้ว่าจะมีให้เลือกหลายสถาบัน และมีการสอนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แต่เนื้อหาของหลักสูตรส่วนใหญ่จะไม่แตกต่างกันมากนัก ส่วน ที่จะแตกต่างกัน อย่างชัดเจนอยู่ ที่เงื่อนไขคุณสมบัติของนักศึกษาในแต่ละหลักสูตร ซึ่งปัจจุบันมี 3 ประเภทหลัก ประกอบด้วย

1. MBA ภาคปกติ (Regular MBA Programme) ส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนการสอนภาคกลางวัน สำหรับนักศึกษา ที่มีเวลา และต้องการเรียนเต็มเวลา จะมีบ้าง ที่เป็นการเรียนการสอนในช่วงเย็นของวันธรรมดา ซึ่งนักศึกษาในกลุ่มนี้โดยทั่วไปจะเป็นนักศึกษา ที่เพิ่งจบการศึกษาระดับปริญญาตรี และต้องการศึกษาต่อเนื่องก่อนเข้าทำงาน โดยหวังว่าเมื่อจบการศึกษา MBA ตามหลักสูตรนี้แล้วจะสามารถก้าวเข้าสู่ระบบการจ้างงานด้วยโอกาส และตำแหน่งหน้าที่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม หลักสูตร ภาคปกตินี้จึงไม่เน้นการมีประสบการณ์ในการทำงาน

2. MBA สำหรับผู้บริหารระยะต้น (Young Executive MBA) เงื่อนไข และคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ โดยทั่วไปจะกำหนดให้เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 2-3 ปีขึ้นไป มีการเรียนการสอนในช่วงเวลาเย็นของวันธรรมดา และวันเสาร์ หรือบางแห่งอาจจะให้มีการเรียนการสอนเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์เท่านั้น เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ที่ทำงานแล้ว

3. MBA สำหรับผู้บริหาร (Executive MBA) มักจะเน้นสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 5-7 ปีขึ้นไป หรืออาจมีเงื่อนไขเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่การงานของผู้ศึกษามาเป็นข้อพิจารณาประกอบด้วย แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นไปตามกฎของทบวงมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

ทั้งนี้หากพิจารณาแนวโน้มของ MBA ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาจะพบว่าการพัฒนาหลักสูตร MBA จะมีทิศทางหลักสามประการคือ

ประการแรก หลักสูตร MBA ที่เปิดสอนจะมีช่วงเวลาของหลักสูตรสั้นลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการแข่งขันของสถาบันการศึกษา ที่พยายามหาสิ่งกระตุ้นมาโน้มน้าวให้นักศึกษาสนใจสมัครเข้าเรียนในแต่ละหลักสูตรมากขึ้น อย่างไรก็ดี หลักสูตร ที่สั้น และกระชับขึ้นนี้ อาจเป็นหลักสูตรเฉพาะสำหรับนักศึกษาบางกลุ่มเท่านั้น เช่น ต้องเป็นผู้บริหารระดับสูง หรือเป็นผู้มีคุณสมบัติอื่น ตาม ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ขณะเดียวกันบางมหาวิทยาลัยอาจปรับปรุงหลักสูตรให้สั้นลง ด้วยตระหนักว่าหลักสูตร ที่มีช่วงระยะเวลายาวนานเป็นอุปสรรคอย่างสำคัญ ที่ทำให้มีผู้สนใจเรียนลดลง เพราะนั่นหมายถึงค่าใช้จ่าย ที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับผู้เรียน และอาจทำให้โครงการ MBA ของ มหาวิทยาลัยนั้น ๆ ประสบปัญหาไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้

ประการที่สอง หลักสูตร MBA จะมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น โดยจะลงลึกไปในรายละเอียดของศาสตร์แต่ละด้านอย่างเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่นหลักสูตร MBA สาขาการบริหารข้อมูลสารสนเทศ, MBA สาขา E-Commerce ฯลฯ รวมทั้งการปรับหลักสูตร ในระดับโครงสร้าง และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งทั้งนี้เป็นไป เพื่อการสนองตอบต่อกลุ่มเป้าหมาย ที่หลากหลายมากขึ้น และเป็นการปรับตัว เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ทางธุรกิจ ที่แปรเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน

ประการสุดท้าย สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เปิดสอนหลักสูตร MBA พยายาม ที่จะนำเสนอความเป็นสากล ซึ่งข้อบ่งชี้ที่ดีประการหนึ่ง ในเรื่องนี้อยู่ ที่ความสัมพันธ์ของระบบการค้าในปัจจุบัน ที่กระตุ้นให้ผู้บริหารจำนวนมากเล็งเห็นว่า การดำเนินธุรกิจจำเป็นต้องมีเครือข่าย ที่กว้างขวาง ความเป็นสากลของหลักสูตรจึงมีนัยมากกว่าการดำเนินการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ หากแต่หมายรวมถึง ความพยายามของสถาบันการศึกษาในการสร้างพันธมิตรในลักษณะของโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา ซึ่งผู้ศึกษาสามารถนำข้อได้เปรียบดังกล่าวนี้ สำหรับสายสัมพันธ์ทางธุรกิจในลำดับต่อไปด้วย

ดังนั้น หากจะพิจารณาว่า อะไรคือ MBA ในปัจจุบัน ก็จะพบว่า สิ่งที่เรียกว่า MBA นั้น ได้พัฒนาไปจากจุดเริ่มต้นไปไกลมาก และได้ขยายขอบเขตครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางเกินกว่าจะบรรยาย คงเหลือก็แต่เพียงหลักสูตรที่แตกต่างกันจำนวนมากมาย ให้ผู้ศึกษาได้ใช้วิจารณญาณในการเลือกสรรสิ่งที่เหมาะแก่ความสนใจเท่านั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us