|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
อดีตนายกสมาคมค้าปลีกไทย วิเคราะห์ตลาดค้าปลีกครึ่งปีหลัง "ผู้ประกอบการเหนื่อย ผู้บริโภคมึน" ชี้ 3 ปัจจัยหลักกระแทกใส่ ควบคุมไม่ได้ ส่งผลตลาดค้าปลีกปีนี้ส่อแววนิ่งไม่เติบโต เผยยักษ์ค้าปลีกต่างปรับแผนจัดกิจกรรมถี่ขึ้นและเร็วขึ้น พร้อมสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพื่อกู้ยอดขาย
นายวิโรจน์ จุนประทีปทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท สรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง จำกัด และอดีตนายกสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวกับ "ผู้จัดการรายวัน" ว่า ในช่วงครึ่งปีหลังนี้วงการค้าปลีกจะต้องเผชิญกับศึกหนักเช่นเดียวกับธุรกิจอื่น อันเนื่องมาจากสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจในเวลานี้ ซึ่งผู้ประกอบการค้าปลีกทุกรายจะต้องเหนื่อยหนักกว่าเดิม ขณะที่ผู้บริโภคเองก็อยู่ในภาวะที่เรียกว่า ไม่รู้ชะตากรรมอนาคต
เขากล่าวด้วยว่า ปัจจัยลบที่ยังเป็นปัญหาในการทำตลาดของค้าปลีกคือ 1.ค่าน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นทั้งดีเซลและเบนซิน และแนวโน้ม ครึ่งปีหลังยังไม่มีความมั่นใจเลยว่า ราคาน้ำมันจะยังเพิ่มสูงขึ้นกว่านี้อีกหรือไม่ 2.อัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน และ 3. กำลังซื้อของผู้บริโภค ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะระมัดระวังการใช้จ่ายอย่างเต็มที่ ซึ่งทั้งสามปัจจัยนี้ผู้ประกอบการไม่สามารถที่จะควบคุมได้เพราะเป็นปัจจัยภายนอกทั้งสิ้น
ขณะที่ต้นทุนดำเนินงานของธุรกิจค้าปลีก ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลักดังนี้ คือ 1. ค่าจ้างเงินเดือนพนักงาน 2.ดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินฝากของสถาบันการเงิน 3.ค่าบริหารรวมทั้งค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับอัตราราคาน้ำมัน
นายวิโรจน์มองว่า ตลาดรวมของธุรกิจค้าปลีกในปีนี้คงจะเติบโตไม่มากนักอาจจะไม่เกิน 5% หรือหากสถานการณ์เลวร้ายกว่านี้อีกค้าปลีก อาจจะไม่เติบโตเลยก็ได้อยู่ในภาวะทรงตัว ทั้งๆ ที่โดยเฉลี่ยแล้วธุรกิจค้าปลีกจะเติบโตประมาณ 10%
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจค้าปลีกที่อยู่ในต่างจังหวัดนั้นจะยิ่งได้รับผลกระทบมากกว่าค้าปลีกที่อยู่ในกรุงเทพฯหรือปริมณฑล เนื่องจากผู้บริโภคในต่างจังหวัดนั้นมีรายรับที่น้อยกว่าคนในกรุงเทพฯ อยู่แล้ว เมื่อมาเจอกับปัญหาต่างๆที่ส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินชีวิตสูงขึ้นแต่รายรับไม่ได้เพิ่มตามนั้นก็ยิ่งทำให้กำลังซื้อที่น้อยอยู่แล้วลดน้อยถอยลงตามไปอีก เช่นเดียวกับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักก็จะเป็นคนระดับรากหญ้าด้วย
ช่วงนี้จะสังเกตเห็นได้ว่าบรรดาโมเดิร์นเทรด ดิสเคานต์สโตร์ต่างก็งัดกิจกรรมแคมเปญลดราคามาฟาดฟันกันอย่างหนักหน่วง ซึ่งผู้บริโภคก็จะได้รับผลดีที่ซื้อสินค้าราคาถูก แต่บรรดาค้าปลีกรายเล็กก็จะยิ่งลำบากหนักขึ้นกว่าเดิมอีก เพราะถูกยักษ์ใหญ่ขายราคาต่ำกว่าเพื่อกู้ยอดขายในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้"
แนวทางการทำธุรกิจค้าปลีกจากนี้ ผู้ประกอบการจะต้องอัดกิจกรรมมากขึ้นโดยเพิ่มทั้งความถี่และความแปลกใหม่เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเข้ามาจับจ่ายซื้อของให้ได้ โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือยจะลำบากกว่าสินค้าอื่น เพราะผู้บริโภคมองว่าไม่มีความจำเป็นจะถูกตัดออกไปก่อนเป็นอันดับแรก อีกทั้งค้าปลีกจะต้องใช้กลยุทธ์การสร้างตลาดนิชมาร์เกตให้ได้หรือการสร้างเอกลักษณ์ของตัวเองให้โดดเด่น
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ขณะนี้มีหลายค้าปลีกที่ปรับตัวและเริ่มสร้างคาแร็กเตอร์ของตัวเองให้ชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งการอัดแคมเปญ ที่ถี่ยิบมากขึ้น
นางณัฐศมน วงศ์กิตติพัฒน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่สายการตลาด ดิ เอ็มโพเรียม ดีพาร์ทเมนท์สโตร์ เปิดเผยว่า การแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกครึ่งปีหลังนี้มองว่าจะไม่เน้นทางด้านราคา แต่มีแนวโน้มว่าแต่ละรายจะหันมาเน้นการสร้างคาแร็กเตอร์ของตัวเองให้มีความชัดเจนและแตกต่างจากรายอื่น ซึ่งในส่วนของดิ เอ็มโพเรียมเองก็มีการสร้างคาแร็กเตอร์ที่ชัดเจนว่าเป็น The Ultimate Shopping Complex
ล่าสุดดิ เอ็มโพเรียมจัดแคมเปญใหญ่ "Midyear Celebration" ซึ่งเป็นการรวม 2 รายการใหญ่อย่าง Emporium Deluxe Duet ที่จัดระหว่าง 16 มิ.ย.-13 ก.ค. 48 และ Emporium Midyear Midnight ที่จัดระหว่าง 29 มิ.ย.-3 ก.ค. 48 เพื่อเป็นการฉลองที่ดิ เอ็มโพเรียม ครบรอบ 8 ปี โดยแคมเปญดังกล่าวใช้งบประมาณ 15 ล้านบาท คาดแคมเปญนี้จะทำรายได้สะพัดกว่า 600 ล้านบาท นอกจากนี้ในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะมีแคมเปญใหญ่ๆ อีก 2 รายการ
ขณะที่ศูนย์การค้าเกษรนั้นก็จะเพิ่มความถี่ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในทุกช่วงของเดือนให้มากขึ้นด้วย จากเดิมที่มีการจัดทุกๆ 2 เดือนเท่านั้นเอง เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเข้ามาในศูนย์มากขึ้นและเพื่อเพิ่มยอดขายให้กับร้านค้าเช่าต่างๆ
ทางด้านเดอะมอลล์ โคราช นายปรีชา แซ่อั่ว ผู้จัดการทั่วไป กล่าวว่า แนวทางของห้างฯ จากนี้จะหันมาเน้นการทำโปรโมชันในส่วนของสินค้าแบรนด์เนมมากขึ้น เนื่องจากว่าผู้บริโภคคงจะให้ความสนใจมากเพราะโอกาสที่สินค้าแบรนด์เนมจะลดราคานั้นมีน้อยอยู่แล้ว ขณะเดียวกันจะจัดรายการลดราคาสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันด้วย โดยหมุนเวียนกันไปครั้งละ 15 รายการ ลดราคาประมาณ 20%
นางสอางทิพย์ อมรฉัตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาด บริษัท เพาเวอร์ บาย จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ จะต้องปรับแผนการตลาดใหม่ในครึ่งปีหลัง เช่น การจัดอีเวนต์ฉุกเฉินช่วงนี้ คืองาน Power Buy Mid-Year CLEARANCE SALE ระหว่างวันที่ 21-31 กรกฎาคมศกนี้ เป็นงานที่นำสินค้าค้างสต๊อกมาลดราคาประจำปี 20-80% ทั้งๆที่แต่เดิมงานนี้จะจัดขึ้นช่วงปลายปี แต่ที่ปรับมาจัดเร็วขึ้นเพราะว่าช่วงนี้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจึงต้องจัดรายการลดราคาเพื่อดึงตลาดกลับคืนมา และยังลดราคามากกว่าเดิมด้วยจากปีที่แล้วลดเฉลี่ย 20-50% แต่ปีนี้ลดสูงสุด 20-80% คาดว่าจะช่วยสร้างยอดขายได้ 50 ล้านบาท ในช่วงจัดงานนี้ เนื่องจากเป็นอีเวนต์พิเศษเน้นกลยุทธ์ราคาถูก ซึ่งอีเวนต์ธรรมดาไม่สามารถ กระตุ้นตลาดได้ดีเท่า นอกจากนั้น เรายังไม่แน่ใจสถานการณ์เศรษฐกิจหลังจากนี้อีกด้วย
|
|
|
|
|